ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

หากคุณรู้สึกว่า ตนเองกำลังตกอยู่ในอันตราย อย่ารีรอที่จะโทรแจ้ง 191 ทันที หรือโทรหาสายด่วนศูนย์ประชาบดี 1300 รับแจ้งเหตุการณ์กระทำความรุนแรงในครอบครัว

คนรักของคุณอาจพูดว่ารักคุณ เขาอาจจะบอกว่าทำบางอย่างไปเพราะรักคุณมาก แต่หากเขามีพฤติกรรมทารุณต่อคุณ มันย่อมไม่ใช่ความรักหรือการกระทำอันเกิดจากความรักแน่นอน แต่มันเป็นเรื่องปกติของผู้ที่ชอบกระทำทารุณผู้อื่น ในการใช้ความรักเข้ามาบังหน้า เพื่อที่จะหาข้ออ้างให้กับการกระทำทารุณของตัวเอง ที่สำคัญที่สุด การทำร้ายร่างกายคนรอบข้าง ย่อมไม่มีทางที่จะเกี่ยวข้องกับความรักไปได้เลย อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่แล้ว การทำร้ายร่างกายมักไม่ได้เกิดขึ้นทันทีที่ความสัมพันธ์เริ่มต้นขึ้น [1] แต่ก็ยังพอมีพฤติกรรมทางลบบางอย่างในช่วงเริ่มต้นความสัมพันธ์ ที่อาจพอจะนำมาตั้งข้อสังเกตถึงพฤติกรรมดังกล่าวได้ แม้ว่าพฤติกรรมเหล่านี้อาจไม่ได้นำไปสู่การทำร้ายร่างกายเสมอไป แต่มันก็ช่วยให้คุณตระหนักในกลไกของความสัมพันธ์ดังกล่าวได้ และยังจะช่วยให้คุณคาดการณ์ได้ว่า ความรักความสัมพันธ์ที่กำลังเกิดขึ้น เป็นไปในทางที่ดีและมีความจริงแท้ หรือจะเป็นเพียงอาวุธที่อีกฝ่ายใช้ควบคุมคุณกันแน่ ที่สำคัญที่สุด คุณอาจใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการรับประกันความปลอดภัยให้ตัวเองได้ด้วย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 9:

ตระหนักถึงลักษณะของการทารุณกรรม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ความสัมพันธ์แบบทารุณมีลักษณะที่ฝ่ายหนึ่งมักจะใช้เล่ห์กลบางอย่าง ในการครอบงำทางเพศ ทางอารมณ์ ทางการเงิน ทางร่างกาย รวมถึงทางจิตใจ และควบคุมอำนาจเหนืออีกฝ่ายอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ความสัมพันธ์ที่เข้าข่ายอาจก่อให้เกิดความรุนแรงภายในครอบครัว คือ ความสัมพันธ์ที่ขาดความสมดุลในด้านอำนาจต่อรองของแต่ละฝ่าย [2]
  2. โดยทั่วไปแล้ว แต่ละคนย่อมแตกต่างกันไป แต่คนที่ชอบใช้ความรุนแรงทางร่างกาย มักจะมีลักษณะบางอย่างที่โน้มเอียงไปสู่วังวนแห่งการใช้ความรุนแรงและใช้อำนาจควบคุม โดยอาจรวมถึงบุคลิกลักษณะ ดังต่อไปนี้ [3]
    • มีความรุนแรงทางอารมณ์และพึ่งพิงอีกฝ่าย
    • อาจดูมีเสน่ห์ เป็นที่นิยม และมีพรสวรรค์
    • มีอารมณ์สุดโต่งสลับไปมา 2 ขั้ว
    • อาจเคยเป็นเหยื่อของการทารุณกรรมมาก่อน.
    • อาจมีปัญหาการติดสุราหรือสารเสพติด
    • ชอบควบคุม
    • ชอบใช้อารมณ์
    • ขาดความยืดหยุ่นและชอบตัดสินหรือวิจารณ์
    • อาจมีประวัติด้านการใช้ความรุนเเรงและทารุณในวัยเด็ก
  3. ปกป้องตัวเองด้วยข้อมูลเกี่ยวกับการทารุณกรรม. ความรุนแรงและการทารุณกรรมภายในครัวเรือน เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมากเกินกว่าที่คนทั่วไปคาดหมาย ซึ่งส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพทั้งระยะสั้นและระยะยาวต่อเหยื่อที่ถูกทารุณ ต่อไปนี้ เป็นตัวอย่างสถิติของการทารุณกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา [4]
    • 25-30% ของผู้หญิง เคยประสบเหตุความรุนแรงภายในบ้านมาก่อน
    • ความรุนแรงภายในครัวเรือนเป็นสาเหตุของความพิการและส่งผลให้เกิดผลกระทบด้านลบต่อสุขภาพ ในทำนองเดียวกับ "ผู้ได้รับผลกระทบจากการอาศัยอยู่ในแดนสงคราม"
    • ประมาณสิบกว่าเปอร์เซ็นต์ของผู้ชาย เป็นเหยื่อของการทารุณกรรมจากคู่ครองของพวกเขา
    • ในแต่ละปี มีผู้หญิงประมาณ 1200 คนเสียชีวิตจากความรุนแรงภายในครัวเรือน
    • ในแต่ละปี มีผู้หญิงประมาณ 2 ล้านคน ได้รับความบาดเจ็บจากความรุนแรงภายในครัวเรือน
    • ความรุนแรงภายในครัวเรือนเกิดขึ้นในทุกระดับชนชั้นและพื้นเพทางวัฒนธรรม และเกิดขึ้นมากที่สุดในย่านชุมชนที่ยากจน รวมถึงในกลุ่มผู้ที่ไม่ได้เรียนจนจบการศึกษา
    • เหยื่อของความรุนแรงภายในครัวเรือน มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคพิษสุราเรื้อรังมากกว่าคนทั่วไป
    • อัตราเสี่ยงต่อความพิการ (ทั้งทางอารมณ์ จิตใจ และร่างกาย) สำหรับเหยื่อความรุนแรงในครัวเรือน คิดเป็น 2 เท่าของคนทั่วไป อัตราความเป็นไปได้ที่เหยื่อเหล่านั้นจำเป็นจะต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วย (เช่น ไม้เท้า หรือ ไม้ค้ำยัน) หรือต้องใช้รถล้อเข็น เพิ่มขึ้นประมาณ 50%
    • อัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดสมองของเหยื่อ เพิ่มขึ้น 80% เช่นเดียวกับในแง่ของโรคหัวใจ โรคข้อต่ออักเสบ และโรคภูมิแพ้ ที่เพิ่มขึ้น 80%, 70% และ 60% ตามลำดับ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 9:

รู้ทันการทารุณทางร่างกาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ลองคิดดูว่า การทะเลาะเบาะแว้งของคุณกับคู่ครองเป็นไปในลักษณะใด. การทะเลาะเบาะแว้งย่อมเกิดขึ้นได้เป็นบางคราวในความสัมพันธ์ ซึ่งผู้ที่ชอบกระทำทารุณกรรมอาจเรียกสถานการณ์ดังกล่าวว่า "การวิวาท" แต่มันมีบางอย่างที่มากกว่านั้น [5] การตะคอก ทุบตี ตบ ชกต่อย และการบีบคอ ไม่ใช่ผลสืบเนื่องจากความไม่ลงรอยกัน แต่เป็น "รูปแบบพฤติกรรม" ซึ่งอีกฝ่ายใช้ควบคุมคุณ [6]
  2. จดบันทึกการทำร้ายร่างกายที่คู่ครองของคุณกระทำต่อคุณ. การกระทำดังกล่าวอาจมีหลากหลายลักษณะด้วยกัน [7] มันอาจจะเกิดขึ้นนานๆ ครั้ง หรืออาจเกิดขึ้นบ่อยมากก็ได้ และมันอาจจะมีระดับความร้ายแรงแตกต่างกันไป หรืออาจเป็นเพียงเหตุการณ์ครั้งเดียวที่เคยเกิดขึ้น
    • การทำร้ายร่างกายดังกล่าวอาจเกิดขึ้นอย่างมีรูปแบบตายตัว หรือมีความชัดเจน หรือเป็นเพียงการข่มขู่ทางอ้อมอยู่เนืองๆ ก็ได้ มันยังอาจเป็นไปในลักษณะที่ทำให้คุณรู้สึกกลัวเกี่ยวกับความปลอดภัยของตัวเอง หรือความปลอดภัยของคน สัตว์ และสิ่งของที่คุณรัก หากมีเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าว ก็แสดงว่าการทารุณกรรมทางร่างกายอาจกำลังคืบคลานเข้ามา และส่งผลต่อทุกด้านของชีวิตคุณได้
    • การทำร้ายร่างกายอาจเกิดขึ้นเป็น "วัฏจักร" ซึ่งหมายความว่า อาจมีช่วงที่สงบศึก และตามมาด้วยการเริ่มตึงเครียด จากนั้นจึงกลายไปเป็นการทำร้าย [8] หลังจากการทำร้ายดังกล่าวเกิดขึ้นแล้ว วัฏจักรก็สามารถเริ่มต้นได้อีกครั้งในภายหลัง
  3. การลงมือทำร้ายร่างกาย อาจเผยให้เห็นชัดเจนในตัวมันเองอยู่แล้ว หรือแทบไม่จำเป็นต้องเอื้อนเอ่ยอธิบาย แต่สำหรับคนที่เติมโตมากับการถูกทารุณทุบตี พวกเขาอาจไม่ได้ตระหนักเลยว่า พฤติกรรมดังกล่าวไม่ใช่พฤติกรรมที่ดีหรือเป็นเรื่องปกติ ทั้งนี้ สัญญาณบอกเหตุ อาจรวมถึง: [9]
    • การจิกผมของคุณ
    • ชกต่อย ตบตี หรือถีบเตะคุณ
    • กัดหรือบีบคอคุณ
    • กีดกันคุณออกจากสิทธิความต้องการขั้นพื้นฐาน เช่น อาหารและการพักผ่อนนอนหลับ
    • ทำลายทรัพย์สินหรือสิ่งของในที่พักของคุณ เช่น การเขวี้ยงจานชาม หรือชกต่อยกำแพง
    • ข่มขู่คุณด้วยมีด ปืน หรือใช้อาวุธใดๆ กับคุณ
    • ขัดขวางคุณไม่ให้ออกจากที่พัก หรือโทรแจ้งตำรวจ รวมถึงการไปโรงพยาบาล
    • ทำร้ายร่างกายลูกหลานของคุณ
    • ไล่คุณลงจากรถและปล่อยทิ้งไว้ในสถานที่ไม่คุ้นเคย
    • ขับรถอย่างอันตรายและบ้าระห่ำ ในขณะที่คุณอยู่ในรถด้วย
    • บังคับคุณให้ดื่มสุราหรือใช้สารเสพติด
  4. นับดูว่า กี่ครั้งที่คุณทั้งคู่เคยมีช่วง "ฮันนีมูน" ด้วยกัน. ผู้ที่ชอบทารุณมักจะนำเสนอช่วงฮันนีมูนในความสัมพันธ์ อันเป็นช่วงที่เขายังดูเหมือนเป็นคู่ครองในอุดมคติ เพื่อที่จะดึงดูดคุณอยู่ เขามักจะกล่าวคำขอโทษและปฏิบัติต่อคุณอย่างดี ซื้อของขวัญให้และมีท่าทางเป็นมิตร จากนั้น พฤติกรรมของเขาจะเริ่มเปลี่ยน และเริ่มที่จะทารุณอีกครั้ง โดยที่คุณถูกตีกรอบให้ยอมรับพฤติกรรมดังกล่าวไปทีละน้อย
  5. นับดูว่า กี่ครั้งที่คุณต้องปกปิดบาดแผลหรืออาการบาดเจ็บของตัวเอง. ผลพวงจากการถูกทารุณทางทารุณทางกาย อาจทำให้คุณเกิดรอยแผล รอยมีดบาด หรือร่องรอยบาดเจ็บอื่นๆ ลองคิดถึงการที่คุณต้องใส่เสื้อคอเต่าในช่วงหน้าร้อน หรือต้องแต่งหน้าเพื่อปกปิดรอยแผล
  6. ตระหนักว่า การทารุณทางร่างกายมักตามมาด้วยการทารุณด้านอื่นๆ . แม้ว่าการทารุณทางร่างกายมักจะเป็นตัวบ่งบอกให้เกิดความตื่นตัว เกี่ยวกับความทารุณที่กำลังเกิดขึ้นในความสัมพันธ์ แต่พฤติกรรมเหล่านั้นมักจะเกิดขึ้นควบคู่ไปกับการทารุณทางอารมณ์ จิตใจ การเงิน และการทารุณทางเพศด้วย [10] [11]
  7. ตระหนักว่า การทารุณทางร่างกายอาจไม่ได้เกิดขึ้นในทันที. การทารุณร่างกายอาจไม่เผยให้เห็นอย่างแน่ชัดในช่วงเริ่มต้นความสัมพันธ์ [12] ความสัมพันธ์อาจเริ่มต้นด้วยพฤติกรรมที่ดูเหมือนเป็นไปในทางที่ดี ตามอุดมคติ
    • ผู้หญิงคนหนึ่งเล่าว่า ตอนที่พบสามีเธอในช่วงเริ่มต้นของความสัมพันธ์ เขาปรากฏตัวขึ้นโดยไปหาเธอหลังเลิกงาน พร้อมด้วยดอกไม้ในมือ โดยเธอเล่าเรื่องนี้ให้ฟัง ในขณะที่รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลจากอาการบาดเจ็บที่จมูก ซึ่งถูกสามีคนดังกล่าว ขว้างตะกร้าเสื้อผ้าใส่หน้าเธอ และเธอก็ตำหนิตัวเองที่เป็นเช่นนี้ เพราะการเริ่มต้นความสัมพันธ์อย่างสมบูรณ์แบบดังกล่าว มักเป็นสิ่งที่ล่อลวงเหยื่อให้อยู่ในความสัมพันธ์นั้น
    • หรือเป็นเพราะว่า พฤติกรรมที่เป็นปัญหามักจะยังดูคลุมเครือในช่วงเริ่มต้น [13] มันอาจจะเริ่มด้วยการแสดงความหึงหวงอย่างสุดโต่งและมีพฤติกรรมชอบควบคุม [14] เพื่อทำให้หลงเชื่อว่า นั่นคือคุณลักษณะของความรักที่แท้จริง ผู้ที่ชอบกระทำทารุณยังอาจจะพร่ำบอกกับเหยื่อว่า พวกเขาให้ความสำคัญกับเหยื่ออย่างลึกซึ้ง จนไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมรุนแรงของพวกเขาได้ เช่น "คุณทำให้ผมจะคลั่งไคล้ จนควบคุมตัวเองไม่ได้ ดูสิว่า ผมแคร์คุณมากแค่ไหน"
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 9:

รู้ทันการทารุณทางอารมณ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การทารุณกรรมทางอารมณ์ มักรวมถึงการทำร้ายทางวาจา ซึ่งเป็นการที่ผู้ทารุณวางแผนอย่างเป็นระบบ ในการทำให้ระดับความนับถือตัวเองของคุณต่ำลง ด้วยการใช้คำหยาบคาย ตำหนิทุกสิ่งที่คุณทำ แสดงท่าทีไม่เชื่อใจ ทำทีราวกับว่าคุณเป็นสิ่งของชิ้นหนึ่งของพวกเขา ข่มขู่คุณ และครอบงำบุตรหลานของคุณให้หันมาต่อต้านคุณ รวมถึงอาจข่มขู่ทำร้ายเด็กเหล่านั้นด้วย ซึ่งเป็นหนึ่งในพฤติกรรมอื่นๆ อีกมากมาย [15]
  2. บ่อยครั้งที่การทารุณทางอารมณ์มาในรูปแบบของการใช้คำพูดสองแง่สองง่าม คนที่ชอบกระทำทารุณอาจพูดในทำนองว่า "ผมรักคุณ แต่ถ้าคุณไม่อยู่กับผมในช่วงสุดสัปดาห์นี้ ผมจะรู้สึกว่าคุณไม่ได้รักผมนะ" [16] ด้วยการพูดในลักษณะนี้ ผู้ที่กระทำทารุณได้ทำให้เงื่อนไขในความรักของเขา ส่งผลต่อคุณในทิศทางที่กำหนดไว้
    • หากคู่ครองของคุณมักจะตําหนิและทำให้คุณรู้สึกว่ามีความบกพร่อง ก็อาจแสดงว่าคุณกำลังถูกทารุณกรรมทางอารมณ์
  3. ตรวจสอบดูว่า คู่ครองของคุณพยายามครอบงำความรู้สึกคุณหรือไม่. คนที่กระทำทารุณทางอารมณ์ต่อผู้อื่น อาจทำให้คุณรู้สึกไปในทิศทางที่พวกเขาต้องการ โดยมีเจตนาเพื่อที่จะควบคุมคุณ [17] โดยอาจเป็นไปในลักษณะดังต่อไปนี้:
    • ทำให้คุณอับอายหรือเสียหน้า
    • ทำให้คุณรู้สึกผิด
    • ทำให้คุณรู้สึกว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นความผิดของคุณ
  4. ผู้ที่ชอบทารุณผู้อื่น อาจใช้การข่มขู่ในการควบคุมพฤติกรรมและการกระทำของคุณ คุณควรคอยสังเกตการข่มขู่ของพวกเขาที่ทำต่อคุณ พวกเขายังอาจพยายามยุยงให้บุตรหลานของคุณต่อต้านคุณเอง หรือขู่เข็ญจะทำร้ายร่างกายเด็กๆ เหล่านั้นด้วย
    • การข่มขู่อาจรวมถึงการพูดในทำนองว่า "ฉันจะฆ่าแก ถ้าแกทิ้งฉันไป"
  5. ตรวจสอบว่า คุณเริ่มออกห่างจากวงสังคมของคุณหรือไม่. การกีดกันคุณออกจากวงสังคม เป็นรูปแบบหนึ่งของการทารุณทางอารมณ์ ที่ผู้ชอบกระทำทารุณผู้อื่นจะใช้ในการควบคุมความรู้สึกและการกระทำของคุณ การโดดเดี่ยวคุณออกจากวงสังคมอาจเป็นไปในรูปแบบดังต่อไปนี้ [18]
    • กีดกันคุณจากการพบปะกับเพื่อนฝูงหรือคนในครอบครัว
    • แสดงท่าทางหึงหวงและไม่ไว้ใจกลุ่มเพื่อนของคุณ
    • จำกัดการใช้รถหรือโทรศัพท์ของคุณ
    • บังคับให้คุณอยู่กับบ้าน
    • สั่งให้คุณคอยรายงานตัวเสมอว่า กำลังอยู่ที่ไหน
    • กีดกันไม่ให้คุณไปทำงานหรือไปเรียน
    • กีดกันคุณไม่ให้เข้ากับรับการรักษาพยาบาล
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 9:

รู้ทันการทารุณทางเพศ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ลักษณะ "การบังคับทางเพศ" โดยทั่วไปแล้ว คือ การบังคับให้คุณมีเพศสัมพันธ์ รวมถึงบังคับเรื่องการแต่งกายของคุณ ข่มขืนคุณ จงใจแพร่เชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ให้คุณ บังคับให้คนดูหนังลามกโดยไม่เต็มใจ วางยาคุณเพื่อมีเพศสัมพันธ์กับคุณ และอื่นๆ อีกมากมาย [19]
  2. ลักษณะการ "บังคับให้ตั้งครรภ์" หมายถึง การไม่เปิดโอกาสให้คุณเลือกว่า ต้องการจะตั้งครรภ์หรือไม่ บุคคลดังกล่าวอาจจะคอยบันทึกติดตามรอบเดือนของคุณ และจงใจทำให้คุณตั้งครรภ์โดยไม่เต็มใจ หรือยับยั้งการตั้งครรภ์ของคุณโดยไม่เต็มใจเช่นกัน [20]
  3. พยายามสังเกตการยุ่งเกี่ยวทางเพศแบบที่คุณไม่เต็มใจ. การทารุณทางเพศ ประกอบไปด้วยการพยายามยุ่งเกี่ยวโดยที่คุณไม่เต็มใจด้วย ซึ่งอาจเป็นไปในหลายรูปแบบ ตั้งแต่การใช้ความรุนแรง ไปจนถึงพฤติกรรมแบบอ้อมๆ เช่น การเรียกคุณด้วยคำที่เหยียดหยามทางเพศ (เช่น “ยัยร่าน” หรือ “โสเภณี”) [21] ต่อไปนี้ คือ ตัวอย่างของการกระทำดังกล่าว [22]
    • แตะต้องหรือกอดรัด โดยที่คุณไม่อนุญาต
    • บังคับให้คุณมีเพศสัมพันธ์ร่วมกับคู่รักอื่น
    • อัดวีดีโอหรือถ่ายรูปขณะมีเพศสัมพันธ์ โดยที่คุณไม่เต็มใจ
    • บังคับให้คุณกระทำการทางเพศในแบบที่คุณกลัวหรืออาจบาดเจ็บ
    • ใช้กฎหมายเล่นงานคุณในข้อหาขายบริการทางเพศ (เช่น โทรแจ้งตำรวจว่า คุณขายบริการทางเพศ)
    • เรียกร้องหรือบังคับให้คุณมีเพศสัมพันธ์
    • บังคับให้คุณมีเพศสัมพันธ์และใช้เรื่องนี้ในการดูถูกคุณในภายหลัง
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 9:

รู้ทันการทารุณในรูปแบบอื่นๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตรวจสอบว่าคุณกำลังถูกทารุณด้านการเงินหรือไม่. การทารุณหรือเอาเปรียบทางด้านการเงิน รวมถึงการใช้เรื่องเงินมาควบคุมคุณ ซึ่งรวมถึงการกีดกันคนในการเข้าถึงแหล่งเงิน ไม่ว่าคุณจะเป็นคนที่หาเงินดังกล่าวมาเองหรือไม่ก็ตาม
    • ผู้ที่ชอบกระทำทารุณผู้อื่นอาจจะริบปฏิบัติเครดิตของคุณไป หรืออาจใช้ชื่อคุณในการสมัครบัตรเครดิต และทำให้ประวัติด้านการเงินของคุณเสียหายด้วยการไม่ชำระค่าบัตรเครดิต
    • ในทางกลับกัน ผู้ที่ชอบกระทำทารุณผู้อื่นอาจจะย้ายเข้ามาอยู่กับคุณ แต่ไม่ช่วยออกค่าใช้จ่ายใดๆ แถมยังอาจจำกัดการเข้าถึงเงินที่ใช้สำหรับความต้องการขั้นพื้นฐานของคุณด้วย เช่น การซื้อของอุปโภคบริโภคต่างๆ หรือค่ายารักษาโรค [23]
  2. ตรวจสอบว่า มีการกลั่นแกล้งช่วยซื้อออนไลน์หรือไม่. ผู้ที่ชอบกระทำทารุณผู้อื่นหาดใช้เทคโนโลยี อย่างเช่น โทรศัพท์มือถือ บัญชีผู้ใช้งานอีเมล์ และบัญชีผู้ใช้งานสื่อโซเชียลต่างๆ ในการข่มขู่หรือการแจ้งคุณ หรือสะกดรอยตามและข่มขู่คุณ แถมยังอาจใช้สื่อโซเชียลมีเดียในการส่งข้อความคุกคาม แบล็คเมล์ และสะกดรอยตามคุณ
    • ผู้ที่ชอบกระทำทารุณผู้อื่น อาจจะสั่งให้คุณพกโทรศัพท์ติดตัวตลอดเวลา และต้องรับสายเขาทุกครั้งที่โทรหา
  3. ตรวจสอบว่า ผู้ที่ชอบกระทำทารุณผู้อื่นกำลังสะกดรอยตามคุณหรือไม่. การสะกดรอยตามหรือการติดตามอย่างหมกมุ่น เป็นวิธีที่ผู้ที่ชอบกระทำทารุณผู้อื่นใช้ในการคอยติดตามความเคลื่อนไหวและการกระทำของคุณ ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากคนที่คุณไม่ได้มีความสัมพันธ์เชิงชู้สาวด้วยก็ได้ แต่หากคุณมีความสัมพันธ์คบหากับผู้ที่ชอบกระทำทารุณผู้อื่น พวกเขาก็อาจมีพฤติกรรมสะกดรอยตามคุณได้เช่นกัน บ่อยครั้งที่พฤติกรรมเช่นนี้จะเกิดขึ้นเมื่อความสัมพันธ์ใกล้จะจบลง หรืออาจเกิดขึ้นในระหว่างที่ความสัมพันธ์ยังดำเนินไปอยู่ก็ได้ การติดตามและการหมกมุ่นอย่างเกินพอดีเช่นนี้ มักทำให้เกิดความหวาดกลัว [24] ซึ่งคู่ครองของคุณ อาจเข้าข่ายมีพฤติกรรมดังกล่าว ในกรณีที่:
    • เขาปรากฏตัวในสถานที่ๆ คุณไปเป็นประจำ
    • เขาแอบติดตามคุณ
    • เขาคอยสอดส่องคุณ
    • เขาส่งการ์ดหรือจดหมายข้อความข่มขู่คุณ
    • เขาทิ้งข้อความทางโทรศัพท์ข่มขู่คุณ
    • ทำลายทรัพย์สินส่วนตัวของคุณ
    • เขาข่มขู่หรือเผชิญหน้ากับคนที่คุณมีความใกล้ชิดด้วย
    โฆษณา
วิธีการ 6
วิธีการ 6 ของ 9:

รู้ทันลักษณะการทารุณทางกาย สำหรับผู้ชาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. รู้ทันลักษณะความรุนแรงภายในครัวเรือนที่มีต่อผู้ชาย. เหยื่อของความรุนแรงในครัวเรือนที่เป็นผู้ชาย ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในความสัมพันธ์ของชาวรักร่วมเพศเท่านั้น ผู้ชายบางคนอาจถูกทำร้ายร่างกายโดยฝ่ายหญิงก็ได้ และได้รับผลกระทบจากการทารุณกรรมทางกายต่างๆ ได้เช่นเดียวกัน รูปแบบเช่นนี้มักเกิดขึ้นในความสัมพันธ์ที่ฝ่ายชายมีสถานะด้านการเงินด้อยกว่าฝ่ายหญิง ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม
  2. ประเมินตัวเองดูว่า คุณรู้สึกมีความกดดันทางสังคมในการยอมรับว่าถูกทารุณหรือไม่. ผู้ชายที่มีปัญหาถูกทารุณทางร่างกายในครัวเรือน มักจะรู้สึกอับอายมากกว่า ในการที่ต้องจำใจถูกกระทำดังกล่าว พวกเขาจึงมักจะไม่นำเรื่องนี้มาเปิดเผย เพราะมีความกดดันทางสังคม เช่น คุณอาจรู้สึกว่า จำเป็นต้องรักษาภาพลักษณ์ความเป็นชายฉกรรจ์เอาไว้ หรือคุณอาจจะกลัวว่าจะดูอ่อนแอ โดยเฉพาะกรณีที่ฝ่ายหญิงมีความโดดเด่นและเป็นฝ่ายควบคุมในความสัมพันธ์มากกว่า
  3. ตรวจสอบดูว่า คุณรู้สึกไม่สามารถปกป้องตัวเองได้หรือไม่. ผู้ชายมักถูกสอนมาว่าห้ามทำร้ายผู้หญิง พวกเขาจึงมักจะไม่ค่อยป้องกันตัวเองเท่าไหร่ ซึ่งหากพวกเขาทำไป พวกเขาก็ต้องมากังวลว่า อาจจะถูกใช้เป็นข้ออ้างในการกล่าวหาว่า ใช้ความรุนแรงในครอบครัวกับฝ่ายหญิง เพราะว่าคำให้การของฝ่ายหญิงมักจะมีน้ำหนักมากกว่าฝ่ายชาย ในเรื่องของความรุนแรงในครอบครัว
    • ผู้ชายยังมักจะมีแนวโน้มขอความช่วยเหลือน้อยกว่าผู้หญิง กรณีที่ฝ่ายหญิงมีอาวุธและตั้งใจที่จะใช้มัน ส่วนฝ่ายหญิงก็อาจข่มขู่ว่า จะทำร้ายตัวเอง เพื่อใช้เป็นข้ออ้างในการกล่าวหาฝ่ายชาย รวมถึงใช้บาดแผลที่อาจเกิดขึ้นในขณะที่ฝ่ายชายป้องกันตัว มาปรักปรำด้วย ซึ่งพวกเธออาจใช้เป็นข้อกล่าวหาให้ตำรวจมาจับกุมฝ่ายชายอีกต่างหาก
    • ผู้ชายที่ถูกกระทำทารุณจะมีความรู้สึกกล้ำกลืนฝืนทนมากกว่าผู้หญิง และไม่มีแหล่งที่พึ่ง เวลาที่ถูกทารุณโดยฝ่ายหญิง เพราะมักจะไม่มีใครเชื่อพวกเขา และยังไม่มีใครแสดงความเห็นใจพวกเขาด้วย ซึ่งยิ่งทำให้พวกเขารู้สึกโดดเดี่ยวและต้องจำใจยอมรับสถานการณ์ดังกล่าวยิ่งขึ้น.
    โฆษณา
วิธีการ 7
วิธีการ 7 ของ 9:

การประเมินแนวโน้มความสัมพันธ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ผลพวงจากการจำใจทนถูกทารุณกรรมทางกายและด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อาจทำให้คุณมีความรู้สึก ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า ตนเองกำลังตกอยู่ในความสัมพันธ์แบบทารุณกรรม [25]
    • คุณยังคงรักอีกฝ่ายอยู่ แต่ต้องการให้พฤติกรรมทารุณของเขาเปลี่ยนแปลง
    • คุณรู้สึกโดดเดี่ยว และได้รับผลกระทบจากอาการซึมเศร้า รู้สึกไร้พลัง อับอาย วิตกกังวล และหรือมีความคิดในการฆ่าตัวตายด้วย
    • คุณรู้สึกอับอายและคิดว่าคนอื่นอาจจะซ้ำเติมคุณด้วย
    • คุณมีปัญหาเกี่ยวกับโรคพิษสุราเรื้อรัง หรือการใช้สารเสพติด
    • คนไม่สามารถหลบหนีออกมาได้เพราะไม่มีเงิน และยังอาจกลัวว่าอีกฝ่ายอาจทำอะไรคุณด้วย
    • คุณยังคงหวังว่า อีกฝ่ายจะปรับปรุงพฤติกรรมของตัวเอง หากคุณให้ความรักแก่เขามากพอ
    • คุณเชื่อว่า คุณต้องทนอยู่กับอีกฝ่าย เพียงเพราะคุณให้คำมั่นสัญญาไว้แล้ว
    • คุณรู้สึกแปลกแยกจากครอบครัวของตัวเอง
    • คุณรู้สึกติดกับดักและไม่มีทางหลบหนี หากคุณพยายามหลบหนี ก็กลัวว่าจะถูกตามจนเจอและเกิดสถานการณ์ที่เลวร้ายกว่าเดิม
    • คุณกลัวว่า อีกฝ่ายจะทำร้ายเด็กหรือสัตว์เลี้ยงที่อยู่ในความดูแลของคุณ และยังกังวลว่าเขาแย่งสิทธิ์ในการครอบครองเด็กๆ ของคุณตามกฎหมายด้วย
    • คุณรู้สึกไม่ไว้ใจหน่วยงานที่ให้การช่วยเหลือด้านความรุนแรงในครัวเรือน หรือผู้รักษากฎหมายด้านต่างๆ เนื่องจากวิธีในการจัดการปัญหาของพวกเขาที่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ (ไม่ว่าจะเป็นเพียงภาพลักษณ์หรือเป็นความจริงก็ตาม)
    • ถ้าคุณสามารถจดบันทึกความรู้สึกของตัวเองลงในสมุดได้ ก็ควรทำ หากคุณกลัวว่า อีกฝ่ายจะมาอ่านเจอเข้า คุณก็ต้องหาทางออกอื่นในการระบายความรู้สึก ซึ่งอาจรวมถึงการพูดคุยกับเพื่อน หรือเขียนลงบนเศษกระดาษและโยนทิ้งไป
  2. เวลาที่มีการสื่อสารกันอย่างหนักแน่น หากเป็นความสัมพันธ์ที่ดี ทั้งสองฝ่ายจะสามารถพูดคุยกันอย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมา ซึ่งรวมถึงการเปิดเผยความรู้สึกของแต่ละฝ่ายให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้ด้วย พวกเขาจะไม่รู้สึกว่า ต้องการเป็นผู้ชนะหรือเป็นฝ่ายถูกเสมอไป และจะยอมรับฟังอีกฝ่ายด้วยความเปิดใจยอมรับ ความรัก และไม่ตัดสินวิพากษ์วิจารณ์ [26]
    • ผู้ที่มีความสัมพันธ์ที่สมบูรณ์จะไม่เอาแต่กล่าวโทษกัน โดยต่างฝ่ายต่างจะรับผิดชอบการกระทำ ความคิด และอารมณ์ รวมถึงความสุขและชะตาชีวิตของตัวเอง พวกเขายังรับผิดชอบความผิดพลาดที่ตัวเองทำ และพยายามทำทุกอย่างเพื่อชดเชยให้แก่อีกฝ่ายด้วย (การกล่าวขอโทษถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี)
  3. ลองทบทวนช่วงเวลาที่คุณทั้งคู่เกิดการโต้เถียงกัน. ต่อให้เป็นความสัมพันธ์ที่สมบูรณ์พร้อม แต่ละฝ่ายก็ไม่ได้มีความเห็นในทิศทางเดียวกันเสมอไป การเข้าใจผิด การสื่อสารแบบผิดพลาด และความขัดแย้ง จะถูกแก้ไขโดยทันทีและตรงไปตรงมา การสื่อสารอย่างหนักแน่น จะมีลักษณะของความอ่อนโยนและให้เกียรติอย่างเสมอต้นเสมอปลาย รวมถึงการสนับสนุนให้มีการร่วมมือกันแก้ไขปัญหาและความขัดแย้งที่เกิดขึ้นด้วย [27]
    • คู่ครองที่ดีนั้นจะอ่อนโยนต่ออีกฝ่าย และมีระดับความนับถือต่ออีกฝ่ายในระดับที่มากพอ พวกเขาจะไม่ใช้คำหยาบเรียกชื่อกัน ไม่ตำหนิติเตียนหรือแสดงสัญญาณของความก้าวร้าวออกมา พวกเขาจะส่งเสริมกันและกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลังสาธารณชน
    • ด้วยความที่คู่ครองประเภทดังกล่าว พร้อมที่จะรับผิดชอบการกระทำของตัวเอง พวกเขาจึงพร้อมที่จะปรับปรุงพฤติกรรมของตัวเองที่ไม่เป็นผลดีต่อความสัมพันธ์ พวกเขาจะพยายามยืดหยุ่นและมองสถานการณ์ด้วยมุมมองของอีกฝ่าย
  4. ลองทบทวนเกี่ยวกับขอบเขตในความสัมพันธ์ของคุณ. คู่ชีวิตที่ดี จะมีขอบเขตในความสัมพันธ์และสามารถแสดงความต้องการ รวมถึงความชอบส่วนตัวของแต่ละฝ่ายได้ พวกเขาใช้ความหนักแน่นในการแสดงขอบเขตอย่างอ่อนโยนและเต็มไปด้วยความรัก.
    • ส่วนผู้ที่ชอบกระทำทารุณผู้อื่น มักวางแผนในการทดสอบขอบเขตทางอารมณ์ของอีกฝ่าย และพยายามที่จะหาทางทำลายมันลง เพื่อที่จะทำให้อีกฝ่ายยอมถูกควบคุมในที่สุด จากนั้น คุณจะเริ่มยอมรับพฤติกรรมและความทารุณของพวกเขา ยอมรับอำนาจที่พวกเขามีเหลือคุณ รวมถึงเกิดความหวาดกลัวที่จะถูกทำร้ายหรือแม้แต่ถูกฆ่า ซึ่งทำให้คุณติดอยู่ในความสัมพันธ์ดังกล่าวและการควบคุมของพวกเขา
  5. เขามักจะดูถูกเหยียดหยามคุณต่อหน้าคนอื่นหรือไม่ เขามักจะตำหนิและเรียกคุณแบบเสียๆ หายๆ หรือไม่ ผู้ที่ชอบกระทำทารุณผู้อื่นมักจะใช้คำพูดในลักษณะกดขี่ เพื่อทำให้ระดับความนับถือตัวเองของอีกฝ่ายต่ำลง
  6. ตรวจสอบดูว่า คุณได้ไล่ตามเป้าหมายในชีวิตของตัวเองมากน้อยเพียงใด. บ่อยครั้งความสัมพันธ์แบบทารุณ มักจะมีฝ่ายหนึ่งที่ไม่ได้ทำในสิ่งที่ตัวเองมีความสุข พวกเขามักจะเชื่อแบบผิดๆ ว่า การเสียสละในลักษณะนี้เป็นไปเพื่อความรัก ซึ่งใครๆ ก็ทำกัน [28]
    • ลองทบทวนดูว่า ชีวิตคุณหมุนเวียนอยู่กับการพยายามทำให้อีกฝ่ายมีความสุขหรือเปล่า ลองคิดดูว่า มีความต้องการใดของอีกฝ่าย ที่ทำให้คุณต้องเสียสละเป้าหมายส่วนตัวหรือไม่
  7. ถามตัวเองดูว่า คุณถูกกีดกันในความสัมพันธ์หรือไม่. การกีดกันเหยื่อออกจากโลกภายนอก เป็นอีกหนึ่งรูปแบบที่มักเกิดขึ้นในช่วงเริ่มต้นความสัมพันธ์แบบทารุณ ผู้ที่ชอบกระทำทารุณผู้อื่น มักจะกล่าวโทษผู้อื่น ที่พยายามจะทำให้เขาและคู่ครองต้องแยกทางกัน เขายังอาจอ้างว่า เขารักคุณมากเกินกว่าที่จะปล่อยให้คุณไปยุ่งเกี่ยวกับใคร
    • มันเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่า ทำไมพฤติกรรมดังกล่าว จึงทำให้เหยื่อรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนพิเศษ นั่นคือวิธีที่ผู้ที่ชอบกระทำทารุณผู้อื่น ใช้ในการล่อลวงคุณเข้าหา และผูกมัดคุณไว้ในความสัมพันธ์ เขาจะทำให้ขอบเขตในความสัมพันธ์มันสลายไป และหาเหตุผลเข้าข้างพฤติกรรมทางลบของตัวเอง
  8. ลองทบทวนเหตุผลที่คุณยังทนอยู่ในความสัมพันธ์. มันง่ายที่จะเชื่อว่าอีกฝ่ายรักคุณมาก จนทำให้เขาหรือเธอบ้าคลั่ง เพราะมันทำให้คุณรู้สึกดีกับตัวเอง แต่มันเป็นเพียงเทคนิคที่พวกเขาใช้ในการควบคุมคุณ และความรู้สึกดีที่เกิดขึ้นของคุณนั้น จะคงอยู่เพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ ในระหว่างที่ผู้ที่ชอบกระทำทารุณผู้อื่น จะเริ่มใช้เล่ห์กลชักใยควบคุมความสัมพันธ์มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งการควบคุมดังกล่าวเป็นเรื่องปกติของความสัมพันธ์แบบทารุนเช่นนี้
    • หากเป็นความสัมพันธ์ที่ดี แต่ละฝ่ายจะรับผิดชอบต่อระดับความนับถือตัวเองของตนเอง และต่างฝ่ายจะทำให้ดีที่สุด เพื่อที่จะเสริมสร้างคุณค่าในตัวเอง
    โฆษณา
วิธีการ 8
วิธีการ 8 ของ 9:

Getting Help

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หากคุณมั่นใจว่าอีกฝ่ายจะทำร้ายร่างกายคุณให้รีบโทรหา 191 ทันที เพื่อที่จะรับประกันว่า จะไม่เกิดการทำร้ายร่างกายขึ้น และเป็นการรับประกันความปลอดภัยให้แก่คุณและเด็กๆ ให้สามารถหนีออกมาได้อย่างปลอดภัย ซึ่งอาจทำให้อีกฝ่ายถูกจับกุมดำเนินคดีด้วย
  2. แจ้งตำรวจเกี่ยวกับการทำร้ายร่างกายที่เกิดขึ้น. อธิบายเหตุการณ์ต่างๆ ให้ตำรวจฟัง และแสดงบาดแผลที่เกิดขึ้นให้ดูด้วย โดยอาจขอให้พวกเขาถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐานโดยทันที หรือในวันถัดไปก็ได้ เพื่อที่จะใช้เป็นหลักฐานในชั้นศาล
    • อย่าลืมจดชื่อหรือหมายเลขประจําตัวของเจ้าหน้าที่ตำรวจเอาไว้ด้วย รวมถึงหมายเลขที่สามารถติดต่อได้ในกรณีที่คุณต้องการสำเนาบันทึกประจำวัน
  3. โทรหาหน่วยงานที่ให้ความคุ้มครองกรณีความรุนแรงในครัวเรือน. หน่วยงานเหล่านี้มักจะเปิดสายไว้ตลอด 24 ชั่วโมง และสามารถให้คำแนะนำ รวมถึงบอกแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อคุณในพื้นที่ดังกล่าว หน่วยงานเหล่านี้มักจะเก็บเรื่องราวของคุณเป็นความลับหรือมีการใช้ชื่อนิรนาม
    • สายด่วนศูนย์ประชาบดี 1300 รับแจ้งเหตุการณ์กระทำความรุนแรงในครอบครัว
    • สายด่วนศูนย์ประชาบดี นอกจากรับแจ้งเหตุทางโทรศัพท์แล้ว ยังมีเว็บไซต์ ( http://www.violence.in.th/publicweb/ ) ที่คุณสามารถเข้าไปฝากข้อความเอาไว้ให้ติดต่อกลับได้ รวมถึงมีเว็บเชื่อมโยงกับของหน่วยงานให้ความช่วยเหลือด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อันจะเป็นประโยชน์ต่อการรับมือสถานการณ์คับขันได้
  4. คุณอาจจำเป็นต้องมีสถานที่ปลอดภัยไว้รองรับเวลาที่หลบหนี พยายามจดรายชื่อสถานที่ต่างๆ ที่คุณสามารถพึ่งพิงได้ ซึ่งอาจรวมถึง:
    • เพื่อนหรือคนในครอบครัว โดยควรจะเป็นคนที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคู่ครองของคุณ
    • เซฟเฮ้าส์ของหน่วยงานต่างๆ ซึ่งมักเป็นสถานที่ในความดูแลโดยองค์กรไม่แสวงผลกำไร พวกเขาอาจจะมีแหล่งพักอาศัยชั่วคราว ที่ปกปิดเป็นความลับและสามารถเข้าถึงได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งหากคุณต้องการหลบหนีออกมา ในช่วงที่คู่ครองของคุณกำลังนอนหลับ ก็ย่อมสามารถทำได้ และหน่วยงานดังกล่าวจะประสานความร่วมมือกับหน่วยสังคมสงเคราะห์ของทางรัฐบาล เพื่อดำเนินการขั้นต่อไปให้แก่คุณอย่างดีที่สุด นอกจากนี้ พวกเขายังสามารถขอคำสั่งศาลเพื่อคุ้มครองคุณ และนำไปใช้ในการดำเนินคดีอีกฝ่ายได้ด้วย นอจากนี้ หลายแห่งยังมีบริการให้คำปรึกษาในตัวด้วย
  5. หากคุณประสบเหตุถูกทำร้ายร่างกาย คุณควรเข้ารับการรักษาพยาบาลโดยทันที คุณอาจจะได้รับบาดเจ็บร้ายแรงที่จำเป็นต้องรับการตรวจรักษาทางการแพทย์ หากคุณตั้งครรภ์และถูกชกบริเวณท้อง ก็ควรจะเข้ารับการรักษาโดยทันที หากคุณถูกทำร้ายบริเวณศีรษะ จนทำให้เกิดอาการวิงเวียน คลื่นไส้ และสายตาพร่ามัว รวมถึงมีอาการปวดศีรษะอย่างต่อเนื่อง แสดงว่าคุณอาจได้รับบาดเจ็บร้ายแรง
    • องค์กรไม่แสวงผลกำไรที่ให้การช่วยเหลือด้านความรุนแรงในครัวเรือน มักจะประสานงานกับสถานพยาบาลอยู่เป็นประจำ คุณควรขอให้ตัวแทนหรือโฆษกของพวกเขาอยู่เป็นเพื่อนคุณ เพื่อคอยช่วยเหลือประสานงานในระหว่างที่คุณรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล และเขาหรือเธอยังอาจช่วยหาแหล่งที่พักชั่วคราวให้คุณได้ด้วย หากจำเป็น.
    • การไปโรงพยาบาลเพื่อรักษาอาการบาดเจ็บ ยังมีความสำคัญในแง่ของการบันทึกเอกสารเกี่ยวกับเหตุการณ์ถูกทารุณ และจะเป็นประโยชน์ต่ออัยการหรือเจ้าหน้าทางกฎหมาย เพราะสามารถนำไปใช้ในการดำเนินคดีอีกฝ่ายได้ด้วย
  6. ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีศูนย์ให้ข้อมูลด้านความรุนแรงทางเพศและความรุนแรงในครัวเรือน ซึ่งจัดทำเช็คลิสท์ personalized safety plan form คุณสามารถปริ๊นท์ออกมาใช้เตรียมตัวเผื่อในกรณีฉุกเฉินว่า จะต้องทำอย่างไร หรือไปขอความช่วยเหลือจากที่ไหนบ้าง ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ ในกรณีที่คุณเป็นคนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา
    • ส่วนในประเทศไทยนั้น คุณสามารถขอข้อมูลต่างๆ ได้จากหน่วยงานมากมาย อาทิเช่น สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ศูนย์ประสานงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว โทรศัพท์ 02-306-8774 และ 02-306-8983 ศูนย์ปฏิบัติการเพื่อป้องกันการกระทำความรุนแรงในครอบครัว กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ โทรศัพท์ 02-659-6287 รวมถึงศูนย์บ้านพักเด็กและครอบครัว กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ โทรศัพท์ 02-354-7580 และ 02-354-7572 เป็นต้น
  7. ตามการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้กูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว คุณสามารถขอความคุ้มครองจากศาลได้ ในกรณีที่ถูกคู่ครองของคุณคุกคามความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยคุณสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ จากกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว [29]
    • หากได้รับคำสั่งคุ้มครองจากศาลแล้ว คุณควรจะนำเอกสารความคุ้มครองและเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องติดตัวไว้เสมอ ซึ่งจะสามารถโทรแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทันที หากคู่กรณีฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าว
    โฆษณา
วิธีการ 9
วิธีการ 9 ของ 9:

ส่งเสริมคู่ครองของคุณให้เลิกพฤติกรรมทารุณผู้อื่น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ประเมินดูว่า คู่ครองของคุณพร้อมที่จะปรับปรุงตัวเองหรือไม่. มันสำคัญมากที่เขาจะต้องเต็มใจปรับปรุงพฤติกรรมของตัวเองด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอารมณ์ ความใจร้อน หรือการลงไม้ลงมือ มีแต่เขาเท่านั้นที่จะต้องเป็นผู้เริ่มต้นในการเปลี่ยนแปลง มีคำกล่าวว่า “คุณสามารถพาม้าไปที่แหล่งน้ำได้ แต่ไม่สามารถบังคับให้มันดื่มได้” คุณไม่สามารถบังคับให้ใครไปเข้ารับการบำบัด หากเขาเองไม่ต้องการ คุณไม่สามารถบังคับให้เขาเปลี่ยนแปลงแม้เพียงเล็กน้อยด้วยซ้ำ มีแต่เขาคนเดียวเท่านั้น ที่จะต้องเริ่มต้นนำพาตัวเองไปสู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อตัวเอง [30]
    • โชคร้ายที่ผู้ที่ชอบกระทำทารุณผู้อื่น มักเคยชินกับการมีอำนาจเหนืออีกฝ่าย พวกเขาจึงมักรู้สึกว่า ตัวเองมี “ความชอบธรรม” พวกเขายังรู้สึกว่า ตัวเองมีสิทธิ์ในการควบคุมความสัมพันธ์และผู้คนรอบตัว ตัวอย่างเช่น เขาอาจจะอ้างว่า จำเป็นต้องควบคุมทุกสิ่ง เพราะเขาเป็นคนที่ฉลาดที่สุดในความสัมพันธ์ หรือเขาอาจจะกล่าวโทษคนอื่น ที่ทำให้เขามีอารมณ์โมโหตลอดเวลา ที่โชคร้ายอีกอย่างคือ หากมีพฤติกรรมเช่นนี้ ก็แสดงให้เห็นว่า เขายังไม่พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง
  2. หากคู่ครองของคุณมีความตั้งใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองอย่างแท้จริง สามารถสอบถามเกี่ยวกับโปรแกรมดังกล่าวได้ที่ ศูนย์ประชาบดี หมายเลข 1300 หรือมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล หมายเลข 0-2513-2889
    • ผลการวิจัยที่จัดทำโดยโครงการยับยั้งผู้ใช้ความรุนแรงในประเทศสหรัฐอเมริกา มีการเผยแพร่บทสรุปของการเข้าร่วมโครงการลักษณะนี้ แต่ยังขาดความชัดเจน [31] ซึ่งอาจเป็นเพราะว่า ผู้ใช้ความรุนแรงส่วนใหญ่ถูกบังคับให้เข้าร่วมโครงการในฐานะที่ถูกจองจำ และยังคงไม่เต็มใจที่จะปรับปรุงพฤติกรรมการปฏิบัติต่อคู่ครองและเด็กๆ ในความดูแลของพวกเขา
  3. ศูนย์ข้อมูลความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และความรุนแรงในครอบครัว มีบริการให้คำปรึกษาและสามารถแนะนำในกรณีที่ผู้กระทำความรุนแรงต้องการเข้ารับการบำบัด โดยคุณสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หมายเลข 02-3068774 [32]
  4. ในประเทศไทย หน่วยงาน สสส. หรือสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ จะมีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดอบรมและเสวนาอยู่เป็นประจำ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย คุณสามารถคอยติดตามข่าวสารเป็นระยะ เพื่อที่จะได้พาคู่ครองหรือคนใกล้ชิดของคุณเข้ารับการเข้ารับการอบรม ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ตัวเขาเองต่อไป
    • คุณและบุตรหลานในความดูแลของคุณก็ควรเข้ารับคำปรึกษาด้วยเช่นกัน ไม่จากหน่วยงานใดก็หน่วยงานหนึ่ง เช่น กลุ่มบำบัดแบบครอบครัวหรือส่วนตัว ที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านความรุนแรงในครอบครัวเป็นผู้ให้คำปรึกษา
  5. หากคู่ครองของคุณเต็มใจเข้าร่วมโครงการยับยั้งความรุนแรง ก็ถือว่าเป็นข่าวดี มันเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี แต่อย่าคาดหวังว่า พฤติกรรมของเขาจะเปลี่ยนแปลงภายในข้ามคืน เพราะมันอาจใช้เวลาเป็นแรมปี บางครั้งอาจนานถึง 20 - 30 ปีเลยก็ได้ ในการที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบพฤติกรรมทารุณของพวกเขา
  6. หนีออกจากความสัมพันธ์ดังกล่าว หากอีกฝ่ายไม่ยอมเปลี่ยนแปลง. หรือดูเหมือนว่า คู่ครองของคุณเห็นการกระทำของตัวเองเป็นเรื่องปกติและธรรมดา เมื่อนั้นความพยายามในการเปลี่ยนแปลงของคุณ ย่อมไม่อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง หากคุณถูกทำร้ายหรือทุบตี ไม่สำคัญว่าจะเป็นแค่ปีละครั้งหรือสัปดาห์ละครั้ง เมื่อนั้นคุณจำเป็นต้องตระหนักว่า ความปลอดภัยทางอารมณ์และร่างกายของคุณ ขึ้นอยู่กับการหลบหนีให้ได้เท่านั้น แม้ว่ามันจะยากเพียงใดก็ตาม
    • หากคู่ครองของคุณ เป็นฝ่ายควบคุมค่าใช้จ่ายหรือเงินทองของคุณอย่างเคร่งครัดและเข้มงวด รวมถึงคอยสอดส่องการใช้จ่ายของคุณในทุกย่างก้าว มันอาจจะเป็นเรื่องยากในการหลบหนี คุณควรพยามมองหาความช่วยเหลือจากเซฟเฮ้าส์หรือหน่วยงานต่างๆ ที่ให้ความช่วยเหลือด้านความรุนแรงในครัวเรือน เพื่อให้ช่วยเตรียมหาทางในการเริ่มต้นหลบหนี
    โฆษณา

คำเตือน

  • การทารุณกรรมเป็นสถานการณ์ที่ร้ายแรง คุณอาจจำเป็นต้องใช้มาตรการที่เฉียบขาด เช่น ขอให้เพื่อน คนในครอบครัว หรือผู้รักษากฎหมาย เข้ามามีส่วนในการปกป้องคุณจากการถูกทารุณ ทั้งนี้ ไม่ว่าคุณเป็นคนที่ถูกทารุณหรือเป็นผู้ที่ทำทารุณเสียเอง ก็ควรจะลงมือทำอะไรบางอย่างเพื่อเปลี่ยนแปลงตั้งแต่บัดนี้ไป มิฉะนั้น อาจมีผู้ที่ต้องได้รับอันตราย.
โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

เริ่มความสัมพันธ์แบบ Friends with Benefits
ทำให้แฟนเก่ากลับมารักคุณอีกครั้ง
รู้ว่าเมื่อไหร่ที่อีกฝ่ายไม่อยากคุยกับคุณแล้ว
รู้ว่าแฟนสาวของคุณแอบไปนอนกับคนอื่นหรือเปล่า
ทำให้ใครบางคนรู้สึกผิด
พิชิตหัวใจแฟนเก่ากลับมา หลังจากการเลิกรา
ทำให้แฟนเก่าคิดถึงคุณ
หาเสี่ยเลี้ยง
ปลอบโยนแฟนสาวของคุณเมื่อเธอรู้สึกแย่
ดูว่าเพื่อนอิจฉาคุณหรือไม่
จบความสัมพันธ์
ฟื้นฟูความสัมพันธ์ให้กลับมาดีเหมือนเดิม
ดูว่าผู้ชายกำลังหลอกใช้คุณเพื่อเซ็กส์หรือไม่
เรียกความเชื่อใจจากเขาหรือเธอกลับมา
โฆษณา
  1. http://www.ncadv.org/need-support/what-is-domestic-violence
  2. http://theduluthmodel.org/pdf/PowerandControl.pdf
  3. http://www.thehotline.org/
  4. http://www.thehotline.org/is-this-abuse/abuse-defined/
  5. http://www.thehotline.org/is-this-abuse/abuse-defined/
  6. http://theduluthmodel.org/pdf/PowerandControl.pdf
  7. http://psychcentral.com/blog/archives/2014/10/13/21-warning-signs-of-an-emotionally-abusive-relationship/
  8. http://psychcentral.com/blog/archives/2014/10/13/21-warning-signs-of-an-emotionally-abusive-relationship/
  9. https://mainweb-v.musc.edu/vawprevention/research/defining.shtml
  10. http://theduluthmodel.org/pdf/PowerandControl.pdf
  11. http://theduluthmodel.org/pdf/PowerandControl.pdf
  12. http://www.hiddenhurt.co.uk/subtle_sexual_abuse.html
  13. http://stoprelationshipabuse.org/educated/types-of-abuse/sexual-abuse/
  14. http://theduluthmodel.org/pdf/PowerandControl.pdf
  15. https://mainweb-v.musc.edu/vawprevention/research/defining.shtml
  16. http://www.ncadv.org/need-support/what-is-domestic-violence
  17. http://www.biomedsearch.com/article/essential-elements-healthy-relationship-Relationships/99514103.html
  18. http://www.biomedsearch.com/article/essential-elements-healthy-relationship-Relationships/99514103.html
  19. http://www.biomedsearch.com/article/essential-elements-healthy-relationship-Relationships/99514103.html
  20. http://www.dwf.go.th/
  21. http://www.lundybancroft.com/books
  22. http://www.nij.gov/topics/crime/intimate-partner-violence/interventions/Pages/batterer-intervention.aspx
  23. http://www.violence.in.th/

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,052 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา