ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะมีเซ็นเซอร์ไว้วัดอุณหภูมิภายใน แต่คุณหาข้อมูลนี้เจอไม่ได้ง่ายๆ นี่สิ เพราะงั้นจะสะดวกกว่า ถ้าดาวน์โหลดโปรแกรมไว้คอยวัดอุณหภูมิของคอมให้คุณ พอรู้อุณหภูมิที่แท้จริงของคอมแล้ว ถ้าสูงเกินไปจะได้หาทำให้เย็นลงได้แบบทันท่วงที

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

เช็คอุณหภูมิ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คอมบางเครื่องไม่ต้องมีโปรแกรมแยกก็เช็คอุณหภูมิภายในได้เลย แต่ส่วนใหญ่คุณต้องไปดาวน์โหลดแอพเพิ่มเติม ถึงจะเข้าถึงข้อมูลที่ว่าได้ เดี๋ยวนี้มีให้เลือกเยอะแยะ ทั้งแอพฟรีและแบบเสียเงินในราคาย่อมเยา [1]
    • แอพที่แนะนำก็เช่น Real Temp, HWMonitor, Core Temp และ Speed Fan
    • จริงๆ แล้วแอพที่ว่ามาก็ใช้ดีพอๆ กัน ขึ้นอยู่กับคุณว่าอยากใช้แอพฟรีหรือเสียเงิน รวมถึงขึ้นอยู่กับแพลตฟอร์มที่เลือกด้วย
  2. พอเลือกโปรแกรมได้แล้ว ก็ให้ดาวน์โหลดลงคอม ต้องเลือกเว็บที่ปลอดภัย โดยเอาชื่อโปรแกรมไปค้นใน search engine พยายามเลือกเว็บ official ของโปรแกรมเอง เจอแล้วก็ดาวน์โหลดไฟล์ติดตั้งลงคอมได้เลย [2]
    • เวลาจะดาวน์โหลดโปรแกรม ให้คลิกปุ่ม "Download" ของโปรแกรมอะไรก็ตามที่คุณเลือก แล้วจะมีหน้าจอโผล่มาแนะนำขั้นตอนการติดตั้ง
  3. พอหน้าจอโผล่ขึ้นมา ให้คลิก "Run" ในขั้นตอนติดตั้ง ถ้าไม่มีหน้าจอโผล่มา อาจจะต้องหาก่อนว่าไฟล์ที่ดาวน์โหลดมาอยู่ที่ไหนในคอม แล้วคลิกไฟล์เพื่อเริ่มขั้นตอนการติดตั้ง จากนั้นติดตั้งไปตามขั้นตอนที่ปรากฏในหน้าจอ ถ้าไม่รู้ว่าจะปรับแต่ง settings ยังไงดี ก็ให้ใช้ default settings หรือค่าตั้งต้นไป [3]
  4. พอติดตั้งโปรแกรมแล้ว ก็ให้คลิกเพื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมา ส่วนใหญ่เปิดแล้วจะเจอหน้าจอแสดงอุณหภูมิข้างในของแล็ปท็อป แต่บางโปรแกรมก็จะแสดงอุณหภูมิสูงสุดของแล็ปท็อปที่ไม่ควรเกินนั้นด้วย และมีให้คุณตั้งได้ ว่าจะให้โปรแกรมเตือนเมื่ออุณหภูมิแล็ปท็อปสูงเท่าไหร่ [4]
    • ปกติอุณหภูมิสูงสุดจะอยู่ที่จุดเดือด คือ 100°C (212°F) แต่ยังไงให้อ่านคู่มือดู ว่าอุณหภูมิสูงสุดของคอมที่ใช้คือเท่าไหร่
    • อุณหภูมิที่แนะนำของแล็ปท็อป คือต่ำกว่า 50°C (122°F) เพราะงั้นพยายามใช้อย่าให้เกินนี้ [5]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

รักษาอุณหภูมิแล็ปท็อปให้เย็นอยู่เสมอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปกติค่าของแล็ปท็อปทั่วไปจะเป็น "passive" cooling เวลาไม่ได้เสียบชาร์จ เพื่อประหยัดแบต แต่ถ้าเครื่องร้อนจัดประจำ (overheating) ก็ต้องเปลี่ยนเป็นระบายอากาศแบบ active ให้ไปที่ power options ใน control panel คลิก "Change power settings" ในแผนที่จะเปลี่ยน แล้วคลิก "Change advanced power settings" [6]
    • อาจจะต้องมองหาสักหน่อยกว่าจะเจอ ให้สังเกตชื่อประมาณว่า "Processor power management" หรือ "Power saver settings" ในหัวข้อพวกนี้ จะมีตัวเลือกให้เปลี่ยน cooling เป็นแบบ active
  2. ถึงจะหาที่เย็นๆ ทำงานตลอดได้ยาก แต่ก็พยายามหลบแดดหรือเข้าที่ร่มลมตกหน่อย เพราะยิ่งอากาศเย็น ก็ยิ่งช่วยลดภาระให้คอม ย้ำว่าถ้าเป็นไปได้ พยายามอย่าใช้แล็ปท็อปในที่ที่ร้อนเกิน 35°C (95°F) [7]
    • เปิดพัดลมจ่อแล็ปท็อปก็ช่วยระบายความร้อนได้อีกแรง [8]
  3. ถ้าวางแล็ปท็อปบนพื้นผิวนุ่มๆ เช่น หมอน หรือผ้าห่ม จะทำให้ระบายความร้อนได้ยาก อากาศไม่ค่อยถ่ายเท แนะนำให้วางแล็ปท็อปบนพื้นผิวราบเรียบ แข็งแรง เช่น หน้าโต๊ะ และเช็คว่าไม่มีอะไรบังช่องระบายอากาศ [9]
    • ถ้าจำเป็นต้องวางแล็ปท็อปบนตักเวลาใช้งาน ให้หา cooling pad หรือพัดลม external มาเสียบเพิ่ม
  4. ถ้าใช้งานแล็ปท็อปแบบ overdrive ตลอดเวลา ก็ร้อนจัดแน่นอน พยายามสลับไปใช้งานในโหมดเซฟแบต (battery-saving mode) บ้าง จะช่วยลดพลังงานที่ต้องใช้ คอมก็เย็นลงด้วย [10]
    • อีกวิธีลดการใช้พลังงานก็คือถอดปลั๊กทุกครั้งที่มีโอกาส เพราะแล็ปท็อปส่วนใหญ่จะเข้าโหมดประหยัดพลังงานทันทีถ้าไม่ได้เสียบชาร์จ [11]
  5. ถ้าฝุ่นผงสะสมตามพัดลมและช่องระบายอากาศ ก็แน่นอนว่าจะระบายความร้อนได้ไม่ดีอย่างเคย วิธีแก้คือต้องหมั่นทำความสะอาดพัดลมเรื่อยๆ ง่ายสุดคือปิดเครื่องและถอดปลั๊ก จากนั้นใช้ฉีดพ่นลมอัดกระป๋องเข้าไปในช่องระบายอากาศ แต่ต้องพ่นแค่สั้นๆ เท่านั้น อย่าแช่ยาว [12]
    • หรือใช้คอตตอนบัดเช็ดฝุ่นผงออกมา
    • อีกวิธีคือใช้เครื่องดูดฝุ่นสำหรับใช้กับคอม/แล็ปท็อปโดยเฉพาะ รับรองดูดฝุ่นผงที่สะสมออกมาได้หมดจด
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,806 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา