ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การฝึกเล่นกีตาร์นั้นเต็มไปด้วยความสนุก แม้ว่าการฝึกจับคอร์ดจะดูเหมือนยาก แต่อย่ากลัว มันก็ไม่แตกต่างจากการเล่นโน้ตทีละตัวหรอก คุณแค่เล่นมันออกมาพร้อมกันเท่านั้น บทความนี้จะค่อยๆ แนะนำวิธีการใช้นิ้วให้กับคุณ และสอนคุณเล่นคอร์ดทั่วๆ ไป เตรียมตัวให้พร้อมแล้วมาเริ่มกันเลย!

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ทำความรู้จักกับคอร์ด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. วิธีเริ่มต้นที่ดีที่สุดคือการทำความคุ้นเคยกับสายบนกีตาร์ของคุณเสียก่อนว่าแต่ละเส้นมีความสัมพันธ์กับนิ้วของคุณอย่างไร เพื่อให้ง่ายขึ้น เราจะกำหนดหมายเลขให้กับนิ้วและสายกีตาร์ โดยสายกีตาร์ของคุณจะมีหมายเลขดังนี้:
    • ในแนวตั้ง สายจะเรียงจากเลข 1 – 6 จากเสียงสูงไปยังเสียงต่ำ
    • ในแนวนอน ตัวเลขจะหมายถึงตำแหน่งของเฟร็ท
    • เมื่อพูดว่า “ให้วางนิ้วที่หนึ่งลงบนเฟร็ทที่ 3” หมายถึง คุณจะต้องวางนิ้วของคุณ “ระหว่าง” เฟร็ทที่ 2 และ 3 เพื่อให้สายกีตาร์แนบลงกับเฟร็ทที่ 3
      ลองใช้วลีภาษาอังกฤษนี้เพื่อช่วยให้คุณจำได้ว่า สายแต่ละเส้นจะต้องตั้งเสียงให้ตรงกับโน้ตไหนบ้าง เรียงจากสายที่เสียงต่ำสุดไปยังเส้นที่เสียงสูงสุด:
      E at A ll D ay, G et B ig E asy. [1]
  2. ลองดูที่มือซ้ายของคุณและจินตนาการว่ามีตัวเลขแปะอยู่บนนิ้ว นิ้วชี้เป็นเลข 1 นิ้วกลางเป็นเลข 2 นิ้วนางเป็นเลข 3 และนิ้วก้อยเป็นเลข 4 นิ้วโป้งจะถูกแทนด้วยตัว “T” แต่ในบทความนี้คุณจะยังไม่ต้องใช้นิ้วโป้งในการจับคอร์ด
  3. คอร์ดแรกที่เราจะเรียนคือ คอร์ด C ซึ่งเป็นคอร์ดพื้นฐานที่สุดในดนตรี ก่อนที่จะเริ่ม เรามาทำความเข้าใจก่อนว่าคอร์ดคืออะไร คอร์ดที่ถูกต้องนั้น ไม่ว่าจะเป็นการเล่นจากเปียโน กีตาร์ หรือให้หนูหลายๆ ตัวที่ถูกฝึกมาแล้วร้องออกมา ก็จะฟังดูเหมือนมีโน้ตสามตัวหรือมากกว่าดังพร้อมๆ กัน (โน้ต 2 ตัวเรียกว่า “โน้ตคู่” มีประโยชน์ทางดนตรีแต่ไม่นับเป็นคอร์ด) คอร์ดสามารถประกอบด้วยโน้ตมากกว่า 3 ตัว แต่คอร์ดแบบนี้อยู่นอกเหนือขอบเขตของบทความนี้ นี่คือหน้าตาของคอร์ด C บนกีตาร์:
    • โน้ตเสียงต่ำที่สุดอยู่ที่เฟร็ทที่ 3 ของสาย A คือ: C
    • โน้ตตัวต่อไปอยู่ที่ เฟร็ทที่ 2 ของสาย D คือ: E
    • สังเกตว่าบนสาย G ไม่ต้องวางนิ้ว เมื่อตีคอร์ด C สายนี้จะถูก “เปิด” ไว้
    • โน้ตเสียงสูงที่สุดอยู่ที่ เฟร็ทที่ 1 ของสาย B คือ: C
    • สำหรับคอร์ดซีเมเจอร์ จะไม่เล่นสายล่างสุดกับบนสุดของกีตาร์
  4. เล่นโน้ตที่อยู่ในคอร์ดทีละตัว โดยเริ่มจากเสียงต่ำไปเสียงสูง ไม่ต้องรีบและตั้งใจกับการกดนิ้วลงบนเฟร็ทให้แน่นและดีดสาย ปล่อยให้โน้ตดังให้นานที่สุดเท่าที่ทำได้ แล้วค่อยย้ายไปเล่นโน้ตตัวอื่น ดังนี้:
    • กดนิ้วสามบน เฟร็ทที่ 3 ของสาย A ตามภาพด้านบน แล้วดีดสาย ปล่อยให้โน้ตดังจนค่อยๆ เงียบไป นั่นคือโน้ตตัว C
    • กดนิ้วสองบนเฟร็ทที่ 2 ของสาย D จากนั้นดีดและปล่อยให้โน้ตดังจนเงียบ นั่นคือโน้ตตัว E
    • พักนิ้ว! ดีดสายเปล่า โดยไม่ต้องกดนิ้วบนสาย G
    • กดนิ้วหนึ่งบนช่องแรกของสาย B แล้วปล่อยให้โน้ตตัว C ดังออกมา!
    • เล่นโน้ตทีละตัว ซ้ำไปมาหลายๆ รอบ เมื่อคุณพร้อม ลองกรีดปิ๊กหรือนิ้วของคุณผ่านสายทั้ง 4 เส้นที่อยู่ตรงกลางแบบเร็วๆ คุณเล่นคอร์ด C ได้แล้ว!
    • เมื่อเริ่มเล่นช่วงแรกๆ คุณอาจรู้สึกปวดที่นิ้ว แต่เมื่อนิ้วเริ่มด้านคุณก็จะไม่รู้สึกเจ็บอีกต่อไป
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

เรียนรู้คอร์ดเพิ่มเติม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การเล่นคอร์ด C เป็นเรื่องที่เพลิดเพลินและเป็นประตูที่จะเปิดนำคุณไปสู่สิ่งที่น่าสนใจในดนตรีอีกมาก แต่สำหรับดนตรียังมีอะไรมากกว่านั้นมาก อีก 2 คอร์ดที่ใช้กันมากเมื่อเล่นในคีย์ซีเมเจอร์ คือ คอร์ด F และ คอร์ด G ฝึกจับคอร์ด F ตามนี้:
    • โน้ตที่อยู่ในคอร์ด F ได้แก่ F A และ C สังเกตว่าโน้ต F และ C ใช้นิ้วเดียวกันในการกด โดยนิ้วชี้จะถูกวางทาบลงบนเฟร็ทที่ 1 ของสาย 1 และสาย 2
    • โดยทั่วไป คอร์ดถูกสร้างขึ้นโดยที่โน้ตเสียงต่ำสุดจะเป็นเสียงต้น แต่ในกรณีนี้ เสียงโน้ตตัว F จะอยู่บนเฟร็ทแรกของสาย 1 เรียกว่า “การพลิกกลับ”
  2. คุณสามารถเล่นโน้ตตัว F ให้เป็นเสียงต้นได้ โดยเล่นโน้ต F บนเฟร็ทที่ 3 ของสาย D ด้วยนิ้วนาง และคุณอาจสังเกตว่าเสียงของคอร์ดไม่ได้เปลี่ยนไปมากนัก แต่ฟังดู “เต็มขึ้น”
  3. คอร์ด G เป็น 1 ใน 3 คอร์ดหลักใน สเกลซีเมเจอร์ เช่นเดียวกับคอร์ด C และ คอร์ด F มีวิธีจับคอร์ด G ได้หลายแบบ และเราจะสอนคุณ 2 แบบ แบบแรกเป็นแบบง่าย ใช้นิ้วเหมือนกับคอร์ด F แบบขยาย แค่ขยับสูงขึ้นไปอีก 2 เฟร็ท:
  4. นี่คือวิธีเล่นคอร์ด G ด้วยนิ้วเพียงนิ้วเดียว:
  5. ตอนนี้คุณก็รู้จักคอร์ดพื้นฐานในคีย์ซี แล้ว เอามารวมกัน และคุณก็อาจจะเล่นเพลงดังๆ ได้มากมาย ตีคอร์ด C 4 ครั้ง ตามด้วย F อีก 2 ครั้ง และ G อีก 2 ครั้ง แล้วก็ย้อนกลับไปเริ่มที่ C
    • ในแต่ละคอร์ดบางครั้งจะมีตัวเลขโรมันกำกับอยู่ ตัวเลขเหล่านี้หมายถึงตำแหน่งของโน้ตต้นเสียงของคอร์ดบนบันไดเสียง ไม่ใช่นิ้ว เมื่อคุณรู้จักคอร์ดพื้นฐานในคีย์เสียงทุกคีย์แล้ว การดูตารางคอร์ดอาจจะทำให้คุณเล่นง่ายกว่าการบอกเป็นโน้ตทีละตัวทุกครั้ง
    • ฝึกซ้ำจนกว่านิ้วของคุณจะหมดแรงแล้วค่อยพัก แต่กลับมาก่อน เราจะสอนคอร์ดพื้นฐานในคีย์ E และ A ให้คุณอีก!
  6. มีเพลงร็อคมากมายที่อยู่ในคีย์เสียง E รวมถึงพวกเพลงบลูส์ด้วย คอร์ดที่คุณจะได้เรียนก็คือ E Maj (I), A Maj (IV), และ B Maj (V). เอาล่ะ นี่คือคอร์ด E:
    • นี่เป็นอีกคอร์ดที่เล่นได้ง่าย เมื่อคุณเริ่มนิ้วด้านขึ้นมาบ้างแล้ว คุณสามารถเล่นทุกสายพร้อมกันได้ ตีคอร์ดนี้แรงๆ ปล่อยให้มันระเบิดเสียงออกมาให้ดังกระหึ่ม แล้วคุณจะรู้สึกเหมือนเป็นร็อคฮีโร่!
  7. นี่คืออีกคอร์ดที่มี “เสียงคอร์ดใหญ่” มีวิธีการจับคอร์ดได้หลายแบบ คุณจะใช้นิ้วเดียวทาบลงบนเฟร็ทที่ 2 ของสาย B G และ D (โน้ต C#, A และ E ตามลำดับ) หรือจะใช้หลายนิ้วกดก็ได้ ในตัวอย่างนี้เราจะใช้นิ้วก้อยกดสาย B นิ้วนางกดสาย G และนิ้วกลางกดสาย D
    • เมื่อคุณเริ่มจับคอร์ดได้ดีขึ้น คุณจะเริ่มเข้าใจวิธีการเปลี่ยนจากคอร์ดนึงไปอีกคอร์ดอย่างรวดเร็วแม้ว่าบางทีการวางนิ้วอาจจะดูแปลกๆ แต่ว่าก็ใช้ได้เหมือนกัน หลักการก็คือ ใช้นิ้วของคุณให้มีประสิทธิภาพที่สุด เมื่อคุณเริ่มฝึกฝนแล้วก็อย่ากลัวที่จะทดลองอะไรใหม่ๆ
  8. คุณสามารถเลือกจับได้ทั้งแบบง่ายและแบบยาก แบบง่ายแสดงด้วยตัวเลขสีดำ คุณสามารถเพิ่มโน้ตที่เป็นตัวเลขสีเทาเข้าไปได้
  9. นี่เป็นรูปแบบการตีคอร์ดสั้นๆ ที่ให้ลองในคีย์ E:
    • ทดลองตีคอร์ดในรูปแบบต่างๆ ดู อย่ายึดติดกับเส้นในกระดาษ
  10. คุณเรียนรู้ไป 2 ใน 3 ส่วนแล้ว! ในคีย์ A ประกอบด้วย คอร์ด A เป็นคอร์ดในตำแหน่งแรก (I) คอร์ด D ในตำแหน่งที่ 4 (IV) และอีกหนึ่งสมาชิกที่มีความสำคัญมาก คือ คอร์ด E ในตำแหน่งที่ 5 (V) นี่คือวิธีจับคอร์ด D:
    • ใช้นิ้วชี้วางพาดลงไปบนสาย 3 เส้นแรก นี่เป็นจุดเริ่มต้นของ “คอร์ดทาบ” คอร์ดทาบแบบเต็มจะใช้นิ้วหนึ่งนิ้ววางทาบไปบนสายทุกเส้น และมักจะอยู่บนรูปแบบพื้นฐานที่แสดงในบทความนี้
  11. การจับวิธีนี้จะมีประโยชน์มากเมื่อใช้เล่นร่วมกับคอร์ด D และคอร์ด E:
  12. นี่คือเพลงสั้นๆ ที่คุณจะได้ทดลองเล่นคอร์ดใหม่นี้:
    • ตอนนี้ลองนึกถึงเพลง “Down on the Corner” ของวง Creedence Clearwater Revival แล้วลองเล่นมันอีกที! [2] [3]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ใช้แผนภาพคอร์ดวิดีโอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. นิ้วนางกดที่สายบนสุด เฟร็ทที่ 3 นิ้วกลางอยู่ที่สาย 5 เฟร็ทที่ 2 และนิ้วก้อยสายล่างสุด เฟร็ทที่ 3 ดีดสายทุกเส้นพร้อมกันเพื่อเล่นคอร์ด ถ้าคุณอยากลองเพิ่มโน้ตบนเฟร็ทที่ 3 สาย 2 ดูก็ได้ โน้ตตัวนี้ไม่ได้จำเป็นนัก แต่จะทำให้คอร์ดของคุณมีเนื้อเสียงมากขึ้น
    • --3--
    • --0--
    • --0--
    • --0--
    • --2--
    • --3--
  2. วางนิ้วนางบนสาย 5 เฟร็ทที่ 3 ตามด้วยนิ้วกลางบนสาย 4 เฟร็ทที่ 2 สังเกตดูว่าจะเหมือนวิธีเริ่มต้นจับคอร์ด G แค่ขยับสายลงมา 1 เส้น เท่านั้น และท้ายที่สุด วางนิ้วชี้บนสาย 2 เฟร็ทที่ 1 ดีดสายทุกเส้นยกเว้นเส้นบนสุด
    • --0--
    • --1--
    • --0--
    • --2--
    • --3--
    • --X--
  3. คอร์ดนี้จะใช้แค่สาย 4 เส้นล่างเท่านั้น วางนิ้วชี้บนสาย 3 เฟร็ทที่ 2 นิ้วนางบนสาย 2 เฟร็ทที่ 3 และนิ้วกลางบนสาย 1 เฟร็ทที่ 2 จะเกิดเป็นรูปสามเหลี่ยม ดีดสายที่ 1 ถึงสายที่ 4 ซึ่งเป็นโน้ต D บนสายเปิด เพื่อลองฟังเสียงคอร์ดที่ได้
    • --2--
    • --3--
    • --2--
    • --0--
    • --X--
    • --X--
  4. คอร์ดนี้จะใช้สายทั้ง 6 เส้น กดนิ้วกลางและนิ้วนางลงบนเฟร็ทที่ 2 ของสาย 4 และ 5 จากนั้นวางนิ้วชี้บนสาย 3 เฟร็ทที่ 1 ดีดสายทั้ง 6 เส้น
    • --0--
    • --0--
    • --1--
    • --2--
    • --2--
    • --0--
    • จับคอร์ด E ไมเนอร์ โดยยกนิ้วชี้ขึ้น ปล่อยให้สาย 3 เป็นสายเปิด [4]
  5. คอร์ด A เมเจอร์เป็นอีกคอร์ดที่ง่ายที่สุด ใช้นิ้วชี้ นิ้วนางและนิ้วกลาง กดลงบนเฟร็ทที่ 2 ของสาย 2, 3, 4 ดีดลงบนสายทุกเส้น ยกเว้นสาย E เสียงต่ำ
    • --0--
    • --2--
    • --2--
    • --2--
    • --0--
    • --X--
    • สร้างคอร์ด A ไมเนอร์ ด้วยการเล่นเฟร็ทแรก แทนที่เฟร็ทที่สอง บนสาย B รูปการจับคอร์ดจะคล้ายกับ E เมเจอร์
  6. คอร์ด F จะคล้ายกับคอร์ด C เมเจอร์ แค่เลื่อนต่ำลงมา ไม่ต้องสนใจสายบนสุดทั้งสองเส้น กดนื้วนางลงบนสายที่ 4 เฟร็ทที่ 3 นิ้วกลางกดสาย 3 ในเฟร็ทที่ 2 และสุดท้าย นิ้วชี้กดสาย 2 เฟร็ทแรก แล้วดีดลงบนสาย 4 เส้นล่าง
    • --0--
    • --1--
    • --2--
    • --3--
    • --X--
    • --X-- [5]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เมื่อคุณรู้จักคอร์ดพื้นฐานแล้ว จะง่ายกว่าถ้าคุณคิดถึงมันในแง่การทำงานของแต่ละคอร์ดภายในคีย์ เช่น เมื่อยู่ในคีย์ E คอร์ด E (I) จะถูกเรียกว่า โทนิคคอร์ด คือ คอร์ดที่คอร์ดอื่นๆ พยายามจะเข้ามาหา ซึ่งช่วยให้รู้สึกถึงความเคลื่อนไหวในทางดนตรีของดนตรีตะวันตก คอร์ด A (IV) ในคีย์ E ทำหน้าที่เป็นซับโดมินันท์ (Subdominant) เป็นคอร์ดที่อยู่ตรงกลางจะขยับต่อไปข้างหน้า หรือจะย้อนกลับมาหาคอร์ดโทนิคก็ได้ทั้งนั้น ขณะที่คอร์ดโดมินันท์ (Dominant) ก็เป็นไปตามความหมายของมันเลย คือ จะนำคุณไปสู่จุดที่มันต้องการไป ในคีย์ E ตำแหน่งนี้ก็คือ คอร์ด B (V) และจะทำให้สมองของคุณรู้สึกว่าจะต้องย้อนกลับไปที่คอร์ดโทนิคแน่นอน เมื่อคุณคุ้นเคยกับคอร์ดมากขึ้น และต้องการร่างเพลง ลองเขียนในรูปของ I-IV-V (หรือการเดินคอร์ดแบบอื่น) แทนที่จะเขียนด้วยชื่อคอร์ดอย่าง E-A-B จะช่วยให้การขยับคีย์เพลงทำได้ง่ายขึ้นเมื่อนักร้องของคุณไม่สามารถร้องตามคีย์ต้นฉบับได้
โฆษณา

คำเตือน

  • ครั้งนึง ริงโก สตาร์ เคยกล่าวไว้หลังจากจบการอัดเทปรายการอย่างดุเดือดว่า “นิ้วของฉันพองไปหมดแล้ว!” คุณจะมีตุ่มพองเกิดขึ้นที่นิ้วและจะเจ็บด้วย และดังที่จอร์จ แฮริสัน เขียนไว้ว่า “แล้วทุกอย่างจะผ่านไป” ดังนั้น ตุ่มพองก็จะหายไปเช่นกัน และคุณจะมีผิวหนังด้านๆ ขึ้นมาแทนที่ จงฝึกบ่อยๆ แล้วไม่นานคุณก็จะไม่ต้องกังวลกับอาการเจ็บที่นิ้วอีกเลย


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 215,769 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา