ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

แผลริมฝีปากแตกอาจเป็นความเจ็บปวดที่ทรมานมากได้ ถ้าไม่รักษาอย่างเหมาะสม มันอาจเปลี่ยนจากการระคายเคืองเป็นการติดเชื้อรุนแรงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าสิ่งสกปรกหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าไปสะสมในแผลทำให้แผลไม่สะอาด บทความนี้จะอธิบายทั้งวิธีการห้ามเลือดที่แผลในระยะสั้น และวิธีรักษาแผลหลังจากนั้นเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะติดเชื้อหรือเกิดรอยแผลเป็น

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ทำความสะอาดแผล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ก่อนจะทำแผลใดๆ ก็ตาม ต้องอย่าลืมล้างมือให้สะอาดที่สุดเสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อจากเชื้อโรคหรือสิ่งสกปรกที่ติดอยู่ตามมือ ใช้น้ำอุ่นและสบู่ฆ่าเชื้อสำหรับล้างมือ (ถ้ามี) การใช้เจลล้างมือฆ่าเชื้อหลังจากล้างมือแล้วก็สามารถช่วยได้ [1]
    • ใช้ถุงมือไวนิล (ถ้ามี) หรือถุงมือยางก็ได้ แต่ควรระวังว่าผู้ที่คุณจะทำแผลให้นั้นไม่ได้แพ้ยาง สิ่งสำคัญคือการใช้วัสดุที่สะอาด ปราศจากเชื้อโรค เป็นตัวกั้นระหว่างมือกับแผล [2]
  2. พยายามไม่หายใจหรือไอ จาม ใส่บริเวณแผล [3]
  3. ให้ผู้ที่ปากเลือดออกนั่งตัวตรง และเอียงศีรษะลงมาด้านหน้าให้ปลายคางชี้ไปที่อก การทำให้เลือดไหลออกจากแผลที่ปากนั้น จะเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้เจ็บกลืนเลือดลงไป ซึ่งอาจทำให้อาเจียนหรือสำลักจนเป็นอันตรายได้ [4]
  4. บ่อยครั้งที่เมื่อได้รับบาดเจ็บจนปากแตก มักจะมีอาการบาดเจ็บอื่นๆ ร่วมด้วย ซึ่งเกิดจากสาเหตุเดียวกัน ควรไปพบแพทย์ทันทีหากมีอาการต่อไปนี้
    • ฟันโยกหรือหัก [5]
    • กระดูกหน้าหรือขากรรไกรหัก [6]
    • กลืนน้ำลายหรือหายใจลำบาก [7]
  5. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้บาดเจ็บได้รับวัคซีนครบ. ถ้าเหตุที่ทำให้เกิดแผลคือชิ้นส่วนโลหะ หรือวัตถุหรือพื้นผิวที่สกปรก ผู้เจ็บอาจมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อบาดทะยักได้ [8]
  6. ให้ผู้บาดเจ็บถอดเครื่องประดับที่มีรอบแผลออก เช่น ห่วงเจาะลิ้นหรือปาก และคายอาหารหรือหมากฝรั่งที่กินอยู่ออกจากปากด้วย [13]
  7. ขั้นตอนนี้มีความสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อและลดความเสี่ยงที่จะเกิดแผลเป็น [14]
    • ถ้ามีวัตถุอยู่ในแผล เช่น สิ่งสกปรกหรือกรวด ต้องเอาออกโดยการให้ผู้บาดเจ็บเปิดน้ำล้างแผลจนกว่าจะไม่มีสิ่งตกค้างเหลืออยู่ [15]
    • ถ้าทำวิธีนั้นไม่ได้ ก็ให้เติมน้ำใส่แก้วแล้วนำมาล้างแผลแทน ทำซ้ำจนกว่าจะล้างสิ่งสกปรกออกหมด
    • ใช้สำลีชุบไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เพื่อทำความสะอาดแผลอย่างล้ำลึก ระวังอย่าให้ผู้เจ็บเผลอกลืนน้ำยาเข้าไป [16]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ห้ามเลือด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าจะให้ดี ผู้บาดเจ็บควรกดห้ามเลือดเอง แต่ถ้าคุณต้องช่วยทำ อย่าลืมสวมถุงมือยางที่สะอาดด้วย [17]
    • ใช้ผ้าสะอาด หรือผ้าก๊อซ หรือผ้าพันแผล กดแผลเบาๆ แต่ให้แน่น 15 นาทีเต็ม ถ้าผ้าชุ่มเลือดแล้วให้เพิ่มผ้าอีกชั้นโดยไม่ต้องเอาชั้นแรกออก [18]
  2. แผลอาจยังมีเลือดหยดหรือซึมได้ถึง 45 นาที แต่ถ้ายังมีเลือดไหลอย่างสม่ำเสมอหลังจาก 15 นาทีแรก ควรไปพบแพทย์ [19]
    • ปาก รวมถึงเหงือก ลิ้น และริมฝีปาก เป็นอวัยวะที่มีเส้นเลือดและเลือดอยู่มาก ดังนั้นแผลบาดเจ็บที่ปากมักจะมีเลือดออกมากกว่าแผลที่เกิดบริเวณอื่นของร่างกาย [20]
    • กดแผลเข้าด้านใน เข้าไปทางฟัน ขากรรไกร หรือเหงือก
    • ถ้าผู้เจ็บทนไม่ได้ ให้ยัดผ้าก๊อซหรือผ้าสะอาดไว้ระหว่างฟันกับริมฝีปาก พักแล้วค่อยกดอีกครั้ง [21]
  3. ถ้าเลือดยังไม่หยุดไหลหลังจากกดแผลติดต่อกัน 15 นาที หรือผู้เจ็บมีปัญหาในการหายใจหรือกลืนน้ำลาย ฟันโยกหรือเคลื่อนจากตำแหน่งปกติ หรือถ้าคุณไม่สามารถล้างสิ่งสกปรกหรือเศษต่างๆ ออกได้หมด หรือกังวลว่าผู้เจ็บจะมีอาการบาดเจ็บอื่นๆ บริเวณใบหน้าอีก คุณควรพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูว่าต้องเย็บแผลหรือรักษาด้วยวิธีอื่นๆ หรือไม่ ควรรีบทำให้เร็วที่สุด เพราะโอกาสที่จะติดเชื้อจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถ้าปล่อยให้แผลเปิดและมีเลือดไหล หากมีข้อสงสัยใดๆ ควรติดต่อแพทย์
    • ถ้าแผลเป็นทางยาวตลอดริมฝีปาก จำเป็นต้องพบแพทย์ทันที [22] ถ้าแผลอยู่ในส่วนที่เป็นสีแดงของริมฝีปาก และส่วนที่เป็นผิวปกติเหนือหรือล่างริมฝีปากด้วย (ข้ามเส้นขอบปาก) ผู้เจ็บต้องไปพบแพทย์เพื่อทำการเย็บแผล การเย็บจะลดความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อ และช่วยให้มั่นใจได้ว่าแผลจะรักษาตัวได้ด้วยวิธีทางการแพทย์
    • แพทย์อาจแนะนำให้เย็บแผลหากมีแผลลึกและมีช่องเปิด หมายความว่าถ้าคุณสามารถใช้นิ้วจับขอบแผลทั้งสองข้างแล้วแยกให้มันเปิดออกได้โดยใช้แรงเพียงเล็กน้อย [23]
    • แพทย์อาจแนะนำให้เย็บแผลด้วย หากมีเนื้อหลุดที่สามารถเย็บได้ [24]
    • การฉีกขาดอย่างลึกที่ต้องเย็บ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นานเกิน 8 ชั่วโมงในการเข้ารับการรักษาอย่างปลอดภัย [25]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

รักษาแผล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แผลเล็กๆ ด้านในปากมักจะหายได้เองภายใน 3-4 วัน แต่แผลที่ใหญ่หรือลึกมากจะใช้เวลาในการรักษานานกว่านั้น โดยเฉพาะถ้าอยู่บริเวณริมฝีปากที่ต้องเคลื่อนไหวอย่างมากระหว่างเคี้ยวอาหารและดื่มน้ำ [26]
    • ถ้าผู้บาดเจ็บได้พบแพทย์แล้ว ควรทำตามคำแนะนำของแพทย์ในการดูแลรักษาแผล รวมถึงกินยาตามที่แพทย์สั่ง เช่น ยาปฏิชีวนะ
  2. ถุงน้ำแข็งหรือน้ำแข็งก้อนห่อด้วยผ้าสะอาดหรือถุงซิปล็อก จะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดและลดการอักเสบได้ [27]
  3. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อเฉพาะส่วนหรือผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ. หลังจากที่ได้ห้ามเลือดเบื้องต้นแล้ว คุณต้องดูแลบาดแผลเพื่อให้มันหายขาด มีความขัดแย้งในวงการแพทย์ว่าครีมฆ่าเชื้อนั้นจำเป็นหรือช่วยได้จริงหรือไม่ โดยเฉพาะถ้าใช้มากเกินไป [29] อย่างไรก็ตาม บางผลการศึกษาชี้ว่ามันสามารถช่วยในการรักษาได้หากใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
    • ถ้าคุณเลือกจะใช้ครีมทาแผลเฉพาะที่ คุณสามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามร้านขายยาหรือร้านสะดวกซื้อ หากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรว่าผลิตภัณฑ์ตัวใดจะดีสำหรับแผลของคุณที่สุด และควรใช้ตามปริมาณที่แนะนำเท่านั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการทาเยอะหรือบ่อยเกินไป
    • อีกทางหนึ่ง คุณสามารถทาน้ำผึ้งหรือน้ำตาลทรายลงบนแผลได้ น้ำตาลจะช่วยดูดซับน้ำออกจากแผล ป้องกันไม่ให้แบคทีเรียเติบโตจากความชื้น ส่วนน้ำผึ้งมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย [30] ผลการศึกษาพบว่าการทาน้ำตาลหรือน้ำผึ้งลงบนแผลก่อนปิดแผลจะช่วยลดความเจ็บปวดและป้องกันการติดเชื้อได้ [31]
  4. [32] ถ้าผู้บาดเจ็บอ้าปากกว้างเกินไป เช่น ขณะหาว หัวเราะหนักๆ หรือกินอาหารคำใหญ่ จะทำให้เจ็บแผลและอาจทำให้แผลเปิดอีกได้ ในกรณีหลังจะเป็นอันตรายต่อการติดเชื้อ และต้องกลับไปเริ่มทำการรักษาใหม่ตั้งแต่แรก
  5. [33] ยิ่งผู้บาดเจ็บต้องเคี้ยวอาหารน้อยเท่าไหร่ ยิ่งลดโอกาสที่แผลจะเปิดได้มากเท่านั้น และควรดื่มน้ำให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ เพื่อคงความชุ่มชื้นให้ร่างกายและเนื้อเยื่อ และยังช่วยป้องกันไม่ให้แผลเปิดอีกด้วย
  6. แม้ว่าคุณจะได้ทำตามวิธีที่ทำได้เพื่อป้องกันการติดเชื้อและการเกิดบาดแผลเพิ่มแล้ว บางสิ่งอาจไม่เป็นไปตามที่คุณคิด ควรติดต่อแพทย์ทันทีหากมีอาการต่อไปนี้
    • มีไข้ 38 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่า [36]
    • อุณหภูมิร่างกายต่ำผิดปกติ [37]
    • แผลมีอาการบวม แดง รู้สึกร้อนหรือเจ็บแผลมากขึ้น หรือแผลเป็นหนอง [38]
    • ปัสสาวะน้อยลง [39]
    • ชีพจรเต้นเร็ว [40]
    • หายใจเร็ว [41]
    • คลื่นไส้และอาเจียน [42]
    • ท้องร่วง [43]
    • อ้าปากไม่ค่อยได้
    • ผิวหนังบริเวณรอบแผลเป็นรอยแดง กดเจ็บ หรือบวม
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อคงความชุ่มชื้น
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าจับแผล ยกเว้นเวลาทำแผล เพราะมันจะเจ็บและอาจทำให้ติดเชื้อจากสิ่งสกปรกหรือแบคทีเรียได้
  • โรคติดต่อทางเลือดสามารถแพร่กระจายได้ง่ายๆ ถ้าไม่ระมัดระวังอย่างเหมาะสม ควรสวมถุงมือยาง และล้างมือทั้งก่อนและหลังจากทำแผลให้ผู้อื่น
  • ถ้าแผลมีอาการแย่ลง ควรไปพบแพทย์ทันที
  • ควรรีบไปพบแพทย์หากแผลนั้นเกิดจากการถูกกัดโดยสัตว์ เช่น สุนัข หรือแมว เพราะแผลแบบนี้มีแนวโน้มที่จะติดเชื้อได้
โฆษณา
  1. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000615.htm
  2. http://www.cdc.gov/features/tetanus/
  3. http://www.cdc.gov/features/tetanus/
  4. http://www.emedicinehealth.com/mouth_wounds_how_to_stop_bleeding-health/article_em.htm
  5. https://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=90&ContentID=P02836
  6. https://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=90&ContentID=P02836
  7. http://www.uofmmedicalcenter.org/healthlibrary/Article/116249EN
  8. http://www.emedicinehealth.com/mouth_wounds_how_to_stop_bleeding-health/article_em.htm
  9. http://www.emedicinehealth.com/mouth_wounds_how_to_stop_bleeding-health/article_em.htm
  10. http://www.emedicinehealth.com/mouth_wounds_how_to_stop_bleeding-health/article_em.htm
  11. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=90&ContentID=P02836
  12. http://www.emedicinehealth.com/mouth_wounds_how_to_stop_bleeding-health/article_em.htm
  13. http://www.everydayhealth.com/kids-health/stitches.aspx
  14. http://www.everydayhealth.com/kids-health/stitches.aspx
  15. http://www.everydayhealth.com/kids-health/stitches.aspx
  16. http://www.uofmhealth.org/health-library/sig240490
  17. http://www.seattlechildrens.org/medical-conditions/symptom-index/mouth-injury/
  18. http://www.simplestepsdental.com/SS/ihtSS/r.==/st.32219/t.32774/pr.3.html
  19. https://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=1&ContentID=4483
  20. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20051094
  21. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3609166/
  22. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17708384
  23. http://www.uofmmedicalcenter.org/healthlibrary/Article/116249EN
  24. http://www.seattlechildrens.org/medical-conditions/symptom-index/mouth-injury/
  25. http://www.seattlechildrens.org/medical-conditions/symptom-index/mouth-injury/
  26. http://www.seattlechildrens.org/medical-conditions/symptom-index/mouth-injury/
  27. http://www.uofmmedicalcenter.org/healthlibrary/Article/116249EN
  28. http://www.uofmmedicalcenter.org/healthlibrary/Article/116249EN
  29. http://www.uofmmedicalcenter.org/healthlibrary/Article/116249EN
  30. http://www.uofmmedicalcenter.org/healthlibrary/Article/116249EN
  31. http://www.uofmmedicalcenter.org/healthlibrary/Article/116249EN
  32. http://www.uofmmedicalcenter.org/healthlibrary/Article/116249EN
  33. http://www.uofmmedicalcenter.org/healthlibrary/Article/116249EN
  34. http://www.uofmmedicalcenter.org/healthlibrary/Article/116249EN

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 113,485 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา