ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการสร้าง LAN (Local Area Network) ที่ใช้เชื่อมต่อคอมกับอุปกรณ์ต่างๆ ให้ต่อเน็ตและสื่อสารระหว่างกันได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

สำรวจความต้องการก่อนสร้างเครือข่าย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตอนจะสร้าง LAN ต้องรู้ก่อนว่าจะเชื่อมต่อคอมทั้งหมดกี่เครื่องในเครือข่ายผ่านสาย Ethernet จะได้รู้ว่าต้องใช้ทั้งหมดกี่พอร์ท
    • ถ้าต้องเชื่อมต่อทั้งหมดไม่เกิน 4 เครื่อง ก็ใช้แค่เราเตอร์ แต่ถ้าจะเชื่อมต่อคอมเกิน 4 เครื่อง ต้องมีสวิตช์เพิ่มจำนวนพอร์ทของเราเตอร์
  2. ถ้าอยากให้แต่ละอุปกรณ์ต่อเน็ตผ่าน Wi-Fi ก็ต้องใช้เราเตอร์ที่กระจายสัญญาณ Wi-Fi ได้ เดี๋ยวนี้เราเตอร์ส่วนใหญ่ ทั้งที่หาซื้อได้ตามร้านและในเน็ต ก็มักจะเป็นเราเตอร์ Wi-Fi
    • Network switch ใช้ต่อ Wi-Fi ให้อุปกรณ์ไม่ได้ จะใช้เชื่อมต่อคอมเครื่องต่างๆ ในระบบ LAN หรือขยายจำนวนพอร์ทของเราเตอร์เท่านั้น
  3. ถ้าอยากต่อเน็ตให้ทุกอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อไว้ในเครือข่าย ก็ต้องมีเราเตอร์ แต่ถ้าไม่จำเป็นต้องต่อเน็ตครบทุกเครื่อง ใช้แค่ network switch ก็พอ
  4. ปกติถ้าใช้งานตามบ้านจะไม่ค่อยมีปัญหานี้ แต่ก็ต้องเตือนกันไว้ก่อน ว่าส่วนใหญ่สายเน็ตจะยาวได้ไม่เกิน 100 เมตร (328 ฟุต) ถ้าต้องใช้สายยาวกว่านั้น คงต้องเสียบกับ network switch เป็นระยะ
  5. ถ้าใช้พอร์ทของเราเตอร์จนหมด อีกหน่อยถ้าจะเพิ่มอุปกรณ์ ก็คงต้องหาทางขยับขยาย
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

สร้าง LAN พื้นฐาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จะสร้าง LAN ก็ต้องใช้เราเตอร์หรือ network switch เป็น hub ไว้เชื่อมต่อคอมต่างๆ อุปกรณ์พวกนี้จะส่งข้อมูลไปยังคอมเครื่องที่ถูกต้องให้คุณเอง
    • เราเตอร์ จะกำหนด IP address ให้คอมแต่ละเครื่องในเครือข่ายโดยอัตโนมัติ ถือว่าจำเป็นมาก ถ้าอยากแชร์สัญญาณเน็ตกับคอมทุกเครื่องที่เชื่อมต่อกันอยู่ เพราะงั้นเวลาสร้างเครือข่าย เราเตอร์ถือเป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ ถึงไม่คิดจะต่อเน็ตในคอมทุกเครื่อง ก็ต้องใช้อยู่ดี
    • network switch เป็นเหมือนเราเตอร์อย่างง่าย ใช้แล้วคอมในเครือข่ายจะสื่อสารกันได้ แต่ไม่มีการกำหนด IP address ให้คอมแต่ละเครื่องอัตโนมัติ และแชร์เน็ตกันไม่ได้ สวิตช์เหมาะสำหรับคนที่อยากเพิ่มจำนวนพอร์ท LAN ในเครือข่าย เพราะสวิตช์เชื่อมต่อกับเราเตอร์ได้
  2. ถ้าเป็น LAN พื้นฐาน ก็ไม่ต้องปรับแต่งอะไรในเราเตอร์มาก แค่เสียบปลั๊ก เลือกที่อยู่ใกล้โมเด็มหน่อย จะได้แชร์สัญญาณเน็ตได้
  3. ถ้าจะแชร์เน็ตจากโมเด็ม ให้เสียบโมเด็มเข้าพอร์ท WAN/INTERNET ของเราเตอร์ ปกติจะสีต่างจากพอร์ทอื่นๆ
  4. ถ้าใช้สวิตช์เพิ่มจำนวนพอร์ทของเราเตอร์ ให้เสียบสาย Ethernet กับพอร์ท LAN ของเราเตอร์ และพอร์ท LAN ของสวิตช์ เพื่อขยายเครือข่ายไปยังพอร์ท LAN ที่เหลือของสวิตช์
  5. ให้เสียบสาย Ethernet เพื่อเชื่อมต่อคอมแต่ละเครื่องกับพอร์ท LAN ที่ว่างอยู่ของเราเตอร์หรือสวิตช์ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องลำดับของพอร์ท
    • สาย Ethernet ถ้ายาวกว่า 100 เมตร (328 ฟุต) จะเริ่มส่งข้อมูลไม่เสถียร
  6. กำหนดคอมเครื่องหนึ่งเป็น DHCP server ถ้าใช้แค่สวิตช์. ถ้าใช้แค่ network switch เป็น hub ให้กำหนดคอมเครื่องหนึ่งเป็น DHCP (Dynamic Host Configuration Protocol) server คอมอื่นๆ ที่เชื่อมต่อไว้ก็จะได้ IP address สะดวก
    • คุณสร้าง DHCP server ในคอมได้ง่ายๆ แค่ติดตั้ง utility ที่จำเป็น
    • คอมเครื่องที่เหลือในเครือข่ายจะได้ IP address อัตโนมัติหลังตั้งเซิร์ฟเวอร์เสร็จ แต่ต้องกำหนดไว้ล่วงหน้า
  7. พอคอมแต่ละเครื่องในเครือข่ายได้ IP address แล้ว ก็จะสื่อสารกันได้ ถ้าใช้เราเตอร์แชร์เน็ตกัน แต่ละเครื่องก็จะต่อเน็ตได้สบาย
  8. พอสร้างเครือข่ายเรียบร้อยแล้ว จะยังไม่เห็นข้อมูลของคอมแต่ละเครื่อง เว้นแต่จะกำหนดให้แชร์ไฟล์ไว้ โดยเลือกไฟล์ โฟลเดอร์ ไดรฟ์ พรินเตอร์ และอุปกรณ์อื่นๆ แล้วกำหนดเป็น shared (ใช้งานร่วมกัน) ต่อไปใครใช้เครือข่ายเดียวกัน (หรือเฉพาะผู้ใช้ที่อนุญาต) ก็จะเข้าถึงไฟล์และทุกอย่างที่ว่ามาได้
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

สร้าง Wireless Network (Wi-Fi)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตอนจะตั้งค่าเราเตอร์ Wi-Fi ต้องคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้
    • ให้จัดวางเราเตอร์ไว้ใกล้ๆ โมเด็ม ถ้ามีปัญหาอะไรจะได้แก้ไขสะดวก
    • วางเราเตอร์กลางห้อง สัญญาณจะได้ครอบคลุม
    • ต้องเสียบคอมกับเราเตอร์ผ่านสาย Ethernet ระหว่างตั้งค่า
  2. แล้วใช้เบราว์เซอร์เข้าหน้าปรับแต่ง wireless network ของเราเตอร์
  3. จะเบราว์เซอร์ไหนก็ได้ที่ถนัด
  4. ปกติจะติดอยู่ด้านล่างของเราเตอร์ หรือในคู่มือเราเตอร์ แต่ถ้าหาไม่เจอจริงๆ ก็ให้ลองทำขั้นตอนต่อไปนี้
    • Windows - คลิกขวาที่ปุ่ม Network ใน System Tray → คลิก Open Network and Sharing Center → คลิกลิงค์ Ethernet → คลิก Details → หา Default Gateway ของ IP address ของเราเตอร์
    • Mac - คลิกเมนู Apple แล้วเลือก System Preferences → คลิก Network → คลิก Ethernet ที่ต่อไว้ → หา Router ของ IP address ของเราเตอร์
  5. จะมีให้กรอกข้อมูลล็อกอินเข้าเราเตอร์ ค่า default ที่ต้องใช้ล็อกอินจะต่างกันไปตามรุ่นเราเตอร์ที่ใช้ แต่ปกติ username มักจะเป็น "admin" และรหัสผ่านมักจะเป็น "admin", "password" หรือเว้นไว้
    • คุณเอารุ่นเราเตอร์ตัวเองไปค้นได้ที่ https://portforward.com/router-password/ จะได้รู้ข้อมูลที่ต้องใช้ล็อกอิน
  6. ตำแหน่งและคำที่เขียนไว้จะต่างกันไปตามเราเตอร์ที่ใช้
  7. บางทีก็เขียนว่า "Network name" นี่คือชื่อที่จะโผล่มาในรายชื่อสัญญาณ Wi-Fi ที่เชื่อมต่อได้
  8. เพราะถือเป็นตัวเลือกที่ปลอดภัยที่สุดของเราเตอร์สมัยนี้ อย่าเลือก WPA และ WEP เว้นแต่จำเป็น เพราะใช้อุปกรณ์ที่เก่ากว่า และใช้ WPA2 ไม่ได้
  9. ใครจะต่อเน็ต Wi-Fi นี้ก็ต้องใส่รหัสทุกครั้ง ช่องที่ให้พิมพ์รหัสบางทีก็เขียนว่า "Pre-Shared Key"
  10. อันนี้แล้วแต่เราเตอร์ อาจจะต้องติ๊กช่องหรือคลิกปุ่มที่ด้านบนของเมนู Wireless ก่อน ถึงจะเปิดใช้ Wi-Fi ได้
  11. เพื่อเซฟค่าใหม่ของเราเตอร์
  12. กว่าเราเตอร์จะเปิดขึ้นมา และสัญญาณ Wi-Fi ติดนิ่ง ต้องรอเป็นนาที
  13. พอมีสัญญาณแล้ว Wi-Fi นี้จะไปโผล่ในรายชื่อ Wi-Fi ที่ใช้งานได้ ในทุกอุปกรณ์ที่อยู่ในระยะสัญญาณ เวลาเลือกใช้ Wi-Fi ก็จะมีให้ใส่รหัสผ่านที่ตั้งไปก่อนหน้า
    • คอมที่เสียบเราเตอร์ผ่านสาย Ethernet อยู่แล้ว จะไม่ต้องใส่รหัสผ่านตอนต่อเน็ต
    โฆษณา


บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 26,539 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา