ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การสะสมงานศิลปะเป็นงานอดิเรกที่มีค่าใช้จ่ายสูง แต่ผู้ชื่นชมผลงานศิลปะที่มีสายตาแหลมคมดุจเยี่ยวย่อมคว้าผลงานชิ้นเอกมูลค่ามหาศาลมาได้ในราคาแสนถูก ไม่ว่าคุณจะกำลังล่าสมบัติที่ร้านขายของมือสองหรือประเมินราคาที่งานจัดแสดงผลงานศิลปะ การรู้วิธีที่จะระบุว่าภาพวาดชิ้นนั้นเป็นของแท้หรือไม่และมีมูลค่าเท่าไหร่ย่อมช่วยให้คุณได้ของแท้ในราคาย่อมเยาท่ามกลางของปลอมและภาพพิมพ์ใหม่จำนวนมหาศาล

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

ค้นหาผลงานที่มีมูลค่าสูง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สำหรับหลายคนเป้าหมายของการล่าผลงานศิลปะก็คือ การหาผลงานชิ้นเอกที่สูญหายไปจากศิลปินผู้เป็นที่รัก แม้ว่าคุณคงไม่เจอผลงานของโมเนต์หรือเฟอร์เมร์ แต่คุณก็อาจจะบังเอิญเจอเพชรที่ซ่อนอยู่ที่เป็นผลงานของศิลปินที่เป็นที่รู้จักน้อยกว่าหรือโด่งดังในระดับภูมิภาคก็ได้ [1]
    • ผลงานของศิลปินที่ไปโผล่ที่ร้านขายของมือสองได้แก่ เบน นิโคลสัน, อิลยา โบโลโตว์สกี, จีโอวานนี บาตติสตา โตรียา, อเล็กซานเดอร์ คาลเดอร์ หรือแม้แต่ปาโบล ปิกาโซ
    • เพราะฉะนั้นคุณก็จะรู้ว่าต้องมองหาภาพวาดแบบไหน ศึกษาเกี่ยวกับศิลปินต่างๆ จากการไปเยี่ยมชมหอศิลป์ท้องถิ่น พิพิธภัณฑ์ศิลปะ และฐานข้อมูลออนไลน์ เช่น Web Gallery of Art (ภาษาอังกฤษ)
  2. ค้นหาภาพวาดผ่านทางโทรศัพท์มือถือเพื่อดูว่ามีอะไรขึ้นมาบ้าง. ถ้าคุณบังเอิญเจอผลงานที่คุณคิดว่าน่าจะมีมูลค่า ให้ลองค้นหาใน Google หรือโปรแกรมค้นหาแบบเดียวกัน ถ้าภาพวาดภาพนั้นปรากฏในโปรแกรมค้นหา ก็แสดงว่าคุณเจอของล้ำค่าเข้าแล้ว [2]
    • ถ้าคุณไม่รู้จักชื่อภาพ ให้ค้นด้วยคำบอกลักษณะ เช่น คุณสามารถค้นหาภาพ The Blue Boy ของทอมัส เกนส์เบรอได้ด้วยการใส่คำว่า “ภาพวาด” “เด็ก” และ “สีฟ้า”
    • ถ้าคุณสามารถถ่ายภาพภาพวาดชิ้นนั้นแบบความละเอียดสูงได้ ลองเข้าไปค้นหาที่ต้นแหล่งของภาพใน Google ได้ที่ https://reverse.photos วิธีนี้จะช่วยให้กระบวนการค้นหาง่ายขึ้น
  3. ซื้อภาพพิมพ์ที่เป็นผลงานที่มีจำนวนจำกัดและมีลายเซ็น. แม้ว่าภาพพิมพ์ผลงานศิลปะส่วนใหญ่จะแทบไม่มีหรือไม่มีมูลค่าที่เป็นตัวเงินเลย แต่บางภาพก็เป็นข้อยกเว้นที่รู้กันดี มองหาภาพพิมพ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของผลงานที่มีจำนวนจำกัด หมายความว่าศิลปินทำสำเนาไว้เพียงเล็กน้อย และภาพพิมพ์ที่มีลายเซ็นมือของศิลปินตรงด้านหน้าหรือด้านหลังของภาพ [3]
    • ภาพพิมพ์ที่มีจำนวนจำกัดส่วนใหญ่จะมีตัวเลขที่ระบุว่า คุณได้สำเนาฉบับที่เท่าไหร่และมีทั้งหมดกี่สำเนา
  4. อย่าซื้อภาพวาดขนาดเล็กและภาพที่ดูไม่ค่อยออกว่าเป็นภาพอะไรถ้าคุณตั้งใจจะนำไปขายต่อ. อย่าซื้อภาพวาดที่ขนาดเล็กมากๆ หรือดูไม่ค่อยออกว่าเป็นภาพอะไรจนเข้าข่ายศิลปะนามธรรม ยกเว้นว่าคุณจะบังเอิญเจอผลงานดั้งเดิมของศิลปินชื่อดังจริงๆ ภาพวาดเหล่านี้อาจจะสวยก็จริง แต่กลุ่มคนที่ชอบไม่ได้มากเท่าภาพวาดตามแบบฉบับขนาดใหญ่ เพราะฉะนั้นมันก็จะขายยาก
    • ข้อนี้สำคัญมากเป็นพิเศษหากคุณตั้งใจจะขายภาพวาดทางออนไลน์ เพราะผลงานศิลปะชิ้นเล็กๆ แนวนามธรรมนั้นถ้าถ่ายเป็นภาพดิจิทัลจะดูไม่ค่อยออก
  5. แม้ว่าคุณจะตัดสินได้แล้วว่าภาพนั้นไม่มีราคา แต่อย่าลืมดูกรอบก่อนมุ่งหน้าไปที่ภาพถัดไป เพราะกรอบรูปโดยตัวมันเองก็เป็นผลงานศิลปะเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นกรอบรูปวินเทจหรือทำขึ้นอย่างประณีตก็อาจจะมีมูลค่ามากก็ได้ไม่ว่าภาพข้างในจะเป็นอะไรก็ตาม มองหากรอบรูปที่: [4]
    • แกะสลักด้วยมือ
    • ลวดลายซับซ้อนหรือเป็นเอกลักษณ์
    • ชุบทอง
    • รอยสึกหรอเล็กน้อยและสิ่งที่บ่งบอกถึงความเก่า
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

ดูว่าภาพวาดเป็นของแท้หรือไม่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บ่อยครั้งวิธีการที่ง่ายที่สุดในการระบุว่าภาพวาดนั้นเป็นของแท้หรือไม่ก็คือ การมองหาลายเซ็นต้นฉบับของศิลปินที่อยู่ด้านหน้าหรือด้านหลัง โดยมองหาลายเซ็นมือหรือลายเซ็นพู่กันที่เติมลงไปบนภาพ ถ้าภาพวาดไม่มีลายเซ็นหรือถ้าลายเซ็นดูราบไปกับภาพและไม่ใช่ลายเซ็นมือ ก็เป็นไปได้มากว่าจะเป็นภาพพิมพ์ซ้ำหรือของปลอม [5]
    • ถ้าคุณรู้จักชื่อศิลปิน ลองค้นหาในอินเทอร์เน็ตแล้วดูว่าลายเซ็นของเขาตรงกับที่อยู่บนภาพวาดไหม
    • ลายเซ็นเป็นสิ่งที่ปลอมได้ง่าย เพราะฉะนั้นอย่าตรวจสอบด้วยวิธีนี้เพียงอย่างเดียว
  2. ก่อนซื้อภาพวาด ให้ใช้แว่นขยายส่องหาจุดกลมสมบูรณ์แบบเล็กๆ ที่เรียงกันเป็นตารางก่อน ถ้าเจอก็แสดงว่าเป็นภาพพิมพ์ซ้ำที่พิมพ์จากเครื่องพิมพ์เลเซอร์ [6]
    • แต่วิธีนี้ก็ใช้ได้กับภาพพิมพ์ทั่วไปเท่านั้น แต่ระวังไว้ด้วยว่ามันไม่สามารถใช้ตรวจสอบภาพพิมพ์ซ้ำแบบ Giclee ที่คุณภาพสูงกว่าได้
    • แต่ถ้าเป็นภาพวาดที่ใช้เทคนิคผสานจุดสี จุดจะมีขนาดและรูปร่างแตกต่างกัน ไม่เหมือนการพิมพ์แบบเลเซอร์
  3. เวลาที่ดูว่าภาพสีน้ำมันเป็นของแท้หรือไม่ ให้ดูว่าพื้นผิวมันตะปุ่มตะป่ำหรือมีคลื่นแปรงหรือไม่ ถ้าพื้นผิวขรุขระอย่างเห็นได้ชัด ก็เป็นไปได้มากๆ ว่าจะเป็นของแท้ แต่ถ้าพื้นผิวราบเรียบไม่มีที่ติ ก็แสดงว่าคุณกำลังดูภาพเลียนแบบอยู่ [7]
    • ถ้าภาพวาดมีจุดขรุขระแค่หนึ่งหรือสองจุด ก็อาจจะเป็นของปลอมที่พยายามทำให้ดูเหมือนของจริง
  4. ในการดูว่าภาพวาดสีน้ำเป็นของจริงหรือไม่นั้น ให้ถือภาพวาดเอียงๆ แล้วสังเกตฝีแปรงให้ดี ถ้ากระดาษรอบๆ ฝีแปรงหลักดูขรุขระ ก็เป็นไปได้ว่าเป็นผลงานต้นฉบับ แต่ถ้ามันเรียบเป็นเนื้อเดียวกันไปเลย ก็เป็นได้มากๆ ว่าเป็นภาพเลียนแบบ [8]
  5. ส่วนใหญ่ศิลปินที่วาดภาพลงบนผ้าใบอาจจะลงฝีแปรงตามแนวขอบของภาพวาดแบบหยาบๆ หรือไม่เท่ากัน และพวกเขาก็มักจะไม่ค่อยกลับมาแต่งบริเวณพวกนี้สักเท่าไหร่เพราะคนดูก็ไม่ค่อยมองตรงนี้อยู่แล้ว ดังนั้นถ้าภาพวาดบนผ้าใบมีขอบที่เรียบเสมอกัน ก็เป็นไปได้มากๆ ว่าเป็นภาพเลียนแบบจากโรงงาน [9]
  6. ตรวจดูด้านหลังของกรอบรูปเพื่อหาสิ่งที่บ่งบอกถึงอายุ. บ่อยครั้งที่ด้านหลังของกรอบรูปบอกอะไรเกี่ยวกับภาพวาดได้มากกว่าตัวผลงานเสียอีก มองหากรอบรูปสีเข้มและมีสิ่งที่บ่งบอกถึงอายุอย่างชัดเจน เช่น แลกเกอร์ลอกออกมาและร่องรอยการสึกหรอที่ตัวไม้ ยิ่งกรอบรูปเก่าเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสที่ภาพข้างในจะเป็นของจริง [10]
    • ถ้าด้านหลังของกรอบรูปเป็นสีเข้มเสียส่วนใหญ่แต่ก็มีเส้นสีอ่อนปนอยู่ด้วยเล็กน้อย ก็เป็นไปได้ว่าภาพวาดเป็นของจริงแต่อาจต้องมีการปรับแต่งใหม่ในบางจุด
    • กรอบรูปเก่าหลายอันจะมีรูปตัว X หรือ H อยู่ด้านหลัง ซึ่งไม่ค่อยพบในกรอบรูปร่วมสมัย
  7. ถ้าเขาใช้ตะปูในการยึดภาพวาดหรือถ้าคุณเห็นรอยตะปูรอบกรอบรูป เป็นไปได้มากว่าภาพวาดจะเป็นผลงานต้นฉบับตั้งแต่ก่อนปี 1940 แต่ถ้าสิ่งที่ใช้ยึดเป็นลูกแม็กซ์ ก็เป็นไปได้มากๆ ว่าจะเป็นภาพเลียนแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นภาพเก่าหรือไม่มีร่องรอยของการยึดด้วยตะปูก่อนหน้านี้
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,678 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา