ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การอาเจียนคือการที่สิ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหารถูกบีบให้ออกมาแบบไม่ได้ตั้งใจ โดยทั่วไปมักจะมีอาการคลื่นไส้มาก่อน การอาเจียนเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ป่วย ตั้งครรภ์ เมารถ อาหารเป็นพิษ โรคกระเพาะและลำไส้อักเสบ (ไวรัสลงกระเพาะ) การดื่มแอลกอฮอล์ และโรคไมเกรน ยาบางชนิดก็อาจทำให้รู้สึกคลื่นไส้และอาเจียนได้ [1] หลายครั้งอาการอาเจียนก็สามารถรักษาเองได้ที่บ้าน แต่ถ้าไม่ดีขึ้นหรือมีสัญญาณอันตรายควรไปพบแพทย์

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ดูแลตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เวลาอาเจียน ศีรษะคุณอาจขยับมากไป ให้จับไว้ดีๆ
    • ถ้าผมยาว คุณอาจดึงผมไว้เบาๆ มันจะได้ไม่ลงมาปิดหน้าเวลาอาเจียน
  2. หมอนอิงบนโซฟาจะช่วยหนุนไว้เมื่อคุณเอนหลัง การเคลื่อนไหวไปมาหรือนอนราบจะยิ่งทำให้รู้สึกแย่ [2]
    • ถ้านอนป่วยอยู่ ให้นอนตะแคงจะได้ไม่อาเจียนและสำลัก [3]
    • หากนอนราบอาจมีแนวโน้มจะสำลักหรืออาเจียนได้มากกว่า [4]
    • อย่านอนทันทีหลังจากเพิ่งกินเสร็จ เพราะอาจทำให้คลื่นไส้
  3. การอาเจียนจะทำให้เกิดภาวะสูญเสียน้ำได้อย่างรวดเร็ว แต่การดื่มน้ำเยอะเกินหรือเร็วเกินก็จะทำให้อาเจียนได้เช่นกัน ควรค่อยๆ จิบน้ำทีละน้อย ให้ได้ประมาณ 30 มิลลิลิตรหรือ 1/2 แก้ว ทุกๆ 20 นาที [5]
    • การดูดน้ำแข็งก้อนหรือไอศกรีมหวานเย็นจะช่วยป้องกันการขาดน้ำ และยังจะช่วยไม่ให้รู้สึกคลื่นไส้อีก เพราะมันจะค่อยๆ ละลาย
    • ลองดื่มน้ำมะนาว ชาขิง หรือชามิ้นต์ [6]
    • เครื่องดื่มใสๆ อย่างน้ำซุป น้ำแอปเปิล และเครื่องดื่มเกลือแร่ก็ช่วยได้ [7]
    • ถ้าคุณอาเจียน ระดับอิเล็กโทรไลต์ในร่างกายจะเสียสมดุลไป ควรดื่มสารละลายเกลือแร่หรือเครื่องดื่มเกลือแร่สำหรับออกกำลังกายที่มีอิเล็กโทรไลต์ [8] [9]
    • หลีกเลี่ยงการดื่มนม แอลกอฮอล์ คาเฟอีน น้ำอัดลม และน้ำผลไม้บางชนิด นมอาจทำให้ยิ่งคลื่นไส้ แอลกอฮอล์กับคาเฟอีนจะทำให้สูญเสียน้ำ น้ำอัดลมอาจทำให้คลื่นไส้ ส่วนน้ำผลไม้อย่างน้ำเกรปฟรุตหรือน้ำส้มมีฤทธิ์เป็นกรดมากไปและอาจทำให้อาเจียน [10]
    • กินอาหารที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบมาก เช่น แตงโม มันจะช่วยรักษาความชุ่มชื้นในร่างกาย [11]
  4. การกินอาหารมากเกินไปจะยิ่งทำให้คลื่นไส้และอาเจียน ลองกินทีละนิดระหว่างวันแทนที่จะกินเป็นมื้อใหญ่ [12]
    • กินอาหารรสอ่อน เช่น แคร็กเกอร์ ขนมปังปิ้ง มันฝรั่ง และข้าว กล้วยกับแอปเปิลซอสก็เป็นตัวเลือกที่ดี มันจะไม่ทำให้ท้องไส้ปั่นป่วน [13] ไก่หรือปลาอบเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี แต่ไม่ต้องปรุงรส
    • หลีกเลี่ยงการกินของมันและของเผ็ด เช่น ไส้กรอก ฟาสต์ฟู้ด และมันฝรั่งทอด ของทอดและของที่มีรสหวานเกินก็ไม่แนะนำเช่นกัน [14]
    • ไม่ควรกินผลิตภัณฑ์นม การอาเจียนจะทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะย่อยแลคโตสผิดปกติชั่วคราว แม้ว่าปกติคุณจะกินผลิตภัณฑ์นมได้โดยไม่มีปัญหาก็ตาม [15]
    • ค่อยๆ กิน อย่าฝืนกินจนมากเกินไป ถ้ากระเพาะขยายขึ้นอาจทำให้ยิ่งคลื่นไส้และอาเจียนได้ [16]
  5. การอาเจียนอาจเกิดจากตัวกระตุ้นบางอย่าง โดยเฉพาะในผู้ที่มีสัมผัสรับกลิ่นไว [17]
    • กลิ่นอาหารมันๆ อาจทำให้คลื่นไส้ได้ [18]
    • ถ้าสาเหตุมาจากกลิ่นอาหารก็ให้คนอื่นทำอาหารแทน นี่เป็นอาการทั่วไปของการตั้งครรภ์ในระยะแรกๆ
    • กลิ่นแรงๆ อย่างกลิ่นบุหรี่หรือน้ำหอมอาจทำให้บางคนคลื่นไส้และอาเจียนได้
  6. แพทย์มักจะรักษาอาการอาเจียนด้วยการให้ออกซิเจนที่ใช้ในทางการแพทย์ [19] ออกซิเจนประเภทนี้อาจจะหาเองไม่ได้ แต่การสูดอากาศบริสุทธิ์ด้วยการนั่งใกล้หน้าต่างหรือออกไปเดินเล่นอาจช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ [20]
  7. อาการคลื่นไส้และอาเจียนอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ในหลายๆ กรณีก็สามารถรักษาเองได้ที่บ้าน ควรไปพบแพทย์หากคุณกินหรือดื่มอะไรไม่ได้เลยมา 12 ชั่วโมงหรือนานกว่านั้น หรือมีอาการคลื่นไส้และอาเจียนซ้ำๆ มานานกว่า 48 ชั่วโมง และหากมีอาการใดดังต่อไปนี้ร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน ให้รีบเข้ารับการรักษาโดยด่วน [21]
    • ปวดท้องหรือเป็นตะคริวที่ท้อง หรือเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง
    • สายตาพร่ามัวหรือเห็นภาพซ้อน
    • เป็นลมก่อนหรือหลังอาเจียน
    • มีอาการมึนงง
    • ตัวเย็น ผิวซีด
    • มีไข้สูง
    • คอแข็ง
    • เจ็บหรือปวดศีรษะรุนแรง
    • มีสัญญาณบอกถึงภาวะขาดน้ำ (กระหายน้ำอย่างหนัก, ไม่มีแรง, ปากแห้ง)
    • อาเจียนเป็นสีเขียว หรือเหมือนผงกาแฟ หรือมีเลือดปน
    • อาเจียนมีของเสียปน
    • อาเจียนหลังจากได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ [22]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

จัดการอาการคลื่นไส้และอาเจียนด้วยวิธีอื่นๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การหายใจลึกๆ จะช่วยนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายได้ในปริมาณมากเท่าที่ต้องการ นอกจากการสูดอากาศบริสุทธิ์แล้ว แพทย์จะแนะนำให้คุณฝึกหายใจลึกๆ ด้วยท้องเพื่อช่วยแก้อาการคลื่นไส้
    • วางมือข้างหนึ่งไว้กลางหน้าท้อง อีกข้างวางไว้ที่อก
    • หายใจเข้าทางจมูกในจังหวะปกติ คุณจะรู้สึกได้ว่ามือที่วางบนท้องจะเคลื่อนที่ออกมามากกว่ามือที่อยู่บนหน้าอก ทรวงอกส่วนล่างและช่องท้องจะเต็มไปด้วยอากาศ
    • หายใจออกทางปากช้าๆ
    • ค่อยๆ สูดหายใจเข้าลึกๆ ทางจมูก และกลั้นไว้ให้นานที่สุดเท่าที่ทำได้
    • หายใจออกทางปากช้าๆ อีกครั้ง
    • ทำซ้ำตั้งแต่แรกอย่างน้อยสี่รอบ
  2. อะโรมาเธอราปีคือการบำบัดโดยสูดดมกลิ่นจากสารสกัดจากพืชและสารเคมีอื่นๆ ทำได้โดยหยดสาร 1-2 หยดลงบนผ้าก๊อซสะอาดและสูดกลิ่นเข้าไป ผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์พบว่าน้ำมันหอมระเหยและสารเคมีต่อไปนี้สามารถช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียนได้ [23]
    • น้ำมันเปปเปอร์มินต์ ช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้ [24] [25]
    • สารสกัดจากขิง กลิ่นของขิงจะช่วยให้ท้องไม่ปั่นป่วนและไม่อาเจียน [26]
    • ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ (Isopropyl alcohol) หรือแอลกอฮอล์เช็ดแผล ช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียนเมื่อสูดดมในปริมาณน้อยมากๆ [27]
    • อย่าใช้เกิน 1-2 หยด! การใช้หรือสูดดมมากเกินไปอาจทำให้ระคายเคืองโพรงจมูกได้
  3. การดมกลิ่นหรือกินขิงช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียนได้ นอกจากขิงสดแล้วยังมีผลิตภัณฑ์ขิงในรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งแบบผง แบบเม็ด และชาด้วย [28] [29] [30]
    • การดื่มจิงเจอร์เอลอาจช่วยให้รู้สึกดีขึ้น แต่อาหารเสริมขิงหรือขิงสดจะมีประสิทธิภาพมากกว่า ส่วนใหญ่จิงเจอร์เอลที่ขายทั่วไปจะไม่ค่อยมีสารตามธรรมชาติจากขิง และโซดาในจิงเจอร์เอลก็อาจยิ่งทำให้คลื่นไส้หนักขึ้น [31]
    • ทำชาขิง มีหลายสูตร แต่สูตรที่ทำได้ง่ายๆ คือขูดขิงสด (ขนาดประมาณข้อนิ้ว) สักสองสามออนซ์ ใส่ขิงขูดฝอย 1/2 ช้อนชา ลงในน้ำร้อน 8 ออนซ์ ทิ้งไว้ 5-10 นาทีก่อนดื่ม [32] สามารถเติมน้ำผึ้งได้เล็กน้อยถ้าคุณชอบ เครื่องดื่มรสหวานอ่อนๆ จะช่วยให้รู้สึกสบายท้องขึ้น [33]
    • ปริมาณสูงสุดที่ปลอดภัยสำหรับการกินขิงเสริมคือ 4 กรัม (ประมาณ 3/4 ช้อนชา) [34]
    • หญิงมีครรภ์และหญิงที่ให้นมบุตรสามารถดื่มชาขิงได้ ไม่เป็นอันตราย [35] แต่ไม่ควรกินขิงเกิน 1 กรัมต่อวัน [36]
    • ขิงอาจไปทำปฏิกิริยากับยาเจือจางเลือดบางตัวได้ ถ้าคุณกินยาประเภทนี้อยู่ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนบริโภคขิง [37]
  4. สมุนไพรอื่นๆ ที่แนะนำให้ใช้รักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน ได้แก่ กานพลู สารสกัดกระวาน เมล็ดยี่หร่า และสารสกัดรากไบคาล แต่ยังไม่มีการศึกษาวิจัยทางการแพทย์เกี่ยวกับสมุนไพรเหล่านี้มากนัก คุณสามารถลองใช้ได้เผื่อจะรู้สึกดีขึ้น แต่มันอาจจะไม่ได้ผลเสมอไป
  5. การกดจุดจะต่างจากการฝังเข็มที่ต้องใช้เข็มและทำโดยผู้ที่เชี่ยวชาญแล้ว แต่การกดจุดแบบง่ายๆ สามารถทำเองได้ที่บ้าน จุด P6 ที่อยู่บริเวณท้องแขนของแขนท่อนปลายจะช่วยป้องกันการคลื่นไส้อาเจียนได้เมื่อถูกกระตุ้น การกระตุ้นจะส่งสัญญาณไปยังเส้นประสาทไขสันหลังและสมอง ซึ่งจะปล่อยสารเคมีเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อสู้กับอาการคลื่นไส้อาเจียน [38]
    • หาจุด P6 หรือจุด เน่ยกวาน โดยหงายมือตั้งแขนขึ้นให้ฝ่ามืออยู่ตรงหน้าและปลายนิ้วชี้ขึ้น [39]
    • วางนิ้วสามนิ้วของมืออีกข้างลงบนข้อมือในแนวนอน แล้วใช้นิ้วโป้งกดที่จุดใต้นิ้วชี้ จะมีเส้นเอ็นใหญ่สองเส้นอยู่บริเวณนั้น
    • กดที่จุดนั้น 2-3 นาที โดยวนเป็นวงกลม
    • ทำซ้ำกับข้อมืออีกข้าง
    • ใช้สายรัดข้อมือ เช่น ยี่ห้อซี-แบนด์ (Sea-band®) หรือรีลีฟแบนด์ (ReliefBand®)
  6. ยาบิสมัทซับซาลิไซเลท (Bismuth subsalicylate) เช่น คาโอเพคเตท (Kaopectate) หรือเปปโต-บิสมอล (Pepto-Bismol) สามารถใช้รักษาอาการอาเจียนแบบไม่รุนแรงที่เกิดจากอาหารเป็นพิษหรือดื่มแอลกอฮอล์เกินขนาดได้ [40]
    • บางครั้งคุณก็รักษาอาการคลื่นไส้ได้ด้วยยาแก้แพ้ เช่น ยามีไคลซีน (meclizine) และยาไดเมนไฮดริเนต (dimenhydrinate) ยาเหล่านี้จะช่วยเรื่องอาการคลื่นไส้ที่เกิดจากการเมารถ อาจทำให้ง่วงนอนได้ [41]
    • อย่าใช้ยาเกินขนาดที่แนะนำ
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

รักษาอาการอาเจียนในเด็ก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การที่เด็กทารกแหวะนมนั้นไม่เหมือนกับการอาเจียน เด็กอ่อนมักจะบ้วนนมหรืออาหารออกมานิดหน่อย โดยปกติจะบ้วนออกมาหลังให้อาหารสักพัก แต่ไม่ได้ร้ายแรง ถือเป็นเรื่องปกติและไม่น่ากังวลอะไร [42]
    • การที่ทารกอาเจียนอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพร้ายแรงอย่างลำไส้อุดตัน ควรพบกุมารแพทย์หรือแพทย์ทั่วไปทันทีหากลูกคุณอาเจียนอย่างหนักหรืออาเจียนหลายครั้ง
  2. ภาวะขาดน้ำถือเป็นอันตรายอย่างมากในเด็ก ร่างกายของเด็กจะมีกระบวนการอิเล็กโทรไลต์เร็วกว่าผู้ใหญ่ ควรให้ดื่มน้ำเกลือแร่เพื่อชดเชยน้ำให้ร่างกาย [43]
    • ใช้สารละลายที่มีขายทั่วไป เช่น พีเดียไลต์ (Pedialyte) คุณสามารถทำเครื่องดื่มเกลือแร่เองได้ แต่มันมีความเสี่ยงสูงที่จะผิดพลาด กุมารแพทย์จึงแนะนำให้ซื้อจะดีกว่า
    • ให้เด็กค่อยๆ ดื่ม ป้อนครั้งละ 1-2 ช้อนชา (5-10 มิลลิลิตร) ทุกๆ 5-10 นาที [44]
    • ไม่ควรให้ดื่มน้ำผลไม้ น้ำอัดลม และน้ำเปล่า เพราะมันไม่สามารถให้ความชุ่มชื้นอย่างเพียงพอและคืนสมดุลอิเล็กโทรไลต์ในร่างกายเด็กได้ [45]
  3. อย่าให้ลูกกินอาหารหนักๆ ภายใน 24 ชั่วโมงที่อาเจียน [46] เมื่อเด็กหยุดอาเจียนแล้ว ให้กินแต่อาหารอ่อนๆ เบาๆ เช่น เยลลี่ มันบด น้ำซุป ข้าว และกล้วย [47] ถ้าเด็กไม่อยากกินก็ไม่ต้องฝืน
    • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกากใยสูงและอาหารที่มีน้ำตาลสูง [48]
    • การให้นมเด็กทารกจะช่วยคงความชุ่มชื้นแก่เด็กและให้สารอาหารที่เพียงพอ [49]
  4. เด็กเล็กอาจอาเจียนและสำลักได้หากนอนหงาย ควรให้ลูกนอนตะแคง [50]
    • สำหรับเด็กโตให้นั่งพิงหมอน
  5. ไม่ควรให้เด็กเล็กใช้ยาที่ซื้อเอง เช่น เปปโต-บิสมอล หรือยาแก้แพ้ เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้หากได้รับในปริมาณที่ไม่เหมาะสม
    • ปรึกษากุมารแพทย์ว่ามียาที่ปลอดภัยสำหรับลูกของคุณหรือไม่
  6. ถ้าลูกของคุณไม่สามารถดื่มน้ำอะไรได้เลย หรือมีอาการแย่ลง ควรรีบพบกุมารแพทย์ [51] และหากเด็กมีอาการใดอาการหนึ่งดังต่อไปนี้ ควรรีบแจ้งแพทย์เช่นกัน [52]
    • อาเจียนมีเลือดปน
    • อาเจียนมีสีเขียวหรือเหลืองสด
    • มีภาวะสูญเสียน้ำ
    • อุจจาระสีดำหรือเป็นน้ำมัน [53]
    โฆษณา


เคล็ดลับ

  • กินอาหารมื้อเล็กๆ ระหว่างวัน แม้จะกินแค่แคร็กเกอร์หรือขนมปังปิ้งก็ช่วยได้
  • อย่าดื่มน้ำเยอะจนกว่าท้องจะหายปั่นป่วน การดื่มน้ำมากเกินไปจะยิ่งทำให้อาเจียนหนักขึ้นและเพิ่มแนวโน้มที่จะเกิดภาวะขาดน้ำ ให้ใช้วิธีจิบแทน และเพิ่มปริมาณทุกๆ 20 นาที
  • หลีกเลี่ยงอาหารมันๆ เผ็ดๆ หรืออาหารที่มีไขมันสูง
  • กินเปปเปอร์มินต์อาจทำให้รู้สึกดีขึ้นได้
  • อย่าให้เด็กกินของหวาน น้ำอัดลม หรืออาหารไขมันสูงต่างๆ เพราะจะยิ่งทำให้แย่ลง
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าคุณอาเจียนมานานกว่า 12 ชั่วโมง ควรพบแพทย์หรือไปโรงพยาบาล
  • ถ้าคุณมีอาการใดอาการหนึ่งตามวิธีการ 1 ควรไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
โฆษณา
  1. http://www.webmd.com/digestive-disorders/understanding-nausea-vomiting-prevention
  2. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/patientinstructions/000122.htm
  3. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/patientinstructions/000122.htm
  4. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/patientinstructions/000122.htm
  5. http://www.webmd.com/digestive-disorders/understanding-nausea-vomiting-treatment
  6. http://www.medicinenet.com/nausea_and_vomiting/page7.htm#what_are_home_remedies_for_nausea_or_vomiting
  7. http://www.medicinenet.com/nausea_and_vomiting/page7.htm#what_are_home_remedies_for_nausea_or_vomiting
  8. http://web.utk.edu/~ehss/pdf/fsa.pdf
  9. http://www.ucsfhealth.org/education/diet_modifications_for_nausea_and_vomiting/
  10. Mamaril ME, Windle PE, Burkard JF 2006, Prevention and management of postoperative nausea and vomiting: a look at complementary techniques, J Perianesthesia Nurs, 21: 404–410.
  11. Golembiewski JA, O’Brien D 2002, A systematic approach to the management of postoperative nausea and vomiting, J Perianesthesia Nurs, 17: 364–376.
  12. http://www.mayoclinic.org/symptoms/nausea/basics/when-to-see-doctor/sym-20050736
  13. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1736317/
  14. http://umm.edu/health/medical/altmed/treatment/aromatherapy
  15. Tate S 1997, Peppermint oil: a treatment for postoperative nausea, J Adv Nurs, 26: 543–549.
  16. http://www.emedicinehealth.com/vomiting_and_nausea/page6_em.htm
  17. Grant KL, Lutz RB 2000, Ginger, Am J Heal Pharm, 57: 945–947.
  18. Winston AW, Rinehart RS, Riley GP, Vacchiano CA, Pellegrini JE 2003, Comparison of inhaled isopropyl alcohol and intravenous ondansetron for treatment of postoperative nausea, AANA J, 71: 127–132.
  19. Ernst E, Pittler MH 2000, Efficacy of ginger for nausea and vomiting: a systematic review of randomized clinical trials, Br J Anaesth, 84: 367–371
  20. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-961-ginger.aspx?activeingredientid=961&activeingredientname=ginger
  21. http://www.emedicinehealth.com/vomiting_and_nausea/page6_em.htm
  22. http://www.clinicalcorrelations.org/?p=1805
  23. http://wholehealthmd.com/ME2/dirmod.asp?sid=17E09E7CFFF640448FFB0B4FC1B7FEF0&nm=Reference+Library&type=AWHN_Supplements&mod=Supplements&mid=&id=4B40EAD438BC4693B50B840233A4628D&tier=2
  24. http://www.webmd.com/digestive-disorders/understanding-nausea-vomiting-prevention
  25. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/ginger
  26. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15802416
  27. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/ginger
  28. http://www.everydayhealth.com/health-report/diarrhea-management/diarrhea-home-remedies.aspx
  29. Chiravalle P, McCaffrey R Alternative therapy applications for postoperative nausea and vomiting, Holist Nurs Pract, 19: 207–210.
  30. http://www.mskcc.org/cancer-care/patient-education/resources/acupressure-nausea-and-vomiting
  31. http://reference.medscape.com/drug/kaopectate-pepto-bismol-bismuth-subsalicylate-342037
  32. http://reference.medscape.com/drug/dramamine-dimenhydrinate-342045
  33. http://www.merckmanuals.com/home/children-s-health-issues/symptoms-in-infants-and-children/vomiting-in-infants-and-children
  34. http://www.aafp.org/afp/2009/1001/p692.html
  35. http://kidshealth.org/parent/firstaid_safe/emergencies/dehydration.html#
  36. http://www.webmd.com/children/tc/vomiting-age-3-and-younger-home-treatment?page=2
  37. http://www.healthychildren.org/English/health-issues/conditions/abdominal/Pages/Treating-Vomiting.aspx
  38. http://www.emedicinehealth.com/vomiting_and_nausea/page6_em.htm
  39. http://www.webmd.com/children/tc/vomiting-age-3-and-younger-home-treatment?page=2
  40. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/001965.htm
  41. http://www.healthychildren.org/English/health-issues/conditions/abdominal/Pages/Treating-Vomiting.aspx
  42. http://www.healthychildren.org/English/health-issues/conditions/abdominal/Pages/Treating-Vomiting.aspx
  43. http://www.webmd.com/children/tc/vomiting-age-3-and-younger-home-treatment?page=2
  44. http://www.medicinenet.com/nausea_and_vomitin/page7.htm#what_are_home_remedies_for_nausea_or_vomiting

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 44,953 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา