ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าตอนจะเซฟไฟล์ลง microSD card แล้วเจอ error ว่าการ์ดนี้ติด write-protected หรือเป็นแบบ read-only เซฟไฟล์ไม่ได้ แสดงว่าเป็น error ที่ทำให้แก้ไขและย้ายไฟล์สำคัญไม่ได้ เรียกว่าแทบจะใช้งาน microSD นั้นไม่ได้เลย โชคดีที่แก้ไขได้หลายวิธีด้วยกัน แค่ว่าบางวิธีอาจจะยุ่งยากกว่าเล็กน้อย บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการแก้ไข read-only error ให้คุณเซฟไฟล์ลง microSD card ของ Transcend ได้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 5:

ปิดสวิตช์ Write Protection ที่ adapter ของ microSD

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าจะเซฟไฟล์จากคอมลง microSD ที่ adapter ของ microSD อาจจะมีสวิตช์ write protection โดยจะอยู่ด้านซ้ายบนของ adapter
  2. เลื่อนสวิตช์ขึ้นไปจนสุด เพื่อปิด write protection
  3. บางอุปกรณ์ก็เซฟไฟล์ลง microSD card ไม่ได้ ถ้ามีรอยบากนี้ที่ adapter ให้ใช้เทปชิ้นเล็กๆ ติดทับรอย อุปกรณ์อื่นจะอ่านข้อมูลจาก adapter ได้ตามปกติ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 5:

ใช้ DiskPart ปิด Write Protection (Windows)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หน้าต่างใหม่ชื่อ “Run” จะโผล่มาด้านบน โปรแกรม Run นี้ให้คุณเปิดแอปและ run ไฟล์ต่างๆ ได้ทันที แค่พิมพ์ชื่อ
  2. เพื่อเปิดหน้าต่าง Command Prompt ใหม่ โดยที่เคอร์เซอร์จะไปอยู่หลังข้อความ “DISKPART>” [1]
  3. จะเห็นรายชื่อไดรฟ์ต่างๆ ในคอมโผล่มาเป็นแถว โดยมีหมายเลข สถานะ ขนาด และพื้นที่ว่างของแต่ละไดรฟ์ให้ดู
  4. วิธีเช็คเลขประจำไดรฟ์ของ microSD card ได้เร็วที่สุด คือดูขนาดของแต่ละไดรฟ์ ให้มองหาไดรฟ์ที่ขนาดเท่ากับ microSD card ที่ใช้
  5. เพื่อให้คอมรู้ว่าต้องใช้คำสั่งต่อไปกับไดรฟ์นั้น หรือก็คือเจาะจง microSD card นั้นนั่นเอง จะมีบรรทัดข้อความโผล่มาว่า “Disk (เลขประจำไดรฟ์) is now the selected disk.”
  6. เป็นคำสั่งแก้ทุกไดรฟ์ที่ขึ้นว่า read-only เลยทำให้ microSD card นั้นไม่ติด write-protected อีกต่อไป โดยบรรทัดข้อความถัดมาจะขึ้นว่า “Disk attributes cleared successfully.”
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 5:

ใช้ Registry Editor ปิด Write Protection (Windows)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หน้าต่างใหม่ชื่อ “Run” จะโผล่มาด้านบน โดยโปรแกรม Run ให้คุณเปิดแอปและ run ไฟล์ต่างๆ ได้ทันที แค่พิมพ์ชื่อ
  2. เพื่อเปิดหน้าต่างใหม่ชื่อ “Registry Editor” ขึ้นมาด้านบน
  3. ใน “Computer” ให้คลิกลูกศรขยายลงมาทางซ้ายของ “HKEY_LOCAL_MACHINE” ในโฟลเดอร์นั้น ให้คลิกลูกศรขยายลงมาข้าง “SYSTEM” แบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ
  4. ถ้ามีโฟลเดอร์ชื่อนี้อยู่แล้วในโฟลเดอร์ “Control” ก็ไม่ต้องทำขั้นตอนนี้ แต่ถ้าไม่มี ให้สร้างก่อน ตามขั้นตอนต่อไปนี้
    • คลิกขวาที่โฟลเดอร์ Control
    • คลิกเมนู New
    • คลิก Key
    • พิมพ์ StorageDevicePolicies แล้วกด Enter
  5. คุณสร้าง entry ใหม่ได้โดยคลิกขวา panel ที่มีไฟล์ชื่อ “(DEFAULT)” แล้วเลือก DWORD (32-bit) Value จากในเมนู New
  6. ไฟล์นี้จะบอกให้คอมรู้ว่าอุปกรณ์นั้นติด write-protected หรือเปล่า คุณจะได้แก้ไขไฟล์และเปลี่ยนสถานะ protection ได้
  7. ดับเบิลคลิกไฟล์แล้วจะมีช่อง “Edit DWORD (32-bit) Value” โผล่มา ถ้าค่า “Value data” ไม่ใช่ “0” ให้เปลี่ยนเป็น “0”
  8. รีสตาร์ทคอมแล้วค่าใหม่จะมีผลทันที ต่อไปก็น่าจะเซฟไฟล์ลง microSD card ได้แล้ว
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 5:

หาไฟล์ Read-Only ใน microSD (Mac)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. microSD น่าจะขึ้นในหัวข้อ “Locations” ตรงกรอบซ้ายมือของ Finder
  2. คุณเช็คแต่ละไฟล์ได้โดยคลิกขวาที่ไฟล์ คลิก Get Info แล้วมองหาชื่อบัญชีตัวเองในหัวข้อ “Sharing and Permissions” ด้านล่างของหน้าต่าง
    • คุณเช็คการอนุญาตสิทธิ์ (permissions) ได้ทีเดียวหลายไฟล์แบบทันใจ แค่คลิกไฟล์ แล้วคลิก Command + Option + I หน้าต่าง pop-up จะอัปเดททันทีตามไฟล์ที่เลือก ก็เช็คข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยไล่ไปตามแถวของไฟล์ด้วยปุ่มลูกศร
  3. เปลี่ยนการอนุญาตสิทธิ์ (permissions) ของไฟล์ read-only ไหนก็ได้. ในหัวข้อ “Sharing and Permissions” ให้หาชื่อตัวเอง แล้วคลิก Read only ข้างๆ จากนั้นเลือก Read & Write จากในเมนูที่โผล่มา
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 5:

ซ่อม microSD ด้วย Disk Utility (Mac)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าจะหา Disk Utility ให้คลิกไอคอนแว่นขยาย มุมขวาบนของหน้าจอ พิมพ์ “Disk Utility” แล้วเปิดแอป
  2. ส่วนใหญ่จะอยู่ในหัวข้อ “External”
  3. ไอคอนของปุ่ม First Aid จะเป็นรูปหูฟังของหมอ [2]
  4. คลิก Run แล้วรอจนเสร็จสิ้นขั้นตอน พอ First Aid เสร็จ ก็น่าจะเซฟไฟล์ลง microSD ได้แล้ว
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,626 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา