ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการเช็คความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์เพื่อความปลอดภัยในการเข้าใช้ นอกจากข้อควรระวังเบื้องต้นเวลาท่องเว็บแล้ว คุณยังใช้ Transparency Report ของ Google หรือเว็บ Better Business Bureau ตรวจสอบเว็บไซต์ต้องสงสัยได้ด้วย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ข้อควรระวังเบื้องต้นในการท่องเว็บ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าเว็บต้องสงสัยนั้นอันตรายจริง (หรือเป็นเว็บที่โดน report บ่อยๆ) แค่เช็คใน Google ก็พอจะบอกได้แล้ว
    • ปกติ Google จะรวมรีวิวผู้ใช้ของเว็บที่คนเข้าเยอะๆ ไว้ที่ด้านบนของผลการค้นหา เพราะงั้นลองสังเกตดู
    • แต่ต้องดูดีๆ ว่ารีวิวกับ feedback นั้นไม่ใช่โฆษณาของ Google นะ
  2. เว็บที่ใช้ "https" นั้นมักปลอดภัยกว่า (เลยน่าเชื่อถือกว่า) เว็บที่ใช้ "http" ธรรมดา เพราะ security certification ของเว็บแบบ "https" พวกเว็บหลอกลวงทั้งหลายไม่เสียเวลามาใช้กัน [1]
    • แต่บางเว็บที่เชื่อมต่อแบบ "https" ก็ใช่ว่าจะปลอดภัยเสมอไป เพราะงั้นควรตรวจสอบเพิ่มเติมด้วยวิธีอื่นด้วย [2]
    • ยิ่งหน้าชำระเงินสินค้ายิ่งต้องมี "https"
  3. เช็คสถานะเว็บว่าปลอดภัยไหมโดยดูที่แถบ address ของเบราว์เซอร์. เบราว์เซอร์ส่วนใหญ่จะแสดงเว็บที่ "ปลอดภัย" โดยมีไอคอนรูปแม่กุญแจสีเขียวทางซ้ายของ URL ด้วย
    • คุณคลิกที่ไอคอนแม่กุญแจเพื่อดูรายละเอียดของเว็บได้เลย (เช่น ประเภทการเข้ารหัส)
  4. URL ของเว็บจะประกอบไปด้วยประเภทการเชื่อมต่อ ("http" หรือ "https") domain name (เช่น "wikihow") แล้วก็นามสกุลของเว็บหรือ extension (เช่น ".com" หรือ ".net") ถึงประเภทการเชื่อมต่อจะปลอดภัยแล้ว แต่ก็ต้องระวังเรื่องต่อไปนี้ด้วย
    • ใน domain name มีเครื่องหมาย dash (-) หรือสัญลักษณ์อื่นเยอะๆ
    • ใช้ domain name เลียนแบบเว็บอื่น (เช่น "Amaz0n" หรือ "NikeOutlet")
    • เป็นเว็บเลียนแบบที่ copy เทมเพลตของเว็บดังๆ มา (เช่น "visihow")
    • ใช้นามสกุล (extensions) ของเว็บแปลกๆ เช่น ".biz" หรือ ".info" เว็บพวกนี้น่าสงสัยสุดๆ [3]
    • แต่ถึงจะลงท้ายด้วย ".com" หรือ ".net" ตามปกติ ซึ่งปกติจะไว้ใจได้ ก็เป็นนามสกุลเว็บที่ซื้อหามาใช้ได้ง่ายๆ เพราะงั้นก็ไม่น่าไว้ใจ 100% เหมือนพวกเว็บที่ลงท้ายด้วย ".edu" (พวกสถาบันการศึกษาต่างๆ) หรือ ".gov" (หน่วยงานราชการ) [4]
  5. ถ้าสังเกตเห็นว่าเว็บนั้นสะกดผิดเยอะ (หรือมีคำตกหล่น) ใช้ภาษาวิบัติ หรือไม่ค่อยจะเป็นภาษามนุษย์ แสดงว่าเว็บนั้นชักจะยังไงๆ แล้ว
    • ถึงเว็บนั้นจะไม่ได้เป็นเว็บต้องสงสัย ไม่ใช่ scam หลอกลวง แต่ถ้าข้อมูลในเว็บนั้นชอบสะกดผิด ตกหล่น ก็ถือว่าไม่น่าใช้เป็นแหล่งอ้างอิงข้อมูล
  6. ถ้าเว็บนั้นมีโฆษณาแออัดยัดเยียดกันเป็นพิเศษ หรือพวกโฆษณาที่เปิดเสียงอัตโนมัติ ก็ท่าทางจะไม่น่าเชื่อถือเท่าไหร่ โดยเฉพาะถ้ามีโฆษณาลักษณะต่อไปนี้
    • โฆษณาที่ใหญ่เต็มหน้า
    • โฆษณาที่บังคับตอบแบบสอบถาม (หรือบังคับให้ทำอย่างอื่น) ก่อนถึงจะดูเนื้อหาในเว็บได้
    • โฆษณาที่ redirect คุณไปหน้าหรือเว็บอื่น
    • โฆษณาที่ล่อแหลมหรือไม่เหมาะสม
  7. แทบทุกเว็บจะมีหน้า Contact ไว้ให้คุณติดต่อสอบถามหรือส่งข้อความถึงเจ้าของเว็บ ถ้าเป็นไปได้ให้ลองโทรหรือส่งอีเมลไปตามที่ขึ้นในรายละเอียด เพื่อตรวจสอบว่าเว็บนั้นเชื่อถือได้หรือเปล่า
    • เลื่อนลงไปให้ถึงท้ายหน้า น่าจะมีลิงค์เข้าหน้า Contact
    • แต่ถ้าหาแล้วไม่มีหน้า Contact ก็เข้าข่ายเว็บน่าสงสัย
  8. ใช้การค้นหาใน "WhoIs" เพื่อดูว่าใครเป็นผู้จดทะเบียนโดเมนของเว็บไซต์. ทุกโดเมนจะต้องแสดงข้อมูลติดต่อของบุคคลหรือบริษัทที่เป็นผู้จดทะเบียนโดเมน คุณสามารถค้นหาข้อมูล WhoIs ได้จากผู้รับจดทะเบียนโดเมนส่วนใหญ่หรือจากบริการอย่าง https://www.godaddy.com/ สิ่งที่คุณควรสังเกตได้แก่ : [5]
    • การจดทะเบียนแบบ Private : ผู้จดทะเบียนสามารถเลือกจดทะเบียนโดเมนแบบ Private ได้ โดยโดเมนนั้นจะแสดงข้อมูลของผู้ให้บริการ "การจดทะเบียนแบบ Private" แทนที่จะเป็นเจ้าของตัวจริง เพราะฉะนั้นถ้าโดเมนดังกล่าวจดทะเบียนแบบ Private นั่นคือสัญญาณที่แสดงถึงความไม่ปลอดภัย
    • ข้อมูลติดต่อดูแปลกๆ : เช่น ถ้าชื่อคนจดทะเบียนคือ "สมชาย สัญญา" แต่ที่อยู่อีเมลกลับเป็น "ramsaybolton12345@hushmail.com" อาจหมายความว่าผู้จดทะเบียนจงใจปกปิดว่าตัวเองเป็นใคร
    • เพิ่งจดทะเบียนหรือย้ายโดเมน : หากโดเมนนี้เพิ่งจดทะเบียนหรือเพิ่งย้าย ก็อาจเป็นสัญญาณที่บอกว่าเว็บไซต์นี้ไม่น่าไว้ใจ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ตรวจสอบด้วย Google Transparency Report

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เข้า เว็บ Google Transparency Report . คุณเอา address ของเว็บต้องสงสัยมาเช็คระดับความปลอดภัยในเว็บนี้ของ Google ได้เลย
  2. ตรงกลางหน้า
  3. ก็คือชื่อเว็บ (เช่น "wikihow") แล้วก็นามสกุลเว็บ (เช่น ".com")
    • ทางที่ดีให้ copy URL ของเว็บมา paste ในช่องเลย
  4. เรตติ้งของเว็บจะมีตั้งแต่ "No data available" (ไม่พบข้อมูล) ไปจนถึง "Not dangerous" (ปลอดภัย) และ "Partially dangerous" (อันตรายนิดหน่อย)
    • เช่น เว็บวิกิฮาวของเรากับ YouTube จะเป็น "Not dangerous" (ปลอดภัย) ส่วนเว็บ Reddit นั้นได้ "Partially dangerous" (อันตรายนิดหน่อย) เพราะมี "deceptive content" คือเนื้อหาบางทีก็จริงบางทีก็ปลอม (เช่น โฆษณาชวนเชื่อต่างๆ)
    • นอกจากนี้ Google Transparency Report ยังยกตัวอย่างด้วย ว่าทำไมถึงให้คะแนนเว็บไปแบบนั้น เพราะงั้นคุณก็พิจารณาเอาตามสะดวก ว่าจะเชื่อหรือไม่เชื่อผลการตรวจสอบ
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ตรวจสอบด้วย Better Business Bureau

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เข้า เว็บ Better Business Bureau . เว็บ Better Business Bureau จะมีขั้นตอนที่ใช้ตรวจสอบเว็บต้องสงสัยได้
    • แต่ Better Business Bureau จะค่อนไปทางเว็บของธุรกิจต่างๆ ถ้าแค่อยากตรวจสอบว่าเว็บนั้นเข้าได้ปลอดภัยดีไหม ให้ไปเช็คใน Google Transparency Report ดีกว่า
  2. ทางที่ดีให้ copy URL ของเว็บมา paste ในช่องเลย
  3. ไม่จำเป็น แต่ก็จะช่วยตีวงให้แคบขึ้นได้
    • ถ้าไม่รู้ที่อยู่ของเว็บ/ธุรกิจนั้น ก็ข้ามขั้นตอนนี้ไปได้
  4. คุณเช็คความน่าเชื่อถือของเว็บได้ โดยเปรียบเทียบผลการค้นหาของ Better Business Bureau กับข้อมูลที่เว็บนั้นกล่าวอ้าง
    • เช่น ถ้าเว็บนั้นอ้างว่าขายรองเท้า แต่ Better Business Bureau โชว์ว่า URL นั้นลิงค์ไปที่เว็บโฆษณาหาเงิน ก็ชัดเจนว่าเป็นเว็บ scam หลอกลวง
    • แต่ถ้าผลการตรวจสอบของ Better Business Bureau นั้นตรงกันกับเนื้อหาในเว็บ ก็แสดงว่าเชื่อถือได้
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • Wolfram Alpha ก็เป็นอีกเว็บที่ใช้ตรวจสอบเว็บต้องสงสัยได้
โฆษณา

คำเตือน

  • เว็บที่คนอ่านเป็นคนสร้างเนื้อหาด้วย (อย่าง eBay หรือ Craigslist) นั้นตรวจสอบแล้วจะไม่ค่อยออกมาว่า "ปลอดภัย" เพราะข้อมูลในเว็บเพิ่มขึ้นและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด ถึงคุณจะไม่ติดไวรัสจากเว็บ eBay แต่ก็ต้องระวังเรื่องผู้ใช้อื่นอาจเป็น scam มาหลอกลวงคุณ
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 37,275 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา