ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าเราอยากให้ใครสักคนกลับมาเชื่อใจอีกครั้ง จงเข้าไปขอโทษคนคนนั้นจากใจจริงเสียก่อน ฟังสิว่าเขาจะพูดอย่างไรบ้าง แสดงความตั้งใจจริงและความรับผิดชอบ ให้เวลาใครคนนั้นสักหน่อย อย่าไปรบเร้าเขามากเกินไป หรือทำอะไรที่แสดงถึงความไม่จริงใจ สุดท้ายจงอดทน รับรู้ความรู้สึกของคนคนนั้น และเตรียมรับผลต่างๆ ที่ตามมา

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ขอโทษจากใจจริง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เราอาจรู้สึกกลัวที่จะเข้าไปขอโทษใครสักคน การรู้สึกวิตกกังวลเป็นเรื่องธรรมดา หาเวลาวางแผนและคิดว่าเราจะพูดอะไรบ้าง [1]
    • ร่างขั้นตอนสำคัญ ขั้นตอนสำคัญควรมีการขอโทษ การยอมรับผิดชอบ และวิธีการชดใช้สิ่งที่ทำลงไป
    • ฝึกพูดในสิ่งที่ต้องการจะพูด ลองฝึกขอโทษดังๆ หน้ากระจกดูสิ
    • นัดพบคนที่เราต้องการจะขอโทษ อาจพูดว่า “ฝน ผมรู้ว่าคุณยังโกรธผมอยู่ แต่อาทิตย์นี้คุณพอมีเวลาว่างไหม ช่วยออกมาพบผมหน่อย เราจะได้พูดคุยกัน”
  2. ถ้าอยากให้ใครสักคนกลับมาไว้ใจ เราต้องเข้าไปพูดคุยกับเขาอย่างจริงจัง ถ้าเราเป็นฝ่ายทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ก็ควรขอโทษ เริ่มต้นด้วยการบอกความรู้สึกของตนเองก่อน [2]
    • ถ้าเราพยายามสร้างมิตรภาพขึ้นมาใหม่ ให้บอกเพื่อนว่าเรารู้สึกอย่างไร อาจบอกว่า "ส้ม ฉันเองก็รู้สึกแย่เหลือเกินที่ไม่สามารถรักษาสัญญาที่ให้ไว้กับเธอได้ ฉันรู้นะว่าการทำให้มิตรภาพของเรากลับมาดีดังเดิมนั้นยาก แต่ฉันก็อยากให้เราสองคนกลับมาเป็นเพื่อนกันเหมือนเดิม"
    • บอกความตั้งใจของตนเอง ถ้ากำลังพูดคุยอยู่กับคนรัก อาจพูดว่า “ผมอยากให้เรากลับมาเชื่อใจกันและกันอีกครั้ง และผมจะทำทุกอย่างเพื่อให้เราสองคนกลับมาเชื่อใจกันเหมือนเดิม”
    • มีความจริงใจ ไม่ว่าเราจะพูดอะไรออกไปตอนที่กำลังขอโทษ เราต้องทำตามที่พูด ถ้าเราโกหก และคนอื่นรู้ ก็จะยิ่งสร้างความแตกร้าวให้กับมิตรภาพของเรามากขึ้นไปอีก
  3. ถ้าเราอยากขอโทษใครสักคน แสดงว่าเรารู้สึกผิดจริงๆ ก่อนที่จะได้รับความเชื่อใจจากผู้อื่นอีกครั้ง เราต้องแสดงให้เห็นว่าเรารู้ตัวว่าตนเองนั้นทำผิด เวลาขอโทษควรมีการยอมรับผิดหรือบอกว่าเราทำอะไรผิดไป [3]
    • เราต้องรู้ตัวว่าตนเองทำอะไรผิดบ้าง ถ้าพยายามทำให้ตนเองได้รับความเชื่อใจจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการทำงานอีกครั้ง เราควรบอกว่าตนเองทำอะไรผิดบ้าง
    • ตัวอย่างการยอมรับผิด เช่น “ฉันผิดที่ไม่ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารให้ละเอียดถี่ถ้วน ฉันรู้ว่าทำให้บริษัทต้องเสียค่าใช้จ่าย” การพูดแบบนี้แสดงให้เห็นว่าเราเข้าใจถึงผลของการกระทำของตนเอง
    • เมื่อยอมรับผิด เราควรบอกรายละเอียดให้ชัดเจน ตัวอย่างเช่น “ก้อง ฉันผิดที่โกหกไปว่าฉันอยู่ทำงานจนดึก ตอนนั้นฉันน่าจะบอกความจริงไปว่าฉันออกไปกับเพื่อน”
  4. การสนทนาที่ก่อให้เกิดประโยชน์คือการสนทนาที่มีผู้พูดและผู้ฟัง หลังจากเราพูดเรื่องที่อยากพูดจบแล้ว คราวนี้ก็ให้ผู้อื่นพูดบ้าง แสดงความตั้งใจฟังด้วยการทำตามคำแนะนำดังต่อไปนี้ [4]
    • ใช้ภาษากาย พยักหน้าและมองตาผู้พูด
    • ย้ำประเด็นสำคัญอีกครั้ง การทำแบบนี้จะแสดงให้เห็นว่าเราพยายามจดจำสิ่งที่เขาพูด
    • ตัวอย่างเช่น “เธอบอกว่าหมดศรัทธาในตัวฉันและบอกว่าคงต้องใช้เวลากว่าจะกลับมาเชื่อใจฉันอีกครั้ง”
  5. การขอโทษต่อหน้าเป็นวิธีที่ดีที่สุดก็จริง แต่เราก็ไม่อาจใช้วิธีนี้ได้เสมอไป บางทีเราอาจอยู่ห่างไกลจากผู้อื่น หรือคนคนนั้นไม่อยากคุยกับเราตอนนี้ ถ้าเกิดกรณีนี้ขึ้น ให้ลองเขียนจดหมายขอโทษดู [5]
    • เขียนจดหมายด้วยลายมือตนเอง การเขียนจดหมายแบบนี้จะเป็นส่วนตัวมากกว่าอีเมล ไม่ควรขอโทษเรื่องสำคัญด้วยการส่งข้อความ
    • ตรวจแก้จดหมายให้ถูกต้อง อาจต้องเขียนร่างไว้สักสองฉบับเพื่อจะได้เนื้อหาและลีลาการเขียนที่ถูกต้องเหมาะสม
    • เนื้อหาจดหมายของเราควรสั้นกระชับและตรงประเด็น พยายามแบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ย่อหน้า ย่อหน้าแรกเป็นการกล่าวขอโทษ ย่อหน้าที่สองเป็นการยอมรับความผิด และย่อหน้าที่สามเป็นการบอกหนทางแก้ไขปัญหาของเรา
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

กระทำเพื่อสร้างความเชื่อใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อพยายามสร้างความเชื่อใจกันอีกครั้ง ไม่เพียงคำพูดเท่านั้นที่สำคัญ แต่การกระทำของเราก็สำคัญด้วย จงแสดงความตั้งใจจริงเพื่อให้ผู้อื่นเห็นว่าเรานั้นเชื่อถือได้ [6]
    • ทำอย่างที่พูด ถ้าสัญญาว่าจะเลิกมาสาย ก็แสดงให้ผู้อื่นเห็นความตั้งใจจริงของเราด้วยการมาตรงเวลา
    • รักษาคำพูด จงระลึกไว้เสมอว่าเรากำลังเรียกความเชื่อใจให้กลับคืนมาอีกครั้ง ทำทุกอย่างที่เราบอกว่าจะทำให้เสร็จเรียบร้อย แม้จะเป็นเรื่องเล็กๆ อย่างโทรศัพท์กลับไปหาเพื่อนก็ตาม
    • แสดงให้เห็นว่าเราสามารถเป็นที่พึ่งพาได้ ถ้าหัวหน้าสั่งให้เราจัดเก็บเอกสารสำคัญเข้าแฟ้ม เราก็ต้องทำให้ถูกต้องและเสร็จทันเวลา
  2. เมื่อเราเกิดทำให้ใครสักคนหมดความเชื่อใจในตัวเรา เหตุการณ์นี้ก็อาจทำให้ทั้งเราและเขาสะเทือนใจอยู่ เราอาจรู้สึกผิดและอีกฝ่ายอาจรู้เสียใจหรือโกรธ เพราะฉะนั้นอาจต้องใช้เวลาช่วยเยียวยาจิตใจบ้าง [7]
    • เราอาจอยากคลี่คลายสถานการณ์นี้ให้ได้โดยเร็ว แต่ก็ต้องเคารพความรู้สึกของผู้อื่นด้วย
    • อาจพูดไปว่า “แป้ง ฉันอยากให้เรากลับมาคืนดีกันเหมือนเดิม แต่ฉันก็เข้าใจว่าเธอยังคงโกรธฉันอยู่ ฉะนั้นพรุ่งนี้ฉันขอมาหาเธอใหม่ได้ไหม”
    • เคารพขอบเขต ถ้าคนคนนั้นขอให้เราอย่าโทรไปหาเขาสักสองสามวัน ก็จงทำตามที่เขาขอ
  3. ถ้าพยายามสานสัมพันธ์รักอยู่ เราอาจใช้วิธีพิเศษเพื่อแสดงให้คู่ชีวิตเห็นว่าเรานั้นยังรักเขาหรือเธออยู่มากแค่ไหน หลักสามเอได้แก่ รัก (Affection) เอาใจใส่ (Attention) และเห็นคุณค่า (Appreciation) [8]
    • เราสามารถแสดงความรักได้หลายแบบ ตัวอย่างเช่น ออกไปต้อนรับและกอดคู่ชีวิต เมื่อเห็นเขาหรือเธอกลับมาที่บ้าน
    • เราอาจแสดงความเอาใจใส่ด้วยการสนใจแม้แต่เรื่องเล็กน้อย เช่น ถ้าสังเกตเห็นว่าคู่ชีวิตมีท่าทีอยากได้กาแฟเพิ่ม ก็เอากาแฟมาเติมให้โดยไม่ต้องรอให้ร้องขอ
    • ใช้ถ้อยคำที่แสดงให้คู่ชีวิตเห็นว่าเขาหรือเธอนั้นมีค่ากับเรามากแค่ไหน อาจพูดเช่นว่า “ฉันดีใจมากจริงๆ ที่ได้รู้ว่าเธอรักฉันมากแค่ไหน”
  4. วิธีหนึ่งที่จะแสดงให้เห็นว่าเรานั้นเชื่อถือได้คือการทุ่มเททำจนสำเร็จ ไม่ว่าเราจะพยายามสร้างความเชื่อใจในความสัมพันธ์ส่วนตัวหรือความสัมพันธ์ในที่ทำงานขึ้นมาใหม่ การทุ่มเททำจนสำเร็จนั้นเป็นวิธีการสร้างความเชื่อใจที่ดียิ่ง เพราะเป็นการแสดงให้เห็นว่าเรามุ่งมั่นตั้งใจที่จะแก้ปัญหาจริงๆ [9]
    • ถ้าเรากำลังพยายามทำให้หัวหน้ากลับมาเชื่อใจเราอีกครั้ง เราอาจอาสาช่วยหัวหน้าทำรายงานประจำเดือนนี้ หากเขาต้องการให้ใครสักคนมาช่วย
    • ถ้ากำลังพยายามทำให้เพื่อนกลับมาเชื่อใจเราเหมือนเดิม ลองหาโอกาสช่วยเหลือเพื่อน เช่น ซื้ออาหารกลางวันไปให้เพื่อน ถ้าเห็นว่าเขางานยุ่งจนไม่มีเวลาลงไปกิน
    • ถ้าพยายามรักษาความสัมพันธ์อันดีกับคู่ชีวิต ลองช่วยงานบ้านเล็กๆ น้อย ๆ เช่น ล้างจาน หรือเอาขยะไปทิ้งโดยที่เธอไม่ต้องร้องขอ
  5. เมื่อกำลังพยายามทำให้ผู้อื่นกลับมาเชื่อใจเราอีกครั้ง การแสดงให้ถึงความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงตนเองนั้นสำคัญ แต่การเป็นตัวของตัวเองก็สำคัญเช่นกัน ฉะนั้นอย่าพยายามเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพของตนเองไปจนกลายเป็นคนละคน [10]
    • การเปลี่ยนแปลงตนเองไปอย่างสุดโต่งอาจดูเหมือนเป็นการฝืนตนเองมากเกินไป ตัวอย่างเช่น ถ้าเราพยายามที่จะได้รับความเชื่อใจจากพ่อแม่อีกครั้ง อย่าทำตัวเปลี่ยนไปเป็นคนละคนกะทันหัน
    • ตัวอย่างเช่น พ่อแม่ต้องการให้เราช่วยทำงานบ้านมากขึ้น ความต้องการนี้ไม่ได้หมายถึงให้เราหยุดออกไปทำกิจกรรมกับเพื่อนฝูงโดยสิ้นเชิง แต่หมายถึงให้เราแบ่งเวลามาช่วยทำงานบ้านบ้าง
    • อย่าพยายามเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพของตนเอง ถ้าเราเป็นคนคุยสนุกและสามารถทำให้เพื่อนหัวเราะได้เสมอ ก็จงรักษาคุณสมบัติที่ดีนี้ไว้ อย่าเปลี่ยนตนเองให้เป็นคนจริงจังไปโดยสิ้นเชิง เพราะจะดูเหมือนเป็นการฝืนตนเองมากเกินไป
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

เดินหน้าต่อไป

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถึงแม้เราจะเริ่มพยายามสร้างความเชื่อใจมากแค่ไน ความเชื่อใจก็ไม่ได้เกิดขึ้นโดยทันที ความเชื่อใจต้องใช้เวลา ถึงจะค่อยๆ เกิดขึ้นมา ความเชื่อใจถูกทำลายได้ แต่ก็สามารถใช้เวลาสร้างขึ้นมาใหม่ได้ [11]
    • พยายามอย่าไปเร่งรัด เพราะผู้อื่นอาจต้องการเวลาที่จะกลับมาเชื่อใจเราอีกครั้ง
    • พูดออกไปตรงๆ เช่น “ฉันรู้ว่าความเชื่อใจต้องใช้เวลา ฉันเข้าใจ ฉันจะรอจนกว่าเธอจะพร้อมเชื่อใจฉันอีกครั้ง”
    • อย่าหมกมุ่นคิดแต่เรื่องที่จะทำให้ผู้อื่นกลับมาเชื่อใจเรา เราได้ขอโทษและเริ่มขั้นตอนต่างๆ ที่จะสร้างความเชื่อใจอีกครั้งไปแล้ว ถึงแม้การทำให้ผู้อื่นกลับมาเชื่อใจนั้นสำคัญ แต่เราไม่จำเป็นต้องคิดถึงเรื่องนี้ตลอดเวลา
  2. ถ้ากำลังพยายามสานความสัมพันธ์ส่วนตัว ก็อาจรู้สึกว่าเป็นอะไรที่ยุ่งยากซับซ้อนมาก เราอาจประสบกับความรู้สึกอันหลากหลายในจิตใจ แต่ก็ให้รับรู้ไว้ว่าอีกฝ่ายก็รู้สึกเช่นเดียวกัน ไม่ต่างจากเรา [12]
    • เป็นธรรมดาที่เราจะรู้สึกผิด เสียใจ เศร้า และคับข้องใจ จงปล่อยให้ตนเองรู้สึกแบบนั้นไป
    • รับรู้ความรู้สึกของตนเองและเดินหน้าต่อไป บอกตนเองว่า “วันนี้ฉันรู้สึกผิดมากจริงๆ แต่ก็พยายามแก้ไขปัญหาอยู่ ฉะนั้นฉันจึงไม่ควรต่อว่าตนเองอีก”
    • จงรู้ว่าเพื่อนของเราก็น่าจะประสบกับความรู้สึกอันหลากหลายเช่นเดียวกัน เพื่อนของเราอาจรู้สึกเจ็บปวด โกรธ หรือเศร้า การรู้สึกแบบนั้นเป็นเรื่องธรรมดา
  3. เมื่อความเชื่อใจกลับคืนมา ก็ย่อมมีโอกาสสานความสัมพันธ์ได้สำเร็จ แต่ถ้าเกิดผลตรงข้ามกัน ก็จงพร้อมยอมรับความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนแปลงไป [13]
    • ถ้าเราทำลายความเชื่อใจของหัวหน้า เราก็ต้องยอมรับผลที่ตามมาซึ่งอาจเป็นการไม่ได้ทำงานชิ้นสำคัญไปสักพัก
    • ถ้าเราทำให้คู่ชีวิตไม่เชื่อใจ เราอาจไม่ใกล้ชิดเขาหรือเธอเหมือนแต่ก่อน คู่ของเราอาจไม่สามารถเชื่อใจเราได้สนิทไปสักพัก
    • เราอาจคืนดีกับเพื่อนได้สำเร็จ แต่ก็พบเห็นว่ามิตรภาพระว่างกันจืดจางลงไป ไม่เหมือนเมื่อก่อนที่ไปไหนไปกัน
  4. ถ้าเราทำลายความเชื่อใจของใครสักคน ก็ยังมีโอกาสที่จะทำให้คนคนนั้นกลับมาเชื่อใจเราใหม่ แต่บางครั้งความสัมพันธ์อาจเสียหายจนเกินเยียวยา ฉะนั้นพยายามเตรียมใจรับผลต่างๆ ที่จะตามมาด้วย [14]
    • เราอาจต้องยอมเดินหน้าต่อไป ถ้าใครสักคนไม่อยากเป็นเพื่อนเราอีกแล้ว เราก็ไม่อาจฝืนใจเขาได้
    • พยายามค้นหาสิ่งดีๆ ที่เรามีในชีวิตและให้จดจ่ออยู่กับสิ่งดีๆ นั้น เขียนทุกอย่างที่เราใฝ่ฝันอยากได้ลงไปในกระดาษ
    • พบปะพูดคุยกับผู้คน รักษาความสัมพันธ์ที่มีอยู่ให้แน่นแฟ้น
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อย่าเร่งรีบ การสร้างความเชื่อใจต้องใช้เวลา
  • อย่าต่อว่าตนเอง จงรู้ว่าเรานั้นกำลังแก้ปัญหาเพื่อทำให้ทุกอย่างดีขึ้น
  • จงทำทุกอย่างด้วยความตั้งใจจริง เพราะการทำแบบนี้เป็นวิธีสร้างความเชื่อใจที่ได้ผลที่สุด
โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

เริ่มความสัมพันธ์แบบ Friends with Benefits
ทำให้แฟนเก่ากลับมารักคุณอีกครั้ง
รู้ว่าเมื่อไหร่ที่อีกฝ่ายไม่อยากคุยกับคุณแล้ว
รู้ว่าแฟนสาวของคุณแอบไปนอนกับคนอื่นหรือเปล่า
ทำให้ใครบางคนรู้สึกผิด
พิชิตหัวใจแฟนเก่ากลับมา หลังจากการเลิกรา
ทำให้แฟนเก่าคิดถึงคุณ
ฟื้นฟูความสัมพันธ์ให้กลับมาดีเหมือนเดิม
หาเสี่ยเลี้ยง
ปลอบโยนแฟนสาวของคุณเมื่อเธอรู้สึกแย่
ดูว่าเพื่อนอิจฉาคุณหรือไม่
จบความสัมพันธ์
เลิกชอบเพื่อนรัก
จิตวิทยาการรับมือเพื่อเอาชนะคนหลงตัวเอง
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 11,601 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา