ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าอยากสอบได้ที่หนึ่งของห้อง เราจะต้องมีระเบียบวินัยและ ตั้งใจเรียน อย่างสม่ำเสมอ มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมในห้องเรียน ทำการบ้านทุกอย่างตามที่คุณครูมอบหมายให้ครบและส่งให้ทันตามกำหนด มีการอ่านเนื้อหามาล่วงหน้า มีการทบทวนบทเรียน ทดสอบความรู้ความเข้าใจของตนเอง ป้องกันไม่ให้มีสิ่งรบกวนที่ทำให้จิตใจวอกแวกและไม่มีสมาธิ ตั้งใจเรียนในชั่วโมงและมีความมุ่งมั่นที่จะทำให้ผลการเรียนออกมาดีที่สุดเสมอ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

มีส่วนร่วมในชั้นเรียน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าเราเลือกที่จะนั่งหลังห้องกับเพื่อนๆ เราจะตั้งใจเรียนได้ยากและอาจตามบทเรียนไม่ทันได้ ฉะนั้นเลือกนั่งหน้าห้อง เราจะได้ตั้งใจฟังทุกอย่างที่คุณครูสอน การนั่งหน้าห้องยังทำให้คุณครูสังเกตเห็นเราได้ง่าย ทำให้ท่านเห็นว่าเราเป็นคนที่ตั้งใจเรียนและยินดีที่จะช่วยเหลือเราเมื่อประสบปัญหาด้านการเรียน [1]
    • การนั่งหน้าห้องเรียนยังทำให้เรารู้สึกไม่อยากหยิบมือถือออกมาเล่น แอบอ่านอะไรที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องเรียน หรือเหม่อลอย
    • แต่ถ้าเราไม่สามารถย้ายที่นั่งได้ อาจขอให้เพื่อนช่วยเราฟังสิ่งที่คุณครูสอนไปด้วยกันและไม่ชวนเราคุยระหว่างเรียน
  2. พยายามซึมซับข้อมูลให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ด้วยการ จดบันทึกเนื้อหาในชั่วโมงเรียน อย่าจดทุกคำที่คุณครูพูด ตั้งใจฟังเพื่อจะได้เลือกจดข้อมูลที่สำคัญอย่างเช่น ชื่อ วันเดือนปี และสถานที่ พยายามเขียนเป็นประโยคง่ายๆ สั้นกระชับ มีแค่คำสำคัญจากบทเรียนอยู่ในนั้น [2]
    • ตัวอย่างเช่น "ฟรันซ์ แฟร์ดีนันด์ (อาร์ชดยุกแห่งออสเตรีย) ถูกลอบปลงพระชนม์ในวันที่ 28 มิถุนายน 1914"
  3. การพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นกันในห้องเรียนจะทำให้เราต้องพยายามเรียนให้ทันเพื่อนและพยามทำความเข้าใจเนื้อหาอย่างลึกซึ้ง พูดคุยถึงประเด็นและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนในชั่วโมงนั้นหรือเนื้อหาของสัปดาห์นั้น แสดงความคิดเห็นของตนเองและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่ว่าเราจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับความคิดนั้นก็ตามเพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่าเรานั้นสนใจและตั้งใจฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูดจริงๆ [3]
    • ตัวอย่างเช่น เราอาจพูดว่า "ฉันเห็นด้วยกับประเด็นโลกร้อนของอารีนะและฉันคิดว่าเราจะต้องพยายามกันให้มากกว่านี้ ถึงจะสามารถแก้ปัญหานี้ได้"
    • พยายามคิดคำถามที่ก่อให้เกิดการอภิปรายเพิ่มเติม เธอคิดว่า โรมิโอและจูเลียต ของเชกสเปียร์จะแตกต่างออกไปจากเดิมอย่างไร ถ้าเขาเขียนบทละครนี้ขึ้นมาในยุคสื่อสังคมออนไลน์
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

ทำการบ้านส่งคุณครูให้ครบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ในเทอมหนึ่งเราต้องเรียนหลายวิชา จึงมีการบ้านมากมายให้ทำ ฉะนั้นเราต้องจัดเวลาทำการบ้านและทำตามตารางเวลานั้นให้ได้ พยายามส่งการบ้านให้ทันตามกำหนดทุกชิ้นและทำการบ้านตามตารางเวลาที่ตนเองกำหนดไว้ เราจะใช้สมุดบันทึกตารางเวลาหรือปฏิทินติดผนังเพื่อกำหนดเวลาทำการบ้านและเป็นทั้งเครื่องเตือนความจำไปด้วยในตัวก็ได้ [4]
    • อาจลองใช้รหัสสีต่างๆ เพื่อจะได้รู้ว่าการบ้านนั้นมีความสำคัญหรือความยากง่ายมากน้อยแค่ไหน
  2. อ่านเนื้อหาทุกอย่างให้ครบตามที่กำหนดไว้ในตารางเวลา. อ่านเนื้อหาตามที่กำหนดในหัวข้อรายวิชาหรือประมวลรายวิชาและอ่านเนื้อหาตามที่คุณครูหรืออาจารย์มอบหมาย การอ่านเนื้อหามาล่วงหน้าจะทำให้เราพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในห้องเรียนและสร้างความประทับใจให้กับครูผู้สอนด้วย อีกทั้งยังทำให้ตนเองมีความพร้อมในการสอบเก็บคะแนนแบบไม่แจ้งล่วงหน้าด้วย [5]
  3. เปลี่ยนไปทำการบ้านวิชาอื่นเมื่อไม่สามารถจดจ่อกับการทำการบ้านวิชาเดิมได้. ถ้าเรามีการบ้านต้องทำหลายวิชาและเริ่มไม่สามารถจดจ่อกับการทำบ้านวิชาหนึ่งได้อีก ลองเปลี่ยนไปทำการบ้านอีกวิชาหนึ่งดู การเปลี่ยนไปทำการบ้านวิชาอื่นสามารถช่วยทำให้จิตใจเรากลับมาจดจ่อได้อีกครั้งและไม่เสียเวลาอันมีค่าไป เราจะทำการบ้านสลับแต่ละวิชาอย่างไรก็ได้ ขอเพียงให้การบ้านทุกวิชาเสร็จตามกำหนดเวลาก็พอ [6]
    • พยายามทำการบ้านชิ้นที่ยากก่อนเพราะเราอาจใช้เวลามากกว่าจะทำเสร็จ
  4. ถ้าส่งการบ้านช้า เราถูกอาจถูกหักคะแนนและมีผลต่อคะแนนโดยรวมในภายหลัง ฉะนั้นพยายามส่งการบ้านให้ครบและตามกำหนดเวลา ถ้าวันนั้นเป็นวันกำหนดส่งการบ้าน แต่เราไม่สามารถมาเรียนในวันนั้นได้ ให้ส่งการบ้านล่วงหน้าเพื่อป้องกันไม่ให้ตนเองถูกหักคะแนน
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เกณฑ์การให้คะแนนในแต่ละวิชานั้นไม่เหมือนกัน เราจึงไม่สามารถใช้วิธีเรียนวิธีเดียวกับทุกวิชาได้ ฉะนั้นเราจึงต้องถามคุณครูแต่ละวิชาว่ามีเกณฑ์การให้คะแนนอย่างไรบ้างและจะต้องทำงานอะไรส่งบ้างเพื่อเป็นคะแนนเก็บ เราอาจไปถามรุ่นพี่ที่เรียนเก่งและสอบได้ที่หนึ่งว่าเขามีเคล็ดลับอะไรบ้าง เราจะได้นำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับตัวเอง [7]
  2. อย่าประวิงเวลาทบทวนบทเรียนออกไปเรื่อยๆ เพราะเราจะไม่มีเวลาเหลือพอที่จะทบทวนบทเรียนให้ครบ อย่างน้อยให้เวลาตนเอง 3 สัปดาห์เพื่อให้ตนเองสามารถทบทวนบทเรียนทุกอย่างได้ครอบคลุมและค่อยเป็นค่อยไป ได้ทบทวนบทเรียนไปทีละนิดจนครบ ควรมีการวางแผนทบทวนบทเรียนล่วงหน้าและให้เวลาตนเองอย่างเพียงพอที่จะทบทวนบทเรียนทุกวิชาจนครบ [8]
    • การวางแผนไว้ล่วงหน้าจะช่วยลดความเครียดในการทบทวนบทเรียน เราจึงมีสมาธิในการทบทวนบทเรียนมากขึ้น
    • ถ้าจะทบทวนบทเรียนกับเพื่อน เราควรเลือกทบทวนกับเพื่อนที่ตั้งใจเรียน ถ้าเราเลือกทบทวนบทเรียนกับเพื่อนที่ไม่สนใจเรียน พวกเขาก็อาจชวนคุยชวนเล่นจนเราไม่ได้ทบทวนบทเรียนเลย
  3. ในช่วงทบทวนบทเรียนเพื่อเตรียมตัวสอบ ให้ลองทำแบบฝึกหัดที่เป็นข้อสอบหรือตัวอย่างข้อสอบของปีก่อนเพื่อทดสอบความเข้าใจในเนื้อหาวิชานั้น ให้เวลาตนเองทำตัวอย่างข้อสอบเท่ากับตอนสอบจริงและรวมคะแนนดูสิว่าเราได้เท่าไหร่ ถ้าเห็นว่าตนเองยังทำคะแนนได้ไม่ดีพอ ให้จัดหาเวลาทบทวนเนื้อหาตรงส่วนนั้นเพิ่มเติมเพื่อจะได้กลับมาทำตัวอย่างข้อสอบอีกครั้งแล้วได้คะแนนดีขึ้น [9]
    • เราสามารถหาตัวอย่างแบบฝึกหัดและข้อสอบได้ทางอินเตอร์เน็ตหรือขอตัวอย่างข้อสอบของปีก่อนๆ จากคุณครูก็ได้
  4. ถ้าเราเปิดโทรศัพท์มือถือ แล็ปท็อป โทรทัศน์ และวิทยุในช่วงที่กำลังทบทวนบทเรียน เราอาจวอกแวกง่าย ถ้าเป็นไปได้ ให้เลือกทบทวนบทเรียนจากหนังสือ ใช้กระดาษและดินสอแทนคอมพิวเตอร์เพื่อป้องกันไม่ให้ตนเองหาความบันเทิงระหว่างทบทวนบทเรียน วางมือถือให้ห่างตัว ปิดทีวีและวิทยุเพื่อให้เราสามารถจดจ่อกับการทบทวนบทเรียนได้ [10]
    • ถ้าเราใช้คอมพิวเตอร์ในการทบทวนบทเรียน ให้ดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ที่สามารถปิดกั้นเว็บไซต์ต่างๆ ได้ขณะที่เราทบทวนบทเรียน
    • ถ้านั่งทบทวนบทเรียนที่บ้านแล้วมีสิ่งรบกวนมากเกินไป ไปนั่งทบทวนบทเรียนในห้องสมุดก็ได้
  5. การทบทวนบทเรียนเป็นเวลานานอาจทำให้สมาธิและแรงของเราลดลง ฉะนั้นควรใช้ระยะเวลาในการทบทวนบทเรียนสักครึ่งชั่วโมงพอ จากนั้นจึงพักช่วงสั้นๆ เพื่อฟื้นฟูแรงกายแรงใจ เราจะสามารถกลับมาจดจ่อกับการทบทวนบทเรียนได้มากขึ้นหลังจากผ่านคลาย 10-15 นาที การทบทวนบทเรียนในระยะเวลาสั้นๆ สลับพักจะช่วยให้เรารู้สึกว่าการทบทวนบทเรียนไม่ใช่เรื่องหนักหนา [11]
    • กินของว่างที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในช่วงพักก็ได้อย่างเช่น แอปเปิลหรือโยเกิร์ต
    • ดูวิดีโอในยูทูบหรือพูดคุยกับเพื่อนสักคนก็ได้เพื่อเป็นเพิ่มพลังใจให้ตนเองก่อนที่จะกลับมาทบทวนบทเรียนต่อ
  6. 6
    หาใครสักคนมาช่วยติวหนังสือให้ ถ้าจำเป็น. การต้องเอาใจใส่ทุกวิชาและส่งการบ้านให้ครบอาจเป็นเรื่องที่ยากลำบากสำหรับเรา ฉะนั้นถ้าหากเรารู้สึกว่าตนเองไม่ถนัดวิชาบ้างวิชาหรือเรียนไม่ทันเพื่อน ให้ลองหาติวเตอร์มาช่วยติวหนังสือหรือขอให้คุณครูช่วยเหลือก็ได้ การหาคนมาช่วยติวหนังสือให้หรือขอความช่วยเหลือจากคุณครูแต่เนิ่นๆ จะช่วยป้องกันไม่ให้เราเรียนล่าช้ากว่าผู้อื่นมากเกินไป
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

ตั้งใจเรียนในชั่วโมงอย่างเต็มที่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การขาดเรียนจะทำให้เราเรียนตามเพื่อนไม่ทันและทำให้ตารางทบทวนบทเรียนของเราขาดความต่อเนื่อง เพื่อนคนอื่นอาจพลอยเรียนล่าช้าไปด้วย เพราะคุณครูอาจชะลอการเข้าสู่บทเรียนใหม่ด้วยการทบทวนบทเรียนเก่าเพื่อให้เราสามารถเรียนตามทันเพื่อนได้ ฉะนั้นเราต้องพยายามมาเรียนทุกครั้งและขาดเรียนเฉพาะตอนที่เราป่วยหนักจนมาเรียนไม่ไหวเท่านั้น
    • ถ้าเราจำเป็นต้องขาดเรียน ในวันที่มาเรียนอย่าลืมขอยืมสมุดจดเนื้อหาจากเพื่อน ขอให้เพื่อนช่วยติวเนื้อหาส่วนที่เราขาดเรียนให้ และถามว่าอาจารย์ให้การบ้านอะไรบ้างไหม
  2. การส่งเสียงดังในชั้นเรียนไม่เพียงทำให้เราเรียนไม่รู้เรื่องเท่านั้น แต่ยังเป็นการรบกวนผู้อื่นด้วย เคารพ ครูและเพื่อนร่วมชั้น ตั้งใจเรียนและไม่ส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น การตั้งใจเรียนในห้องอย่างสม่ำเสมอจะทำให้คุณครูเห็นว่าเรามีความมุ่งมั่นตั้งใจ และถ้าเราประสบปัญหาด้านการเรียน ท่านก็ย่อมอยากที่จะช่วยเหลือ
  3. เราอาจเกิดอยากดูหน้าจอมือถือก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากเราได้รับข้อความหรืออีเมล ปิดเสียงและเก็บไว้ในที่ซึ่งเอื้อมถึงลำบาก เราจะได้ไม่อยากหยิบมันขึ้นมาดูมากนัก การเอาแต่เล่นมือถือระหว่างเรียนนอกจากจะเป็นการไม่เคารพครูผู้สอนแล้ว ยังทำให้เราไม่ตั้งใจเรียนและในที่สุดผลการเรียนก็จะออกมาไม่ดี
    • พยายามอย่าทำอะไรอย่างอื่นในเวลาเรียนเช่น ส่งโน้ตให้เพื่อนหรืออ่านอะไรที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่กำลังเรียนอยู่
  4. 4
    พยายามอย่าคุยกับเพื่อนในเวลาเรียน. ถ้าเราอยากตั้งใจเรียน เราก็อย่าชวนเพื่อนคุยและปรามเพื่อนไว้เมื่อเพื่อนชวนเราคุยระหว่างเรียน ให้พยายามไม่สนใจเวลาเพื่อนกระซิบกระซาบกันหรือส่งโน้ตให้กันระหว่างเรียน พยายามให้เพื่อนเห็นว่าเราตั้งใจเรียนมากแค่ไหนในชั่วโมงเรียนและตกลงกับเพื่อนว่าจะไม่มีการชวนคุยระหว่างที่คุณครูกำลังสอน พวกเขาจะได้ไม่รบกวนเราในชั่วโมงเรียน
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,686 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา