ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ทุกคนต่างสามารถวาดรูปได้ ด้วยการฝึกเพียงเล็กน้อย ก็สามารถวาดได้ราวกับเป็นศิลปินเลยนะ! บทความวิกิฮาวนี้จะสอนคุณวาดรูปจากขั้นพื้นฐาน รวมไปถึงเรื่องสัดส่วนกับมุมมองด้วย แม้ว่าคุณจะอยากวาดรูปแนวๆ การ์ตูน การเรียนรู้พื้นฐานของการวาดรูปจะช่วยให้คุณโดดเด่นกว่าภาพอื่นๆ ได้เอง

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

กลยุทธ์การวาดภาพขั้นพื้นฐาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เริ่มวาดในสิ่งง่ายๆ (อย่างชามใส่ผลไม้ธรรมดา) หรือสิ่งของธรรมดาๆ แล้วค่อยไต่ขั้นไปยังของที่ซับซ้อนขึ้น อย่างเช่น โต๊ะที่มีรูปร่างแบบประณีต หรือใบหน้าของคน ยิ่งวาดสิ่งที่มีอยู่จริงได้ดีเท่าไร ท้ายที่สุดแล้ว ก็จะยิ่งวาดสิ่งที่จินตนาการในหัวลงกระดาษได้ดีขึ้น
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าบอกว่าคุณมีไอเดียที่จะวาดตัวละครเพื่อเขียนการ์ตูน คุณสามารถจินตนาการทุกรายละเอียดขึ้นมาได้ ไม่ว่าจะเป็นสีหน้า แววตา ท่าทางที่บ่งบอกว่าตัวละครนี้เป็นแบบนี้ แต่ถ้าคุณไม่เคยฝึกวาดใบหน้า ตา หรือท่าทางมาก่อนเลย ก็คงจะใช้เวลาวาดตัวละครลงกระดาษนานสักหน่อย กว่าจะได้ตัวละครที่ออกมาตรงตามความคิดในหัวของคุณ
    • แทนที่จะวาดอะไรอลังการหรือซับซ้อนตั้งแต่แรก ให้ไปให้ความสำคัญกับจุดเล็กๆ ง่ายๆ ก่อนดีกว่า เริ่มจากวาดชามผลไม้ หรือบ้าน หรือแนวเทือกเขา แล้ววาดรูปพวกนี้ซ้ำๆ ฝึกด้วยดินสอ วาดรูปเดียวกันหลายๆ รูปแบบ ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณวาดเทือกเขา ก็ให้ลองประเมินผลงานที่วาดครั้งแรกด้วย ดูว่าตรงไหนผิดตรงไหนถูก หรือให้เพื่อนช่วยดูว่าส่วนไหนของเทือกเขาดูไม่เป็นธรรมชาติ หรือต้องพัฒนาขึ้นอีก เมื่อคุณได้รายชื่อสิ่งที่ต้องพัฒนาแล้ว ให้วาดเทือกเขาอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้ให้พัฒนาในส่วนที่คุณวาดไว้ไม่ดีเท่าไรในครั้งแรก ถ้าผ่านไปสักสองสามอาทิตย์และฝีมือการวาดรูปของคุณพัฒนาขึ้น ให้กลับมาวาดรูปเดิมอีกครั้ง ดูสิว่าคุณพัฒนาฝีมือขึ้นแค่ไหนกัน!?
    • คิดซะว่าตัวคุณเองเป็นเชฟ เมื่อเชฟเรียนรู้เมนูใหม่ๆ เขาก็จะใช้เวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์ในการทำเมนสูตรนั้นเพียงสูตรเดียว มันอาจทำให้ค่อนข้างน่าเบื่อเลยล่ะ แต่เขาก็จะทำอาหารจานนี้ออกมาได้สมบูรณ์แบบหลังจากสัปดาห์นั้นหมดไป อย่าเพิ่งหมดหวังไป ถ้าหากว่าอาหารของคุณยังมีรสชาติที่ไม่สมบูรณ์แบบ ต้องใช้เวลาสักหน่อยอะไรๆ จึงจะเข้าที่
  2. ยิ่งฝึกมากเท่าไร ก็จะยิ่งวาดได้ดีเท่านั้น แม้ว่าคุณจะกำลังทำอย่างอื่นอยู่ แต่เมื่อมือว่าง (การคุยโทรศัพท์อยู่ก็เป็นโอกาสดีที่จะวาดรูปร่างคร่าวๆ ไว้ได้เลย) ให้นำกระดาษมาสักแผ่น แล้วเริ่มวาดจากรูปร่างพื้นฐานๆ
    • ฝึกด้วยรูปที่เป็นพื้นฐานในตอนต้น รูปร่างพื้นฐานเหล่านี้เป็นขั้นเริ่มต้นของรูปร่างที่ยากขึ้นไปอีกที่คุณจะวาดในอนาคต การวาดรูปร่างเหล่านี้จะทำให้เส้นทางการพัฒนาการวาดรูปของคุณมีความหมายและมีประสิทธิผลมากขึ้น
    • วาดวงกลม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมผืนผ้า ฯลฯ ท้าทายตัวเองด้วยการวาดให้รูปร่างเหล่านี้ดูสมบูรณ์แบบที่สุดเท่าที่จะได้ จากนั้นก็ท้าทายต่อด้วยการวาดรูปร่างแบบที่หลากหลายขึ้น ทั้งวงกลมและสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีขนาดต่างกัน หรือสี่เหลี่ยมผืนผ้ากับสามเหลี่ยมต่างชนิดกันออกไป
    • เมื่อฝึกวาดซ้ำมากพอแล้ว (และมีกระดาษเสียที่ขยำทิ้งลงถังมากพอแล้ว) ก็ควรไปถึงจุดที่จะวาดรูปร่างได้อย่างสบายๆ ได้แล้วล่ะ ในการฝึกทักษะพื้นฐานให้สูงขึ้น ให้วาดเส้นโค้งและเส้นงอด้วย ให้ลองวาดเส้นขดและก้นหอย รวมถึงเส้นซ้ำ เส้นลอนเล็กๆ และเส้นซ้อนเป็นพวงหลายๆ แบบ โดยให้ตั้งสมาธิวาดความโค้งงอนั้นให้มั่นคง
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

การปรับปรุงการวาดรูป

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณจะวาดภาพต้นไม้ อย่าเพิ่งวาดใบ ไม่อย่างนั้น มันจะง่ายต่อการวาดส่วนหนึ่งของภาพ แต่จะลืมเรื่องของ"ภาพรวม"ไปเลย เพราะฉะนั้นรูปก็จะออกมาไม่ค่อยถูกต้อง หรือดูไม่ค่อยสมดุลเท่าไรนัก
    • ใช้แสง เส้นร่างซ้ำๆ วาดทุกอย่างให้ร่างๆ หลวมๆ และไม่ต้องกังวลว่าจะวาดส่วนใดผิด คุณกำลังจะวาดภาพรวมในหัวให้ภูกต้อง ไม่ได้วาดให้ออกมาสมบูรณ์ เปรียบเทียบ ปรับแก้ และพัฒนาในท้ายที่สุด
    • ถ้าคุณจะวาดสิ่งของที่มีอยู่จริง ให้ตรวจสอบสิ่งที่วาดบนกระดาษกับวัตถุนั้น โดยให้มั่นใจว่าขนาดของวัตถุใกล้เคียงและสัมพันธ์กับรูปทรงอื่นๆ ที่สุด
    • จินตนาการว่าต้องการให้ต้นไม้ออกมามีรูปร่างแบบไหน แล้วร่างเส้นเบาๆ ด้วยดินสอ หรือจะวาดเส้นโครงร่างของภาพที่คุณต้องการ หรือจะวาด"โครงกระดูก"ของมันก็ได้ (มักจะใช้เพื่อวาดร่างกาย)
    • วิธีที่ดีคือการจินตนาการถึงรูปร่างพื้นฐานที่ทำให้เกิดวัตถุนี้ขึ้น พูดอีกอย่างหนึ่งคือ ให้แยกส่วนของรูปนั้นขึ้นในหัวของคุณ ต้นไม้มักจะมีรูปร่างของวงรีและสามเหลี่ยมตรงกลางด้านบนของทรงกระบอก วาดรูปร่างเหล่านี้ให้ออกมาในรูปสามมิติ แล้วค่อยเติมรายละเอียดทีหลัง โดยยังคงสัดส่วนที่ต้องการเอาไว้
  2. ใช้เส้นที่หนักกว่า/เข้มกว่าเพื่อวาดในส่วนต่างๆ ของรูปที่คุณต้องการ และใช้ยางลบลบส่วนร่างที่ไม่ต้องการออกไป เติมรายละเอียดทีละเล็กละน้อย ให้ลองถอยหลังมองภาพรวมของภาพตัวเองเรื่อยๆ เพื่อให้มั่นใจว่าจะได้ภาพไปในทางที่คุณต้องการ เรียนรู้และทดลองหลายๆ เทคนิค ซึ่งจะไปช่วยเพิ่มความสามารถด้านการถ่ายทอดไอเดียออกมาในรูปแบบการวาดภาพของคุณได้
    • วาดแสงเงา แสงเงาหมายถึงการวาดแสงและสีที่ต่างกัน ให้นึกถึงทิศทางที่แสงมากระทบกับวัตถุ และส่วนใดที่จะสว่าง ส่วนใดจะออกมามืด ซึ่งมันจะเพิ่มความส่องสว่าง ความเข้ม และความลึกให้กับภาพ
    • ลองนึกภาพลูกโบว์ลิ่งอยู่ด้านหน้าและมีดวงอาทิตย์ที่อยู่ทางด้านขวา กำลังจะขึ้นมา เป็นภาพพื้นหลัง เพราะดวงอาทิตย์อยู่ใกล้กับเส้นขอบฟ้า แสงจึงกระทบกับลูกโบว์ลิ่งในมุมที่ต่ำมาก ตรงข้ามกับมุมสูง (ที่ดวงอาทิตย์จะอยู่ในช่วงเที่ยงของวันที่แดดจัด) นั่นหมายความว่า ในการที่จะจับแสงที่มากระทบกับลูกโบว์ลิ่ง คุณต้องแรเงาส่วนด้านบนของลูกโบว์ลิ่งมากกว่าด้านล่าง เพราะแสงอาทิตย์ไม่ได้กระทบกับด้านล่างโดยตรง
    • ฝึกกับเรื่องเงา ถ้าคุณต้องการรูปที่มีความสมจริงมากขึ้น ให้เรียนรู้ทิศทางของแสงเงาที่สะท้อนกลับมาจากวัตถุ รวมไปถึงเงาที่กระทบด้วย เงาจะมีรูปร่างแทบจะเหมือนกับวัตถุ หรืออาจยืดออกไป เป็นแนวทแยง และบิดเบือนเอาได้ ให้ใส่ใจกับประเภทของเงาที่แสงอาทิตย์ทำให้มันเกิดขึ้นในชีวิตจริง และลองนำมาปรับเปลี่ยนพัฒนาในภาพของคุณ
  3. แม้ว่าคุณจะวาดภาพการ์ตูนหรือภาพล้อเลียนในท้ายที่สุด คุณก็จำเป็นต้องรู้ถึงสิ่งที่ทำให้วัตถุออกมาดูสมจริงในภาพวาดของคุณ ถ้าหากว่าคุณต้องการให้ภาพของคุณออกมาดูมีชีวิตชีวา การควบคุมการฝึกถือเป็นหัวใจสำคัญเลยล่ะ
    • ทำความคุ้นเคยกับมุมมอง (เปอร์สเปคทีฟ) การวาดมุมมองเป็นความคิดที่ว่าสิ่งที่อยู่ไกลออกไปจะดูเล็กลง และสิ่งที่อยู่ใกล้ขึ้นมาก็จะดูใหญ่ขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นความจริง ถ้าหากว่าคุณจะวาดวัตถุที่มีรูปร่างใหญ่ (เช่น ตึก อาคาร) หรือฉากที่ซับซ้อน (เช่น บริเวณใกล้เคียง) ถือเป็นสิ่งสำคัญมากๆ ในการเข้าใจถึงมุมมอง ยกเว้นว่าคุณจะวาดออกมาให้ดูคล้ายๆ การ์ตูน การมุ่งเน้นไปที่มุมมองขณะที่วาดวัตถุที่เล็กและเรียบง่าย (เช่น ลูกบาศก์ กองหนังสือ) ถือเป็นการฝึกที่ดีเลยล่ะ
    • ทำความรู้จักกับสัดส่วน สัดส่วนนั้นคือส่วนที่แตกต่างกันไปในแต่ละวัตถุ จะเหมือนกันในแง่ของขนาด สัดส่วนอาจส่งผลต่อความสมจริงของรูปภาพที่จะออกมา ใช้วิธีการวัด เช่นเส้นกริด (เส้นตาราง) หรือจุดหนาๆ เพื่อสัดส่วนที่เหมาะสม การปรับสัดส่วน ขยายบางส่วนและลดบางส่วน สามารถนำให้เกิดไอเดียที่เป็นเอกลักษณ์ หรือเป็นตัวแทนในรูปแบบของการวาดรูปได้ ตัวอย่างเช่น ตัวการ์ตูนล้อเลียนหรือตัวละครในอนิเมชั่น จะมีดวงตาที่ใหญ่โต หรือมีใบหน้าที่ใหญ่ตามสัดส่วน ให้ลองวาดสัดส่วนของวัตถุและคนก่อนที่จะวาดให้มันตรงข้ามกับสิ่งในหัว
    • เล่นสี สีจะช่วยเพิ่มมิติให้กับผลงานได้ การตัดสี ผสมสี ความอิ่มของสี และโทนสีจะทำให้ภาพวาดบางภาพดูมีชีวิตชีวา ดูสมจริง และดูเข้าใจยาก ขึ้นอยู่กับว่าใช้สีอย่างไร ถ้าหากว่าคุณสนใจขึ้นมาแล้ว ให้ลองผสมสีน้ำเข้ากับสีอะคริลิค ผสมมันเข้าด้วยกันและดูว่าจะได้อะไรใหม่ๆ ออกมา ถ่ายภาพที่วาดเอาไว้ เล่นสีที่ต่างกันออกไป และดูผลที่ต่างกันออกมา ซึ่งขึ้นอยู่กับสีที่ใช้
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ไปยังขั้นที่เหนือกว่า: วัสดุ การบันทึกภาพ และการวาดภาพกำหนดเวลา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สำหรับมือใหม่ กระดาษสเก็ตช์อาจเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด มันคือกระดาษแผ่นเรียบที่จะช่วยให้วาดรายละเอียดได้ดีขึ้น แต่กระดาษ"ผิวหยาบ"จะกักเก็บแกรไฟต์บนดินสอของคุณเอาไว้ได้ดีกว่า
    • ดินสอจะแยกกันไปตามความเข้มของมัน ตั้งแต่ดินสอระดับ"เข้ม" ขนาด H ไปถึงระดับ"อ่อน" ขนาด 9B ดินสอเข้มจะมีโทนสีที่เข้ม นั่นหมายความว่ามันสามารถเปลี่ยนจากสีอ่อนเป็นสีเข้มได้ ส่วนดินสอระดับอ่อน จะต่างกัน คือมีโทนที่มากกว่า หมายความว่าแรงกดที่คุณส่งไปตอนที่ใช้ดินสอจะส่งผลกับความอ่อนของเส้น ให้สเก็ตช์ภาพด้วยดินสอขนาด 6B หรือ 8B ซึ่งเป็นดินสอระดับอ่อน เพื่อให้การออกแรงกดทำให้ได้โทนสีที่เข้มข้น
    • เมื่อพร้อมแล้ว ให้ลองวาดด้วยถ่านดู ถ่านจะมีในรูปแบบเป็นแท่งหรือเป็นรูปร่างของดินสอ ถ่านที่เข้มๆ จะให้เฉดสีเทา ขณะที่ถ่านที่อ่อนกว่าจะนุ่มนวลใช้ง่าย ใช้ถ่านเหมือนกับใช้ดินสอได้เลย อย่างไรก็ตาม ถ่านจะวาดออกมาได้ชัดกว่าดินสอ ให้ใช้ถ่านเพื่อจับภาพท่าทางและการเคลื่อนไหว หรือใช้แรเงาที่เข้มขึ้นไปอีก ถ้าคุณจะวาดภาพบนผ้าแคนวาส ถ่านเป็นตัวช่วยวาดโครงร่างได้ดีก่อนที่จะลงสีเลยล่ะ
  2. ทำพื้นที่ที่เอาไว้เก็บภาพที่คุณวาดไว้ หรือเก็บเอาไว้ในอัลบั้มภาพก็ได้ การทำแบบนี้จะช่วยให้คุณได้รู้ถึงพัฒนาการของคุณเอง ยิ่งวาดรูปจนชินมือเท่าไร ก็จะยิ่งมองข้อบกพร่องออก และรู้ว่าจะแก้มันให้ถูกต้องได้อย่างไร และถ้าคุณวาดรูปต่อไปเรื่อยๆ คุณก็จะพัฒนาฝีมือไปจนมีรูปแบบการวาดของตนเอง การหวนกลับมาดูรูปเก่าๆ และดูว่าความสามารถคุณเติบโตขึ้นแค่ไหนมันน่าสนใจเสมอแหละ อย่าท้อไปล่ะ เมื่อคุณฝึกมัน มันก็จะออกมาสมบูรณฺ์แบบเอง
  3. ถ้าคุณรู้สึกติดๆ อยู่ที่สัดส่วน รำคาญเรื่องท่าทางที่ทั้งดูแข็งและขัดๆ แย่ที่สุดเท่าที่เคยวาดมา และมีแต่ข้อผิดพลาด ซึ่งจิตสำนึกของคุณก็รู้ว่าทำให้ดีไปกว่านี้ไม่ได้ นั่นเป็นสัญญาณที่บอกว่าคุณควรหยุดวงจรการฝึกก่อน ไปหยิบที่จับเวลามา ตั้งไว้สักห้านาที เลือกหัวข้อที่ค่อนข้างตายตัว เช่น กุหลาบผ้าไหม บางอย่างที่ท้าทาย ที่คุณชอบพอที่จะวาดได้มากกว่าหนึ่งครั้ง มันจะช่วยได้เลยล่ะถ้าคุณชอบหัวข้อนั้นจริงๆ ล่ะก็นะ ให้ใช้ดินสออ่อนๆ (ขนาด B หรือ 2B หรือ 4B หรือขนาดใดๆ ที่เป็นขนาด B ก็ได้) ลองวาดสเก็ตช์ภาพร่างภายในห้าหรือสองนาที ตั้งเวลาไว้ห้ามเกินห้านาทีเด็ดขาด เมื่อที่จับเวลาเตือนขึ้นมา ให้หยุดแม้ว่ารูปจะยังวาดไม่เสร็จก็ตาม แล้ววาดใหม่ในตรงบริเวณที่ยังว่างอยู่
    • ทุกครั้งที่คุณพยายามจะวาดอะไรบางอย่างในห้านาที คุณจะสังเกตบางอย่างที่ต่างออกไป และมีสมาธิมากขึ้น คุณจะแก้ไขสิ่งที่ผิดให้ถูกต้องโดยไม่ต้องกลับไปลบมันได้เลย
    • วิธีนี้จะดีเป็นพิเศษสำหรับผู้ที่วาดรูป เพราะมันไม่ยากที่จะให้เพื่อนโพสท่าเพื่อ"สเก็ตช์รูปร่าง"สักสองนาที ซึ่งต่างจากการที่ให้นั่งท่าเดียวอยู่เป็นชั่วโมง
    • เมื่อคุณเสร็จสิ้นการสเก็ตช์หัวข้อนั้นแล้ว ให้เวลาตัวเองมากขึ้นอย่างสิบห้านาที จะเหมือนกับได้เวลาไปนานมากสำหรับการวาดให้ถูกต้องเลยล่ะ คุณอาจวาดเสร็จก่อนที่เวลาจะหมดเสียอีก วิธีการฝึกที่ดีคือการวาดภาพด้านนอก เมื่อแสงสามารถเปลี่ยนไปได้ทุกๆ ครึ่งชั่วโมง
    • ลองวาดหมาหรือแมวของคุณตอนที่มันกำลังนอนอยู่ โดยวาดภาพคร่าวๆ ใช้เวลาสั้นๆ เวลาสองนาทีนี่ก็นานพอที่สัตว์ที่กำลังหลับอยู่จะค้างอยู่ท่านั้นก่อนที่มันจะกลิ้งไปมาหรือเปลี่ยนท่าทาง
    • ลองวาดรูปอะไรบางอย่างที่ง่ายๆ เช่น รูปดินสอ สิ่งที่ธรรมดาและง่ายต่อการวาด ฝึกวาดวัตถุที่คุณเลือกสองสามครั้งจนกว่ามันจะออกมาดูใช่ จากนั้น เมื่อคุณคิดว่ามันเข้าที่แล้ว ก็ค่อยวาดสิ่งที่ยากขึ้น อย่างเช่นใบหน้าของคน
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หาแรงบันดาลใจจากทุกๆ สิ่ง ทั้งข่าวคราวใหม่ๆ ทิวทัศน์ อารมณ์ ทุกสิ่งที่สามารถวาดให้ดูสมจริงและวาดแบบเป็นนามธรรมเข้าใจยากได้
  • อย่ากดดินสอวาดให้หนักมือมากนัก เพราะมันจะยากต่อการลบจุดที่ผิดพลาด และทำให้ยังมองเห็นได้อยู่
  • ความสนุกของการวาดรูปคือ วาดรูปอะไรก็ได้ตามอิสระ ฉะนั้นให้ผ่อนคลายกับตัวเองเมื่อรู้สึกว่าวาดไม่ได้ตามที่ต้องการ
  • ลองดูรูปแบบศิลปะของคนอื่นเพื่อนำมาเป็นแรงบันดาลใจ
  • จำไว้ อย่างที่นักเขียนผู้โด่งดัง เจมส์ เอ. โอเว่นส์เคยกล่าวไว้ว่า "การวาดรูปมีอยู่เพียงสองสิ่ง คือการวาดเส้นลงไปในกระดาษ และตัดสินใจว่าจะให้มันไปทางไหน"
  • สำหรับงานศิลปะชั้นดีบางชิ้นจะมีการให้แสงเงา ถ้าหากว่าคุณเก่งเรื่องแสงเงาก็แปลว่าเริ่มมาได้ดีแล้ว จำไว้ว่ายิ่งฝึกยิ่งดี
  • ให้แน่ใจว่าได้ใช้ดินสอกับยางลบที่มีประสิทธิภาพในการลบได้ดี
  • ลองวาดร่างเล่นๆ ดู! เมื่อได้วาดเสร็จแล้ว ให้เพิ่มระดับด้วยการเพิ่มรายละเอียดให้กับงานของคุณ แล้วเดี๋ยวก็จะเริ่มจับทางภาพถูกเอง
  • ให้เวลาในการวาดภาพ คุณไม่มีทางวาดให้ถูกต้องในครั้งแรกได้หรอก มันต้องมีข้อผิดพลาดกันบ้างแหละ
  • ไปลงเรียนศิลปะ คุณสามารถเรียนเทคนิคและเคล็ดลับมากมายจากผู้เชี่ยวชาญได้เลยล่ะ ไม่ต้องกลัวเรื่องระดับความสามารถของคุณ ที่เรียนไม่ใช่สถานที่ที่เอาไว้แสดงผลงาน แต่เอาไว้เรียนรู้และแบ่งปันสิ่งใหม่ๆ จากคนอื่น
  • ในการวาดภาพให้ออกมาดี ให้ฝึกและเรียนรู้ด้านศิลปะเพื่อช่วยในด้านปัญหาต่างๆ
  • วาดในที่ที่เงียบสงบ การวาดในขณะที่อารมณ์ดีเป็นสิ่งที่สำคัญอยู่มากเลยล่ะ
โฆษณา

คำเตือน

  • วาดเบาๆ ให้พอที่จะมองเห็นได้เมื่อลงสีหรือแรเงา มันจะออกมาชัดกว่าที่คุณคิดเสียอีก!
  • ถ้าคุณใช้ดินสอกด คุณต้องรู้ไว้ว่า:
  • ไส้ดินสอกดนั้นหักได้ง่ายมาก ฉะนั้นอย่ากดน้ำหนักแรงเกินไป
  • ขอให้เปิดใจกับคำวิจารณ์ ถ้าคุณจะแสดงผลงานของคุณ
  • คุณควรเสนองานของคุณให้กับผู้ที่คุณรู้ว่าเขาจะสนับสนุนคุณเท่านั้น ขอให้เขาพูดความจริง และพัฒนาโดยความคิดเห็นของพวกเขา
  • เรียนรู้การแยกคำวิจารณ์ที่เป็นประโยชน์ออกจากคำติไปงั้นๆ คำวิจารณ์จะเป็นสิ่งที่เฉพาะเจาะจง และมักจะให้คำแนะนำในการพัฒนางานด้วย
  • การซื้อดินสอกดดีๆ มักมีราคาที่สูง


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 107,731 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา