ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

โบทูลิซึมเป็นอาการป่วยร้ายแรงที่สามารถเกิดขึ้นได้บ่อยหลังจากที่ใครได้รับประทานอาหารที่มีเชื้อแบคทีเรีย Clostridium botulinum แฝงอยู่ อาหารกระป๋องที่ทำกันเองในครอบครัวและอาหารที่ไม่ได้รับการเก็บรักษาอย่างดีอาจเป็นแหล่งเพาะเชื้อแบคทีเรียตัวนี้ โบทูลิซึมสามารถเข้าสู่ร่างกายคนเราได้ทางบาดแผล วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือต้องระมัดระวังเรื่องการจัดเตรียมอาหารให้สะอาดปลอดภัยและมองหาวิธีการรักษาบาดแผลในทันที

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

หลีกเลี่ยงภาวะโบทูลิซึมทุกประเภท

ดาวน์โหลดบทความ
  1. 1
    ทิ้งอาหารกระป๋องทุกอย่างที่กระป๋องบวม มีกลิ่นเหม็น มีฟองขึ้นไปในทันที. ถ้าไม่แน่ใจ ให้ทิ้งไปก่อนเลย นี่รวมไปถึงพวกอาหารหมักดองทั้งหลายด้วย แม้ว่ากระป๋องจะเป็นตัวที่ไวต่อเชื้อที่สุด
  2. 2
    อย่าป้อนน้ำผึ้งให้ทารกที่มีอายุต่ำกว่าหนึ่งปี. น้ำผึ้งอาจติดสปอร์ของเชื้อโบทูลิซึมซึ่งผู้ใหญ่สามารถต้านทานได้อย่างง่ายดาย อย่างไรก็ตาม เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 12 เดือนนั้นอาจไม่มีระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเพียงพอต่อการจัดการแม้จะเป็นเพียงน้ำผึ้งแค่หนึ่งช้อนก็ตาม [1]
  3. 3
    ระมัดระวังพวกปลาเค็ม มันฝรั่งอบ และอาหารที่มีการอุ่นเป็นระยะเวลานานๆ. รักษาอาหารให้ร้อน โดยเฉพาะมันฝรั่งอบในฟอยล์ เมื่อทานเหลือก็นำเข้าตู้เย็นเสียเพื่อป้องกันเชื้อโบทูลิซึมซึ่งจะเจริญเติบโตได้ดีในอาหารแฉะและอุ่นเป็นเวลานาน
  4. 4
    ต้มอาหารกระป๋องที่ทำกันเองในครอบครัวเป็นเวลาอย่างน้อย 10 นาที. มันจะฆ่าเชื้อโบทูลิซึม จงตรวจสอบขั้นตอนการนำอาหารแต่ละอย่างมาเก็บใส่กระป๋องก่อนเริ่มทำอยู่เสมอ
  5. 5
    ใช้หม้ออบความดันสูงมาใช้ปรุงอาหารที่มีปริมาณกรดต่ำ อย่างผัก. การผลิตอาหารกระป๋องเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ เพราะว่ากรดฆ่าแบคทีเรียได้ อาหารที่ปราศจากกรดจึงต้องนำมาผ่านความร้อนสูงก่อนจะเก็บถนอมเอาไว้อย่างปลอดภัย [2]
  6. 6
    เก็บน้ำมันที่ผสมกระเทียมหรือสมุนไพรไว้ในตู้เย็น. ถ้าหากน้ำมันได้รับการผสมกับอะไรก็ตามที่ดึงขึ้นมาจากพื้นดิน ให้แน่ใจว่ามันถูกแช่เย็น ถ้าคุณทำน้ำมันใช้เอง ก็ต้องทำความสะอาดและ/หรือปอกทุกอย่างจนหมดจด [3]
  7. 7
    ล้างแผลใดๆ ด้วยสบู่และน้ำ ก่อนทายาปฏิชีวนะและผ้าปิดแผล. สามารถป้องกันเชื้อโบทูลิซึมที่เข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลนั้นได้เสมอด้วยการทำความสะอาดแผลอย่างถูกวิธี [4]
  8. 8
    ไปพบแพทย์ทันทีถ้าหากตัวทารกนั้นแสดงอาการเซื่องซึม ร้องเสียงอ่อนเบาแรง หรือดูไม่ขยับเคลื่อนไหว. โบทูลิซึมสามารถรักษาหายได้ แต่มันเป็นโรคร้ายแรงที่ควรได้รับการตรวจรักษาทันทีเท่าที่จะทำได้
  9. 9
    พบแพทย์ทันทีถ้าคุณเห็นภาพซ้อน แขนขาขยับไม่ได้ พูดลิ้นพันกัน หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง. ผู้ใหญ่จะแสดงอาการของโรคออกมาภายใน 1-3 วันนับจากการติดเชื้อ [5]
  10. 10
    เรียนรู้ว่าโบทูลิซึมหลายประเภทไม่สามารถป้องกันได้. โบทูลิซึมโผล่มาในที่ไม่คาดคิดได้เสมอ เช่นตามพื้นดิน อย่างไรก็ดี ถ้าตรวจพบอาการเร็ว มันสามารถรักษาหายได้ [6]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

เข้าใจโบทูลิซึม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โบทูลิซึมนั้นเกิดยาก แต่พอเกิดขึ้นก็ถือเป็นเรื่องฉุกเฉินทางการแพทย์ ไม่ว่าจะไปติดโบทูลิซึมทางไหน มันนำไปสู่การเป็นอัมพาตหรือถึงตายได้ การรู้ว่าไปติดเชื้อทางไหนเป็นก้าวแรกของการป้องกัน ต่อไปนี้คือโบทูลิซึมประเภทต่างๆ:
    • ภาวะโบทูลิซึมจากอาหารเกิดขึ้นเมื่อใครรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย
    • ภาวะโบทูลิซึมจากบาดแผลเกิดขึ้นเมื่อเชื้อเข้าไปบางปากแผลสด และเป็นผลให้ร่างกายเริ่มสร้างสารพิษ ภาวะแบบนี้จะมีโอกาสเกิดขึ้นกับผู้ที่ทำงานอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่สกปรกหรือผู้ที่แชร์เข็มฉีดยาร่วมกัน [7]
    • ภาวะโบทูลิซึมในเด็กทารกเกิดขึ้นเมื่อตัวทารกนำสปอร์ของเชื้อโบทูลิซึมเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งจะเข้าไปเจริญเติบโตในอวัยวะภายในและสร้างสารพิษขึ้นมา
    • ภาวะโบทูลิซึมในอวัยวะภายในของผู้ใหญ่เกิดขึ้นเมื่อผู้ใหญ่นำสปอร์ของเชื้อโบทูลิซึมเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งจะเข้าไปเจริญเติบโตในอวัยวะภายในและสร้างสารพิษขึ้นมา
    • โบทูลิซึมไม่ใช่โรคติดต่อ อย่างไรก็ตามคนที่รับประทานอาหารเดียวกันที่มีการปนเปื้อนก็มีโอกาสที่จะเกิดปฏิกิริยาตอบสนองอย่างเดียวกัน ซึ่งทำให้คนทั่วไปเข้าใจไปว่า “ติด” มาจากคนอื่นได้
  2. น่าเสียดายที่ไม่ใช่โบทูลิซึมทุกประเภทจะสามารถป้องกันได้ ภาวะโบทูลิซึมจากอาหารและจากบาดแผลสามารถป้องกันได้ แต่ภาวะโบทูลิซึมในเด็กทารกและในอวัยวะภายในนั้นป้องกันไม่ได้ นี่คือสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้ไว้:
    • ภาวะโบทูลิซึมจากอาหารสามารถป้องกันได้โดยการระมัดระวังเวลาเตรียมทำอาหาร
    • ภาวะโบทูลิซึมจากบาดแผลสามารถป้องกันได้โดยการทำความสะอาดแผลและรักษาแผลอย่างถูกต้องในทันที หลีกเลี่ยงภาวะนี้ได้โดยการไม่ใช้เข็มฉีดยาหรือสูดดมยาเสพติด
    • ภาวะโบทูลิซึมในเด็กทารกและในอวัยวะภายในนั้นเกิดจากสปอร์ของแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในดิน ไม่ว่าคุณจะทำความสะอาดบ้านได้เกลี้ยงเกลาแค่ไหน หรือทนุถนอมลูกวัยแบเบาะไม่ให้เล่นในลานดินนอกบ้านอย่างไร ก็ไม่มีทางที่จะป้องกันไม่ให้สปอร์เข้าสู่ร่างกายได้ ข่าวดีก็คือโบทูลิซึมนั้นหาได้ยากมากๆ และไม่อันตรายสักเท่าไหร่ถ้าตรวจพบรักษาทันเวลา [8]
  3. อาการของโบทูลิซึมสามารถปรากฏขึ้นตั้งแต่หลังรับประทานอาหารปนเปื้อนไปหกชั่วโมง และสามารถเกิดอาการสายไปถึงสิบวัน โบทูลิซึมเป็นอันตรายถ้าไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที ถ้าหากคุณมีอาการดังต่อไปนี้และสันนิษฐานว่ามาจากภาวะโบทูลิซึม ให้ไปพบแพทย์ในทันที นี่คืออาการโดยทั่วไปจากการเกิดภาวะโบทูลิซึม:
    • เห็นภาพซ้อน ภาพเบลอ หรือหนังตาตก
    • พูดจาลิ้นพันกัน
    • กลืนอะไรลำบากหรือปากแห้ง
    • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  4. ภาวะโบทูลิซึมส่วนใหญ่จะเกิดกับเด็กทารก ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องจับตาดูอาการ [9] ถ้าหากลูกตัวน้อยของคุณแสดงสัญญาณอย่างหนึ่งอย่างใดของการเป็นอัมพาตที่สืบเนื่องมาจากภาวะโบทูลิซึม ให้ไปพบแพทย์ทันที:
    • ดูท่าทางเซื่องซึม
    • กินอาหารไม่ได้
    • ร้องออกมาแบบไม่มีเสียง
    • ขยับแขนขาแบบเปลี้ยไม่มีเรี่ยวแรง
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

การป้องกันภาวะโบทูลิซึมทางอาหาร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. รู้ว่าอาหารประเภทไหนที่สุ่มเสี่ยงต่อการปนเปื้อนแบคทีเรีย. ภาวะโบทูลิซึมมักจะมีสาเหตุจากการบริโภคอาหารที่ผ่านการหมักดองหรือเก็บรักษาไม่ถูกสุขลักษณะ ตัวอย่างเวลาที่เชื้ออาจปนเปื้อนอยู่ในอาหารได้แก่: [10]
    • ปลาที่ได้รับการหมักดองโดยมีความเค็มหรือความเป็นกรดในน้ำเกลือไม่เพียงพอต่อการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
    • เนื้อปลารมควันที่เก็บไว้ในอุณหภูมิสูงเกินไป
    • ผักผลไม้ที่มีความเป็นกรดสูงไม่พอต่อการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
    • อาหารกระป๋องที่ไม่ได้รับการบรรจุใส่กระป๋องด้วยกรรมวิธีทันสมัยได้มาตรฐาน
    • ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำผึ้งสำหรับใครก็ตามที่มีอายุต่ำกว่าหนึ่งขวบและสำหรับใครก็ตามที่ระบบภูมิคุ้มกันดันแพ้ในเรื่องนี้
  2. ทุกครั้งที่ปรุงอาหาร ให้แน่ใจว่าได้เตรียมอาหารอย่างปลอดภัยถูกสุขลักษณะ ด้านล่างนี้เป็นข้อปฏิบัติเบื้องต้นของสุขอนามัยภายในครัวที่คุณควรกระทำตามทุกครั้ง:
    • ล้างเศษดินออกจากผักผลไม้ เชื้อแบคทีเรียโบทูลินัมอาศัยอยู่ในดิน และอาหารชนิดใดก็ตามที่ยังคงมีเศษดินอยู่สามารถก่ออันตรายได้
    • ถูผิวมันฝรั่งให้สะอาดก่อนนำไปอบ มันฝรั่งที่ห่อและอบในกระดาษฟอยล์ควรจะถูกเก็บให้ร้อนจนถึงเวลารับประทานหรือเก็บไว้ในตู้เย็น
    • ล้างเห็ดก่อนใช้ปรุงอาหาร เพื่อขจัดเศษดิน
    • ต้มอาหารกระป๋องที่ทำเองที่บ้านเป็นเวลา 10 นาทีก่อนนำมารับประทาน
    • ซาลซ่าทำเองหรือชีสซอสสมควรเก็บไว้ในตู้เย็น
    • ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมทุกชนิดต้องเก็บไว้ในตู้เย็น
    • ทิ้งอาหารผ่านความร้อนที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่มีร่องรอยว่ามีการรั่วซึมของภาวะสุญญากาศ เช่น อาหารกระป๋องที่มีรูเข็มหรือขึ้นสนิม
    • และในกรณีที่คุณกำลังผจญภัยหรือใช้ชีวิตกลางแจ้ง หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ที่ถูกรถชนหรือสัตว์น้ำที่ซากลอยมาติดฝั่ง คุณไม่รู้ว่าเจ้าสัตว์พวกนี้ตายมานานแค่ไหนแล้วและเชื้อแบคทีเรียอาจจะปนเปื้อนอยู่ในนั้นแล้วก็ได้
  3. บางครั้งคนเราก็ติดเชื้อโบทูลิซึมได้จากการรับประทานอาหารสำเร็จรูปบรรจุห่อที่ถูกปนเปื้อน การรู้ว่าเมื่อไหร่ที่จะ “ห้าม” กินอาหารสำเร็จรูปบรรจุห่อหรืออาหารสำเร็จเป็นวิธีสำคัญที่จะป้องกันเชื้อโบทูลิซึม ตัวสปอร์โบทูลิซึมนั้นไม่มีรสชาติและกลิ่น ดังนั้นอย่าวางใจกับการแค่ดมกลิ่นอาหารแล้วตัดสินใจว่ามันปลอดภัยหรือไม่ [11]
    • ถ้าอาหารกระป๋องมีรอยบุบ มีบางส่วนถูกเปิดออก หรือดูผิดรูปทรง อย่ารับประทานอาหารข้างในนั้น
    • ถ้าอาหารกระป๋องมีเสียงฟู่ มีฟอง หรือมีกลิ่นเหม็นโชยเวลาเปิดฝา ทิ้งมันไปซะ
    • ถ้าฝาถูกเปิดออกมาอย่างง่ายดายเกินไป ทิ้งมันไป
    • ถ้าหากอาหารมีกลิ่นเหม็น ทิ้งมันไปซะ เว้นเสียแต่ว่าคุณทราบดีว่าอาหารในกระป๋องจะต้องมีกลิ่นเหม็นแบบนั้น (มีไม่กี่กรณีที่อาหารหมักดองที่กินได้หรือผลิตภัณฑ์อาหารที่ถูกเก็บไว้เป็นเวลานานจะมีกลิ่นเหม็นตามธรรมชาติสำหรับคนส่วนใหญ่ แต่อาหารจำพวกนี้มีไม่เยอะนัก
    • ถ้าหากมีคราบหรืออาหารเปลี่ยนสี ทิ้งไปซะ
    • ถ้าหากรู้สึกไม่แน่ใจ ให้ตัดใจทิ้งเสมอ มันไม่คุ้มที่จะเสี่ยงหรอก
  4. อย่าป้อนน้ำผึ้งแก่เด็กที่มีอายุต่ำกว่าหนึ่งขวบ. เด็กอายุน้อยขนาดนี้ยังไม่ได้พัฒนาระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจนสามารถฆ่าเชื้อโบทูลิซึมที่อาจเจริญเติบโตในน้ำผึ้งได้ ผู้ใหญ่มีระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงพอที่จะรับมือเรื่องนี้ได้อย่างสบาย
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

ใช้เทคนิคการถนอมอาหารอย่างปลอดภัย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตลอดเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมานี้ เทคนิคการถนอมอาหารและการบรรจุกระป๋องเองที่บ้านได้รับการพัฒนาตามความเข้าใจใหม่ๆ ในเรื่องแบคทีเรียและการถนอมอาหาร นั่นหมายถึงหนังสือหรือสูตรภายในช่วงเวลานี่จะสามารถช่วยให้คุณเรียนรู้กระบวนการและให้คำแนะนำที่ปลอดภัย
    • การที่มันอยู่ในอินเตอร์เน็ตไม่ได้หมายความว่ามันทันสมัย สูตรเก่าๆ มีให้เห็นออนไลน์เหมือนที่ได้เห็นหนังสือเก่าๆ เช่นกัน! ตรวจดูแหล่งที่มาและเอ่ยถาม ถ้าหากมีข้อสงสัย ให้มองข้ามไปหาแหล่งข้อมูลใหม่ที่คุณตรวจสอบได้ว่าทันยุคดีกว่า
    • อาจมีทางเป็นไปได้ที่จะอัพเดตสูตรถนอมอาหารเก่าๆ โดยการตรวจเช็คข้อมูลกับภาคที่ใหม่กว่า ส่วนที่สูตรเก่าๆ ไม่มี (หลายอย่างไม่ได้ถูกกล่าวถึงเพราะคนทำอาหารในสมัยก่อนรู้จากการทำซ้ำๆ กันเรื่อยมา) อาจจะแก้ไขได้โดยการแทรกขั้นตอนที่หายไปซึ่งพิจารณาแล้วน่าจะสำคัญต่อความปลอดภัย
  2. หลีกเลี่ยงอาหารกระป๋องที่มีความเป็นกรดต่ำเว้นแต่ว่าคุณได้เตรียมเครื่องไม้เครื่องอย่างถูกต้อง. ความเป็นกรดทำลายเชื้อโบทูลินัม แต่ในเวลาที่ระดับความเป็นกรดลดน้อยลงหรือไม่มีเลยนั้น ความเสี่ยงที่แบคทีเรียจะแพร่เชื้อมีสูงขึ้น โดยเฉพาะผักหลายชนิดไม่ได้เหมาะแก่การถนอมแบบกระป๋องถ้าหากไม่สามารถให้ความร้อนแก่มันด้วยอุณหภูมิที่สูงมาก
    • ผักที่มีความเป็นกรดน้อยแต่ถูกปลูกในสวนโดยทั่วไปและอาจชวนให้อยากนำมันมาถนอมในกระป๋องได้แก่ หน่อไม้ฝรั่ง ถั่วลันเตา มะเขือเทศ พริกชี้ฟ้า บีต แครอท และข้าวโพด
    • เป็นไปได้ที่จะถนอมผักเหล่านี้ในกระป๋อง แต่ก็ต่อเมื่อคุณมีอุปกรณ์ที่สามารถให้ความร้อนได้ “เกิน” จุดเดือดของน้ำเท่านั้น มันต้องใช้เครื่องอัดกระป๋องแบบพิเศษที่สามารถเป็นหม้ออัดความดันได้ด้วย ถ้าหากคุณตัดสินใจซื้อ ลองอ่านคำแนะนำด้วยความระมัดระวังและทำตามขั้นตอนอย่างใกล้ชิดเพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้ทำตามอย่างถูกต้อง
  3. แอลกอฮอล์, น้ำเกลือและน้ำเชื่อมจะฆ่าแบคทีเรีย ในกรณีของน้ำเกลือและน้ำเชื่อมนั้นจะต้องทำร่วมไปกับการให้ความร้อนซึ่งจะฆ่าเชื้อโรคขนาดจิ๋วเหล่านี้ และเช่นเดียวกับการฆ่าแบคทีเรีย สารที่มีคุณสมบัติเป็นด่างเหล่านี้ยังฆ่าเชื้อไวรัส เชื้อเห็ดราอีกด้วย
    • การเพิ่มความเป็นกรดให้อาหารที่มีความเป็นกรดน้อยจะช่วยฆ่าแบคทีเรียได้แต่ก็ยังต้องมีกระบวนการให้ความร้อนร่วมอยู่ด้วย ดังนั้น น้ำมะนาว กรดซิตริก น้ำส้มสายชูและตัวที่เป็นกรดอื่นๆ ที่สามารถนำมาใช้เพิ่มความเป็นกรดให้อาหารนั้นจะต้องผ่านการถนอมรักษาโดยใช้วิธีให้ความร้อน
  4. ใช้วิธีที่ให้ความร้อนระดับสูงพอต่อการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย. ดังที่ได้กล่าวเอาไว้แล้ว แม้แต่จุดเดือดในระดับน้ำทะเลยังไม่เพียงพอสำหรับอาหารที่มีความเป็นกรดต่ำ (เชื้อโบทูลิซึมสามารถมีชีวิตรอดในอุณหภูมิที่สูงกว่า 212ºF/100ºC อย่างไรก็ตาม สำหรับอาหารที่มีความเป็นกรด ความร้อนจะฆ่าเชื้อร่วมกับสภาพกรดนั้น วิธีการอัดกระป๋องสมัยใหม่นั้นได้แก่:
    • วิธีใช้กระทะ: ล้างและฆ่าเชื้อโถที่จะใช้ใส่อาหารโดยการนำไปแช่น้ำเดือดนานห้านาที เติมผลไม้ลงในโถจนเต็มและเติมซีลยางที่ที่แช่ในน้ำเดือดไว้ที่ปากโถก่อนจะปิดฝา นำโถไปตั้งบนกระทะร้อนในเวลาตามที่กำหนดในสูตร
    • วิธีใช้เตาอบ: เปิดเตาอบทิ้งไว้ให้ร้อน นำผลไม้ใส่โถและปิดฝาบนโถไว้หลวมๆ วางโถไว้บนถาดหรือแผ่นอบขนมปังแล้วนำเข้าเตาอบตามเวลาที่ตั้งไว้ (ขึ้นอยู่กับสูตร) เสร็จแล้วนำออกมาจากเตา เติมน้ำเกลือหรือน้ำเชื่อมที่อุ่นจนเดือด ปิดฝาให้แน่นและทิ้งไว้ให้เย็น
  5. สำหรับอาหารสดให้ผ่านกระบวนการให้ความร้อนที่ 240ºF/115 .6ºC หรือสูงกว่านั้น . มันจะได้ทำลายสปอร์ที่อาจมีอยู่ในนั้น เช่นเดียวกับผักที่มีความเป็นกรดต่ำ ซึ่งจะต้องอาศัยเครื่องอัดกระป๋องแบบความดันที่สามารถเพิ่มอุณหภูมิให้สูงขนาดนี้หรือมากกว่านี้ได้
    • ให้ความร้อนอาหารประเภทเนื้อในกระป๋องที่อุณหภูมิ 212ºF/100ºC หลังเปิด จากนั้นค่อยลดความร้อนลงและตั้งทิ้งบนกระทะอีกอย่างน้อย 15 นาทีจนกว่าจะพอใจว่าเชื้อแบคทีเรียถูกฆ่าเกลี้ยงแล้ว
  6. หาวิธีทางเลือกที่ปลอดภัยกว่าการถนอมอาหารทางกระป๋อง. การถนอมอาหารทางกระป๋องเป็นศิลปะที่ต้องการความพยายามและการเอาใจใส่มากมาย ถ้านั่นไม่ใช่สิ่งที่คุณสนใจ ยังมีทางอื่นที่ปลอดภัยสำหรับถนอมอาหาร ซึ่งได้แก่:
    • อาหารแช่แข็ง: ให้แน่ใจว่าได้ศึกษาข้อมูลของอาหารชนิดที่ว่า เพราะอาหารแต่ละอย่างต่างต้องการการแช่เย็นต่างกัน ในขณะที่บางอย่างอาจไม่สามารถรอดจากกระบวนการแช่แข็งเลย
    • อาหารแห้ง: การทำแห้งจะฆ่าแบคทีเรีย ยีสต์ รา และเอ็นไซม์ และก็เหมือนกันว่าต้องทำตามคำแนะนำให้ออกมาถูกกรรมวิธี
    • น้ำส้มสายชู: อาหารบางชนิดสามารถเก็บถนอมไว้ในน้ำส้มสายชูได้ ส่วนใหญ่ก็มักเป็นแตงกวา โดยใส่เครื่องเทศเพิ่มเพื่อปรุงรส
    • รมควัน: อาหารบางอย่าง เช่นเนื้อหรือปลาสามารถนำมารมควันได้
    • ไวน์, ไซเดอร์, เบียร์ หรือเหล้า: เปลี่ยนผักและผลไม้เป็นแอลกอฮอล์แล้วแบคทีเรียจะจากไป
  7. ไม่ว่าอาหารชนิดใดก็มีสิทธิติดเชื้อได้ถ้าหากเติบโตในดินหรือสัมผัสกับดิน การถนอมอาหารโดยใช้น้ำมันยังคงเป็นวิธีที่ปลอดภัย แต่ใช้ด้วยความระมัดระวังดังที่อธิบายตามขั้นตอนต่อไปนี้ [12]
    • ทำการแช่ในน้ำมันอย่างปลอดภัย. ไม่ว่าอาหารชนิดใดก็มีสิทธิติดเชื้อได้ถ้าหากเติบโตในดินหรือสัมผัสกับดิน การถนอมอาหารโดยใช้น้ำมันยังคงเป็นวิธีที่ปลอดภัย แต่ใช้ด้วยความระมัดระวังดังที่อธิบายตามขั้นตอนต่อไปนี้
    • เติมสารที่ช่วยเพิ่มความเป็นกรด กฎหมายของทางสหรัฐบังคับให้การเตรียมอาหารแช่น้ำมันทุกประเภทต้องใช้ สารช่วยเพิ่มความเป็นกรดทั่วไปที่หาซื้อได้ง่ายก็เช่น น้ำมะนาว น้ำส้มสายชู และกรดซิตริก อัตราส่วนก็คือสารช่วยเพิ่มความเป็นกรดหนึ่งช้อนโต๊ะต่อน้ำมันหนึ่งถ้วย
    • เอาน้ำมันผสมแช่ตู้เย็น ถ้าคุณมีชั้นใต้ดินที่มืดและเย็น อาจเพียงพอต่อการเก็บ แต่ควรปลอดภัยไว้ก่อน การแช่ตู้เย็นเป็นวิธีที่จะเก็บรักษาน้ำมันผสมไว้ใช้ได้นานขึ้น
    • ทิ้งน้ำมันไปทันทีถ้าเห็นว่ามันเริ่มขุ่น เป็นฟองและมีกลิ่นเหม็น
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อย่าบริโภคอะไรก็ตามที่คุณนำมาอัดใส่กระป๋องเองเว้นแต่คุณมั่นใจว่าได้จัดการมันอย่างถูกวิธีระหว่างขั้นตอนการเตรียม
  • ถ้าหากคุณยังเป็นมือใหม่ในการใช้กระป๋องถนอมอาหารด้วยตัวเอง จงเรียนรู้เรื่องพิษเหล่านี้ก่อน!
  • กระทรวงเกษตรของสหรัฐมีเว็บไซต์พิเศษที่ให้ความรู้เรื่องคำแนะนำการทำอาหารกระป๋องด้วยตัวเองที่: http://www.uga.edu/nchfp/publications/publications_usda.html .
โฆษณา

คำเตือน

  • ผู้คนที่รอดจากการติดเชื้อโบทูลิซึมมาได้มักมีอาการเหนื่อยเพลียและหายใจไม่สะดวกอีกเป็นเวลาหลายปี จึงจำเป็นต้องรับการเยียวยาระยะยาวเพื่อช่วยในการฟื้นฟูร่างกายตนเอง
  • โบทูลิซึมอาจทำให้ถึงตายได้เนื่องจากภาวะการหายใจล้มเหลว
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,250 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา