ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เคยสงสัยไหมว่าอีโมจิ 🗿 (โมไอ) คืออะไร ใช้ยังไง ถึงหลายคนจะเรียก stone face หรืออีโมจิหน้าหิน แต่จริงๆ แล้ว 🗿 เรียกว่าโมไอ (moai) เพิ่งมาฮิตกันในหมู่ดาว TikTok และชาว K-Pop ถ้าอยากรู้ว่าอีโมจิแปลกๆ นี้คืออะไร และใช้ยังไง ก็มาถูกบทความแล้ว! บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำความหมายและวิธีการใช้งานอีโมจิหน้าหินนี้ให้คุณแบบครบถ้วนเอง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

อีโมจิ 🗿 (โมไอ) ใน TikTok หมายความว่ายังไง?

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แอปแชร์วิดีโอสุดฮิตของพ.ศ.นี้ ได้เปลี่ยนโฉมหน้าของอีโมจิสถานที่สำคัญของโลก ให้กลายมาเป็นอีโมจิสีหน้าไร้อารมณ์แทนการประชดประชัน เช่น พิมพ์ข้อความแล้วใส่อีโมจิ 🗿 ก็ประมาณว่าพูดแบบรำคาญหน่อย
    • “เอิ่ม ฉล้าดฉลาดเนอะ 🗿”
    • “เฮอะ! ช่างคิดเหลือเกิน 🗿”
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

ใช้อีโมจิ 🗿 (โมไอ) ใน TikTok ยังไง?

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าปิดท้ายข้อความด้วยอีโมจิหน้าหิน ก็เหมือนพูดเรียบๆ หน้าตายๆ ประมาณว่า “พอละ รำคาญ” หรือถ้ารำคาญขั้นสุด จะพิมพ์แต่ 🗿 ไปเป็นชุดก็ได้
    • “โห ฉลาดจังเนอะ 🗿”
    • “เพิ่งรู้ว่ามีคนชอบวันจันทร์ด้วย? 🗿🙄”
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

ความหมายของอีโมจิ 🗿 (โมไอ)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. รูปสลักโมไอแห่งเกาะอีสเตอร์นั้นเป็นปริศนามานาน อีโมจิ 🗿 เลยได้รับอิทธิพลมาด้วย บางคนก็ใช้ 🗿 แทนความลึกลับ มีลับลมคมใน สมคบคิดอะไรกัน
    • “คนเข้าใจอะไรง่ายๆ ไม่มีอยู่จริง 🗿”
    • “ไม่เคยได้ยินเหรอ เขาบอกเอเลี่ยนเป็นคนสร้างสิ่งมหัศจรรย์ของโลก 🗿🗻👽”
  2. รูปสลักยักษ์นี้ที่เกาะอีสเตอร์ไม่มีใครเคลื่อนย้ายได้ อีโมจิ 🗿 เลยเหมาะใช้แทนความมุ่งมั่นตั้งใจ หลายคนใช้อีโมจินี้แทนความมุมานะ ไม่ย่อท้อ ความศรัทธา และพละกำลัง [1]
    • “ใครจะว่ายังไง ฉันก็จะยืนยันคำเดิม! 🗿”
    • “วันนี้รู้สึกท็อปฟอร์มมากเลย 🗿🧘”
  3. เพราะงั้นหลายคนเลยนิยมใช้อีโมจิหน้าหินนี้เวลาพูดถึงการเดินทางท่องเที่ยว เยี่ยมเยือนสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ หรือใช้ 🗿 ตอนคุยกันเรื่องพิพิธภัณฑ์ เรื่องประวัติศาสตร์โบราณ หรือตอนเพื่อนเพิ่งไปเที่ยวมา [2]
    • “ไปเที่ยวเกาะอีสเตอร์มา เจอ 🗿 มะ? ถ้าเจอนี่อิจฉาจัง!”
    • “พิพิธภัณฑ์นี้เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ สุดจะเหลือเชื่อ 🗿🤯”
  4. แฟนคลับของ BTS กับวงเกาหลีอื่นๆ ชอบใช้อีโมจิหน้าหินเวลาโพสต์อะไรเกี่ยวกับศิลปินที่ชอบ แต่ไม่มีใครรู้ว่าจริงๆ แล้วความหมายในที่นี้คืออะไร แต่ 🗿 ก็เป็นอีโมจิปริศนา แทนปริศนาของไอดอลวงนั้นก็ได้
    • “เรา ❤️ BTS! 🗿😭🌷”
    • “จุนขยันสร้างมีมตลอด 🗿🗿”
  5. ยังไงโมไอก็เหมือนหน้าขนาดใหญ่อยู่แล้ว หลายคนเลยใช้ 🗿 เวลาพูดถึง “ใบหน้า” หรืออะไรทำนองนั้น
    • “เห็น 🗿 ผู้หญิงคนเมื่อกี๊มะ?? โคตรสวยยยย!”
    • “เขาอยากได้คนหล่อๆ มาเป็นหน้าเป็นตาให้แบรนด์ ก็พอดีเลย 🗿🎵🤷”
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

วิธีใช้อีโมจิ 🗿 (โมไอ)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อยากลึกลับให้ใช้อีโมจิ 🗿 ในข้อความอยากรู้อยากเห็น. ถ้าจับคู่อีโมจินี้กับ 🤫 หรือ 🤨 ก็เหมือนพูดประมาณว่า “ฉันมีความลับ” หรือ “จริงๆ แล้วมันมีอะไรมากกว่านี้”
    • “เมื่อกี๊แอบได้ยินตอนไปชงกาแฟ ว่าพี่จี้โดนไล่ออกแล้ว 🗿🤫”
    • “Mandela Effect นี่รู้แล้วเอาออกจากหัวไม่ได้เลย ชวนคิดเลยว่าโลกนี้ต้องมีอะไรเกินคาดอีกเยอะ 🗿🤨”
  2. ถ้ารู้สึกว่าวันนี้จิตใจเข้มแข็ง ให้ใช้อีโมจิ 🗿 แทนพลัง. รูปสลักโมไอแห่งเกาะอีสเตอร์ แทนจิตวิญญาณของหัวหน้าเผ่าผู้ทรงพลังรวมถึงเหล่าบรรพบุรุษ [3] เพราะฉะนั้นอีโมจิหน้าตาแบบนี้เลยแทนยุคสมัยและพลังแห่งจิตวิญญาณเก่าแก่ ถ้าใช้อีโมจิ 🗿 ในข้อความ ก็ช่วยเพิ่มความหมายด้านพลังและจิตวิญญาณได้
    • “ไม่มีอะไรมาหยุดฉันได้ 🗿💪”
    • “สูดหายใจลึกๆ แล้วไปต่อ แกก็เอาใจช่วยเราด้วยนะ 🗿😊”
  3. ถ้าได้ไปทัศนศึกษาแถวโบราณสถาน ก็ใช้อีโมจิ 🗿 เวลาคุยกันเรื่องสถานที่ที่ไปมาได้เลย. ใช้อีโมจิหน้าหินเวลาบอกว่าได้เรียนรู้เรื่องประวัติศาสตร์โบราณ หรือพูดถึงโมไอเลยก็ได้
    • “วันนี้ไปพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์มา รู้อะไรเพิ่มเยอะเลย ยังกับหนัง Night at the Museum เลย 😂🦖🗿”
    • “ปิดเทอมนี้จะไปเที่ยวเกาะอีสเตอร์แหละ! ไม่อยากเชื่อเลย! จะได้เห็น 🗿 ของจริงแล้ว! 😆”
  4. ถ้าเป็นแฟนวง BTS แล้วชอบเพลง “Dynamite” ก็ใส่ 🗿 เวลาทวีตอะไรเกี่ยวกับ BTS ได้เลย. เจ้าอีโมจิหน้าหินนี่ใครเห็นเป็นต้องงง โดยเฉพาะคนนอกด้อม Army เพราะงั้นก็ใส่อีโมจินี้ที่ไหนเวลาไหนก็ได้ ตามใจชอบเลย! จะติดไว้ที่ bio ใช้เวลาทวีต หรือเวลาติดแท็กหวีด BTS โดยเฉพาะก็ได้
    • “BTS 💜 Army 🗿”
    • “#BTS #ARMY #jimin #namjoon 🗿💜🐥🐨”
  5. เวลาพูดถึง “หน้า” ของอะไรสักอย่าง ก็ใช้ 🗿 แทนหน้าปริศนาได้เลย. ใช้อีโมจินี้แทนคำว่า “หน้า” ได้เลย หรือเวลาพูดถึงหน้าของใครหรืออะไร [4]
    • “เห็น 🗿 ฉันมะ? ฉันก็ช็อคพอๆ กับแกนั่นแหละ!”
    • “เราอยากได้พรีเซนเตอร์คนใหม่ของแบรนด์ ประมาณว่า 🗿 ของแบรนด์ สนใจไหมคะ?”
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 8,996 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา