ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ความสามารถในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นเป็นทักษะที่สำคัญต่อความสัมพันธ์ การศึกษา และหน้าที่การงาน บทความนี้จะบอกขั้นตอนและเคล็ดลับที่ช่วยให้คุณได้พัฒนาทักษะการสื่อสารที่ดี

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

เข้าใจพื้นฐานของทักษะการสื่อสาร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การสื่อสารคือกระบวนการถ่ายทอดสัญญาณ/ข้อความระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารผ่านวิธีการต่างๆ (ไม่ว่าจะเป็นตัวหนังสือ ท่าทางบอกใบ้ หรือคำพูด) อีกทั้งยังเป็นกลไกที่เราใช้ในการสร้างและปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ด้วย
  2. มั่นใจ ว่าสิ่งที่คุณพูดนั้นสามารถสร้างคุณค่าในบทสนทนาได้ หาเวลาในแต่ละวันมาตระหนักถึงความคิดเห็นและความรู้สึกของตัวเอง เพื่อที่คุณจะได้ถ่ายทอดความคิดเห็นและอารมณ์เหล่านั้นไปยังผู้อื่นได้อย่างเพียงพอ คุณไม่ต้องกลัวที่จะพูดเพียงเพราะว่าคุณไม่มั่นใจว่าสิ่งที่คุณพูดนั้นมีคุณค่าพอหรือไม่ เพราะสิ่งที่สำคัญหรือมีคุณค่ากับคนหนึ่งอาจจะไม่สำคัญหรือไม่มีคุณค่ากับอีกคนหนึ่ง และอาจจะสำคัญและมีคุณค่ามากสำหรับคนอื่นๆ ก็ได้
  3. การพัฒนาทักษะการสื่อสารขั้นสูงนั้นเริ่มจากการสื่อสารธรรมดา คุณสามารถฝึกฝนทักษะการสื่อสารได้ทุกวันในโอกาสต่างๆ ตั้งแต่งานสังคมไปจนถึงงานที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่การงาน ทักษะใหม่ๆ ต้องใช้เวลาในการขัดเกลา แต่ทุกครั้งที่คุณใช้ทักษะการสื่อสารก็คือคุณได้เปิดโอกาสสำหรับตัวเองและความสัมพันธ์ต่างๆ ในอนาคตด้วย
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ดึงดูดใจผู้ฟัง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไม่ว่าคุณจะกำลังพูดหรือกำลังฟัง การมองเข้าไปในดวงตาของคนที่คุณสนทนาด้วยจะทำให้การสื่อสารประสบความสำเร็จมากขึ้น การสบตาสื่อความสนใจและกระตุ้นให้คู่สนทนาสนใจคุณตอบด้วย [1]
    • หนึ่งเทคนิคสบตาคู่สนทนาก็คือ มองเข้าไปในดวงตาข้างหนึ่งของคู่สนทนาอย่างตั้งใจ แล้วค่อยมองกลับไปที่ดวงตาอีกข้างหนึ่ง มองดวงตาแต่ละข้างสลับไปมา แล้วตาของคุณจะดูเปล่งประกาย อีกหนึ่งเคล็ดลับก็คือสมมุติรูปตัว T ไว้บนหน้าคู่สนทนา โดยนึกภาพเส้นแนวนอนพาดระหว่างคิ้ว และเส้นแนวตั้งอยู่ตรงกลางจมูก คอยมองใบหน้าบริเวณรูปตัว “T” อยู่เรื่อยๆ
  2. การใช้ท่าทางคือการใช้มือและการแสดงออกทางสีหน้า ใช้ร่างกายทุกส่วนในการพูดคุย ถ้าเป็นการพูดคุยระหว่างบุคคลและกลุ่มเล็กๆ ก็ให้ออกท่าทางเล็กน้อย และขยายการแสดงท่าทางให้ใหญ่ขึ้นตามขนาดของกลุ่มสนทนา [2]
  3. คำพูด ท่าทาง สีหน้า และน้ำเสียงต้องไปด้วยกัน การที่คุณอบรมใครแล้วยิ้มไปด้วยนั้นเป็นการสื่อความที่สับสนและไม่มีประสิทธิภาพ ถ้าคุณต้องพูดข้อความที่เป็นลบ คำพูด สีหน้า และน้ำเสียงต้องสอดคล้องกับสิ่งที่คุณต้องการสื่อ [3]
  4. ภาษากายสื่อความได้มากกว่าคำพูด ระยะห่างที่มากพอระหว่างแขนที่ปล่อยสบายๆ กับลำตัวด้านข้างของคุณสื่อให้คนรอบข้างรู้ว่า คุณเข้าถึงได้และเปิดรับสิ่งที่พวกเขาต้องการจะพูด [4]
    • ในทางตรงกันข้าม การกอดอกและไหล่ห่อสื่อถึงความไม่สนใจในการสนทนาหรือไม่เต็มใจที่จะสื่อสาร หลายครั้งที่การสื่อสารจบลงตั้งแต่ยังไม่เริ่มเพราะภาษากายบอกคนอื่นว่าคุณไม่อยากคุยด้วย
    • การวางท่าทางที่เหมาะสมและระยะห่างที่เข้าถึงได้ทำให้บทสนทนายากๆ ลื่นไหลมากขึ้น
  5. แสดงทัศนคติและความเชื่อที่ก่อให้เกิดประโยชน์. ทัศนคติที่คุณแสดงออกในการสนทนามีผลกระทบอย่างมากต่อการควบคุมอารมณ์และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เลือกที่จะเป็นคนซื่อสัตย์ อดทน มองโลกในแง่ดี จริงใจ เคารพ และยอมรับผู้อื่น อ่อนไหวไปกับความรู้สึกและเชื่อมั่นในความสามารถของผู้อื่น
  6. พัฒนาทักษะ การฟัง อย่างมีประสิทธิภาพ: คนเราแค่พูดได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นไม่เพียงพอ ต้องสามารถรับฟังคำพูดของคนอื่นและเข้าร่วมการสนทนาในเรื่องที่ผู้อื่นกำลังพูดได้ด้วย อย่ารู้สึกว่าตัวเองแค่ฟังๆ ไปจนกว่าเขาจะพูดจบเพื่อที่ตัวเองจะได้พ่นความคิดเห็นออกมา หรือท่องไว้ในใจว่าตัวเองจะพูดอะไรขณะที่อีกฝ่ายกำลังพูดอยู่ [5]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

การใช้คำพูด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พูดให้ชัดเจนและอย่าพึมพำ ถ้าคนอื่นบอกให้คุณพูดซ้ำตลอดเวลา พยายามออกเสียงให้ชัดเจนกว่าเดิม
  2. คนอื่นจะตัดสินความสามารถของคุณจากคำศัพท์ที่คุณใช้ ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าคำนั้นต้องออกเสียงอย่างไร อย่าใช้คำนั้น เพิ่มคลังศัพท์ของคุณด้วยการอ่านคำใหม่ทุกวัน
  3. ถ้าคุณไม่แน่ใจความหมายของคำ อย่าใช้คำนั้น หยิบพจนานุกรมและฝึกนิสัยเรียนรู้คำใหม่ทุกวันวันละ 1 คำ และหาโอกาสพูดคำนั้นในการสนทนาระหว่างวันเป็นครั้งคราว
  4. ถ้าคุณพูดเร็ว คนอื่นจะเข้าใจว่าคุณประหม่าและไม่แน่ใจในสิ่งที่ตัวเองกำลังพูด แต่ก็ระวังอย่าพูดช้าจนคนอื่นเริ่มจบประโยคให้คุณเพราะอยากช่วยให้คุณพูดจบประโยคสักที [6]
  5. เสียงสูงหรือเสียงง๊องแง๊งไม่ใช่เสียงของอำนาจ ที่จริงแล้วเสียงที่สูงและเบาทำให้คุณดูเหมือนเป็นเหยื่อของเพื่อนร่วมงานใจร้ายหรือทำให้คนอื่นไม่ใส่ใจคุณมากเท่าไหร่ เริ่มฝึกพูดให้โทนเสียงต่ำลงด้วยการร้องเพลง แต่ให้ร้องเพลงที่คุณชอบทุกเพลงด้วยเสียงที่ต่ำกว่าเดิม 8 ระดับ ฝึกบ่อยๆ สักพักเสียงคุณจะเริ่มต่ำลง
  6. อย่าพูดเสียงเดียวและต้องให้เสียงมีขึ้นมีลงเสมอ ระดับเสียงของคุณต้องขึ้นสูงและลงต่ำสลับกันไปมาเป็นระยะ ตัวอย่างของคนที่พูดเสียงมีชีวิตชีวาก็เช่นพวกดีเจวิทยุ [7]
  7. ความดังของเสียงต้องเหมาะสมกับบริบท พูดเสียงค่อยๆ เมื่อคุณอยู่คนเดียวและอยู่ในที่ปิด พูดให้ดังขึ้นเมื่อคุณพูดกับคนกลุ่มใหญ่หรือพูดในที่กว้างๆ [8]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • พยายามพูดให้คล่องแคล่วและพยายามทำให้แน่ใจว่าคนอื่นได้ยินเวลาที่คุณพูด
  • ผู้พูดที่ดีคือผู้ฟังที่ดี
  • อย่าพูดขัดหรือพูดทับขณะที่คนอื่นกำลังพูด มันทำให้การสนทนาติดขัด จังหวะนั้นสำคัญมาก
  • พูดเสียงดังพอเหมาะกับบริบทของการสนทนา
  • ถามความเห็นของผู้ฟังเพื่อให้แน่ใจว่า เขาเข้าใจคุณในระหว่างการสนทนาจริงๆ
  • มั่นใจขณะพูด คนอื่นจะคิดอย่างไรไม่สำคัญ
  • ใช้คำพูดให้ถูกต้องตามไวยากรณ์
  • อย่าอวยตัวเองต่อหน้าผู้ฟังมากเกินไป
  • อย่าคิดว่าสิ่งที่คุณพูดถูกต้องเสมอ
  • สบตาขณะพูดหรือฟัง
  • ถ้าคุณอยากมีทักษะการสื่อสารที่ดี ก่อนอื่นคุณต้องมั่นใจและอย่าพูดตะกุกตะกักต่อหน้าคนอื่น ลองเข้าสังคมกับผู้คนให้มากขึ้น เพราะคุณจะได้รู้ว่าการคุยกับแต่ละคนนั้นแตกต่างกันอย่างไร
  • การฝึกฝนจะทำให้การสื่อสารของคุณดีขึ้นเรื่อยๆ


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 50,394 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา