ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

โลกภาพยนตร์นั้นมีการแข่งขันสูงมาก แม้ว่าคุณอาจจะมีความคิดอยากจะเขียนนบทภาพยนตร์สุดอลังการงานสร้าง แต่หากการวางรูปแบบของบททำได้ไม่ถึงก็อาจจะไม่มีคนสนใจอ่านเลยก็ได้ มาลองทำตามขั้นตอนด้านล่างเพื่อสร้างโอกาสให้บทภาพยนตร์ที่คุณเขียนได้โลดแล่นบนหน้าจอกันเถอะ

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

เริ่มต้นเขียน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บทหรือที่เรียกเต็มๆ ว่าบทภาพยนตร์นั้นคือสิ่งที่สรุปองค์ประกอบที่จำเป็นสำหรับการเล่าเรื่องของภาพยนตร์หรือละครโทรทัศน์ (อาทิ เสียง, ภาพ, พฤติกรรมรวมไปถึงบทพูดของตัวละคร)
    • บทภาพยนตร์นั้นแทบจะไม่สามารถเขียนได้ด้วยคนๆ เดียว กว่าจะสำเร็จนั้นบทต้องผ่านการทบทวนและเขียนใหม่รวมไปถึงการตีความร่วมกันของผู้ผลิต ผู้กำกับและนักแสดงทุกคน
    • ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์เป็นสื่อที่แสดงภาพ ซึ่งก็หมายความว่าคุณต้องเขียนบทที่สามารถสื่อถึงเรื่องราวได้อย่างครอบคลุมทั้งในแง่ของภาพและเสียง คุณต้องให้ความสำคัญกับการเขียนบรรยายภาพและเสียงให้ดี
  2. หาบทภาพยนตร์จากอินเทอร์เน็ตและพิจารณาดูว่าคุณชอบ (และไม่ชอบ) อะไรเกี่ยวกับภาพยนตร์เหล่านั้น พยายามทำความเข้าใจว่าการเคลื่อนไหวถูกถ่ายทอดออกมาอย่างไร รวมไปถึงบทพูดถูกเขียนอย่างไรและตัวละครถูกพัฒนาขึ้นมาอย่างไรด้วย
  3. เมื่อคุณคิดออกแล้วว่าจะเขียนถึงเรื่องอะไรก็เขียนรายละเอียดคร่าวๆ ที่จำเป็นของโครงเรื่องรวมไปถึงความสัมพันธ์และลักษณะพฤติกรรมของตัวละครที่จะดำเนินเรื่อง องค์ประกอบใดเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของแนวคิดที่คุณวาดภาพไว้? ตัวละครแต่ละตัวจะปฏิสัมพันธ์กันอย่างไรและเพราะเหตุผลใด? จุดสำคัญของเรื่องคืออะไร? โครงเรื่องมีช่องโหว่ตรงไหนไหม? เขียนโน้ตสรุปประเด็นเหล่านี้ไว้ในรูปแบบใดก็ได้ที่คุณเห็นว่าเหมาะสม
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ลงมือเขียนบทภาพยนตร์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เริ่มต้นด้วยการเขียนเล่าเรื่องคร่าวๆ ก่อนโดยให้ความสำคัญกับประเด็นขัดแย้งของเรื่องราวที่จะนำไปสู่จุดซาบซึ้งกินใจของเรื่อง
    • คิดถึงความยาวของเรื่องเสมอ เมื่อถูกเขียนออกมาเป็นบทแล้ว บทแต่ละหน้าจะมีความยาวราวหนึ่งนาทีเมื่อถูกพัฒนาเป็นภาพยนตร์ โดยเฉลี่ยแล้วบทของภาพยนตร์ยาวสองชั่วโมงจะมีประมาณหนึ่งร้อยยี่สิบหน้า โดยปกติแล้วภาพยนตร์แนวซาบซึ้งกินใจจะยาวราวๆ สองชั่วโมงในขณะที่ภาพยนตร์แนวตลกจะสั้นกว่า โดยจะยาวราวหนึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงครึ่ง
    • จำไว้เสมอว่าในความเป็นจริง บทยาวๆ ไม่ค่อยมีโอกาสได้รับเลือกหรอก เว้นไว้เสียแต่ว่านักเขียนบทจะเป็นที่รู้จักอยู่แล้ว มีเพื่อนฝูงในวงการหรือรวยมากนั่นแหละ หากเรื่องที่คุณต้องการเล่าไม่สามารถย่อให้สั้นกว่าสองชั่วโมงได้เมื่อถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ คุณน่าจะเขียนออกมาเป็นนวนิยายไปเลยดีกว่า
  2. เสาหลักของบทภาพยนตร์ก็คือองก์ทั้งสาม โดยแต่ละองก์นั้นสามารถดำเนินเรื่องแยกกันได้ และเมื่อนำมารวมกัน ก็จะกลายเป็นโครงสร้างสำคัญของเรื่องราวทั้งหมด
    • องก์ที่หนึ่ง: นี่เป็นองก์ที่จะปูพื้นเรื่อง แนะนำภูมิหลังและตัวละคร วางโทนของเรื่อง (ว่าจะเป็นแนวตลก แอคชั่นหรือโรแมนติก ฯลฯ) แนะนำตัวละครหลักของเรื่องและเริ่มต้นเล่าถึงปมขัดแย้งที่จะทำให้เรื่องดำเนินไป เมื่อตัวละครหลักมีเป้าหมายที่ต้องบรรลุแล้ว องก์ที่สองจึงจะเริ่ม สำหรับเรื่องแนวซาบซึ้งเกินใจ องก์ที่หนึ่งมักจะยาวประมาณสามสิบหน้า ในขณะที่แนวตลกจะยาวราวยี่สิบสี่หน้า
    • องก์ที่สอง: องก์ที่สองคือส่วนหลักของเรื่อง ตัวละครหลักจะประสบกับปัญหาขณะเดินหน้าหาทางแก้ไขปมขัดแย้ง โครงเรื่องย่อยมักจะถูกเล่าในองก์ที่สอง ในขณะที่องก์ที่สองดำเนินไป ตัวละครหลักควรจะมีท่าทีเปลี่ยนแปลงไป สำหรับเรื่องแนวซาบซึ้งกินใจ องก์ที่สองจะยาวราวหกสิบหน้า ในขณะที่แนวตลกจะยาวราวสี่สิบแปดหน้า
    • องก์ที่สาม: ในองก์ที่สาม เรื่องราวจะมาถึงจุดคลี่คลาย องก์ที่สามนี้จะประกอบไปด้วยจุดหักเหของเรื่องราว และจบลงด้วยการเผชิญหน้าครั้งสุดท้ายเพื่อบรรลุเป้าหมายของเรื่อง เนื่องจากเรื่องราวได้ถูกวางรากฐานมาอย่างดีแล้วในองก์ที่สอง องก์ที่สามจึงดำเนินไปอย่างรวดเร็วและสั้นกว่า สำหรับเรื่องแนวซาบซึ้งกินใจ องก์ที่สามจะยาวประมาณสามสิบหน้า ในขณะที่เรื่องแนวตลกจะยาวยี่สิบสี่หน้า
  3. เส้นเรื่องรองคือองค์ประกอบของเรื่องที่ดำเนินแยกจากปมขัดแย้งหลักของเรื่อง โดยจะมีจุดเริ่มต้น กึ่งกลางและจุดจบ โดยปกติแล้วเส้นเรื่องรองจะยาวประมาณสิบถึงสิบห้าหน้า และมักจะมุ่งเล่าถึงตัวละครใดตัวละครหนึ่งเป็นการเฉพาะ
    • เส้นเรื่องรองจะดำเนินไปโดยเล่าถึงความตึงเครียดแยกจากเรื่องหลัก และโดยส่วนใหญ่แล้วมักจะส่งผลกระทบกับตอนจบของเส้นเรื่องหลักด้วย
  4. ฉากคือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในภาพยนตร์ โดยเกิดขึ้นในสถานที่เฉพาะและเกิดขึ้นเพื่อขับเคลื่อนให้เรื่องดำเนินไป หากฉากใดๆ ไม่ได้ทำหน้าที่ดังนี้แล้วก็ควรจะตัดออกไปซะ ฉากที่เขียนขึ้นอย่างไร้วัตถุประสงค์จะติดตรึงอยู่ในใจผู้ชมว่าเป็นจุดอ่อนของเรื่อง และจะทำให้ภาพยนตร์โดยรวมออกมาไม่ดีเท่าที่ควรด้วย
  5. เมื่อคุณเขียนฉากต่างๆ แล้ว ก็ถึงเวลาที่ตัวละครจะปฏิสัมพันธ์กัน บทพูดอาจนับเป็นหนึ่งในสิ่งที่เขียนยากที่สุดเลยก็ว่าได้ โดยตัวละครแต่ละตัวต้องมีลักษณะการพูดที่เฉพาะตัวและน่าเชื่อถือด้วยนะ
    • บทพูดที่สมจริงอาจจะไม่ใช่บทพูดที่ดีเสมอไป บทพูดควรจะเป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนเรื่องให้ดำเนินไปและพัฒนาตัวละครทั้งหลาย คุณไม่ควรกังวลกับการพยายามเขียนบทพูดให้สมจริงมากเกินไป เพราะในความเป็นจริงแล้วบทสนทนาในชีวิตประจำวันก็ออกจะทื่อๆ ไม่มีชีวิตชีวาอะไร
    • อ่านออกเสียงบทพูดออกมาดังๆ ว่าฟังแล้วดูตะกุกตะกัก ซ้ำซากจำเจหรือเกินจริงไหม? ตัวละครทุกตัวของคุณมีวิธีการพูดคล้ายๆ กันไปหมดเลยหรือเปล่า?
  6. เมื่อความคิดทุกอย่างของคุณถูกถ่ายทอดลงบนกระดาษแล้วก็ลองมองหาจุดอ่อน จุดที่เบี่ยงเบนความสนใจหรืออะไรที่ฉุดเรื่องลงดู มีส่วนที่เรื่องออกนอกทะเลไหม? มีรายละเอียดตรงไหนที่ไม่จำเป็นหรือซ้ำซากหรือเปล่า? คุณได้ให้ความสำคัญกับผู้ชมมากพอไหม? หากมีบางส่วนของบทพูดที่อธิบายเยอะเกินไปหรือไม่ได้ช่วยขับเคลื่อนเรื่องก็ตัดออกซะ
  7. แบ่งปันงานที่เขียนเสร็จแล้วให้เพื่อนดูสักสองสามคน. เลือกคนที่มีรสนิยมและภูมิหลังแตกต่างกันเพื่อที่จะได้รับฟังความเห็นอันหลากหลาย อย่าลืมขอให้อีกฝ่ายให้ความเห็นอย่างตรงไปตรงมาด้วยล่ะ เพราะคุณคงอยากได้ยินคำวิจารณ์ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ ไม่ใช่คำชมอันไร้ค่าหรือคำโกหกใช่ไหมล่ะ
  8. ขั้นตอนนี้อาจจะทำให้ปวดใจ แต่เมื่อได้รับคำวิจารณ์ครบแล้วและได้ปรับใช้ตามนั้น คุณจะรู้สึกดีภายหลังที่ได้ใช้เวลากับการถ่ายทอดวิสัยทัศน์ของคุณออกมาเป็นเรื่องราว
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ปรับแต่งรูปแบบของบท

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บทภาพยนตร์มักเขียนลงบนกระดาษขนาด 8 ½ x 11 นิ้ว หรือกระดาษที่สามารถเจาะรูได้สามรูพอดี ขอบกระดาษด้านบนและล่างจะมีระยะห่างราว 0.5 นิ้วและ 1 นิ้วตามลำดับ ขอบด้านซ้ายจะอยู่ที่ 1.2-1.6 นิ้ว และด้านขวาจะอยู่ที่ 0.5 และ 1 นิ้ว
    • ใส่หมายเลขหน้าไว้บนหัวกระดาษด้านขวา โดยไม่ต้องใส่เลขหน้าที่หน้าแรกที่บอกชื่อเรื่องภาพยนตร์
  2. บทภาพยนตร์ที่เขียนด้วยฟอนต์ Courier ขนาด 12 พอยต์ หนึ่งหน้าจะยาวราวๆ หนึ่งนาทีเมื่อทำเป็นภาพยนตร์
  3. มีหลายส่วนของบทที่คุณต้องเขียนตามรูปแบบเฉพาะเพื่อที่จะได้เป็นไปตามาตรฐานของวงการ ดังนี้
    • ส่วนหัวของฉาก : หรือ ส่วนของหัวข้อที่บรรยายฉากคือส่วนที่ปูพื้นผู้อ่านโดยเริ่มจากบรรยายสถานที่ ส่วนหัวของฉากนั้นจะเขียนด้วยตัวอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด โดยคุณต้องเริ่มเขียนอธิบายส่วนภายในฉากและนอกฉากโดยเขียนกำกับไว้ว่า “ในฉาก” หรือ “นอกฉาก” จากนั้นก็เขียนระบุสถานที่แล้วก็เวลาของเหตุการณ์ อย่าจบหน้าแรกด้วยการเขียนเฉพาะส่วนหัวของฉาก พยายามเขียนต่อไปยังหน้าถัดไป
    • สิ่งที่เกิดขึ้น : ส่วนนี้คือส่วนบรรยายของบทภาพยนตร์ เขียนโดยใช้ไวยากรณ์ปัจจุบันและใช้รูปแบบประโยคที่ประธานเป็นผู้กระทำ เขียนย่อหน้าให้สั้นๆ เพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้อ่าน โดยควรเขียนราวๆ สามถึงห้าบรรทัดก็พอ
    • ชื่อตัวละคร : ก่อนที่บทพูดจะเริ่ม พิมพ์ชื่อตัวละครที่พูดเป็นตัวพิมพ์ใหญ่และย่อหน้าเข้ามา 3.5 นิ้วจากขอบกระดาษด้านซ้ายมือ โดยชื่อที่พิมพ์อาจจะเป็นชื่อตัวละครจริงๆ หรือคำอธิบายหากตัวละครนั้นๆ ไม่มีชื่อในภาพยนตร์เรื่องนี้ หรือจะระบุเป็นอาชีพไปก็ได้ หากตัวละครพูดบทนอกฉากก็เขียนกำกับไว้ว่า “นอกฉาก” ข้างๆ ชื่อตัวละคร หากตัวละครกำลังบรรยาย ก็เขียนไปว่า “เสียงบรรยาย”​ ข้างๆ ชื่อตัวละคร
    • บทพูด : เมื่อเขียนบทพูดให้ตัวละคร ย่อหน้าบทพูดเข้ามา 2.5 นิ้วจากขอบกระดาษด้านซ้ายและให้ตัวอักษรอยู่ห่างจากขอบด้านขวาราว 2 ถึง 2.5 นิ้ว โดยบทพูดจะอยู่ข้างใต้ชื่อตัวละครที่พูด
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • พยายามพัฒนาเรื่องให้ดำเนินไปอย่างเป็นธรรมชาติ นักเขียนบทมือใหม่มักจะย้ำเตือนตัวเองอยู่ทุกวินาทีว่างานเขียนของตัวเองต้องน่าตื่นเต้นกว่าของเดิม ส่วนบางคนถ้าไม่เขียนงานที่น่าตื่นเต้นสุดๆ ก็จะลงท้ายด้วยการเขียนอะไรที่ไม่ตื่นเต้นเลยออกมาแทนเสียนี่ คุณต้องพยายามเขียนโครงเรื่องให้พัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อที่ความตื่นเต้นจะได้ค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนไปถึงจุดไคลแมกซ์ของเรื่อง
  • ลองพิจารณาดูว่าซื้อซอฟท์แวร์ช่วยเขียนบทดีไหม มีโปรแกรมหลายๆ ตัวเลยที่จะช่วยแนะนำให้คุณเขียนบทได้อย่างถูกรูปแบบ หรือกระทั่งสามารถแปลงบทที่เขียนไว้แล้วให้กลายเป็นรูปแบบที่ถูกต้องได้
  • ลองเข้าร่วมการสัมมนาเกี่ยวกับการเขียนบทดูสิ คุณอาจจะได้เรียนรู้เคล็ดลับและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบรรดาเพื่อนนักเขียนบท และอาจจะถึงขั้นได้ติดต่องานกับคนอื่นๆ หรืออาจจะมีคนมาสนใจงานของคุณเลยก็ได้นะ
  • หมัดเด็ด (หรือแนวคิดหรือประเด็นหลักของภาพยนตร์) ควรจะถูกนำเสนอภายในสิบหน้าแรกเพราะสิบหน้าแรกนี่แหละคือสิ่งที่จูงใจให้ผู้ผลิตอ่านงานของคุณต่อ!
  • ลงเรียนวิชางานเขียนเชิงสร้างสรรค์ การเขียนบทภาพยนตร์นั้นยากและใช้เวลานานพอๆ กับงานเขียนประเภทอื่นและจะยิ่งยากไปกันใหญ่หากคุณไม่ค่อยได้มีประสบการณ์เขียนงานจากตอนเรียน
  • ลองหาหนังสือเกี่ยวกับการเขียนบทจากห้องสมุดใกล้บ้านมาอ่าน คนสร้างภาพยนตร์หลายๆ คนมักเคยเขียนหนังสือดีๆ เพื่อช่วยบรรดาคนมีฝันไม่ต่างจากคุณนี่แหละ
  • ลองคิดดูว่าตัวเองควรเรียนต่อด้านการเขียนบทภาพยนตร์อย่างเป็นเรื่องเป็นราวไหม มหาวิทยาลัยดีๆ ด้านนี้ในสหรัฐอเมริกาก็ได้แก่ มหาวิทยาลัยเซาท์เทิร์นแคลิฟอร์เนีย มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ยูซีแอลเอ ซานฟรานซิสโกสเตท มหาวิทยาลัยนิวยอร์ค มหาวิทยาลัยเท็กซัสออสติน และมหาวิทยาลัยไอโอว่า
  • ใช้เวลาคิดถึงบทพูดและชื่อของตัวละครอย่างเพียงพอ
โฆษณา

คำเตือน

  • หาแรงบันดาลใจจากงานของคนอื่นแต่อย่าได้หยิบยืมความคิดของคนอื่นมาใช้ในงานเขียนของคุณล่ะ การทำแบบนี้ผิดกฎหมายและก็ผิดจรรยาบรรณด้วย
  • อย่ายื่นบทของตัวเองให้คนอื่นอ่านสุ่มสี่สุ่มห้า เดี๋ยวคนอื่นจะขโมยความคิดของคุณไปใช้ได้ง่ายๆ วิธีการที่จะป้องกันให้เรื่องนี้ไม่เกิดขึ้น หรืออย่างน้อยก็ช่วยยืนยันได้ว่าคุณเป็นคนเขียนบทเรื่องนี้จริงๆ ก็คือการลงทะเบียนบทฉบับเต็มไว้ในเว็บไซต์ Writer's Guild of America . เว็บของ WGA คือสมาพันธ์ที่เป็นตัวแทนของนักเขียนและเว็บไซต์นี้ก็เต็มไปด้วยข้อมูลของบทภาพยนตร์มากมายเชียวล่ะ
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • โปรแกรมช่วยพิมพ์
  • ซอฟท์แวร์สำหรับเขียนงาน (หากต้องใช้)

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 37,337 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา