ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

บทวิจารณ์บทความเป็นทั้งบทสรุปและการประเมินบทความของนักเขียนอีกคนหนึ่ง ครูมักสั่งให้เขียนบทวิจารณ์บทความบ่อยๆ เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักงานเขียนของผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญยังมักถูกขอให้วิจารณ์งานของเพื่อนร่วมอาชีพคนอื่นๆ ด้วย การเข้าใจประเด็นหลักและข้อโต้แย้งในบทความเป็นสิ่งสำคัญต่อการสรุปที่ถูกต้อง การประเมินประเด็นหลัก ข้อโต้แย้งสนับสนุน และผลที่ตามมาของบทความต่องานวิจัยอื่นๆ อย่างสมเหตุสมผลเป็นส่วนสำคัญของบทวิจารณ์ บทความนี้เสนอแนวทางในการเขียนบทวิจารณ์บทความให้กับคุณ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

เตรียมเขียนบทวิจารณ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บทวิจารณ์บทความเขียนขึ้นให้ผู้อ่านที่มีความรู้ในเรื่องนั้นๆ ไม่ใช่ผู้อ่านทั่วไป [1] เวลาที่คุณเขียนบทวิจารณ์บทความ คุณจะต้องสรุปประเด็นหลัก ข้อโต้แย้ง มุมมอง และผลลัพธ์ จากนั้นก็วิจารณ์ผลงานของบทความนี้ที่มีต่อสาขาวิชาและประสิทธิภาพของบทความในภาพรวม
    • บทวิจารณ์บทความไม่ได้นำเสนอแค่ความคิดเห็น คุณจะต้องอ่านงานอย่างละเอียดเพื่อโต้ตอบความคิดของผู้เขียนที่เป็นนักวิชาการ คุณโต้ตอบบทความและใช้ความคิด ทฤษฎี และงานวิจัยจากการศึกษาของคุณ บทวิจารณ์บทความของคุณจะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักฐานและการให้เหตุผลจากการคิดวิเคราะห์ของคุณ
    • บทวิจารณ์บทความจะโต้ตอบงานวิจัยของผู้เขียนเท่านั้น ไม่ได้กล่าวถึงงานวิจัยใหม่ [2]
    • บทวิจารณ์บทความจะทั้งสรุปและประเมินบทความ
  2. ก่อนที่คุณจะอ่านบทความที่คุณต้องวิจารณ์ คุณต้องเข้าใจก่อนว่าบทวิจารณ์ของคุณจะมีโครงสร้างแบบไหน วิธีนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจว่าจะต้องอ่านบทความอย่างไร เพื่อที่คุณจะได้เขียนบทวิจารณ์ที่มีประสิทธิภาพได้ บทวิจารณ์ของคุณจะแบ่งเป็นส่วนๆ ดังต่อไปนี้ :
    • สรุปบทความ เน้นไปที่ประเด็น สิ่งที่กล่าวอ้าง และข้อมูลที่สำคัญ
    • กล่าวถึงมุมที่เป็นบวกของบทความ ลองคิดดูว่ามีอะไรที่ผู้เขียนทำได้ดี ประเด็นดีๆ ที่ผู้เขียนกล่าวถึง และการตั้งข้อสังเกตที่แสดงถึงความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง
    • ระบุข้อขัดแย้ง ช่องโหว่ และสิ่งที่ไม่สอดคล้องกันในบทความ [3] ดูว่าในบทความมีข้อมูลหรืองานวิจัยที่สนับสนุนข้อกล่าวอ้างของผู้เขียนอย่างเพียงพอหรือเปล่า หาคำถามที่ยังไม่ได้รับคำตอบในบทความ
  3. เริ่มจากดูชื่อบทความ บทคัดย่อ บทนำ หัวเรื่อง ประโยคแรกๆ ของแต่ละย่อหน้า และบทสรุป จากนั้นอ่าน 2-3 ย่อหน้าแรกแล้วตามด้วยบทสรุป [4] ขั้นตอนเหล่านี้น่าจะช่วยให้คุณเริ่มระบุข้อโต้แย้งหลักและประเด็นหลักได้ จากนั้นอ่านบทความทั้งหมด รอบแรกที่อ่านให้อ่านเพื่อดูภาพรวมก่อน ก็คือมองหาข้อโต้แย้งโดยรวมและประเด็นที่บทความยกขึ้นมา
    • จดคำหรือประเด็นที่คุณไม่เข้าใจและคำถามที่คุณมี
    • ค้นหาคำหรือแนวคิดที่คุณไม่คุ้นเคยเพื่อให้คุณเข้าใจบทความอย่างถ่องแท้
  4. อ่านบทความครั้งที่ 2 และ 3 ใช้ปากกาไฮไลต์หรือปากกาธรรมดาจดหรือเน้นส่วนที่สำคัญ ไฮไลต์ประเด็นหลักและข้อเท็จจริงที่มาสนับสนุน [5]
    อย่า: ไฮไลต์ทุกย่อหน้า ไฮไลต์แค่ประเด็นหลัก
    จง: เสริมประเด็นที่สำคัญที่สุดด้วยการจดโน้ตหรือรายการโยงที่ผู้อ่านให้ไปอ่านอีกตอนหนึ่ง
    • เชื่อมโยงสิ่งที่คุณอ่านในบทความกับความรู้ในหัวข้อที่คุณมีอยู่ คิดถึงสิ่งที่คุณอภิปรายในห้องหรือบทความอื่นๆ ที่คุณเคยอ่าน บทความนี้สอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับความรู้เดิมของคุณ บทความนี้ต่อยอดมาจากความรู้อื่นๆ ในสาขาวิชาหรือเปล่า ระบุบทความที่คุณกำลังวิจารณ์ว่าเหมือนและแตกต่างจากบทความอื่นๆ ในสาขาวิชานี้ที่คุณเคยอ่านมาอย่างไร
    • เน้นที่วัตถุประสงค์ของบทความอย่างละเอียด คุณต้องเข้าใจบทความอย่างถ่องแท้ ทางเดียวที่จะเขียนบทวิจารณ์บทความที่ดีได้คือต้องเข้าใจบทความ
  5. คุณสามารถทำวิธีนี้ได้โดยการเขียนย่อหน้าหรือโครงร่างไปเรื่อยๆ โดยไม่ต้องคำนึงถึงภาษา เริ่มจากการเรียบเรียงบทความด้วยภาษาของคุณเอง เน้นไปที่ข้อโต้แย้ง งานวิจัย และข้อกล่าวอ้างที่ยกมาในบทความ คุณต้องเขียนประเด็นสำคัญลงไปให้หมด และคุณต้องเขียนอย่างถูกต้องด้วย
    อย่า: เสียเวลาแก้ไขหรือเรียบเรียงคำใหม่ เพราะคุณเขียนให้ตัวเองอ่านเท่านั้น
    จง: เขียนโดยใช้โครงสร้างที่ชัดเจนและเป็นเหตุเป็นผลเพื่อทดสอบความเข้าใจของคุณ
    • ไม่ว่าจะใช้วิธีไหน ให้เขียนโครงร่างที่ประกอบด้วยประเด็นสำคัญที่ยกขึ้นมาในบทความ และงานวิจัยหรือข้อโต้แย้งที่มาสนับสนุน จำเป็นอย่างยิ่งที่คุณจะต้องกล่าวประเด็นหลักในบทความซ้ำและต้องไม่ใส่ความคิดเห็นของคุณเข้าไป
    • หลังจากเรียบเรียงบทความด้วยภาษาของคุณแล้ว ให้เลือกว่าคุณจะอภิปรายส่วนไหนของบทความในบทวิจารณ์ของคุณ คุณอาจจะเน้นไปที่แนวคิดเชิงทฤษฎี เนื้อหา การนำเสนอ หรือการตีความหลักฐาน หรือรูปแบบการเขียน คุณจะต้องอภิปรายประเด็นหลักของบทความอยู่แล้ว แต่บางครั้งคุณก็สามารถเน้นไปที่บางมุมมองของบทความได้เช่นกัน ซึ่งจะมีประโยชน์มากหากคุณอยากจะเน้นการวิจารณ์ให้เป็นไปในทิศทางของเนื้อหาวิชาเรียน [6]
    • อ่านทวนโครงร่างบทสรุปเพื่อตัดส่วนที่ไม่สำคัญออก ลบหรือขีดฆ่าข้อโต้แย้งที่ไม่ค่อยสำคัญหรือข้อมูลเสริม
  6. อ่านทวนแต่ละประเด็นในบทสรุปของบทความเพื่อดูว่าผู้เขียนเขียนได้อย่างถูกต้องและชัดเจนไหม จดตัวอย่างของการเขียนที่มีประสิทธิภาพ ประเด็นใหม่ๆ ของบทความนี้ที่มีต่อสาขาวิชา รวมไปถึงส่วนที่ต้องปรับปรุงในบทความ เขียนรายการจุดแข็งและจุดอ่อน จุดแข็งของบทความอาจจะเป็นการนำเสนอบทสรุปของประเด็นใดประเด็นหนึ่งได้อย่างชัดเจน ส่วนจุดอ่อนของบทความก็อาจจะเป็นการที่บทความไม่ได้นำเสนอข้อมูลใหม่ๆ หรือวิธีแก้ปัญหา ใช้ตัวอย่างและแหล่งอ้างอิงที่เจาะจง เช่น บทความอาจจะรายงานข้อเท็จจริงของงานวิจัยที่โด่งดังผิดไป จดข้อสังเกตนี้ลงไปโครงร่างของคุณและค้นหาข้อเท็จจริงในงานวิจัยเพื่อยืนยันข้อสังเกตของคุณ นึกถึงคำถามต่อไปนี้เพื่อช่วยให้คุณวิจารณ์และเข้าใจบทความได้มากขึ้น :
    • บทความนี้เริ่มด้วยวัตถุประสงค์อะไร
    • กรอบทฤษฎีหรือข้อสันนิษฐานคืออะไร
    • บทความอธิบายประเด็นหลักชัดเจนหรือไม่
    • หลักฐานเพียงพอแค่ไหน
    • บทความสอดคล้องกับเอกสารข้อมูลและสาขาวิชาอย่างไร
    • บทความนี้ช่วยขยายความรู้ในสาขาวิชาหรือไม่
    • ผู้เขียนเขียนชัดเจนแค่ไหน [7]
      อย่า: ใส่ความคิดเห็นที่ผิวเผินหรือการโต้ตอบส่วนตัวของคุณเอง
      จง: เน้นไปที่อคติของคุณเอง เพื่อให้คุณเอาชนะมันได้
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

เขียนบทวิจารณ์บทความ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คิด ชื่อบทความ . ชื่อบทความควรสะท้อนประเด็นหลักของบทวิจารณ์ ตัดสินใจว่าจะตั้งชื่อเรื่องบทความแบบบอกเล่า บรรยาย หรือคำถาม [8]
  2. ใต้ชื่อบทความ ให้ใส่การอ้างอิงบทความตามรูปแบบมาตรฐาน [9] แล้วเริ่มเขียนบทวิจารณ์อีกบรรทัดหนึ่ง อย่าข้ามบรรทัดระหว่างการอ้างอิงกับประโยคแรก
    • เช่น การอ้างอิงแหล่งข้อมูลแบบ MLA จะใช้รูปแบบนี้: Duvall, John N. "The (Super)Marketplace of Images: Television as Unmediated Mediation in DeLillo's White Noise ." Arizona Quarterly 50.3 (1994): 127-53. Print.
  3. เริ่มการวิจารณ์ด้วยการอ้างอิงถึงชื่อเรื่องและผู้เขียนบทความ ชื่อวารสาร และปีที่พิมพ์ในย่อหน้าแรก
    • เช่น ในบทความ "การใช้ถุงยางอนามัยจะเพิ่มการระบาดของโรคเอดส์" โดย Anthony Zimmerman นักบวชคาทอลิก
  4. บทนำของบทวิจารณ์บทความจะต้องมีประโยคที่ระบุลักษณะของบทความ นอกจากนี้ยังต้องกล่าวถึงประเด็นหลักของบทความ ข้อโต้แย้ง ข้อกล่าวอ้างของผู้เขียน และต้องกล่าวถึงข้อสมมุติของผู้เขียนด้วย บางครั้งข้อสมมุติเองก็มีหลายประเด็น หรือบทความอาจจะไม่ได้บอกข้อสมมุติตรงๆ คุณจึงต้องระบุข้อสมมุตินั้นด้วยตัวเอง [10]
    อย่า: เขียนโดยใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 ("ฉัน/ผม")
    จง: เขียนลักษณะโดยภาพรวมของบทความโดยใช้สรรพนามบุรุษที่ 3 และใช้รูปแบบการเขียนที่เป็นทางการตามหลักวิชาการ
    • บทนำควรอยู่ระหว่าง 10-25% ของบทวิจารณ์เท่านั้น [11]
    • จบบทนำด้วยข้อสมมุติของคุณ ข้อสมมุติของคุณควรกล่าวถึงประเด็นในข้างต้น เช่น แม้ว่าผู้เขียนจะยกประเด็นบางประเด็นขึ้นมาได้เป็นอย่างดี แต่บทความของเขาก็มีอคติและตีความข้อมูลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของถุงยางอนามัยของคนอื่นผิดไปอยู่บ้าง [12]
  5. เขียนถึงประเด็นหลัก ข้อโต้แย้ง และผลลัพธ์ของบทความด้วยภาษาของคุณ โดยใช้การเขียนสรุปของคุณเป็นตัวช่วย แสดงให้เห็นว่าบทความนี้สนับสนุนข้อกล่าวอ้างอย่างไร และอย่าลืมใส่บทสรุปของบทความลงไปด้วย การสรุปบทความอาจกินเนื้อที่หลายย่อหน้า โดยที่ความยาวจะขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของอาจารย์หรือสำนักพิมพ์
    อย่า: ใส่ตัวอย่างที่เจาะจง สถิติ หรือข้อมูลพื้นฐานที่ผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ รู้อยู่แล้ว
    จง: จับประเด็นหลักของแต่ละส่วนตามกำหนดเรื่องจำนวนหน้า
    • ใช้คำพูดอ้างอิงของผู้เขียนโดยตรงเพียงเล็กน้อย
    • อ่านทวนบทสรุปที่เขียนไป อ่านทวนบทสรุปหลายๆ ครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าคำที่คุณเขียนลงไปนั้นอธิบายบทความของผู้เขียนได้อย่างถูกต้อง
  6. ใช้โครงร่างความคิดเห็นของคุณในการเขียนย่อหน้าที่อธิบายว่า ผู้เขียนเขียนถึงหัวข้อนี้ได้ดีแค่ไหน แสดงความคิดเห็นของคุณว่าบทความนี้เป็นการอธิบายหัวข้อได้อย่างชัดเจน ละเอียด และมีประโยชน์หรือไม่ นี่คือแกนหลักของบทวิจารณ์ของคุณ ประเมินประโยชน์และความสำคัญของบทความที่มีต่อสาขาวิชา [13] ประเมินประเด็นหลักและข้อโต้แย้งในบทความ ตัดสินว่าประเด็นของผู้เขียนสนับสนุนข้อโต้แย้งของเธอหรือไม่ ระบุอคติในบทความ ตัดสินว่าคุณเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับผู้เขียน จากนั้นแสดงสิ่งที่มาสนับสนุนว่าทำไมคุณถึงเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างเพียงพอ จบการวิจารณ์ด้วยการแนะว่าผู้อ่านกลุ่มไหนที่จะได้ประโยชน์จากการอ่านบทความนี้
    อย่า: อย่าใส่คำวิจารณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องยาวเหยียดในบทวิจารณ์
    จง: ขมวดสิ่งที่คุณไม่ชอบและคำชมเข้าด้วยกันในรูปแบบของข้อโต้แย้งที่สอดคล้องกัน จนกลายเป็นข้อสมมุติของคุณเอง
    • สนับสนุนคำวิจารณ์ของคุณด้วยหลักฐานในบทความหรือข้อมูลอื่นๆ
    • ส่วนที่เป็นบทสรุปนั้นสำคัญต่อคำวิจารณ์ของคุณมาก คุณต้องเขียนข้อโต้แย้งของผู้เขียนให้ชัดเจนในส่วนของบทสรุปเพื่อให้การประเมินของคุณสมเหตุสมผล [14]
    • จำไว้ว่า นี่ไม่ใช่พื้นที่ที่คุณจะพูดว่าชอบหรือไม่ชอบบทความนี้ แต่คุณกำลังประเมินความสำคัญและความเกี่ยวข้องของบทความ [15]
    • ใช้ประโยคแสดงความคิดหลักและข้อโต้แย้งที่มาสนับสนุนในแต่ละความคิดเห็น เช่น คุณอาจจะพูดถึงจุดแข็งข้อหนึ่งในประโยคแรกของส่วนแสดงความคิดเห็น ตามด้วยประโยคที่อธิบายความสำคัญของประเด็นนั้นอีกหลายๆ ประโยค
  7. สรุปประเด็นสำคัญของบทความ ความคิดเห็นของคุณที่มีต่อความสำคัญ ความถูกต้อง และความชัดเจนของบทความใน 1 ย่อหน้า และถ้าหากว่ามันเกี่ยวข้องกัน ก็ให้เขียนประโยชน์ของบทความที่มีต่องานวิจัยในอนาคตหรือการอภิปรายในสาขาวิชาด้วย
    • ส่วนนี้ควรกินพื้นที่แค่ 10% ของบทความทั้งหมด
    • เช่น บทวิจารณ์นี้ได้ประเมินบทความ "การใช้ถุงยางอนามัยจะเพิ่มการระบาดของโรคเอดส์" โดย Anthony Zimmerman ข้อโต้แย้งในบทความนี้แสดงให้เห็นถึงความลำเอียง อคติ และการเขียนโต้แย้งโดยขาดการให้รายละเอียดสนับสนุนและข้อมูลที่ผิด ซึ่งประเด็นเหล่านี้ทำให้ข้อโต้แย้งของผู้เขียนมีน้ำหนักน้อยลงและทำให้ความเชื่อถือของผู้เขียนลดลงด้วย [16]
  8. อ่านบทวิจารณ์ทวนอีกครั้ง มองหาข้อผิดพลาดด้านหลักภาษา โครงสร้างภาษา และการใช้ภาษา อย่าลืมตัดข้อมูลเพิ่มเติมที่ไม่จำเป็นออกไป
    • คุณต้องระบุและอภิปรายประเด็นหลัก 3-4 ประเด็นในบทความ [17]
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 45,912 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา