ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ปกติเวลาจะเชื่อมต่อ external hard drive กับคอม ก็แค่เสียบสายเท่านั้น แต่ถ้าใช้ Macbook Pro หรือเครื่อง Mac ต้องฟอร์แมตฮาร์ดไดรฟ์เป็น file system ที่ Mac รองรับซะก่อน เวลาฟอร์แมตไดรฟ์ ข้อมูลทั้งหมดจะหายไป ถ้าฮาร์ดไดรฟ์เป็นฟอร์แมต NTFS มาแต่แรกเหมือนฮาร์ดไดรฟ์ที่ขายกันทั่วไป Mac OS X จะอ่านข้อมูลได้เฉยๆ เซฟข้อมูลไม่ได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เชื่อมต่อไดรฟ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เสียบฮาร์ดไดรฟ์ที่เครื่อง Mac ด้วยสายที่ติดมา. ฮาร์ดไดรฟ์ส่วนใหญ่จะเสียบต่อผ่านสาย USB ให้เสียบสายด้าน USB ที่พอร์ทว่างของ Mac ปกติที่แต่ละด้านของ Mac จะมี 1 พอร์ท USB ขึ้นไป
    • บางไดรฟ์ที่ใช้กับ Mac โดยเฉพาะ จะมาพร้อมสาย Thunderbolt หรือ FireWire แบบนี้ต้องเสียบให้ถูกพอร์ท หรือหา adapter มาใช้ ถ้า Mac เครื่องนั้นไม่มีพอร์ทที่ใช้ได้
    เคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญ

    Jeremy Mercer

    ช่างซ่อมคอมพิวเตอร์
    เจเรมี่ เมอร์เซอร์เป็นผู้จัดการและหัวหน้าช่างของ MacPro-LAในลอสแองเจลิส เขามีประสบการณ์ทำงานซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้ากว่าสิบปีและผ่านงานร้านค้าปลีกที่เน้นทั้งอุปกรณ์ระบบ Mac และ PC
    Jeremy Mercer
    ช่างซ่อมคอมพิวเตอร์

    คุณเลือก external hard drive ได้ทั้งโดยพิจารณาตามราคาและความเร็ว บาง external hard drive จะเป็น HDD drive ทำให้ราคาถูกกว่า จุได้มาก แต่ก็ช้ากว่า ส่วน solid-state hard drive นั้นแพงขึ้นมาหน่อย แต่ทำงานเร็วกว่าเยอะ ที่สำคัญต้องเลือกสายสำหรับเสียบไดรฟ์กับ Mac ให้ถูกต้อง

  2. ถ้าฟอร์แมตและเชื่อมต่อไดรฟ์ดีแล้ว ไดรฟ์จะไปโผล่ในหน้า desktop ของ Mac โดยเป็นไดรฟ์ที่มีไอคอน USB หรือ Thunderbolt
    • ถึงเชื่อมต่อดีแล้ว บางทีไอคอนของไดรฟ์ก็อาจจะไม่โผล่มาในหน้า desktop ให้เช็คไดรฟ์ในกรอบซ้ายมือของหน้าต่าง Finder ในหัวข้อ "Devices"
    • คุณตั้งค่าให้ไดรฟ์โผล่มาที่หน้า desktop ได้โดยคลิกเมนู Finder เลือก "Preferences" แล้วติ๊กช่อง "External disks" [1]
    • ถ้าไดรฟ์ไม่โผล่มาใน Finder หรือหน้า desktop ให้อ่านส่วนถัดไปของบทความ
  3. ดับเบิลคลิกไดรฟ์ที่หน้า desktop หรือเลือกไดรฟ์จากในกรอบทางซ้ายของหน้าต่าง Finder เพื่อดูไฟล์ต่างๆ ในไดรฟ์ หลังจากนี้จะลากไฟล์ไปหย่อนในไดรฟ์ หรือ copy ไฟล์ลง internal hard drive ของ Mac ก็ได้
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ฟอร์แมตไดรฟ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. external hard drive ส่วนใหญ่ จะเป็นแบบฟอร์แมตมาแล้วให้ใช้กับคอมพิวเตอร์ Windows ซึ่งจำกัดให้ใช้งานกับ Mac แทบไม่ได้ ถ้าได้ external drive ใหม่มา เป็นแบบใช้กับ Windows จะเปิดอ่านข้อมูลได้ แต่เซฟข้อมูลไม่ได้ แบบนี้ให้ฟอร์แมตเป็น file system ที่รองรับก่อน ด้วย Disk Utility
    • ในหน้า Desktop ให้คลิกเมนู "Go" เลือก "Utilities" แล้วเลือก "Disk Utility"
    • ฟอร์แมตไดรฟ์แล้วข้อมูลทั้งหมดจะถูกลบหายไป ถ้าเป็นไดรฟ์ใหม่เอี่ยมก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเป็นไดรฟ์เดิมที่ใช้อยู่ มีไฟล์ต่างๆ ข้างในที่อยากเก็บไว้ ต้องเซฟแยกไว้ก่อนฟอร์แมตไดรฟ์
  2. จะเห็นรายชื่อไดรฟ์ทั้งหมดที่เชื่อมต่อไว้ในเมนูนี้ ให้เลือก external drive ใหม่จากในรายชื่อ
    • ถ้าไม่เจอไดรฟ์ที่ใช้ตรงนี้ ให้อ่านส่วนถัดไปของบทความ
  3. เพื่อเริ่มขั้นตอนการฟอร์แมตไดรฟ์
    • ทุกอย่าง ในฮาร์ดไดรฟ์ จะถูกลบไป เพราะงั้นอย่าลืม backup ข้อมูลสำคัญเก็บไว้ ถ้าไดรฟ์เป็นฟอร์แมต Windows ก็ copy ไฟล์ที่ต้องการจะใช้ต่อใน Mac ไว้ก่อนฟอร์แมตได้
  4. ฟอร์แมตนี้ใช้ได้กับทั้ง Mac OS X, Windows และ Linux เลยย้ายฮาร์ดไดรฟ์ไปมาระหว่างระบบได้ง่าย ไม่เหมือน FAT เวอร์ชั่นก่อนๆ ปกติจะไม่มีจำกัดขนาดไฟล์หรือจำนวนไฟล์ชัดเจน เพราะงั้นก็ใช้กับไดรฟ์ขนาดไหนก็ได้
    • ถ้าตั้งใจจะใช้ไดรฟ์กับ Mac เท่านั้น ให้เลือก "Mac OS Extended (Journaled)" เพื่อให้ใช้ทุกฟีเจอร์ของ Mac เช่น Time Capsule กับไดรฟ์นั้นได้เต็มประสิทธิภาพ
  5. เป็นขั้นตอนที่ทำแล้วทำเลย แก้ไขไม่ได้ ข้อมูลทั้งหมด ในไดรฟ์ จะถูกลบหายไป ส่วนจะฟอร์แมตเสร็จเมื่อไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของไดรฟ์
  6. พอฟอร์แมตไดรฟ์ถูกต้องตามขั้นตอนแล้ว ไดรฟ์จะไปโผล่ที่หน้า desktop ให้ดับเบิลคลิกเพื่อเปิด เท่านี้ก็เพิ่มไฟล์ ลบไฟล์ ได้ตามสะดวก
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

แก้ปัญหาไดรฟ์ไม่แสดง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เช็คว่าเสียบสายทั้งหมดที่เชื่อมต่อไดรฟ์กับ Mac ถูกต้องแล้ว ถ้าสายหลวม คอมจะสแกนไม่เจอไดรฟ์
  2. บาง external drive ต้องเสียบสายจ่ายไฟแยก แบบนี้ต้องใช้สาย USB คู่ เป็นสายที่ด้านหนึ่งเป็นหัว USB เอาไว้เสียบ external drive กับอีกด้านเป็น 2 หัวเสียบ สำหรับเสียบที่ Mac [2]
  3. ส่วนใหญ่ปัญหาการใช้งาน Mac หรือฮาร์ดไดรฟ์ แค่ปิดแล้วเปิดเครื่องก็มักจะแก้ได้ ให้ปิดคอมจากในเมนู Apple รอจนดับสนิท แล้วค่อยเปิดกลับขึ้นมาโดยกดปุ่ม Power เท่านี้ไดรฟ์ที่เสียบไว้ก็น่าจะโผล่มาหลังรีสตาร์ท
  4. บางทีอาจจะใช้สาย USB ที่ชำรุด หรือหนึ่งในพอร์ท USB ของ Mac อาจจะทำงานผิดพลาด ให้ลองเสียบฮาร์ดไดรฟ์ที่พอร์ท USB อื่น หรือใช้สาย USB อื่นดู [3]
  5. Disk Utility จะมีบางฟังก์ชั่นสำหรับ repair หรือซ่อมแซมไดรฟ์ ช่วยให้ไดรฟ์ที่ทำงานผิดพลาด กลับมาปกติตามเดิม
    • เปิด Disk Utility จากในโฟลเดอร์ Utilities
    • เลือกไดรฟ์ แล้วคลิกปุ่ม "First Aid"
    • คลิก "Run" เพื่อเริ่มสแกนไดรฟ์หา error
    • อนุญาตให้ utility แก้ error ที่เจอ น่าจะทำให้ใช้ไดรฟ์ได้อีกครั้ง แต่ระวัง ถ้าเจอ error อาจเป็นสัญญาณแรกเริ่มว่าไดรฟ์กำลังจะล่ม
  6. แน่นอนว่าสุดท้าย ฮาร์ดไดรฟ์ก็ต้องถึงคราวหมดอายุขัยสักวัน ยิ่งใช้นานไป ฮาร์ดไดรฟ์ก็ยิ่งเสื่อม เสี่ยงจะล่ม เอาจริงๆ แล้วคนส่วนใหญ่อาจจะแปลกใจด้วยซ้ำ ถ้ารู้ว่าไดรฟ์ใหม่แกะกล่องก็มีโอกาสล่มได้ง่ายกว่าที่คิด ถ้าไดรฟ์ของคุณอายุ 4 ปีขึ้นไป แล้วสแกนไม่เจอ ไม่ว่ายังไงก็ตาม เป็นไปได้มากว่าเสียซะแล้ว
    • จะลองเอาไปเสียบกับคอมเครื่องอื่นก็ได้ ว่าจะโผล่มาไหม ถ้าสุดท้ายแล้วเครื่องสแกนไม่เจอ แสดงว่าถึงเวลาเปลี่ยนไดรฟ์แล้ว
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 51,276 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา