ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เมื่อถึงคราวที่จะต้องตรวจวัดอุณหภูมิใครสักคน ใช้วิธีการที่จะให้ค่าแม่นยำมากที่สุด สำหรับทารกและเด็กที่มีอายุต่ำกว่าห้าขวบ การวัดอุณหภูมิทางทวารหนักจะให้ค่าแม่นยำที่สุด สำหรับเด็กที่โตกว่านั้นและในผู้ใหญ่ การวัดอุณหภูมิทางปากนั้นใช้ได้ดี และทางเลือกสำหรับผู้คนในทุกช่วงวัยก็คือการวัดอุณหภูมิที่ใต้รักแร้ แต่วิธีนี้จะไม่แม่นยำเท่าวิธีอื่นและไม่ควรยึดเป็นหลักหากคุณกังวลว่าบุคคลคนนั้นจะมีไข้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

การวัดอุณหภูมิทางปาก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตราบเท่าที่บุคคลที่จะทำการวัดอุณหภูมินั้นสามารถอมเทอร์โมมิเตอร์ไว้ใต้ลิ้นจนกระทั่งได้ค่าคงที่ ก็ใช้วิธีการนี้ได้สบาย อย่าใช้วัดอุณหภูมิของเด็กทารก เนื่องจากทารกยังเล็กเกินกว่าจะอมเทอร์โมมิเตอร์ไว้ในปาก
  2. ใช้เทอร์โมมิเตอร์ระบบดิจิตอลแบบอเนกประสงค์หรือสำหรับวัดทางปาก. เทอร์โมมิเตอร์ระบบดิจิตอลบางตัวถูกออกแบบให้ใช้ได้ทั้งทางปาก, ทวารหนัก และใต้รักแร้ ขณะที่บางตัวออกแบบมาอย่างเฉพาะเจาะจงว่าใช้ทางปากเท่านั้น เทอร์โมมิเตอร์ทั้งสองแบบล้วนให้ค่าแม่นยำ คุณสามารถหาซื้อมันได้ตามร้านขายยา
    • ถ้าคุณมีเทอร์โมมิเตอร์แบบเก่าที่เป็นแก้วใส ให้ทิ้งไปเสียแทนที่จะนำกลับมาใช้วัดอุณหภูมิ เทอร์โมมิเตอร์แก้วใสนั้นถูกมองว่าไม่ปลอดภัยในปัจจุบันเพราะมันมีปรอทซึ่งเป็นสารพิษเมื่อถูกสัมผัส
  3. การอาบน้ำอุ่นหรือน้ำเย็นมีผลกระทบต่ออุณหภูมิภายในร่างกายของเด็ก ดังนั้นควรรอเป็นเวลา 20 นาทีจนแน่ใจว่าจะได้ค่าอุณหภูมิที่แม่นยำ [1]
  4. ทำความสะอาดปลายเทอร์โมมิเตอร์ด้วยการถูสบู่แอลกอฮอล์กับน้ำอุ่น จากนั้นล้างด้วยน้ำเย็นและทิ้งให้แห้งสนิท [2]
  5. เปิดเครื่องเทอร์โมมิเตอร์และสอดมันไว้ใต้ลิ้น. ตรวจให้แน่ใจว่าส่วนปลายของมันอยู่ใต้ลิ้นทั้งอัน ไม่ใช่วางบนลิ้นใกล้ริมฝีปาก ลิ้นของคนๆ นั้นจะต้องครอบปลายเทอร์โมมิเตอร์ไว้ทั้งหมด
    • ถ้าคุณจะวัดอุณหภูมิของลูกคุณเอง จะจับเทอร์โมมิเตอร์ให้อยู่ในตำแหน่งหรือจะแนะนำลูกให้ทำตามก็ได้
    • พยายามขยับเทอร์โมมิเตอร์ให้น้อยที่สุด
  6. ดูตัวเลขดิจิตอลว่าบุคคลผู้นั้นมีไข้หรือไม่ อุณหภูมิในร่างกายที่สูงกว่า 38 องศาเซลเซียสถือว่ามีไข้ แต่การจะไปพบแพทย์โดยทันทีก็ไม่ได้จำเป็นอะไร เว้นแต่ไข้นั้นสูงกว่าอุณหภูมิที่กำหนด:
    • ถ้าเด็กที่มีอายุเกิน 5 เดือน ให้ไปพบแพทย์ถ้ามีไข้สูงเกิน 38.3 องศาเซลเซียสขึ้นไป [3]
    • ถ้าคนที่มีไข้เป็นผู้ใหญ่ โทรเรียกหมอเมื่ออุณหภูมิสูง 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป
  7. ใช้น้ำอุ่นผสมสบู่มาล้างแล้วเช็ดให้แห้งสนิทก่อนนำไปเก็บไว้ใช้ในโอกาสหน้า
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

การวัดอุณหภูมิทางรักแร้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จงเข้าใจไว้ก่อนว่าวิธีการนี้จะขาดความแม่นยำมากกว่าวิธีอื่น. เนื่องจากอุณหภูมิภายนอกของร่างกายนั้นสามารถมีค่าแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อม ทำให้วิธีนี้แม่นยำน้อยกว่าวัดอุณหภูมิทางทวารหรือทางปาก อย่างไรก็ตาม วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายเพราะไม่รุกล้ำเข้าไปในร่างกาย หากคุณเลือกใช้วิธีนี้ และเทอร์โมมิเตอร์แสดงอุณหภูมิสูงกว่า 38.3 องศาเซลเซียสขึ้นไป คุณอาจต้องหาค่าที่แม่นยำขึ้นโดยใช้วิธีวัดทางปากหรือทางทวารซ้ำอีกที
    • ถ้าคุณตรวจวัดอุณหภูมิของทารก วิธีการเดียวที่ควรใช้คือการวัดทางทวาร เพราะความแตกต่างทางตัวเลขแม้เพียงน้อยนิดก็เป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับการวัดอุณหภูมิของทารก
  2. ใช้เทอร์โมมิเตอร์ระบบดิจิตอลแบบอเนกประสงค์. มองหาเทอร์โมมิเตอร์ระบบดิจิตอลที่ถูกออกแบบให้ใช้วัดได้ทั้งทางทวาร ทางปาก และทางรักแร้ วิธีนี้จะทำให้คุณสามารถวัดที่รักแร้ก่อน และหากตัวเลขบ่งชี้ว่าอุณหภูมิสูง ค่อยลองใช้วิธีอื่นได้
    • ถ้าคุณมีเทอร์โมมิเตอร์แบบแก้วใสอันเก่า ทิ้งไปซะแทนที่จะใช้มันวัดอุณหภูมิ เทอร์โมมิเตอร์แบบแก้วนั้นปัจจุบันถูกมองว่าไม่ปลอดภัยเพราะมีสารปรอทซึ่งเป็นอันตรายหากถูกสัมผัส
  3. เปิดเครื่องเทอร์โมมิเตอร์แล้ววางไว้ใต้วงแขน. ยกแขนขึ้นแล้วสอดเทอร์โมมิเตอร์และเอาแขนลงเพื่อที่ปลายเทอร์โมมิเตอร์จะถูกหนีบอยู่กลางวงแขน และควรหนีบปลายเทอร์โมมิเตอร์ไว้ทั้งหมด [4]
  4. ดูตัวเลขดิจิตอลว่าบุคคลผู้นั้นมีไข้หรือไม่ อุณหภูมิในร่างกายที่สูงกว่า 38 องศาเซลเซียสถือว่ามีไข้ แต่การจะไปพบแพทย์โดยทันทีก็ไม่ได้จำเป็นอะไร เว้นแต่ไข้นั้นสูงกว่าอุณหภูมิที่กำหนด:
    • ถ้าเด็กที่มีอายุเกิน 5 เดือน ให้ไปพบแพทย์ถ้ามีไข้สูงเกิน 38.3 องศาเซลเซียสขึ้นไป
    • ถ้าคนที่มีไข้เป็นผู้ใหญ่ โทรเรียกหมอเมื่ออุณหภูมิสูง 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป
  5. ใช้น้ำอุ่นผสมสบู่มาล้างแล้วเช็ดให้แห้งสนิทก่อนนำไปเก็บไว้ใช้ในโอกาสหน้า
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

การวัดอุณหภูมิทางทวาร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การวัดอุณหภูมิทางทวารจะให้ค่าที่แม่นยำที่สุดเมื่อใช้กับเด็กที่ยังเล็กระดับนี้ เด็กเล็กยังไม่สามารถควบคุมเทอร์โมมิเตอร์ให้อยู่ใต้ลิ้นได้ ดังนั้นการวัดทางปากจึงไม่ได้ผล ส่วนการวัดทางรักแร้ได้ค่าไม่แม่นยำเท่าวิธีอื่น และไม่ควรใช้ลำพังแค่ตัวมันเอง จึงเหลือแต่เพียงการวัดทางทวาร ซึ่งไม่ยากเท่าไหร่ถ้าคุณเริ่มชินกับมัน
    • คุณสามารถใช้วิธีนี้ไปตราบเท่าที่ยังใช้ได้ผลกับสมาชิกในครอบครัว พอลูกคุณโตพอจะควบคุมเทอร์โมมิเตอร์ไว้ใต้ลิ้นแล้ว ค่อยเปลี่ยนไปใช้แบบวัดทางปากก็ได้
  2. เทอร์โมมิเตอร์ระบบดิจิตอลแบบอเนกประสงค์หรือสำหรับวัดทางทวาร. เทอร์โมมิเตอร์ระบบดิจิตอลบางตัวถูกออกแบบให้ใช้ได้ทั้งทางปาก, ทวารหนัก และใต้รักแร้ ขณะที่บางตัวออกแบบมาอย่างเฉพาะเจาะจงว่าใช้ทางทวารเท่านั้น เทอร์โมมิเตอร์ทั้งสองแบบล้วนให้ค่าแม่นยำ คุณสามารถหาซื้อมันได้ตามร้านขายยา
    • มองหารุ่นที่มีด้ามจับกว้างและจากปลายแท่งค่อยๆ บานออกทำให้ไม่สามารถสอดเข้าไปในรูทวารมากเกินไป มันจะทำให้การวัดทำได้ง่ายขึ้นและช่วยป้องกันไม่ให้คุณเสียบเทอร์โมมิเตอร์ลึกเกินไป [5]
    • ถ้าคุณมีเทอร์โมมิเตอร์แบบแก้วใสอันเก่า ทิ้งไปซะแทนที่จะใช้มันวัดอุณหภูมิ เทอร์โมมิเตอร์แบบแก้วนั้นปัจจุบันถูกมองว่าไม่ปลอดภัยเพราะมีสารปรอทซึ่งเป็นอันตรายหากถูกสัมผัส
  3. การอาบน้ำอุ่นหรือน้ำเย็นมีผลกระทบต่ออุณหภูมิภายในร่างกายของเด็ก ดังนั้นควรรอเป็นเวลา 20 นาทีจนแน่ใจว่าจะได้ค่าอุณหภูมิที่แม่นยำ [6]
  4. ทำความสะอาดปลายเทอร์โมมิเตอร์ด้วยการถูสบู่, แอลกอฮอล์กับน้ำอุ่น จากนั้นล้างด้วยน้ำเย็นและทิ้งให้แห้งสนิท ใช้เจลทาส่วนปลายเพื่อสอดใส่ได้ง่าย [7]
  5. วางเด็กคว่ำลงบนตักหรือนอนหงายบนพื้นที่มั่นคง เลือกท่าที่ทำให้เด็กรู้สึกสบายที่สุดและสะดวกต่อคุณที่สุดในการเข้าถึงทวารเด็ก
  6. เทอร์โมมิเตอร์ระบบดิจิตอลส่วนใหญ่มีปุ่มแสดงอย่างชัดเจนให้คุณกดเปิดเครื่อง รอสักสองสามนาทีให้เครื่องพร้อมจะทำการวัดอุณหภูมิ
  7. จับก้นเด็กแยกออกจากกันแล้วค่อยๆ สอดเทอร์โมมิเตอร์เข้าไป. ใช้มือข้างหนึ่งจับก้นเด็กแยกจากกันและอีกข้างสอดเทอร์โมมิเตอร์เข้าไปราวสามส่วนสี่นิ้วถึงหนึ่งนิ้ว หยุดเมื่อเด็กเริ่มขัดขืน [8]
    • นิ้วโป้งกับนิ้วกลางจับเทอร์โมมิเตอร์ให้แน่น ขณะเดียวกันก็ใช้มืออีกข้างรั้งก้นของเด็กไว้เบาๆ ไม่ให้เขยื้อนไปมา
  8. ดูตัวเลขดิจิตอลว่าเด็กมีไข้หรือไม่ อุณหภูมิในร่างกายที่สูงกว่า 38 องศาเซลเซียสถือว่ามีไข้
    • ถ้าเด็กมีอายุต่ำกว่า 5 เดือน โทรศัพท์หาแพทย์ถ้าอุณหภูมิสูง 38 องศาเซลเซียสหรือกว่านั้น
    • ถ้าเด็กมีอายุมากกว่า 5 เดือน โทรศัพท์หาแพทย์ถ้าอุณหภูมิสูง 38.3 องศาเซลเซียสหรือกว่านั้น
    • ถ้าหากบุคคลที่มีไข้เป็นผู้ใหญ่ โทรศัพท์หาแพทย์ถ้าอุณหภูมิสูง 40 องศาเซลเซียสหรือกว่านั้น
  9. ใช้น้ำอุ่นผสมสบู่มาล้างแล้วเช็ดให้แห้งสนิทก่อนนำไปเก็บไว้ใช้ในโอกาสหน้า
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • โปรดไปพบผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เสมอถ้าห่วงใยในสุขภาพของเด็ก
  • ไม่แนะนำให้ใช้เทอร์โมมิเตอร์ไฟฟ้าแบบวัดทางหูหรือเทอร์โมมิเตอร์ชนิดแถบพลาสติก ทั้งสองแบบนี้ต่างไม่ให้ค่าที่แม่นยำเท่าเทอร์โมมิเตอร์ระบบดิจิตอล
  • ใช้เทอร์โมมิเตอร์ที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับการวัดอุณหภูมิทางทวาร จะช่วยให้ถูกสุขอนามัย
  • โดยทั่วไป ภาวะการมีไข้ต่ำคือมีอุณหภูมิอยู่ที่ 38 องศาเซลเซียส ส่วนภาวะการมีไข้สูงคือมีอุณหภูมิอยู่ที่ 40 องศาเซลเซียส


โฆษณา

คำเตือน

  • โทรศัพท์หาแพทย์หรือพาไปห้องฉุกเฉินถ้าหากวัดอุณหภูมิทางทวารของทารกที่มีอายุ 3 เดือนหรือน้อยกว่านั้นได้ 38 องศาเซลเซียสหรือกว่านั้น
  • จงทำความสะอาดเทอร์โมมิเตอร์ทันทีทุกครั้งหลังการใช้
  • ทิ้งเทอร์โมมิเตอร์แบบปรอทอย่างถูกวิธี แม้ว่าจำนวนสารปรอทในเทอร์โมมิเตอร์จะมีอยู่เพียงน้อยนิดแต่ก็เพียงพอที่จะเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมถ้ามันถูกปล่อยออกไป ติดต่อเทศบาลเพื่อขอคำปรึกษาเรื่องการทิ้งสารพิษ


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,087 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา