PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

null คือตัวแปร (variable) ที่ไม่ได้บ่งชี้วัตถุไหน ไม่มีค่า (value) อะไร (ค่าว่าง) คุณใช้ statement ‘if’ พื้นฐาน เช็ค null ในโค้ดได้ ปกติมักใช้ null ในการแสดงหรือยืนยันการไม่มีอยู่ของอะไรบางอย่าง ในบริบทที่ว่า เราสามารถใช้ null เป็นเงื่อนไข (condition) ให้ขั้นตอนต่างๆ ในโค้ดเริ่มต้นหรือหยุดได้ด้วย [1]

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

เช็ค Null ใน Java

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. “=” เครื่องหมายเดียวใช้ประกาศตัวแปรและกำหนดค่า ใช้กำหนดตัวแปรให้เป็น null ได้
    • ค่า “0” และ null ไม่เหมือนกัน และมีผลต่างกันไป
    • variableName = null;
  2. “==” ใช้เช็คว่า 2 ค่าในแต่ละฝั่งนั้นเท่ากัน ถ้ากำหนดตัวแปรเป็น null ด้วย “=” แล้วเช็คว่าตัวแปรเท่ากับ null ไหม ก็จะได้ผลออกมาเป็นจริง (true)
    • variableName == null;
    • หรือใช้ “!=” เช็คค่าที่ "ไม่เท่ากัน"
  3. ผลของ expression จะเป็นค่า boolean (จริงหรือเท็จ (true or false)) คุณใช้ค่า boolean แทนเงื่อนไขว่า statement จะทำอะไรต่อไปได้เลย
    • เช่น ถ้าค่าเป็น null ก็แสดงข้อความ “object is null” ถ้า “==” เช็ตแล้วตัวแปรไม่เป็น null ก็ข้ามเงื่อนไขไป หรือทำอย่างอื่นแทน
    โฆษณา
 Object 
 object 
 = 
 null 
 ; 
 if 
 ( 
 object 
 == 
 null 
 ) 
 { 
 System 
 . 
 out 
 . 
 print 
 ( 
 "object is null " 
 ); 
 } 
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

เช็คด้วย Null

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปกตินิยมใช้ null เป็นค่า default แทนค่าที่กำหนด
    • string() แปลว่าค่าเป็น null จนกว่าจะถูกใช้จริง
  2. ค่า null ใช้กระตุ้นให้จบลูปหรือหยุดขั้นตอนได้ มักใช้ throw (โยน) error หรือ exception ตอนเกิดข้อผิดพลาดหรือเงื่อนไขที่ไม่ต้องการได้
  3. เช่นกัน คุณใช้ null เน้น (flag) ได้ด้วยว่าขั้นตอนยังไม่เริ่มต้น หรือเป็นเงื่อนไขใช้แสดงจุดเริ่มต้นของขั้นตอน
    • เช่น ทำอะไรสักอย่างตอนวัตถุเป็น null หรือไม่ต้องทำอะไรจนกว่าวัตถุจะ "ไม่เป็น" null
    โฆษณา
 synchronized 
 method 
 () 
 { 
 while 
 ( 
 method 
 ()== 
 null 
 ); 
 method 
 (). 
 nowCanDoStuff 
 (); 
 } 

เคล็ดลับ

  • บางคนก็ว่าใช้ null เยอะๆ แล้วดูไม่โปรเวลาเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (object oriented programming) ที่ค่าควรจะบ่งชี้วัตถุใดวัตถุหนึ่งเสมอ [2] [3]
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 10,752 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา