ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ไม่ว่าใครก็ต้องเคยวางของไม่เป็นที่กันบ้างแหละ แต่ไม่ว่ายังไงมันก็น่าหงุดหงิดอยู่ดีเวลาหาของไม่เจอ เป็นเรื่องปกติที่คุณจะโมโหตัวเองที่จำไม่ได้ว่าเอาของไปวางไว้ตรงไหนและต้องมาเสียเวลาพลิกแผ่นดินหา แต่ถึงโมโหไปก็ไม่ได้ช่วยให้หาเจออยู่ดี ใจเย็นๆ ค่อยๆ นึกย้อนว่าตัวเองทำอะไรบ้าง และค้นหาของให้ทั่วอย่างมีหลักการในจุดที่คุณคิดว่าของน่าจะอยู่แถวนั้น คุณจะได้หาของเจอไวๆ

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ค้นหาตรงบริเวณที่ของหายบ่อยๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. งานวิจัยยืนยันสิ่งที่คุณน่าจะเดาได้อยู่แล้วว่า ของที่หายมักจะวางไว้ไม่เป็นที่ในบริเวณที่รกที่สุดในบ้านหรือที่ทำงาน ค้นหาบริเวณที่รกรุงรังอย่างเป็นระเบียบ ค่อยๆ เอาของออกมาทีละชิ้นและวางไว้ข้างๆ เพื่อดูว่ามีของที่หาอยู่หรือเปล่า [1]

    เคล็ดลับ : ค่อยๆ ตรวจดูให้ดี เพราะการทำให้บริเวณที่รกอยู่แล้วยิ่งรกขึ้นไปอีกจะยิ่งทำให้คุณหาของไม่เจอ ขณะหาของให้กำหนดพื้นที่โล่งๆ สำหรับวางของทุกชิ้น มันจะได้ไม่ปนกับของที่คุณยังไม่ได้ตรวจดู

  2. คุณอาจจะบังเอิญเอาของชิ้นใหญ่กว่าวางทับของชิ้นเล็กกว่าก็ได้ ซึ่งบ่อยครั้งคุณจะไม่ทันรู้ตัวด้วยซ้ำว่าคุณเอาอะไรไปวางทับไว้ ย้ายสิ่งของออกจากพื้นผิวต่างๆ และตรวจดูข้างใต้ให้ดีเพื่อให้แน่ใจว่าของที่หายไม่ได้อยู่ข้างใต้
    • เช่น คุณอาจจะวางกองกระดาษทับโทรศัพท์เอาไว้ หรือโยนกุญแจไว้ใกล้เครื่องประดับที่มองเผินๆ แล้วแยกไม่ออก

    มองหาในจุดเล็กๆ

    ในรถ : อย่าลืมค้นหาตรงพรมปูพื้น ใต้ที่นั่ง กระโปรงหลังรถ และซอกเล็กซอกน้อยระหว่างคอนโซลกลางและที่นั่ง หรือคุณจะหาตรงหลังคารถด้วยก็ได้ เพราะคุณอาจจะเผลอวางแว่นกันแดด เครื่องดื่ม หรือแม้แต่โทรศัพท์ไว้บนหลังคารถแล้วลืมไปเลย

    ตรงบริเวณห้องนั่งเล่น : ค้นหาซอกระหว่างเบาะรองโซฟาหรือใต้โซฟาและเก้าอี้ ถ้าคุณชอบนอนเหยียดแข้งเหยียดขา ของที่คุณหาก็อาจจะหล่นลงไปติดอยู่ตามซอกก็ได้

    เคล็ดลับ : ลองนึกดูว่าของชิ้นนั้นมันใหญ่แค่ไหนและมันน่าจะไปติดอยู่ตรงไหนได้พอดีโดยที่คุณไม่ทันนึก อย่าลืมตรวจดูตรงตู้เก็บของ ชั้นวางของแน่นเอี๊ยด และบนพื้น

  3. ตรวจดูซอกเล็กซอกน้อยเพื่อให้แน่ใจว่าของไม่ได้หล่นลงไปติดอยู่ในนั้น. คุณมักจะเจอของที่หายไปในรถ ติดอยู่ในร่องโซฟา หรือตกอยู่ตามมุมพื้น จำกัดพื้นที่ค้นหาให้แคบลงเหลือแค่บริเวณที่ของน่าจะอยู่ตรงนั้นมากที่สุด ที่สุดท้ายที่คุณจำได้ว่าของอยู่ตรงนั้น และทุกที่ที่คุณอาจเอาของไปวางไว้ แล้วค้นหาทุกซอกทุกมุมให้ทั่ว [2]
  4. คุณมักทำของชิ้นนี้หายบ่อยๆ หรือเปล่า ถ้าเป็นอย่างนั้น มันก็อาจจะอยู่ตรงที่ที่คุณหามันเจอครั้งล่าสุดก็ได้ ลองนึกว่าของชิ้นนี้มันมักจะไปอยู่ตรงไหนและค้นหาบริเวณนั้นให้ทั่ว นอกจากนี้คุณก็อาจจะค้นหาตรงบริเวณที่คุณมักจะทำของที่มีขนาด รูปร่าง หรือการใช้งานแบบเดียวกันหายด้วยก็ได้ [3]
    • เช่น คุณอาจจะเสียบกุญแจคาไว้ในแม่กุญแจ เจอแว่นตาคาดอยู่บนหัว หรือลืมกระเป๋าคอมพิวเตอร์ไว้ในรถ
    • เช่น ถ้าคุณทำแว่นกันแดดหาย ลองนึกดูว่าปกติแล้วแว่นกันแดดมักจะอยู่ตรงไหน โดยเฉพาะเวลาที่คุณคิดว่ามันหาย
  5. ถ้าคุณทำของหายนอกบ้าน คุณก็อาจจะสอบถามสถานที่ที่คุณไปในวันนั้นว่าเขามีการจัดเก็บของหายหรือเปล่า ที่นั่นอาจจะมีคนเอาของมาฝากคืนไว้และรอให้คุณมารับอยู่ก็ได้
    • สถานที่ที่มีบริเวณจัดเก็บของหายได้แก่ โรงเรียนและพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรม เช่น สนามกีฬา คอนเสิร์ต และโรงภาพยนตร์
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

แกะรอยของหาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เวลาทำของหายโดยเฉพาะของสำคัญ คุณอาจจะลนลานหรือด่วนสรุปไปว่าหาไม่เจอแล้วแน่ๆ แทนที่จะตื่นตระหนกหรือลุกลี้ลุกลนค้นหาไปทั่ว หาที่สงบๆ สบายๆ นั่งลงสักครู่และค่อยๆ เรียบเรียงความคิดให้ดี การปรับความสนใจเสียใหม่จะช่วยให้คุณจะกลับมามีสติเพื่อคิดอย่างเป็นระบบและค้นหาของที่หายไปได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด [4]

    ผ่อนคลายและตั้งสติ

    หายใจลึกๆ และทำจิตใจให้ปลอดโปร่งจากความคิดที่พลุ่งพล่าน

    คิดถึงสิ่งที่ช่วยคลายกังวล เช่น ทิวทัศน์ที่สวยงาม สถานที่ที่คุณรู้สึกอบอุ่นใจ หรือช่วงเวลาที่มีความสุข

    อย่าให้ความคิดลบมาบั่นทอนกำลังใจที่จะค้นหา แทนที่จะคิดว่า “คงหาไม่เจอแล้วล่ะ” ให้บอกตัวเองว่า “มันอยู่แถวนี้แหละ เดี๋ยวฉันก็หาเจอ”

  2. หลับตาและพยายามนึกถึงช่วงเวลาที่คุณเอาของไปวางไว้ผิดที่. นึกภาพช่วงเวลาที่คุณเห็นของชิ้นนั้นครั้งสุดท้ายในใจ คุณทำอะไรอยู่หรือว่ารู้สึกยังไง ใส่รายละเอียดเข้าไปให้ได้มากที่สุดแม้ว่าจะดูเล็กน้อยมากก็ตาม การพยายามนึกภาพความทรงจำให้ได้มากที่สุดจะช่วยให้คุณเจอรายละเอียดที่อาจเป็นกุญแจสำคัญที่บอกว่าของชิ้นนั้นอยู่ที่ไหน [5]
    • จำไว้ว่าตอนที่คุณเอาของไปวางผิดที่ คุณเองก็อยู่ตรงนั้น คุณจำได้ว่าของชิ้นนั้นอยู่ที่ไหนแม้ว่าจะมันเลือนรางมากก็ตาม ตั้งสติ หลับตา และคิดย้อนกลับไป
  3. กลับไปค้นหาจุดที่ของน่าจะอยู่ตรงนั้นและพื้นที่ติดกันอีกครั้ง. ถ้าคุณมักจะนำของที่หายไปวางไว้ตรงไหนสักแห่ง ให้ไปหาตรงนั้นก่อนแม้ว่าคุณจะแน่ใจว่ามันไม่ได้อยู่ตรงนั้น คุณอาจจะลืมว่าตัวเองเอากลับไปวางที่เดิมแล้ว หรือไม่ก็มีใครหยิบไปวางไว้ให้ จากนั้นก็ค้นหาพื้นที่ติดกันด้วย เผื่อว่าของชิ้นนั้นมันหล่นลงมาหรือคลาดสายตาไปเล็กน้อย [6]
    • เช่น เสื้อคลุมของคุณอาจจะหล่นลงมาจากตะขอที่คุณเกี่ยวไว้เป็นประจำ หรือกุญแจอาจจะอยู่ในลิ้นสักใต้เคาน์เตอร์ที่คุณวางกุญแจเป็นประจำก็ได้
    • คุณอาจรู้สึกว่าของมันย้ายที่ไปทั่วบ้าน แต่ส่วนใหญ่มันจะอยู่ไม่ไกลจากที่ที่มันควรจะอยู่เกิน 46 ซม. [7]
    • ถึงคุณจะคิดว่าของไม่ได้อยู่ตรงนี้หรอก แต่ก็ค้นหาให้ทั่ว ยกของขึ้นและค้นหาตามซอกมุมต่างๆ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้ตรงไหนที่คลาดสายตาไป
  4. มองหาบริเวณที่คุณใช้ของชิ้นนั้นครั้งสุดท้าย. ถ้าของชิ้นนั้นไม่ได้อยู่ตรงที่ที่มันควรจะอยู่ ให้นึกย้อนไปถึงความทรงจำที่สร้างขึ้นใหม่ในช่วงเวลาที่คุณใช้ของชิ้นนั้นครั้งสุดท้าย ไปตรงจุดนั้นและค้นหาให้ทั่วอีกครั้ง อย่าลืมค้นหาบริเวณใกล้เคียงด้วย [8]
    • ถ้าของไม่ได้อยู่ตรงนั้น หลับตาแล้วพยายามนึกว่าคุณอาจจะวางของชิ้นนั้นเอาไว้หรือถือไปที่อื่นหลังจากที่คุณใช้เสร็จแล้ว
    • เช่น คุณอาจจะจำได้ว่าตัวเองวางโทรศัพท์ไว้ในครัวตอนทำกับข้าว แต่หาในครัวแล้วก็ไม่เจอ ถามตัวเองว่าจำได้หรือเปล่าว่าก่อนกินข้าวได้ถือโทรศัพท์ไปที่โต๊ะด้วยไหม หรือว่าวางไว้ข้างอ่างล้างจานแล้วลืมไปเลย
  5. คนเรามักจะชินตากับสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคยจนพลาดรายละเอียดที่สำคัญไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อความกังวลเกาะกุมเวลาของหาย ย้อนกลับไปหาจุดแรกที่คุณเริ่มหาและพยายามเปลี่ยนมุมใหม่ การได้มองสิ่งต่างๆ จากมุมมองใหม่อาจช่วยให้คุณเห็นรายละเอียดที่มองผ่านไปในครั้งแรก [9]
    • ถ้าตอนนั้นคุณนั่งลง ให้ลุกขึ้นยืน ย้ายไปด้านข้าง หรือแม้แต่หมอบลงขณะหา
  6. เป็นไปได้ว่าอาจจะมีใครหยิบของของคุณไปโดยไม่ตั้งใจหรือบังเอิญวางไว้ผิดที่ ถามคนที่อยู่แถวนั้น เช่น เพื่อนร่วมงาน รูมเมต หรือคนในครอบครัวอย่างสุภาพว่า พวกเขารู้ไหมว่าของชิ้นนั้นอยู่ที่ไหน หรือเร็วๆ นี้เห็นบ้างหรือเปล่า [10]
    • เช่น คุณอาจจะพูดว่า “ฉันหากุญแจอยู่ คุณบังเอิญเห็นมันแถวนี้บ้างไหม”
    • ถ้าคุณทำของหายนอกบ้าน ก็เป็นไปได้แหละว่าจะถูกขโมย แต่ไม่น่าจะเป็นอย่างนั้นหรอก เป็นไปได้ว่าคุณแค่เอาวางไว้ผิดที่ เพราะฉะนั้นอย่าเพิ่งท้อ!
  7. ถ้าคุณทำของหายนอกบ้าน ให้โทรศัพท์ไปยังสถานที่สุดท้ายที่คุณเห็นของชิ้นนั้น. นึกย้อนไปยังสถานที่ที่คุณไปมาวันนี้และนึกถึงสถานที่สุดท้ายที่คุณจำได้ว่ายังเห็นของชิ้นนั้นอยู่ โทรไปยังสถานที่เหล่านั้นเพื่อดูว่ามีใครเอามาคืนหรือว่าหาเจอไหม ถ้าไม่ ให้โทรไปที่อื่นๆ ที่คุณไป ถ้าโทรไปแล้วไม่มีอะไรคืบหน้า ให้ไปสถานที่นั้นด้วยตัวเองอีกครั้ง ค่อยๆ แกะรอยตัวเองตรงนั้นแล้วมองหาของที่หายไป [11]
    • ก่อนที่คุณจะเริ่มโทรศัพท์หรือวิ่งย้อนไปที่ต่างๆ ให้ค้นหาบริเวณรอบข้างให้ละเอียดที่สุดก่อน คุณคงไม่อยากวิ่งกลับมาที่ทำงานแต่กลายเป็นว่าเจอกระเป๋าสตางค์ในรถหรอกใช่ไหม
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

รักษาของไม่ให้หาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทำให้ของชิ้นนั้นเด่นขึ้นมา คุณจะได้ไม่ทำหายง่ายๆ. ถ้าคุณมักจะทำของสำคัญหาย ให้ทำให้มันใหญ่ขึ้น เห็นชัดขึ้น หรือสะดุดตามากขึ้น วิธีนี้ช่วยให้ของหายยากขึ้นและหาง่ายขึ้นถ้าคุณวางไว้ผิดที่ [12]
    • เช่น คุณอาจจะสอดโซ่กุญแจอันใหญ่ๆ สีสันสดใสหรือดังกรุ๊งกริ๊งไว้ในห่วงพวงกุญแจ ใช้เคสโทรศัพท์สีฉูดฉาดและเปิดเสียงไว้ หรือแปะสติกเกอร์สีนีออนสดใสไว้บนเอกสารที่สำคัญ
  2. ติดอุปกรณ์ติดตามบนสิ่งของที่สำคัญหรือใช้แอปฯ ค้นหาที่ตั้ง. ถ้าคุณอยากได้วิธีแก้ปัญหาสุดไฮเทคสำหรับติดตามสิ่งของสำคัญ คุณอาจจะใช้อุปกรณ์ติดตามของหายผ่านบลูทูธก็ได้ คุณก็แค่ติดเครื่องติดตามขนาดเล็กบนสิ่งของและเชื่อมต่อกับแอปฯ ในสมาร์ตโฟน เท่านี้คุณก็ตามดูได้ตลอดว่าของอยู่ที่ไหน [13]
    • แอปฯ อุปกรณ์ติดตามของหายได้แก่ Tile และ TrackR
    • ถ้าคุณมักจะทำโทรศัพท์มือถือหาย ลองใช้แอปฯ Find My iPhone ถ้าคุณใช้ Android ให้ไปที่ android.com/find จากเว็บบราวเซอร์ไหนก็ได้
  3. ทุกครั้งที่วางของสำคัญ ให้ใช้เวลาเพิ่มอีกนิดจดจำว่ามันอยู่ที่ไหน พูดกับตัวเองดังๆ หรือพูดในหัวว่า “ฉันวางของชิ้นนี้ไว้ตรงนี้นะ” และพยายามจำภาพนั้นให้ได้เป๊ะๆ การพยายามจำภาพเอาไว้จะช่วยให้คุณจำตำแหน่งของชิ้นนั้นได้ ซึ่งจะช่วยให้คุณนึกออกง่ายขึ้นว่าของชิ้นนั้นอยู่ที่ไหน [14]
    • วิธีนี้อาจน่ารำคาญหรือใช้ความพยายามมากในช่วงแรก แต่พอทำจนเป็นนิสัยทุกวันแล้วมันจะง่ายขึ้นและประหยัดเวลาได้ในระยะยาว
    • ถ้าคุณมักจะลืมจำภาพเอาไว้ พยายามเริ่มทำทันทีหลังจากที่คุณทำของหายและหาเจอ เพราะเป็นช่วงเวลาที่คุณจะมีแรงฮึบในการพยายามจดจำมากที่สุด!
    • วิธีนี้ย้อนกลับมาที่เรื่องการมีสติให้มากขึ้นในแต่ละวัน การมีสติให้มากขึ้นในแต่ละช่วงเวลาและรู้ว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่จะช่วยให้คุณจำได้ว่าเอาของไปวางไว้ตรงไหน
  4. สร้างนิสัยหันกลับไปมองเวลาออกจากรถ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าไม่ใช่รถของตัวเอง ตรวจสอบโต๊ะทำงานหรือออฟฟิศสักครู่ก่อนเดินออกไปเพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้ลืมอะไรไว้ วิธีนี้ช่วยให้คุณเจอของที่อาจจะหลุดมือหรือหล่นจากกระเป๋ากางเกงโดยไม่ตั้งใจ [15]
  5. รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยเพื่อลดโอกาสที่ของจะหาย. บริเวณที่มีของวางระเกะระกะเต็มไปหมดยิ่งเพิ่มโอกาสที่คุณจะทำของหาย เพราะมันอาจจะติดอยู่ตรงมุมที่รกรุงรัง ของอย่างอื่นทับไว้ หรือเผลอเก็บไปทิ้งโดยไม่ตั้งใจ เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ ทำความสะอาดบริเวณที่คุณใช้เวลามากที่สุดเป็นประจำ วิธีนี้อาจดูเหมือนเสียเวลาในช่วงแรก แต่มันช่วยให้คุณประหยัดเวลาและไม่เปลืองแรงหาของ [16]
    • รักษาบ้าน ห้อง ออฟฟิศ รถยนต์ หรือโต๊ะที่โรงเรียนให้เป็นระเบียบเรียบร้อยที่สุด คุณใช้เวลาตรงบริเวณเหล่านี้ค่อนข้างมาก จึงมักมีของสุมอยู่และเป็นจุดที่ทำของหายได้ง่าย
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • สำคัญที่สุดคืออย่าลน ถ้าคุณมีสติ คุณจะสามารถหาของได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบ ซึ่งจะช่วยให้คุณมีโอกาสหาเจอมากขึ้น
  • ถ้าคุณหาทั่วแล้วและลองนึกดูแล้วว่ามันน่าจะอยู่ที่ไหน แต่ก็ยังหาไม่เจออยู่ดีงั้นเหรอ ลองสอบถามใครสักคนดูและถามว่าเขาเห็นมันบ้างไหม ไม่ช้าคุณก็จะได้คำตอบ!
  • ดูให้ดีว่าคุณค้นหาในแต่ละจุดทั่วแล้ว วิธีนี้จะช่วยให้คุณไม่ต้องไปเสียเวลาค้นหาจุดเดิมอีก
  • ถ้าคุณเพิ่งทำความสะอาดไปและไม่เจอของชิ้นนั้น ให้ค้นหาตรงที่แปลกๆ ที่คุณอาจนำไปเก็บไว้หรือใช้ภายหลัง
  • ค้นหาตรงบริเวณที่คุณคิดว่ามีโอกาสเจอของชิ้นนั้นน้อยที่สุด หลายครั้งของก็ซ่อนอยู่ตรงจุดที่คุณคิดว่ามันไม่น่าจะอยู่ และเห็นได้ชัดเจนอยู่แล้วว่าของมันไม่ได้อยู่ในจุดที่คุณคิดว่ามันอยู่
  • ถ้าคุณหาของไม่เจอที่โรงเรียน ให้สอบถามครูว่าเห็นไหมหรือลองไปที่แผนกแจ้งของหายของโรงเรียน
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 96,631 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา