ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

สีย้อมผ้าจากวัตถุดิบธรรมชาติ เป็นอีกทางเลือกสำหรับคนที่ต้องการย้อมผ้า ปกติสีดำถ้าไม่ใช้สารเคมีหรือสีย้อม จะย้อมผ้าออกมาเป็นสีดำสนิทได้ค่อนข้างยาก แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ซะทีเดียว ขอแค่ใจเย็น ทดลองไปเรื่อยๆ ไม่ว่าจะหาลูกโอ๊คหรือรากต้นออร์ริส (Iris (Orris) roots) มาทำสีย้อมผ้า เคล็ดลับอยู่ที่ต้องแช่ผ้าในน้ำย้อมผ้าทำเองนี้ก่อน ยังไงลองไปขุดกรุเสื้อยืดเก่า แล้วมาย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติกันดีกว่า!

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

ย้อมผ้าด้วยสนิมเหล็กกับลูกโอ๊ค

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เทน้ำส้มสายชู 1 ถ้วยตวง (240 มิลลิลิตร)ใส่ขวดโหล แล้วเอาอะไรที่เป็นสนิมสัก 2 กำมือใส่ลงไป. หาเหล็กที่เป็นสนิท อย่างตะปู น็อต ฝอยขัดหม้อ หรือกลอนประตูเก่าก็ได้ ยิ่งสนิมขึ้นเยอะยิ่งย้อมผ้าได้ดี [1]
    • ถ้าไม่มีขวดโหลแก้ว ให้ใช้ภาชนะใหญ่ๆ ที่เป็นแก้วและมีฝาปิด
    • คุณหาซื้อผงเหล็กจากในเน็ตมาใช้แทนก็ได้ ถ้าหาอะไรที่ขึ้นสนิมไม่ได้ โดยผสมผงเหล็กกับน้ำส้มสายชูเข้าด้วยกัน

    ทำให้ตะปูขึ้นสนิม

    เอาตะปูไปแช่ในถ้วยหรือภาชนะที่ใส่น้ำส้มสายชูกลั่นขาวไว้สัก 5 นาที จากนั้นเทน้ำส้มสายชูทิ้ง แล้วราดตะปูด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ถ้าอยากได้สนิมเยอะเป็นพิเศษ แนะนำให้โรยเกลือ sea salt ลงไปด้วย จากนั้นเอาตะปูขึ้นจากน้ำ ผึ่งให้แห้ง จะเห็นว่าตะปูเริ่มขึ้นสนิมทันทีเลย!

  2. น้ำต้องท่วมเหล็กที่ขึ้นสนิมนั้นจนมิด จะได้แช่ทั่วถึง จากนั้นปิดฝาให้แน่น ป้องกันน้ำระเหยออกมา [2]
    • จะใช้น้ำอุณหภูมิเท่าไหร่ก็ได้ น้ำเย็น ไปจนถึงน้ำอุณหภูมิห้อง และน้ำร้อน
  3. เอาขวดโหลไปตากแดด 1 - 2 อาทิตย์ จนน้ำในขวดกลายเป็นสีส้ม. เลือกจุดที่แดดส่องตรงๆ และค่อนข้างร้อนจะเหมาะมาก น้ำผสมน้ำส้มสายชูจะกลายเป็นสีทองแดง หลังสนิมเหล็กทำปฏิกิริยากับน้ำส้มสายชู [3]
    • ที่ที่เหมาะจะเอาขวดโหลไปตากแดดก็เช่น ระเบียง ดาดฟ้า ลานหน้าบ้าน และกรอบหน้าต่าง
    • น้ำสีส้มที่ได้ เรียกว่า iron mordant หรือสารช่วยติดสีที่ได้จากเหล็ก
  4. ให้ใช้ลูกโอ๊คประมาณ 2.5 กิโลกรัม (5 ปอนด์) ต่อน้ำหนักผ้าที่จะย้อม 500 กรัม (1 ปอนด์) เช่น ถ้ามีผ้าหนักประมาณ 250 กรัม (1/2 ปอนด์) ก็ต้องใช้ลูกโอ๊ค 1 กิโลกรัม (2.5 ปอนด์) โดยเทน้ำใส่หม้อให้ท่วมทั้งลูกโอ๊คและผ้าที่จะย้อม [4]
    • ถ้าแถวบ้านไม่มีต้นโอ๊ค อาจจะสั่งออนไลน์ หรือเลือกใช้ลูกไม้อื่นที่หาง่ายกว่าในไทยก็ได้
    • เวลาชั่งน้ำหนักลูกโอ๊ค ให้ใช้ตาชั่งดิจิตอลแบบชั่งอาหาร แต่จะใช้ตาชั่งธรรมดาก็ไม่ว่ากัน
    • ใช้หม้อที่เป็นสแตนเลสหรือแก้ว เพราะหม้อที่เป็นทองแดงหรืออลูมิเนียมจะทำปฏิกิริยากับสีย้อมได้
  5. โดยยกหม้อขึ้นตั้งไฟอ่อนหรือไฟกลาง คนลูกโอ๊คเป็นระยะ ขั้นตอนนี้ช่วยสกัดสีธรรมชาติจากลูกโอ๊คนั่นเอง [5]
    • การต้มด้วยไฟอ่อนนั่นจะอยู่ที่อุณหภูมิประมาณ 90 - 99 °C (195 - 211 °F) สังเกตง่ายๆจะมีฟองเล็กๆ ผุดขึ้นมาช้าๆ ไม่ได้เดือดปุดๆ [6]
  6. จะเอาผ้าไปชุบน้ำหรือเปิดน้ำก๊อกราดก็ได้ จากนั้นบีบหรือบิดผ้าให้พอหมาด ไม่เปียกชุ่ม [7]
    • ถ้าผ้าเปียกน้ำมาก่อน เวลาไปย้อม สีจะเนียนเสมอ ไม่ด่างเป็นจุดๆ ย้อมสีได้ทั่วทั้งผืน

    วิธีเลือกผ้าที่จะย้อม

    วัสดุ: ถ้าเป็นเส้นใยธรรมชาติอย่างวูล (ขนสัตว์) ผ้าไหม และผ้ามัสลิน จะดูดซับสีย้อมได้ดี ส่วนผ้าฝ้าย (คอตตอน) กับใยสังเคราะห์ จะย้อมยากกว่าหน่อย

    สี: ถ้าเป็นผ้าสีอ่อนจะย้อมง่ายกว่า เช่น ผ้าขาว ผ้าสีครีม หรือผ้าสีพาสเทลอ่อนๆ

    ปัจจัยอื่นๆ: ระวังว่าถ้าผ้านั้นมีการปักหรือมีด้ายที่ไม่ใช่โพลีเอสเตอร์ ต้องใช้เทียนเขียนลายผ้าบาติกมาทาก่อน จะได้คงสีเดิมไว้

  7. อาจจะต้องลดไฟให้อ่อนลงก่อน จะได้ต้มด้วยความร้อนคงที่ หมั่นกวนผ้าในหม้อเป็นระยะ จะได้ย้อมสีเนียนเท่ากันทั้งผืน [8]
    • ถ้าจะย้อมผ้าวูล ระวังอย่ากวนบ่อยเกิน ไม่งั้นจะอัดกันเป็นแผ่นหรือเป็นก้อนได้ [9]
  8. เทน้ำสนิมเหล็กกับน้ำเปล่ารวมกันในหม้ออีกใบ. นี่คือน้ำที่เราต้องแช่ผ้าหลังย้อมเสร็จ ให้เทน้ำเยอะพอจะท่วมผ้าทั้งผืน [10]
    • ให้เตรียมน้ำนี้ระหว่างต้มผ้าในสีย้อมก็ได้
  9. เอาผ้าขึ้นจากสีย้อม แล้วแช่ในหม้อน้ำสนิทประมาณ 10 นาที. ใช้ช้อนกวนผ้าในหม้อเบาๆ เพื่อให้ชุ่มผ้าทั่วทั้งผืน ผ้าจะสีเข้มขึ้นได้และสีเซ็ตตัว เพราะสนิมเหล็กกับสีย้อมทำปฏิกิริยากัน [11]
    • ให้ใช้ช้อนสแตนเลสกวนผ้า ถ้าเป็นช้อนไม้จะติดสีด่างไปเลย ล้างไม่ออก
  10. หรือแช่ผ้าในสีย้อมและน้ำสนิมเพื่อให้สีเข้มขึ้นก็ได้. ถ้ายังไม่โอเคกับสีผ้าหลังผ่านไป 10 นาทีแล้ว ให้เอาผ้ากลับไปแช่น้ำลูกโอ๊คต่ออีก 5 นาที แล้วเอากลับไปแช่น้ำสนิมอีก 5 นาทีเช่นกัน [12]
    • ทำสลับกันไปแบบนี้จนได้ผ้าที่สีเข้มพอ
  11. บีบหรือบิดผ้าให้หมาด แล้วทิ้งไว้ 1 ชั่วโมงให้ผ้าแห้งค่อยเอาไปซัก. ตากผ้านอกบ้านตรงที่แดดแรงๆ หรือจะตากที่ราวในห้องซักล้างก็ได้ สีจะได้มีเวลาเซ็ตตัวก่อนนำไปซัก [13]
    • ปูผ้าเก่าหรือผ้าปูสำหรับทาสีก็ได้ ไว้ข้างใต้ผ้าที่ย้อมเสร็จ ระหว่างผึ่งให้แห้ง เผื่อมีสีหยด เพราะถ้าโดนพรมหรือผ้าอื่นๆ จะซักไม่ออกเลย
  12. ต้องอ่านป้ายดีๆ ว่าผ้าชนิดนั้นซักยังไง ถ้าเอาเข้าเครื่องได้ ก็เอาไปซักในเครื่องซักผ้าได้เลย โดยใช้น้ำยาซักผ้าอ่อนๆ และเลือกน้ำเย็นจัด ถ้าไม่ซักเครื่องก็ซักมือแทน [14]
    • ถ้าซักมือ ให้สังเกตว่าน้ำใส แปลว่าซักผ้าสะอาดดีแล้ว ไม่เหลือสีย้อมส่วนเกิน
    • ถ้าจะซักเครื่อง ต้องซักแยกจากผ้าอื่น เพราะไม่งั้นจะสีตกใส่ผ้าอื่นได้
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

ย้อมผ้าด้วยรากต้นออร์ริส

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้ผสมน้ำส้มสายชู 1 ส่วนกับน้ำ 4 ส่วนเข้าด้วยกันในหม้อ แล้วแช่ผ้า. ส่วนผสมนี้จะเป็นตัวล็อคสี ช่วยให้สีผ้าติดทนนาน ให้เติมน้ำเยอะพอท่วมผ้าทั้งผืน [15]
    • เช่น ผสมน้ำ 4 ถ้วยตวง (950 - 1,000 มล.) ต่อน้ำส้มสายชู 1 ถ้วยตวง (240 มล.)
    • น้ำส้มสายชูกลั่นขาว เหมาะจะใช้ย้อมผ้าที่สุด
    • ถ้าเป็นผ้าเส้นใยธรรมชาติสีอ่อน เช่น ผ้าไหมสีอ่อน หรือผ้ามัสลินสีขาว จะดูดซับสีย้อมได้ดีที่สุด ไม่ค่อยแนะนำให้ย้อมผ้าที่สีเข้มอยู่แล้วหรือใยสังเคราะห์
  2. ตั้งไฟอ่อน ให้น้ำผสมน้ำส้มสายชูเดือดเล็กน้อย ใช้ช้อนกวนผ้าวนๆ ในหม้อ น้ำจะได้ซึมทั่วทั้งผืน [16]
    • น้ำส้มสายชูจะมีจุดเดือดสูงกว่าน้ำเล็กน้อย เพราะฉะนั้นต้องใช้เวลานานหน่อยกว่าจะร้อน
  3. พอต้มผ้าไว้ 1 ชั่วโมงแล้ว ผ้าก็พร้อมย้อม ให้เปิดน้ำก๊อกเย็นๆ ราดผ้าประมาณ 1 - 2 นาที เพื่อล้างน้ำส้มสายชูส่วนเกินออกไป [17]
    • หรือจะล้างผ้าในกะละมังน้ำเย็นก็ได้เหมือนกัน
    • ไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องกลิ่นฉุนของน้ำส้มสายชู เพราะย้อมผ้าเสร็จ กลิ่นก็หายไปแล้ว
  4. ผสมรากต้นออร์ริส (Iris (Orris) roots) 1 ส่วน กับน้ำ 2 ส่วนเข้าด้วยกันในหม้ออีกใบ. เหมือนเดิมคือเติมน้ำในหม้อจนท่วมผ้า อย่างถ้าใช้รากต้นออร์ริส 2 ถ้วยตวง (470 - 500 มล.) ก็ต้องใช้น้ำประมาณ 4 ถ้วยตวง (950 - 1,000 มล.) [18]
    • สีย้อมเป็นพิษได้ถ้ากินเข้าไป เพราะฉะนั้นถ้าเอาหม้อไปย้อมผ้าแล้ว อย่านำไปปรุงอาหารอีก
    • คุณหาซื้อรากต้นออร์ริสได้ตามเรือนเพาะชำหรือในเน็ต
    • จะแช่ทั้งรากหรือหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ให้พอดีกับหม้อก็ได้
  5. ตั้งไฟอ่อนให้น้ำสีเกือบเดือด หมั่นกวนผ้าเรื่อยๆ น้ำจะได้ท่วมผ้า ย้อมสีออกมาเนียนเสมอกันทั้งผืน [19]
    • ก้นหม้อเป็นจุดที่ร้อนที่สุด เพราะฉะนั้นผ้าส่วนนั้นสีจะออกมาเข้มกว่า เลยต้องกวนผ้าด้านล่างขึ้นมาด้านบนสลับกันไป จะได้ไม่มีส่วนที่สีเข้มกว่าส่วนอื่น [20]
    • ถ้าจะกวนผ้าในสีย้อมโดยใช้มือ ให้สวมถุงมือยางกันไว้ก่อน
  6. แช่ผ้าทิ้งไว้ในสีย้อมข้ามคืนก็ได้ ถ้าอยากให้เข้มกว่านั้น. ยิ่งแช่ผ้าไว้ในสีย้อมนานเท่าไหร่ ผ้าก็ยิ่งเป็นสีดำเข้มขึ้นเท่านั้น เหมาะกับการย้อมผ้าใยสังเคราะห์ที่ย้อมติดยากสักหน่อย [21]
    • เตือนกันก่อนว่าพอผ้าแห้งแล้ว สีจะอ่อนลง [22]
    • ปิดฝาหม้อ หรือวางไว้ไกลมือเด็กและสัตว์เลี้ยง ถ้าจะย้อมผ้าทิ้งไว้ข้ามคืน เพราะสีย้อมเป็นอันตรายได้
  7. ซักผ้าด้วยน้ำยาซักผ้าในน้ำเย็นจัด จากนั้นตากให้แห้ง. อ่านป้ายก่อนว่าผ้าชิ้นนั้นซักเครื่องและอบแห้งในเครื่องได้หรือไม่ ถ้าไม่มีป้าย ก็ปลอดภัยไว้ก่อนโดยซักมือด้วยน้ำเย็นกับสบู่อ่อนๆ จากนั้นเอาเข้าเครื่องอบผ้า หรือจะตากไว้นอกบ้านก็ได้ [23]

    เคล็ดลับในการซักผ้า: ห้ามซักผ้าที่เพิ่งย้อม รวมกับผ้าชิ้นอื่น เพราะสีจะตกใส่ผ้าชิ้นอื่น

    โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

ย้อมผ้าด้วยสนิมเหล็กกับลูกโอ๊ค

  • ผ้าที่จะย้อม
  • เหล็กที่เป็นสนิท 2 กำมือ
  • น้ำส้มสายชูกลั่นขาว 1 ถ้วยตวง (240 มล.)
  • น้ำสะอาด
  • ลูกโอ๊ค
  • ขวดโหลขนาดใหญ่แบบมีฝาปิด
  • หม้อใบใหญ่ 2 ใบ
  • ช้อน
  • เชือกหรือราวตากผ้า
  • เครื่องซักผ้า (ถ้ามี)

ย้อมผ้าด้วยรากต้นออร์ริส

  • ผ้าที่จะย้อม
  • รากต้นออร์ริส (Iris (Orris) roots)
  • น้ำส้มสายชู
  • น้ำสะอาด
  • หม้อใบใหญ่ 2 ใบ
  • ช้อน
  • เชือกหรือราวตากผ้า
  • เครื่องซักผ้า (ถ้ามี)

คำเตือน

  • หม้อที่ใช้ย้อมผ้าแล้ว ห้ามนำไปทำอาหารต่อ เพราะอาจมีสารพิษตกค้าง
  • ถ้าสีย้อมกระเด็นเข้าปากจนเผลอกลืนเข้าไป แนะนำให้รีบไปโรงพยาบาลทันที
  • สวมถุงมือยางเสมอเวลาย้อมผ้าหรือทำสีย้อมผ้า โดยเฉพาะคนที่ผิวแพ้ง่าย
  • สีย้อมถ้าเลอะผ้าชิ้นอื่น จะติดไปเลย เพราะฉะนั้นเวลาย้อมผ้า แนะนำให้สวมเสื้อผ้าเก่า เลอะได้ ทิ้งได้ หรือปูผ้ารองกันสีเปื้อน
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 1,772 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา