ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

สุนทรพจน์เชิงโน้มน้าวใจคือสุนทรพจน์ที่มีจุดประสงค์เพื่อโน้มน้าวให้ผู้ฟังทำบางอย่าง ไม่ว่าคุณจะต้องการให้ผู้คนหรือออกเสียงเลือกตั้ง หยุดทิ้งขยะหรือเปลี่ยนใจเกี่ยวกับประเด็นที่สำคัญ สุนทรพจน์เชิงโน้มน้าวใจคือวิธีที่มีประสิทธิภาพในการโน้มน้าวผู้ฟัง สุนทรพจน์เชิงโน้มน้าวใจที่ประสบความสำเร็จต้องใช้หลากหลายองค์ประกอบแต่คุณจะสามารถถ่ายทอดสุนทรพจน์ที่มีพลังได้ด้วยการเตรียมตัวและการฝึกฝน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

การเตรียมตัวเขียน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณจำเป็นต้องรู้ให้มากที่สุดเกี่ยวกับหัวข้อที่คุณจะพูดถึง ถ้าหากคุณไม่ได้รอบรู้เกี่ยวกับหัวข้อนั้นดีอยู่แล้ว (เช่น คุณถูกมอบหมายให้พูดหัวข้อนี้) คุณต้องทำการค้นคว้าและเรียนรู้ให้มากที่สุด
    • โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากหัวข้อของคุณเป็นหัวข้อที่ขัดแย้งกัน คุณควรรับรู้ข้อโต้แย้งจากทุกด้านของประเด็น [1] ไม่ว่าคุณกำลังจะสร้างข้อโต้แย้งอะไร คุณจะต้องโน้มน้าวใจถ้าหากคุณพูดถึงมุมมองของอีกฝ่าย
    • ใช้เวลาอ่านหนังสือหรือบทความเกี่ยวกับหัวข้อ คุณสามารถไปห้องสมุดและขอให้บรรณารักษ์ช่วยหาหนังสือให้คุณหรือค้นหาบทความออนไลน์ คุณต้องใช้แหล่งที่มาที่เชื่อถือได้ เช่น สำนักข่าวหลักๆ หรือหนังสือหรือบทความทางการศึกษา
    • แหล่งที่มาที่ตั้งอยู่บนความคิดเห็น เช่น บทบรรณาธิการ การพูดคุยทางวิทยุหรือข่าวจากพวกหัวรุนแรงอาจจะเป็นแหล่งที่คุณสามารถค้นคว้าว่าผู้คนคิดอย่างไรกับหัวข้อของคุณแต่อย่าพึ่งพาแหล่งที่มาเหล่านี้เพียงอย่างเดียว แหล่งที่มาเหล่านี้เต็มไปด้วยอคติ [2] ถ้าหากคุณใช้แหล่งที่มาเหล่านี้ คุณต้องอ่านมุมมองที่หลากหลายเกี่ยวกับประเด็นไม่ใช่เพียงด้านเดียว
  2. คุณต้องเข้าใจว่าอะไรที่คุณต้องการได้รับจากสุนทรพจน์นี้ วิธีนี้คุณจะสามารถปรับแต่งเนื้อหาให้เข้ากับเป้าหมายของคุณได้ [3]
    • เช่น ถ้าหากหัวข้อของคุณคือการรีไซเคิล คุณต้องรู้ให้มากเกี่ยวกับการรีไซเคิลแต่สุนทรพจน์ของคุณจะต้องแสดงถึงสิ่งที่คุณคาดหวังให้ผู้ฟังได้ทำ คุณพยายามให้ผู้คนเหล่านี้ลงคะแนนเสียงให้กับโปรแกรมการรีไซเคิลของเมืองหรือเปล่า? หรือคุณพยายามโน้มน้าวผู้ฟังให้แยกขยะที่เป็นแก้วและกระป๋องออกจากกัน? สุนทรพจน์เหล่านี้จะแตกต่างกันเพราะฉะนั้นการรับรู้เป้าหมายล่วงหน้าจะช่วยให้คุณปรับแต่งข้อความของคุณได้
  3. คุณต้องเข้าใจผู้ฟังและมุมมองและความรู้ของพวกเขาเกี่ยวกับหัวข้อนี้ สิ่งนี้จะมีผลกับเนื้อหาของสุนทรพจน์ของคุณ [4]
    • ผู้ฟังที่รู้เกี่ยวกับหัวข้อเพียงเล็กน้อยจะต้องการข้อมูลปูพื้นและภาษาที่เรียบง่ายมากขึ้น ผู้ฟังที่มีความรู้เกี่ยวกับหัวข้อนี้อาจจะคิดว่าสุนทรพจน์นี้น่าเบื่อ [5]
    • เช่นเดียวกัน ผู้ฟังที่สนับสนุนความคิดเห็นของคุณเกี่ยวกับหัวข้อนี้จะถูกโน้มน้าวให้ลงมือทำง่ายกว่า คุณไม่จำเป็นต้องโน้มน้าวพวกเขาว่าคุณถูกต้องเพียงแต่บอกพวกเขาว่าต้องทำอะไร ในทางกลับกัน ผู้ฟังที่ไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นของคุณจะต้องอาศัยการโน้มน้าวเพื่อพิจารณามุมมองของคุณ [6]
    • เช่น ลองนึกว่าคุณต้องการโน้มน้าวผู้ฟังให้สนับสนุนโปรแกรมการรีไซเคิลของเมือง พวกเขาคิดว่าการรีไซเคิลเป็นสิ่งสำคัญอยู่แล้ว คุณเพียงต้องโน้มน้าวพวกเขาเกี่ยวกับคุณค่าของโปรแกรมนี้แต่ถ้าหากพวกเขาไม่สนใจการรีไซเคิลหรือไม่เห็นด้วย คุณจะต้องโน้มน้าวให้พวกเขาฟังว่าการรีไซเคิลมีคุณค่า
  4. มีวิธีมากมายที่คุณสามารถโน้มน้าวผู้คนให้เห็นมุมมองของคุณโดยขึ้นอยู่กับหัวข้อและผู้ฟัง ผู้พูดมีวิธีโน้มน้าวหลักๆ 3 วิธีมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ
    • บุคลิกลักษณะ สิ่งเหล่านี้มีผลต่อจริยธรรมหรือศีลธรรมของผู้ฟัง [7] เช่น “การรีไซเคิลคือสิ่งที่ควรทำ การใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดอย่างฟุ่มเฟือยคือการขโมยจากลูกหลานของเราในอนาคตซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดศีลธรรม”
    • ความรู้สึกร่วม สิ่งเหล่านี้มีผลต่ออารมณ์ของผู้ฟัง [8] เช่น “ลองนึกถึงสัตว์ที่สูญเสียบ้านทุกวันเพราะต้นไม้ถูกโค่นลง ถ้าหากเรารีไซเคิลมากขึ้น เราจะสามารถปกป้องป่าที่สวยงามเหล่านี้ได้”
    • เหตุผล สิ่งเหล่านี้มีผลต่อตรรกะหรือความคิดความอ่านของผู้ฟัง [9] เช่น “เรารู้ว่าแหล่งทรัพยากรตามธรรมชาติมีจำกัด เราสามารถทำให้ทรัพยากรเหล่านี้คงอยู่นานยิ่งขึ้นด้วยการรีไซเคิล”
    • คุณสามารถใช้วิธีใดวิธีหนึ่งหรือผสมผสานกันได้
  5. เมื่อคุณได้เลือกวิธีโน้มน้าวผู้ฟังของคุณแล้ว รวบรวมความคิดประเด็นหลักที่คุณจะพูดถึงระหว่างสุนทรพจน์
    • จำนวนครั้งที่คุณต้องพูดจะเป็นตัวกำหนดจำนวนของประเด็นหลักที่คุณต้องสร้างเพื่อสนับสนุนจุดยืนของคุณ [10]
    • โดยทั่วไปประเด็นหลัก 3-4 ข้อเพียงพอแล้ว [11]
    • เช่น ในสุนทรพจน์เกี่ยวกับการรีไซเคิล ประเด็นหลัก 3 ประเด็นของคุณสามารถมีดังนี้ 1. การรีไซเคิลช่วยปกป้องทรัพยากร 2. การรีไซเคิลช่วยลดปริมาณขยะและ 3. การรีไซเคิลช่วยประหยัดเงิน
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

การเขียนสุนทรพจน์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ก่อนที่คุณจะเริ่มโน้มน้าวผู้ฟังของคุณ คุณจะต้องเปิดบทสุนทรพจน์ในแบบที่ผู้ฟังจะให้ความสนใจ บทเปิดที่หนักแน่นมีองค์ประกอบ 5 อย่าง: [12]
    • เป็นตัวดึงดูดความสนใจ สิ่งนี้อาจจะเป็นคำพูด (หรือบางครั้งเป็นรูปภาพ) ที่ดึงดูดความสนใจของผู้ฟัง คุณสามารถทำให้บทเปิดของคุณทำให้ผู้ฟังสะดุ้งหรือตกใจได้เล็กน้อย เช่น คุณสามารถเริ่มด้วยข้อมูล (หรือรูปภาพ) ที่แสดงให้เห็นว่าหลุมฝังขยะที่อยู่ไม่ไกลกำลังจะเต็ม
    • เชื่อมต่อกับผู้ฟัง สิ่งนี้หมายถึงการแสดงออกว่าคุณมีบางอย่างที่เหมือนกับผู้ฟัง แสดงว่าคุณมีภูมิหลังหรือความผูกพันทางอารมณ์แบบเดียวกัน สิ่งนี้ขึ้นอยู่กับการรู้จักผู้ฟังของคุณ เช่น ถ้าหากคุณเป็นพ่อแม่ที่ต้องพูดกับพ่อแม่คนอื่นๆ คุณอาจจะเน้นย้ำความกังวลที่มีต่ออนาคตของลูกหลาน ถ้าคุณมีความสนใจและจุดยืนทางความคิดเกี่ยวกับผู้ฟัง คุณก็สามารถเน้นย้ำสิ่งนั้นได้
    • ข้อมูลของคุณ สิ่งนี้หมายถึงการแสดงว่าคุณมีความรู้หรือหลักฐานเกี่ยวกับหัวข้อสุนทรพจน์ เน้นย้ำการค้นคว้าที่คุณทำเกี่ยวกับหัวข้อ ถ้าหากคุณมีประสบการณ์ส่วนตัวหรือทางการงานกับหัวข้อ คุณก็สามารถเน้นย้ำสิ่งนี้ได้เช่นกัน ตัวอย่างเกี่ยวกับการรีไซเคิล ได้แก่ “ฉันได้ใช้เวลาหลายชั่วโมงเพื่อศึกษาปัญหาของการรีไซเคิลและประเภทของโปรแกรมที่มีอยู่ในเมืองอื่นๆ”
    • เป้าหมายของคุณ อธิบายให้ผู้ฟังว่าคุณคาดหวังจะได้อะไรจากสุนทรพจน์นี้ เช่น “ฉันหวังว่าเมื่อฉันพูดจบคุณจะเห็นด้วยว่าเมืองของเราต้องการโปรแกรมการรีไซเคิล”
    • แผนภูมิ ท้ายที่สุดบอกผู้ฟังว่าประเด็นหลักของสุนทรพจน์นี้คืออะไร เช่น “ฉันเชื่อว่าเราต้องเริ่มโปรแกรมการรีไซเคิลด้วย 3 เหตุผลนี้”
  2. เนื้อหาหลักของสุนทรพจน์ควรระบุประเด็นที่คุณได้ร่างเค้าโครงในตอนที่ 1 คุณควรนำเสนอเหตุผลที่โน้มน้าวใจเพื่อสนับสนุนความคิดของคุณให้กับผู้ฟัง
    • จัดเรียงประเด็นเหล่านี้อย่างมีตรรกะ อย่าข้ามประเด็นไปมา คุณต้องแสดงข้อโต้แย้งให้เสร็จจากนั้นจึงแสดงข้อโต้แย้งข้อถัดไปอย่างมีตรรกะ [13]
    • ใช้แหล่งที่มาที่เชื่อถือได้จากการค้นคว้าของคุณเพื่อสนับสนุนประเด็นที่คุณกำลังสร้าง ถึงแม้ว่าประเด็นของคุณเป็นเรื่องของอารมณ์ (ความรู้สึกร่วม) คุณควรนำเสนอข้อมูลความจริงที่จะทำให้ข้อโต้แย้งของคุณหนักแน่นมากขึ้น เช่น “ในแต่ละปี พื้นที่ป่าอันสวยงามกว่า 40,000 เอเคอร์ถูกทำลายเพื่อผลิตกระดาษจากการศึกษาของสถาบันรีไซเคิลของอเมริกา”
    • ใช้ตัวอย่างจากชีวิตจริงที่ผู้ฟังสามารถเชื่อมโยงได้ แม้แต่ข้อโต้แย้งที่ตั้งอยู่บนข้อเท็จจริงและตรรกะ (เหตุผล) ก็ควรเชื่อมโยงกับชีวิตและความสนใจของผู้ฟัง เช่น “ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจประสบความลำบาก ฉันรู้ว่าคุณหลายคนกลัวว่าโปรแกรมการรีไซเคิลจะเป็นการเพิ่มภาษีแต่เมืองอื่นๆ เริ่มโปรแกรมแบบนี้ 3 ปีที่แล้ว ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมารายรับของพวกเขามีมากขึ้นซึ่งเป็นผลของโปรแกรมนี้ ผู้อยู่อาศัยจำนวนมากเห็นว่าภาษีลดลงในที่สุด”
  3. ถึงแม้ว่ามันไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นแต่ข้อโต้แย้งของคุณอาจฟังดูหนักแน่นมากขึ้นถ้าหากประเด็นที่สนับสนุนความคิดเห็นของคุณพูดถึงมุมมองของฝ่ายตรงข้าม สิ่งนี้จะให้โอกาสคุณเพื่อพูดถึงข้อคัดค้านของผู้ฟังที่อาจจะเกิดขึ้นและช่วยให้ข้อโต้แย้งของคุณหนักแน่นมากขึ้น [14]
    • คุณต้องอธิบายมุมมองของฝ่ายตรงข้ามอย่างยุติธรรมและมีเหตุผล พิจารณาว่าใครบางคนที่มีมุมมองแบบนั้นจะยอมรับวิธีที่คุณกำลังอธิบายจุดยืนของพวกเขาหรือไม่ ถ้าหากคุณไม่แน่ใจก็ควรหาใครบางคนที่คิดแบบนั้นและถาม [15]
    • เช่น คุณคงไม่พูดว่า “คนที่ไม่เห็นด้วยกับการรีไซเคิลไม่สนใจถ้าหากเราใช้ทรัพยากรที่มีค่าหรือเงินของเราอย่างสิ้นเปลือง” นั่นไม่ใช่คำอธิบายความคิดเห็นที่ยุติธรรมของพวกเขา
    • คุณควรจะพูดว่า “คนที่ไม่เห็นด้วยกับการรีไซเคิลกังวลว่าค่าใช้จ่ายจะสูงขึ้นกว่าการใช้วัตถุดิบใหม่” จากนั้นจึงนำเสนอข้อโต้แย้งว่าทำไมการรีไซเคิลจึงเป็นทางเลือกที่สามารถช่วยประหยัดเงิน
  4. บทสรุปของสุนทรพจน์ควรย้ำเตือนผู้ฟังถึงสิ่งที่คุณได้บอกพวกเขา คุณควรทำให้บทสรุปชัดเจนว่าคุณหวังว่าพวกเขาจะทำอะไรต่อไป
    • อย่าเพียงแค่พูดซ้ำ ใช้คำพูดเดิมๆ ของสิ่งที่คุณได้พูดไปแล้ว ใช้โอกาสนี้เพื่อเน้นย้ำประเด็นหลักของคุณเพื่อเรียกร้องให้ลงมือทำ เช่น “เพื่อสรุป ฉันได้แสดงให้คุณเห็น (ประเด็นที่ 1 2 และ 3) ประเด็นทั้งสามเหล่านี้เป็นข้อเท็จจริงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าโปรแกรมรีไซเคิลของเมืองเป็นขั้นตอนที่มีเหตุผลและมีจริยธรรมที่เราสามารถใช้เพื่อช่วยสร้างอนาคตที่ยั่งยืนมากขึ้น ได้โปรดร่วมกับฉันเพื่อลงเสียงเห็นด้วยกับโปรแกรมนี้ในเดือนพฤศจิกายน”
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

การถ่ายทอดสุนทรพจน์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เพื่อทำให้สุนทรพจน์ของคุณได้ผลในชีวิตจริง สิ่งที่สำคัญที่สุดที่คุณสามารถทำได้คือฝึกซ้อมให้มากที่สุด
    • พยายามฝึกซ้อมหน้ากระจกเพื่อคุณจะได้เห็นวิธีการถ่ายทอดสุนทรพจน์ของคุณ วิธีนี้จะช่วยให้คุณสังเกตสีหน้าและภาษากาย สิ่งเหล่านี้สามารถช่วยหรือพัฒนาความสามารถในการถ่ายทอดข้อความได้ [16]
    • เช่น คุณอาจจะสังเกตว่าคุณยืนหลังค่อมหรือคุณจับปกเสื้อบ่อยเกินไป การกระทำเหล่านี้บ่งบอกผู้ฟังว่าคุณไม่มั่นใจ
    • ยิ่งไปกว่านั้น ลองอัดวีดีโอตัวเองและดูเทปในภายหลัง วิธีนี้จะช่วยให้คุณเห็น (และได้ยิน) ว่าคุณต้องปรับปรุงตรงไหน [17] การอัดวีดีโอเป็นประโยชน์และจะไม่ทำลายสมาธิของคุณได้เท่ากับการยืนพูดหน้ากระจก
    • เมื่อคุณได้ฝึกซ้อมด้วยตัวเอง 2-3 ครั้งก็ควรลองพูดให้เพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวฟัง ขอความคิดเห็นตอบรับจากพวกเขาเกี่ยวกับข้อความและการถ่ายทอดของคุณ [18]
  2. ในวันกล่าวสุนทรพจน์คุณต้องแต่งตัวให้เหมาะสมกับสถานที่และผู้ฟังที่คุณจะพูดให้ฟัง [19]
    • โดยทั่วไปสิ่งนี้หมายถึงการแต่งตัวให้ดูเป็นมืออาชีพแต่ระดับของความเป็นทางการแตกต่างกัน การพูดสุนทรพจน์ให้กับชมรมภาพยนตร์เพื่อโน้มน้าวพวกเขาให้แสดงภาพยนตร์ของคุณไม่ต้องใช้ระดับความเป็นทางการระดับเดียวกับการพูดให้กับผู้บริหารของบริษัทสร้างภาพยนตร์ฟัง [20] สำหรับการพูดสุนทรพจน์ให้ผู้บริหารคุณต้องใส่ชุดสูท สำหรับชมรมภาพยนตร์การใส่ชุดสูทอาจจะดูเป็นทางการมากเกินไป
  3. หลายคนคิดว่าการพูดให้กับสาธารณชนเป็นสิ่งที่น่ากลัวแต่พยายามผ่อนคลายและเป็นตัวของตัวเองในขณะที่คุณพูดสุนทรพจน์
    • ทำตัวเป็นมิตรและสบตากับผู้ฟัง [21]
    • เคลื่อนไหวเมื่อเหมาะสมแต่อย่าขยับตัวหรือจับเสื้อผ้าหรือเส้นผม [22]
    • อย่าอ่านสุนทรพจน์ คุณสามารถใช้กระดาษโน๊ต 2-3 แผ่นเพื่อให้คุณจำได้แต่คุณควรจดจำสุนทรพจน์ของคุณได้ขึ้นใจ [23]
    • พูดให้ไหลลื่น ถ้าหากคุณพูดผิดก็อย่าปล่อยให้มันทำลายสุนทรพจน์ทั้งหมดของคุณ สิ่งนี้อาจเป็นโอกาสเพื่อใช้อารมณ์ขันจากนั้นจึงพูดต่อไป [24]
  4. ถ้าหากมีบางอย่างที่คุณต้องการให้ผู้ฟังได้ทำก็ควรบอกแหล่งที่มาของพวกเขาเพื่อทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้น มันยากที่ต้องกระตุ้นให้ผู้คนลงมือทำแต่ถ้าหากคุณทำให้มันเรียบง่ายพวกเขาก็น่าจะทำตามสิ่งที่คุณบอก [25]
    • เช่น ถ้าคุณต้องการให้พวกเขาติดต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อเรียกร้องโปรแกรมการรีไซเคิลก็อย่าเพียงขอให้พวกเขาทำแบบนั้น คุณต้องเตรียมซองจดหมายที่ติดแสตมป์และจ่าหน้าซองหรือนามบัตรของผู้ว่าราชการจังหวัดที่มีเบอร์โทรศัพท์และอีเมลให้พวกเขา ถ้าหากคุณทำสิ่งนี้หลายคนอาจจะทำตามสิ่งที่คุณบอก
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • พูดอย่างชัดเจน ส่งเสียงของคุณให้กับผู้ฟังด้วยความมั่นใจ อย่าพูดแล้วมองก้มดูพื้น
  • พยายามหาแหล่งที่มาของสถิติและใช้แหล่งที่มาที่เชื่อถือได้และไม่มีอคติ
  • ในขณะที่คุณศึกษาเกี่ยวกับผู้ฟังก็ควรเรียนรู้ว่าอะไรที่สามารถกระตุ้นพวกเขาได้ พยายามกระตุ้นพวกเขาด้วยแนวคิดและคุณค่าที่พวกเขาใส่ใจอยู่แล้ว
  • อย่ากลัวที่จะใช้อารมณ์ขันเล็กน้อยในสุนทรพจน์ของคุณ มันทำให้หัวข้อที่ยากฟังดูง่ายขึ้นและทำให้คุณเป็นที่ชื่นชอบมากขึ้นสำหรับผู้ฟัง [26]
  • มองไปรอบๆ ผู้ฟัง สบตาโดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างช่วงที่คุณหยุดพูดสุนทรพจน์ ถ้าหากคุณรู้สึกประหม่าที่ต้องทำสิ่งนี้ก็สามารถเลือกคนใดคนหนึ่งในหมู่ผู้ฟังและพูดประหนึ่งว่าคุณพูดกับเขาเพียงคนเดียว หลังจากนั้นก็เลือกคนอื่นและทำขั้นตอนซ้ำ [27]
  • ผ่อนคลายด้วยการนึกถึงความทรงจำที่อบอุ่นใจก่อนเริ่มพูด วิธีนี้ช่วยคุณรู้สึกตื่นเต้นน้อยลงเมื่อเริ่มต้น
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าพูดโม้หรืออวดดีระหว่างสุนทรพจน์ คุณต้องถ่อมตนและเปิดใจรับฟังคำถาม ข้อแนะนำและความคิดเห็นตอบรับ
  • หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าถ้าทำได้ อย่าประชดหรือล้อเลียนเมื่อพูดถึงมุมมองอื่นๆ นอกเหนือจากมุมมองของคุณ สิ่งนี้อาจทำให้คุณแตกแยกกับผู้ฟังถึงแม้ว่าจะเป็นผู้ฟังที่เห็นด้วยกับคุณก็ตาม
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,084 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา