ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การฝันแบบรู้ตัว คือการตระหนักรู้ว่าคุณกำลังอยู่ในความฝัน ความตระหนักรู้นี้มีได้ตั้งแต่ระดับต่ำ คือเพียงรับรู้ว่ากำลังฝัน ไปจนถึงระดับที่เราสามารถควบคุมภาพในฝันได้ชั่วขณะ การฝันแบบรู้ตัวมักเกิดขึ้นในขณะที่บุคคลนั้นๆ อยู่ในระหว่างการฝันแบบทั่วไป แล้วจู่ๆ เกิดตระหนักขึ้นมาได้ว่าตนกำลังฝัน ลักษณะนี้เรียกว่าฝันรู้ตัวที่ถูกกระตุ้นในขณะหลับ ส่วนฝันรู้ตัวที่ถูกกระตุ้นในขณะตื่นนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อคุณอยู่ในสภาวะตื่นแบบปกติและตรงเข้าสู่สภาวะหลับทันที โดยไม่มีช่องว่างระหว่างสภาวะตื่นและสภาวะหลับที่ชัดเจน ในทั้งสองกรณี ความฝันของคุณมีแนวโน้มที่จะแปลกประหลาดและมีความรู้สึกถาโถมเข้ามามากกว่าฝันแบบปกติ และที่สำคัญที่สุดคือ คุณจะมีความสามารถบางอย่างที่ทำให้คุณสามารถควบคุม "ตัวตนในความฝัน" ของคุณ รวมถึงสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏในความฝันของคุณได้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ใช้เทคนิคเพื่อตระหนักรู้ถึงความฝัน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ก่อนเข้านอน ให้วางสมุดไว้ข้างเตียง และจดบันทึกเกี่ยวกับความฝันทันทีที่ตื่นขึ้นมา หรือจดบันทึกอารมณ์และความรู้สึกที่คุณรับรู้ทันทีหลังตื่นขึ้น การทำเช่นนี้เป็นการฝึกให้คุณสามารถจดจำความฝันได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการฝันแบบรู้ตัว [1] นอกจากนี้ การควบคุมความฝันจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ หากคุณลืมความรู้สึกก่อนการตื่นของคุณ
    • อีกทางเลือกหนึ่งคือ การวางอุปกรณ์บันทึกเสียงไว้ข้างเตียง
    • คุณอาจสามารถจดจำความฝันได้มากขึ้นหากใช้เวลา 2-3 นาทีในการตั้งสมาธิจดจ่อไปที่ความทรงจำของคุณ ก่อนที่จะเริ่มจดบันทึก [2]
  2. ระหว่างวัน ในทุกๆ 2-3 ชั่วโมง ให้คุณลองถามตัวเองว่า "ฉันกำลังฝันอยู่หรือไม่?" จากนั้นให้ทำการตรวจสอบความเป็นจริงตามวิธีการด้านล่าง หากฝึกฝนอย่างเพียงพอ คุณจะทำพฤติกรรมนี้ในความฝันของคุณเช่นเดียวกัน ซึ่งจะช่วยให้คุณตระหนักรู้ในที่สุดว่าคุณกำลังอยู่ในฝัน
    • อ่านข้อความในหนังสือหรือดูเวลาบนนาฬิกา จากนั้นให้มองไปทางอื่น แล้วจึงหันกลับมามองสิ่งนั้นๆ อีกครั้ง ในความฝัน ภาพของข้อความหรือเวลาบนนาฬิกาจะไม่ชัดเจนหรือไม่สมเหตุสมผล หรืออาจแตกต่างกันไปในแต่ละครั้งที่คุณมอง [3]
    • บีบจมูกและปิดปาก แล้วตรวจสอบดูว่าคุณยังสามารถหายใจได้หรือไม่
    • เพียงมองไปยังมือและเท้าของคุณ เพราะในความฝัน เมื่อคุณลองสังเกตดูดีๆ จะพบว่าทั้งมือและเท้าของคุณดูบิดเบี้ยว
  3. พูดประโยค "ฉันจะรู้ตัวว่าฉันกำลังฝัน" ซ้ำๆ ทุกครั้งที่กำลังจะหลับ. ในแต่ละคืน เมื่อคุณกำลังจะผลอยหลับ ให้คุณบอกตัวเองซ้ำๆ ว่า "ฉันจะรู้ตัวว่ากำลังอยู่ในความฝัน" หรือประโยคที่คล้ายๆ กันนี้ จนกระทั่งคุณผลอยหลับไป เทคนิคนี้เราเรียกว่า การเหนี่ยวนำฝันรู้ตัวโดยใช้การช่วยจำ (Mnemonic Induction to Lucid Dreaming หรือ MILD) [4] การเหนี่ยวนำโดยใช้การช่วยจำนั้นก็หมายถึง "การใช้เครื่องมือช่วยจำ" นั่นเอง หรือในกรณีข้างต้นนั้นก็หมายถึงการท่องจำประโยคเพื่อเปลี่ยนการตระหนักรู้ว่ากำลังฝันเป็นนิสัยที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ
    • บางคนชอบที่จะรวมขั้นตอนนี้เข้ากับการตรวจสอบความเป็นจริง โดยจ้องไปที่มือของพวกเขาเป็นเวลา 2-3 นาทีก่อนที่จะเข้านอน
  4. ฝึกจดจำสัญญาณเฉพาะตัวที่บ่งชี้ว่าคุณกำลังฝัน. อ่านบันทึกความฝันของคุณอย่างสม่ำเสมอ และคอยมองหา "สัญญาณบ่งชี้ความฝัน" ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ ในความฝันของคุณ เมื่อเริ่มคุ้นเคยกับสัญญาณเหล่านี้ คุณจะสามารถจดจำมันได้ในขณะที่กำลังฝัน และทำให้รู้ตัวในที่สุดว่าคุณกำลังอยู่ในฝัน
    • คุณอาจพอจะรู้สิ่งเหล่านี้อยู่บ้างแล้ว เหตุการณ์ที่มักเกิดขึ้นในความฝันของคนเรา คือ การสูญเสียฟัน ถูกสิ่งที่มีขนาดใหญ่ไล่ตาม หรือออกไปในที่สาธารณะโดยไม่สวมใส่เสื้อผ้า ฯลฯ
  5. เมื่อตื่นขึ้นมาและสามารถจดจำความฝันได้ ให้คุณจดบันทึกความฝันของคุณ จากนั้นให้หลับตาและตั้งสมาธิจดจ่อไปที่ความฝันนั้นๆ จินตนาการว่าคุณกำลังฝัน และในฝันนั้น คุณก็สามารถจดจำสัญญาณบ่งชี้ฝันได้ หรือทำการตรวจสอบความจริงจนตระหนักขึ้นมาได้ว่ากำลังฝันอยู่ ให้จมอยู่ในความคิดนี้ในระหว่างที่คุณกลับไปนอนต่อ แล้วคุณอาจสามารถฝันแบบรู้ตัวได้ [5]
    • จำไว้ว่าการฝันแบบรู้ตัวมักเกิดในขณะที่บุคคลนั้นๆ หลับสนิท โดยทั่วไปมักเป็นเพราะเขาสังเกตเห็นเหตุการณ์ประหลาดๆ และตระหนักขึ้นได้ว่าเขากำลังฝัน นี่เป็นเพียงหนึ่งตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดการฝันแบบรู้ตัวประมาณ 25% ของฝันรู้ตัวทั้งหมด [6]
  6. เข้าอินเตอร์เน็ตและลองหาซื้อนาฬิกาปลุกแบบใช้แสง แทนนาฬิกาปลุกแบบใช้เสียง หรือจะลองหาซื้อ "แสงดูดฝัน" (DreamLight) ซึ่งได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อกระตุ้นการเกิดฝันรู้ตัวเลยก็ได้ ตั้งเวลาปลุกเป็น 4, 5, 6 หรือ 7 ชั่วโมงหลังจากเข้านอน หรือตั้งให้ปลุกในทุกๆ ชั่วโมงหากเป็นไปได้ ในขณะที่เสียง สัมผัส หรือสิ่งกระตุ้นอื่นๆ ที่เกิดในช่วงหลับฝัน (Rapid Eye Movement: REM) สามารถทำให้ผู้ที่กำลังฝันตระหนักขึ้นมาได้ว่าเขากำลังฝัน แต่งานวิจัยหนึ่งชี้ให้เห็นว่าแสงเป็นตัวกระตุ้นที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด [7]
    • ความจริงแล้วคุณคงไม่อยากปลุกตัวเองขึ้นมา (ยกเว้นในกรณีที่คุณกำลังทดลองวิธีตื่นขึ้นแล้วนอนต่อ หรือ Wake Back to Bed ซึ่งเราจะพูดถึงด้านล่าง) คุณจึงควรวางนาฬิกาแสงให้อยู่ไกลจากระยะเอื้อมถึงจากเตียงของคุณ และ/หรือนำผ้ามาคลุมไว้เพื่อให้ได้แสงสลัวๆ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ใช้เทคนิคเพิ่มเติม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ก่อนเข้านอน ให้คุณนั่งสมาธิในห้องมืดๆ ที่ไร้เสียงรบกวน เพราะการฝึกนั่งสมาธิอาจทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น แต่ในช่วงเริ่มต้นฝึก ให้คุณเพียงตั้งสมาธิจดจ่อไปที่ลมหายใจของคุณ หรือจินตนาการว่ากำลังเดินขึ้นหรือลงบันได เป้าหมายก็คือเพื่อให้คุณหยุดคิดฟุ้งซ่าน และเข้าสู่สภาวะจิตใจเงียบสงบ และเคลื่อนจากสภาวะนี้เข้าสู่การฝันแบบรู้ตัวในที่สุด
    • จำไว้ว่า ฝันรู้ตัวที่ "ถูกกระตุ้นในขณะตื่น" นั้นพบได้น้อยกว่า และทำได้ยากกว่าการรู้ตัวว่าฝันหลังจากหลับไปแล้วระยะหนึ่ง
    • ในอินเตอร์เน็ต มีวิดีโอแนะนำการนั่งสมาธิมากมายที่ได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อช่วยให้คุณรู้ตัวเมื่อฝัน
  2. ยืดระยะเวลาการฝันรู้ตัว เมื่อมันกำลังจะจางหายไป. สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นกับใครหลายๆ คนที่มีความฝันแบบรู้ตัวเป็นครั้งแรก คือ การตกใจตื่นเนื่องจากตื่นเต้นเมื่อพบว่าตัวเองกำลังฝันแบบรู้ตัว! โดยปกติ คุณจะได้รับสัญญาณเตือนล่วงหน้า เนื่องจากฝันจะเริ่มรู้สึก "ไม่มั่นคง" หรือคุณเริ่มรับรู้ได้ถึงความรู้สึกบางอย่างที่เกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริง เทคนิคเหล่านี้สามารถช่วยให้คุณยืดฝันรู้ตัวได้: [8]
    • หมุนตัวตนในความฝันของคุณไปรอบๆ หรือโถมตัวจนล้มลงไปด้านหลัง แม้จะไม่รู้เหตุผล แต่มีคนบอกว่าวิธีการนี้สามารถช่วยได้
    • ในความฝัน ให้คุณนำมือทั้งสองข้างมาถูกัน เทคนิคนี้จะช่วยเบี่ยงเบนความสนใจของคุณออกจากสิ่งที่คุณกำลังรับรู้ในชีวิตจริง
    • ทำสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่ต่อไปในขณะที่ความฝันเริ่มไม่มั่นคง เพื่อยืนยันว่าคุณยังคงอยู่ในความฝัน แต่เทคนิคนี้มีประสิทธิภาพน้อยกว่าเทคนิคอื่นๆ ข้างต้น
  3. หากคุณส่งเสียงที่มีคลื่นความถี่แตกต่างกันไปยังหูแต่ละข้าง สมองของคุณจะประมวลผลรูปแบบที่ทับซ้อนกันของคลื่นเสียงทั้งสองเป็นจังหวะแบบเครื่องเสียง แม้ความจริงจะไม่มีจังหวะใดๆ ปรากฏในเสียงดังกล่าว เสียงเหล่านี้จะเปลี่ยนคลื่นไฟฟ้าในสมองของคนเรา แต่จนถึงตอนนี้ นักวิทยาศาสตร์เองก็ยังไม่แน่ใจว่ากระบวนการนี้จะกระตุ้นการเกิดฝันรู้ตัวได้จริงหรือไม่ [9] มีเว็บไซต์ต่างๆ มากมายที่รวบรวมคลื่นเสียงแบบสองจังหวะเอาไว้ คุณจึงสามารถหามาฟังได้ง่ายๆ เพื่อทดสอบดูว่าคุณสามารถนอนหลับโดยเสียบหูฟังได้หรือไม่ ผู้ที่มักฝันรู้ตัวส่วนใหญ่จะใช้จังหวะที่เลียนแบบคลื่นธีต้าของสมอง ซึ่งเป็นคลื่นที่เกิดในช่วงที่เราหลับฝัน (REM) แต่บางคนก็เชื่อในจังหวะคลื่นแกมม่าหรือแอลฟ่า ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญบางท่านเลือกใช้คลื่นเสียงหลากหลายประเภทรวมกัน
    • คลื่นเสียงแบบสองจังหวะที่เลือกใช้สามารถมีเสียงดนตรีนุ่มๆ ประกอบ หรือมีเพียงจังหวะเท่านั้น
  4. มีรายงานว่าเหล่านักเล่นเกมตัวยงมีอัตราการเกิดฝันรู้ตัวสูงกว่าคนทั่วไป [10] แม้ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมอีกมาก แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่การเล่นเกมประมาณ 2-3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์จะช่วยเพิ่มโอกาสในการเกิดฝันรู้ตัว โดยไม่ปรากฏว่าประเภทของเกมที่เล่นจะทำให้ได้ผลที่แตกต่างกัน [11]
  5. กาลันทามีน (galantamine) เป็นยาที่สังเคราะห์ได้จากต้นหยาดหิมะ และอาจเป็นยาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการกระตุ้นการเกิดฝันรู้ตัว และเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ควรรับประทานประมาณ 4-8 มก. ในช่วงดึก [12] แต่เนื่องจากการรับประทานยากาลันทามีนอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ดังต่อไปนี้ เราจึงแนะนำให้ใช้เป็นครั้งคราวเท่านั้น
    • ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้หากคุณมีปัญหาสุขภาพใดๆ เพราะกาลันทามีนอาจทำให้อาการที่เป็นอยู่ทรุดหนักขึ้น เช่น โรคหอบหืดหรือปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ
    • ยาชนิดนี้ยังเพิ่มโอกาสในการเกิดอาการผีอำ ซึ่งเป็นอาการที่ไม่อันตราย แต่มักทำให้เรารู้สึกตื่นกลัวเพราะตื่นขึ้นมาแล้วเป็นเวลาหลายนาทีแต่ยังไม่สามารถขยับกล้ามเนื้อส่วนใดๆ ได้
  6. ใช้วิตามินบีเป็นตัวช่วยเสริมบ้างเป็นครั้งคราว. วิตามินบี 5 หรือวิตามินบี 6 จะช่วยให้ความฝันของคุณชัดเจน ประหลาด และมีอารมณ์ถาโถมมากยิ่งขึ้น และสามารถกระตุ้นให้เกิดฝันรู้ตัวได้ในที่สุด [13] อย่างไรก็ตาม คุณอาจต้องทานวิตามินถึง 100 มก. จึงจะได้ผลลัพธ์ที่ชัดเจน แต่การรับประทานวิตามิน B ในปริมาณดังกล่าวถึอว่าสูงกว่าปริมาณที่แนะนำในแต่ละวัน และหากทานอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน อาจมีผลกระทบทำให้เส้นประสาทส่วนปลายของคุณได้รับความเสียหาย [14] ดังนั้น จึงควรใช้วิตามินเสริมเฉพาะในกรณีที่ต้องการกระตุ้นการเกิดฝันรู้ตัวมากเป็นพิเศษ และควรรับประทานในระดับที่เหมาะกับร่างกายของคุณ
    • ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้หากคุณกำลังเข้ารับการรักษาใดๆ หรือหากมีโรคที่เกี่ยวกับอาการเลือดไหล กระเพาะอาหาร ลำไส้ หรือหัวใจ
    • วิตามินชนิดนี้อาจทำให้เราตื่นขึ้นมาในเวลากลางคืน จึงอาจส่งผลเสียมากกว่าผลดีหากคุณเป็นคนตื่นง่ายอยู่แล้ว
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ใช้วิธีตื่นขึ้นแล้วนอนต่อ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โดยทั่วไป การฝันแบบรู้ตัวและการฝันที่เห็นภาพชัดเจนมักเกิดในช่วงหลับฝัน (REM) ซึ่งเป็นช่วงที่เราหลับลึกและมีลักษณะพิเศษคือมีการกลอกของลูกตา (Rapid Eye Movement) ช่วงแรกของการหลับฝันมักเกิดในช่วง 90 นาทีหลังจากคุณผลอยหลับไป และจะเกิดช่วงอื่นๆ ตามมาใน "ประมาณ" ทุกๆ 90 นาทีหลังจากนั้น เป้าหมายของการใช้วิธีการนี้คือ เพื่อให้คุณตื่นขึ้นมาในช่วงหลับฝัน แล้วจึงกลับไปนอนต่อโดยตระหนักรู้ว่าคุณกำลังฝันอยู่
    • คุณไม่สามารถทราบเวลาที่ชัดเจนของแต่ละช่วงของการหลับได้ เว้นเสียแต่ว่าคุณจะไปยังห้องแล็บทดสอบการนอนหลับ หรือมีนกฮูกผู้ทุ่มเท คอยเฝ้าดูเปลือกตาของคุณตลอดทั้งคืน สิ่งที่สามารถทำได้จริงมากกว่า คือการทำตามวิธีการด้านล่างอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งคุณสามารถตื่นขึ้นมาในช่วงหลับฝัน
  2. กระตุ้นให้ร่างกายของคุณมีช่วงหลับฝันมากขึ้น. มีหลายวิธีที่สามารถเพิ่มจำนวนการหลับฝันของคุณ ดังที่อธิบายไว้ในบทความที่ลิงก์ไว้ หนึ่งในวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดและยังเป็นวิธีการที่ทำให้ช่วงหลับฝันเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันอย่างสม่ำเสมอคือการจัดตารางเวลาการนอนในแต่ละวันของคุณ และนอนหลับให้เพียงพอเพื่อให้คุณตื่นขึ้นมาพร้อมความรู้สึกสดชื่น
    • การปรับความสมดุลระหว่างขั้นตอนนี้และขั้นตอนต่อไป ซึ่งจะทำให้คุณถูกปลุกขึ้นในช่วงกลางดึก อาจทำได้ยาก หากคุณมีปัญหาในการกลับไปนอนต่อ ให้ลองใช้วิธีการอื่นๆ แทน หรือจำกัดความพยายามของคุณเหลือเพียง 1 หรือ 2 ครั้งต่อสัปดาห์
  3. ตั้งนาฬิการปลุกให้ดังขึ้นใน 4, 5, 6 "หรือ" 7 ชั่วโมงหลังจากคุณผลอยหลับไป [15] เพราะในช่วงเวลาดังกล่าว มีแนวโน้มที่คุณจะอยู่ในช่วงหลับฝัน แม้ความจริงแล้วเราจะคาดคะเนเวลาล่วงหน้าได้ยาก แต่ช่วง 6 หรือ 7 ชั่วโมงหลังนอนหลับน่าจะได้ผลดีที่สุด เพราะช่วงหลับฝันในระยะหลังๆ มักเกิดขึ้นนานกว่า "และ" ความฝันที่เกิดขึ้นมักชัดเจนและมีโอกาสที่เราจะสามารถรู้ตัวได้มากกว่า [16] [17]
  4. ทำให้ตัวเองรู้สึกตื่นตัวขึ้นมาสักครู่หนึ่ง. แล้วจดบันทึกความฝันของคุณหากคุณกำลังฝันอยู่ก่อนหน้านี้ หาของว่างทาน หรือเพียงลุกขึ้นมาแล้วเดินไปรอบๆ สักพัก เป้าหมายคือเพื่อทำให้คุณมีสติและตื่นตัว ในขณะที่ร่างกายของคุณยังเต็มไปด้วยฮอร์โมนแห่งการนอนหลับ
    • งานวิจัยหนึ่งแสดงให้เห็นว่าการทำให้เรารู้สึกตื่นตัวเป็นเวลาระหว่าง 30-60 นาทีนั้นจะทำให้เรามีโอกาสฝันรู้ตัวได้มากที่สุด [18]
  5. ตั้งสมาธิจดจ่อไปที่ความฝัน แล้วกลับไปนอนต่อ. ปิดตาและหลับลงอีกครั้ง หากคุณจดจำสิ่งที่ฝันอยู่ก่อนหน้านี้ได้ ให้นึกถึงความฝันนั้นและกลับไปนอน โดยจินตนาการว่าคุณกำลังฝันถึงสิ่งนั้นต่อ แม้วิธีการนี้อาจใช้เวลาสักระยะกว่าจะทำได้สำเร็จ แต่ก็มีความเป็นไปได้สูงที่คุณจะฝันรู้ตัวได้ในที่สุด เบอร์เกอร์เฟรนช์ฟรายจะช่วยให้คุณฝันได้ดีขึ้นหากรับประทานในปริมาณมากก่อนที่จะเข้านอน
  6. หากจิตใจของคุณล่องลอยไปในขณะที่คุณกำลังพยายาม "ดักจับ" ความฝันของคุณ หรือหากคุณจดจำความฝันของตัวเองไม่ได้เลย ให้คุณลองตั้งสมาธิจดจ่อไปที่การเคลื่อนไหวของนิ้วมือของคุณแทน โดยให้ใช้การเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อย เช่น "เคลื่อนนิ้วชี้ขึ้น เคลื่อนนิ้วกลางลง เคลื่อนนิ้วกลางขึ้น เคลื่อนนิ้วชี้ลง" ให้คุณเคลื่อนไหวตามจังหวะนี้ซ้ำๆ จนกระทั่งผลอยหลับไป
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ฝันรู้ตัวเป็นทักษะหนึ่งที่ต้องอาศัยการเรียนรู้ และแม้แต่ผู้ที่สามารถฝันรู้ตัวได้เป็นประจำก็อาจสามารถฝันรู้ตัวได้เพียง 1 หรือ 2 ครั้งต่อเดือน คุณจึงต้องใจเย็นและลองทำตามเทคนิคเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง แล้วโอกาสและความถี่ในการเกิดฝันรู้ตัวจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นตามลำดับ
  • บางครั้ง หากคุณ "ตื่นผิดช่วงเวลา" ในขณะที่คุณกำลังฝัน ให้คุณทำการตรวจสอบความเป็นจริง (เช่น พยายามอ่านหนังสือ) ทันทีที่ตื่นขึ้นมา มิเช่นนั้น การตื่นผิดช่วงเวลาของคุณอาจเปลี่ยนฝันรู้ตัวเป็นฝันธรรมดาๆ ทั่วไป
  • เมื่อรู้ตัวว่าคุณกำลังฝัน ลองตั้งใจตื่นขึ้นมาหลังจากรู้ตัวได้ประมาณ 2-3 นาที วิธีการนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสในการจดจำความฝันของคุณ
  • ไม่ดื่มน้ำทุกชนิดในช่วง 1 ชั่วโมงก่อนเข้านอน เพราะสิ่งสุดท้ายที่คุณต้องการคือเมื่อคุณสามารถฝันรู้ตัวได้สำเร็จ แต่กลับต้องตื่นขึ้นมาก่อนเวลาที่ต้องการเพียงเพราะคุณจำเป็นต้องเข้าห้องน้ำ
  • หากพบว่าความฝันไม่เป็นไปตามที่คุณต้องการ ให้ลอง "ปิดตา" ในความฝัน จากนั้นให้ฝืนลืมตาขึ้นมา และทำเช่นนี้ซ้ำๆ จนกระทั่งคุณตื่น
  • หากรู้สึกว่ากำลังสูญเสียการควบคุม ให้คุณตะโกนสิ่งที่คุณต้องการให้เกิดขึ้นดังๆ จนกว่าคุณจะสามารถควบคุมความฝันของคุณได้อีกครั้ง หรือจนกว่าสิ่งนั้นจะเกิดขึ้นอย่างที่คุณต้องการ
โฆษณา

คำเตือน

  • การฝันแบบรู้ตัวอาจทำให้คุณมีอาการผีอำ ซึ่งจะทำให้คุณไม่สามารถขยับเขยื้อนร่างกายได้ในช่วงที่เริ่มรู้สึกตัว (ช่วงการเปลี่ยนผ่านระหว่างการหลับและการตื่น) ทั้งๆ ที่ยังมีสติอยู่และรับรู้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว อย่างไรก็ตาม อาการนี้ไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ แต่มักทำให้คุณรู้สึกตื่นกลัว โดยเฉพาะเมื่อคุณมองเห็นภาพหลอนแปลกๆ ปรากฏขึ้นในห้องของคุณด้วยในเวลาเดียวกัน เมื่อมีอาการผีอำ กล้ามเนื้อบางส่วนของคุณมักได้รับผลกระทบน้อยกว่าส่วนอื่นๆ ดังนั้น ให้คุณตั้งสมาธิ พยายามกระดิกนิ้วเท้าของคุณ หรือพยายามกลืนน้ำลายและตั้งสติให้ใจเย็นๆ จนกว่าภาพหลอนนั้นจะหายไป
  • หากคุณเกิดรู้สึกตื่นเต้นขึ้นมามากๆ ในขณะที่กำลังฝันแบบรู้ตัว ความตื่นเต้นอาจทำให้คุณตื่นขึ้นมาทันที เพื่อพยายามกลับไปฝันต่อ ให้คุณปิดตาและตั้งสมาธิจดจ่อไปที่ความฝันของคุณ หรือหากคุณรู้สึกได้ว่ากำลังจะตื่น แต่ยังคง "อยู่ใน" ตัวคุณในความฝัน ให้คุณหมุนตัวไปรอบๆ หรือนำมือทั้งสองข้างมาถูกัน


โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. http://www.lucidity.com/SleepAndCognition.html Lucid Dreaming: Psycho physiological Studies of Consciousness during REM Sleep] In Bootzen, R. R., Kihlstrom, J.F. & Schacter, D.L., (Eds.) Sleep and Cognition. Washington, D.C.: American Psychological Association, 1990 (pp. 109-126)
  2. http://www.lucidity.com/NL11.DreamRecall.html
  3. http://www.overcomingbias.com/2008/05/sleepy-fools.html
  4. http://www.infiniteminds.info/Lucid-Dreaming/How-to-Lucid-Dream-Mnemonic-Induction-of-Lucid-Dreams.html
  5. http://www.infiniteminds.info/Lucid-Dreaming/How-to-Lucid-Dream-Mnemonic-Induction-of-Lucid-Dreams.html
  6. http://www.lucidity.com/SleepAndCognition.html
  7. LaBerge, Stephen Levitan, Lynne. Validity established of DreamLight cues for eliciting lucid dreaming . In Dreaming , Vol 5(3), Sep 1995, pp.159-168.
  8. http://www.lucidity.com/NL7.34.RU.SpinFlowRub.html
  9. http://dreamstudies.org/2011/02/24/binaural-beats-for-lucid-dreaming-is-it-just-pseudoscience/

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 13,819 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา