ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

สมัยนี้อะไรก็เกิดขึ้นได้ คุณจึงควรเตรียมตัวพร้อมรับทุกสถานการณ์ฉุกเฉินอยู่เสมอ บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการเตรียมถุงยังชีพประจำบ้านให้คุณเอง อย่างถ้ามีเหตุให้ต้องอพยพทิ้งบ้านก็จำเป็น เพราะงั้นต้องติดรถไว้เลย

  1. ต้องเตรียมของอะไรใส่ถุงยังชีพบ้าง เลื่อนลงไปอ่าน "สิ่งของที่ใช้" ท้ายบทความเลย.
  2. ตอนเกิดเหตุฉุกเฉินหรือภัยพิบัติ ตัวคุณเอง คนในบ้าน หรือเพื่อนบ้าน ก็อาจมีแผลเปิด แผลไหม้ หรืออาการบาดเจ็บอื่นๆ ได้ ถ้ามีอุปกรณ์ปฐมพยาบาล ก็จะช่วยเหลือแก้ไขได้ทันท่วงที
  3. ต้องติดตามข่าวสาร ทั้งจากเพื่อนบ้าน คนในหมู่บ้าน หรือทางเขต ว่าในพื้นที่ของคุณกำลังเตรียมรับภัยพิบัติหรืออะไรอยู่หรือเปล่า และควรปฏิบัติตัวอย่างไร มีจุดรวมพลในกรณีฉุกเฉินไหม
  4. ไล่เรียงเหตุร้ายที่อาจเกิด แล้วเตรียมตัวโดยยึดตามแผนนั้น.
  5. หาซื้อไฟฉายกับวิทยุที่ "ใช้พลังงานแสงอาทิตย์" หรือ "ชาร์จโดยใช้มือหมุน". ในกรณีที่เกิดภัยพิบัติ แน่นอนว่าไฟจะดับและหาซื้อแบตเตอรี่หรือถ่านไม่ได้ ถ้ารุ่นใหม่ๆ จะมี "Weatherband/Emergency Band" ไว้บอกอากาศหรือสภาวะฉุกเฉิน และใช้ชาร์จ มือถือ ได้ด้วย เพราะงั้นถ้าเกิดภัยพิบัติแล้วใช้มือถือไม่ได้ ก็แสดงว่า เสาสัญญาณ และระบบเครือข่ายมือถือทั้งหมดเสียหายหรือล่มไปแล้วเรียบร้อย ถ้าใครมีงบแล้วหามือถือที่ใช้สัญญาณดาวเทียมได้จะดีมาก ไม่มีเสาสัญญาณก็ไร้ปัญหา เพราะเชื่อมต่อกับดาวเทียมที่กำลังโคจรโดยตรงเลย
  6. แต่ละพื้นที่ก็มีลักษณะภัยพิบัติแตกต่างกันไป ของที่ต้องเตรียมไว้ในถุงยังชีพก็เลยแตกต่างออกไปด้วย เช่น น้ำท่วมในบ้านเรา หรือ พายุเฮอริเคน และทอร์นาโดในต่างประเทศ แต่ก็มีบางอย่างที่ไม่ว่าจะอยู่เขตอากาศไหนก็ใช้ได้แน่นอน
  7. ได้ใช้แน่นอนถ้าคุณต้องอพยพฉุกเฉิน ออกนอกเส้นทางปกติ
  8. ถ้าในบ้านไม่มี และไปซื้อได้ไม่หมดในรอบเดียว ก็ต้องจดรายชื่อของที่ต้องซื้อติดตัวไว้ตลอด
  9. เตรียมอุปกรณ์ปฐมพยาบาล ทั้งสำหรับใช้ประจำวัน และสำหรับเหตุฉุกเฉินหรือตอนเกิดภัยพิบัติ. ของที่ต้องหาไว้ก็เช่น
    • ถุงมือยาง อย่างน้อย 2 คู่ สำหรับกล่องปฐมพยาบาลขนาดเล็ก เผื่อเกิดเหตุต้องช่วยคนแปลกหน้า ก็ต้องป้องกันการติดเชื้อไว้ก่อน
      • ให้เลือกถุงมือไวนิลแทน ถ้าคุณหรือคนในบ้านแพ้ลาเท็กซ์ เพราะไม่งั้นจะอันตรายมาก
      • เตรียมถุงมือสำรองไว้เยอะๆ ในกล่องปฐมพยาบาลฉุกเฉินพร้อมอพยพ เพราะบางเหตุการณ์อาจต้องใช้หลายคู่ในครั้งเดียว
      • เช็คสภาพถุงมือก่อนใช้งาน โดยเฉพาะถ้าเก็บไว้ในที่ร้อนหรือเย็นจัด เพราะบางทีก็ผิวแตกร่อนได้ แต่ถุงมือที่อยู่ในสุดของกล่องส่วนมากจะยังดีอยู่ เพราะงั้นอย่าเพิ่งโยนทิ้งทั้งกล่องแค่เพราะหมดสภาพไป 2 - 3 คู่แรก ลองแกะออกมาตรวจเช็คให้หมด
    • ผ้าพันแผลแบบฆ่าเชื้อแล้ว สำหรับห้ามเลือด (ถ้าหนาหน่อยจะเรียก surgical pads ลองถามตามร้านขายยาดู)
    • สบู่หรือน้ำยาทำความสะอาด และผ้าเช็ดมือฆ่าเชื้อ
      • ขี้ผึ้งยาปฏิชีวนะสำหรับฆ่าเชื้อ
    • ขี้ผึ้งยารักษาแผลไหม้ ช่วยบรรเทาอาการปวด
    • พลาสเตอร์ขนาดต่างๆ
    • ผ้าก๊อซ
    • เทปปิดแผล (micropore tape)
    • แหนบ
    • กรรไกร
    • น้ำยาล้างตา เอาไว้กำจัดฝุ่นผง สิ่งสกปรกที่เข้าตา หรือน้ำเกลือฆ่าเชื้อสำหรับทำความสะอาด ขจัดสิ่งปนเปื้อน น้ำเกลือฆ่าเชื้อจะขายเป็นขวด หาซื้อได้ตามร้านขายยา
    • เทอร์โมมิเตอร์
    • ยาประจำตัวที่คุณหมอจ่ายให้ และต้องกินหรือฉีดทุกวัน เช่น อินซูลิน ยาโรคหัวใจ และยาพ่นแก้หอบหืด
      • ให้หมุนเวียนเปลี่ยนยาเป็นระยะ จะได้ไม่หมดอายุพร้อมกันทั้งหมด ยิ่งถ้าเป็นอินซูลินที่ต้องแช่เย็น ก็ต้องเตรียมการดีๆ
    • ยาแก้ปวด (เช่น Tylenol กับ Advil) กับยาแก้แพ้ (เช่น Benadryl) ที่หาซื้อได้ตามร้านขายยา
    • เวชภัณฑ์ที่ต้องมีใบสั่งแพทย์ เช่น กลูโคส กับอุปกรณ์และเครื่องวัดความดัน
  10. ไม่จำเป็นต้องแพง แค่กันน้ำได้ ใหญ่พอ และมีฝาปิดสนิท ตามร้าน 60 บาทก็มีขาย
    • แต่ก็อย่าเลือกกล่องใหญ่เกิน เวลาเกิดเหตุฉุกเฉินจะได้หยิบฉวยขึ้นรถ ไปที่สนาม หรือเข้าบ้านได้สะดวกรวดเร็ว ถ้ามีล้อเลื่อนหรือหูหิ้วด้วยยิ่งดี
    • ถ้ามีงบ ควรเตรียมกล่องหรือถุงยังชีพแบบนี้ไว้ทั้งที่บ้าน ในรถ และที่ทำงาน
    • เพราะคุณไม่มีทางรู้ว่าจะเกิดเหตุฉุกเฉินเมื่อไหร่
    • ถ้าจะทำถุงยังชีพสำหรับเดินเท้า ให้ใช้เป้ (backpack) หรือกล่องพลาสติกสำหรับใส่เครื่องมือ
    • แยกประเภทของต่างๆ ไว้ในถุงซิปล็อคขนาดต่างๆ ทั้งถุงเล็กแบบใส่แซนวิช ถุงกลางขนาด 1 ลิตร และถุงใหญ่ 1 แกลลอน (4 ลิตร)
    • ใครทำงานในเมือง ให้เตรียมเป้ติดโต๊ะทำงานไว้ ข้างในใส่น้ำดื่ม ธัญพืชอัดแท่ง (energy bar) ไฟฉาย ถุงเท้าสำรอง และรองเท้ากีฬาดีๆ เผื่ออยู่ๆ ขนส่งมวลชนเกิดใช้การไม่ได้ขึ้นมา
  11. ขาดน้ำก็มีชีวิตต่อไปไม่ได้ เพราะงั้นต้องเตรียมน้ำดื่ม (บรรจุขวดพลาสติกสะอาดพร้อมดื่ม) ไว้ทั้งที่บ้าน ท้ายรถ และที่ออฟฟิศ เวลาเกิดภาวะ ตึงเครียด จะได้มีน้ำดื่มตลอด
    • ถ้าบ้านไหนมีเด็ก แม่ที่ยังให้นม และคนชรา ก็ต้องเตรียมน้ำดื่มเยอะกว่าเดิม โดยเฉพาะเมืองร้อนอย่างบ้านเรา
    • เตรียมเครื่องดื่มเกลือแร่ด้วยก็ดี (พวกเกเตอเรดหรือสปอนเซอร์) ถ้าต้องเดินเท้านานๆ แดดจัดแบบบ้านเราจะทำให้เสียเหงื่อได้ง่ายและเยอะ ร่างกายต้องได้รับเกลือแร่ทดแทน
  12. เตรียม "สิ่งของที่ใช้" ใส่กล่องไว้ให้พอใช้ได้สัก 3 วัน.
  13. เตรียมอย่างอื่นที่อาจต้องใช้ โดยเฉพาะพวกยารักษาโรค พลาสเตอร์ ผ้าพันแผล อาวุธปืน (ต้องมีใบอนุญาต) และสิ่งของจำเป็นสำหรับคนวัยต่างๆ หรือตามสภาพร่างกาย โรคประจำตัว และขึ้นอยู่กับพื้นที่ของคุณด้วย.
  14. พวกอาหารสำเร็จรูปที่แบ่งกันกินได้หลายๆ คน
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เวลาเลือกอาหารใส่ถุงยังชีพ ให้เลือกที่คุณและคนในบ้านจะกินได้จริง เช่น
    • อาหารกระป๋อง พวกเนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้
    • โปรตีนหรือผลไม้อัดแท่ง
    • ซีเรียลหรือกราโนล่า
    • เนยถั่ว
    • ผลไม้แห้ง
    • แครกเกอร์
    • น้ำผลไม้กระป๋อง
    • นมพาสเจอไรซ์ที่ไม่บูดง่าย
    • อาหารพลังงานสูง
    • วิตามิน
    • อาหารเด็กอ่อน
    • อาหารที่คุณชอบ กินแล้วสบายใจ หายเครียด
  • ซ้อมหนีภัยพร้อมทุกคนในบ้าน เช่น เวลาไฟไหม้ เพราะสำคัญมาก เวลาเกิดเหตุจริงจะได้รู้ทางหนีทีไล่
  • ถ้าที่จำกัด ต้องเลือกเอาไปเฉพาะของที่สำคัญจริงๆ
  • เวลาตัดแว่นใหม่ ให้เก็บแว่นเก่าสำรองไว้ อย่างน้อยถ้าเกิดเหตุสุดวิสัยก็ยังมีใช้
  • มีมือถือก็ดี แต่ไม่บังคับ เหมาะสำหรับติดต่อกันเวลาเกิดเหตุฉุกเฉิน คุณชาร์จได้มือถือได้ 2 วิธี คือใช้พาวเวอร์แบงค์ หรือที่ชาร์จแบตในรถ
  • ถุงยังชีพ หรือก็คือกล่องใส่ของใช้ที่จำเป็นของคุณนี้ ต้องหยิบฉวยง่าย เคลื่อนย้ายสะดวก เผื่อต้องอพยพกะทันหัน
  • เครื่องแปลงไฟรถเป็นไฟบ้าน (จาก DC เป็น AC) ใช้ชาร์จมือถือ จ่ายไฟให้ทีวี วิทยุ ตู้เย็น และอื่นๆ ได้เลย
  • ติดป้ายบอกว่าเป็นที่ชาร์จของมือถือเครื่องไหน จะได้ไม่ใช้สลับกันตอนรีบหรือเกิดเหตุฉุกเฉิน คนอื่นในบ้านจะได้หยิบใช้สะดวกด้วย ไม่ต้องรอคุณมาบอกหรือหยิบให้
  • แท่งเรืองแสง (glowstick) เทียนถูกดีและหาง่าย แต่อาจมีอันตรายเรื่องฟืนไฟ ถ้าแก๊สรั่วหรืออยู่แถวแก๊สติดไฟง่ายก็เสี่ยงเกิดเหตุระเบิดได้ด้วย
  • ใช้ขวดหรือซองยาเดิมที่ได้จากคุณหมอ เพราะมีรายละเอียดและปริมาณยาที่แนะนำชัดเจน ถ้าอีกหน่อยต้องการยาเพิ่ม จะได้ถูกต้อง
  • เตรียมสมุดที่อยู่และเบอร์โทร เผื่อในมือถือมีไม่ครบ หรือมือถือเจ๊งขึ้นมา
  • ติดสติกเกอร์เรืองแสงที่กล่อง ตอนไฟดับจะได้หาเจอ
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าพยายามแพ็คอาหารเค็มๆ ในถุงยังชีพ เพราะจะทำให้ดื่มน้ำมากเกินจำเป็น
  • เอาไปเฉพาะของที่จำเป็น
  • แพ็คถุงยังชีพแล้ว ต้องระวังอย่าเก็บในที่ร้อนจัด เพราะคุณภาพของอาหารหรืออุปกรณ์ต่างๆ จะลดลงไปเยอะ โดยเฉพาะถ้าแพ็คเตรียมไว้ 2 - 3 เดือนล่วงหน้า พยายามเก็บในที่อุณหภูมิไม่เกิน 27°C (80°F) และไม่โดนแดดตรงๆ จะดีกว่า
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • ถุงนอนหรือผ้าห่มหนาๆ ต้องมีถุงนอนดีๆ ไม่ก็ผ้าห่มหนาๆ อย่างน้อย 1 ชุด ต่อสมาชิกในบ้าน 1 คน เลือกที่ใช้เวลาเดินป่า เพราะถุงนอนที่เด็กๆ ใช้กันเล่นๆ ในบ้าน ไม่ทนทานพอ
  • น้ำดื่ม ถ้าน้ำปนเปื้อนสารพิษหรือเชื้อโรคจนห้ามดื่ม ก็ต้องเตรียมน้ำดื่มเองไว้หลายๆ แกลลอน ปริมาณที่แนะนำคือ 1 แกลลอน (4 ลิตร) ต่อ 1 คน/วัน โดยเตรียมไว้สำหรับ 3 วัน
  • อาหาร ที่เพียงพอสำหรับทั้งครอบครัว เป็นเวลา 3 วัน ทั้งอาหารกระป๋อง อาหารที่เสียยากๆ เก็บได้นาน และอย่าลืมที่เปิดกระป๋องด้วย
  • กล่องปฐมพยาบาล
  • ไฟฉายและถ่านสำรอง
  • ไฟฉายแบบปั่นมือหรือใช้พลังงานแสงอาทิตย์ มีขายทั้งตามห้างและออนไลน์ รวมถึง แท่งเรืองแสง (glow stick) ไฟประเภทนี้จะปลอดภัยกว่าเทียน แถมไม่ต้องใช้แบต/ถ่าน เพราะตอนฉุกเฉินหรือเกิดภัยพิบัติ จะหายากหรือหาไม่ได้แน่นอน
  • ประแจ หรืออะไรสำหรับใช้ปิดสาธารณูปโภคในบ้าน พวกอุปกรณ์ฉุกเฉินอื่นๆ ก็ใช้ได้
  • เสื้อผ้า สำรอง เผื่ออากาศหนาว
  • ไม้ขีดไฟแบบกันน้ำ หรือไฟแช็ค
  • ของจำเป็นของสมาชิกในบ้านแต่ละคน พวกยาประจำตัว เช่น ยาโรคหัวใจ ไม่ก็แว่นตา นมผง ผ้าอ้อม และอื่นๆ
  • วิทยุบอกสภาพอากาศ ที่คอยแจ้งเตือนและอัพเดทสภาพอากาศอันตรายหรือภัยพิบัติ อย่างในอเมริกาจะมี NOAA weather radio ใช้กระจายข่าวและแจ้งเตือนประชาชน (National Weather Service) วิทยุพวกนี้จะใช้ถ่าน และมีเสียงแจ้งเตือนอัตโนมัติตอนมีเหตุด่วนหรืออันตราย "วิทยุแบบไม่ต้องใช้ถ่าน" บางเครื่องก็มี weather band หรือช่องสำหรับ "แจ้งเตือน" สภาพอากาศแบบนี้เหมือนกัน
  • วิทยุแบบไม่ต้องใช้ถ่าน ลองหาตามห้างหรือแผนกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ดู นอกจากประหยัดเงินค่าแบต/ถ่านแล้ว ยามเกิดภัยพิบัติก็มักจะหาถ่านไม่ได้อยู่แล้ว วิทยุ "Eton" ก็เป็นหนึ่งในวิทยุแบบ "ไม่ต้องใช้ถ่าน" ที่เป็น Weather Radio แจ้งสภาพอากาศ ดีตรงที่ไม่ต้องใช้ถ่านนี่แหละ แถมมีไฟฉาย LED ในตัว พร้อมไฟ LED สีแดงกับเสียง siren สำหรับ "ทำสัญญาณ" ยามฉุกเฉิน รวมถึง Weather Band ในตัวด้วย ถ้าเป็นวิทยุแบบนี้ทำได้กระทั่ง ชาร์จมือถือ ตอนที่แบตใกล้หมด
  • กุญแจรถ รวมถึงเงินสดและ/หรือบัตรเครดิต สำรอง
  • อาหารและน้ำของสัตว์เลี้ยง
  • นกหวีดเอาไว้เป่าขอความช่วยเหลือ
  • หน้ากากอนามัย กันสารพิษหรือเชื้อโรคอากาศ ไม่ก็ใช้หน้ากากกันแก๊สพิษซะเลย ใส่คู่กับถุงมือ รวมถึงเตรียม ผ้าพลาสติกกับเทปพันสายไฟ เผื่อสร้างเต็นท์ชั่วคราว
  • ผ้าเปียกสำหรับเช็ดมือ ถุงดำใส่ขยะ และยางวง เพื่อสุขอนามัยอันดี
  • แผนที่ละแวกบ้าน จังหวัด และประเทศ

สิ่งของอื่นๆ ที่อาจต้องใช้

  • เงินสด หรือเช็คเดินทาง รวมถึงเศษเหรียญ และบัตรเครดิต
  • เบอร์โทรศัพท์ต่างๆ ที่สำคัญ รวมถึงที่อยู่
  • หนังสือคู่มือที่จำเป็นยามฉุกเฉิน เช่น หนังสือสอนปฐมพยาบาล
  • ชุดสำรองไว้เปลี่ยน เช่น เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และรองเท้าสวมสบายแต่ทนทาน ถ้าจังหวัดที่คุณอยู่อากาศหนาวเย็นเป็นพิเศษ (หรือด้วยภัยพิบัติ) ก็ต้องเตรียมเสื้อกันหนาวเพิ่ม
  • น้ำยาฟอกขาวสูตรคลอรีนแบบที่ใช้ในบ้าน และหลอดหยดยา เพราะถ้าผสมน้ำ 9 ส่วนกับน้ำยาฟอกขาว 1 ส่วน ก็จะได้น้ำยาฟอกขาวเจือจาง ไว้ใช้ฆ่าเชื้อได้ หรือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ก็ใช้บำบัดน้ำเสียได้ โดยใช้น้ำยาฟอกขาว 16 หยด ต่อน้ำ 1 แกลลอน (4 ลิตร) ให้ใช้สูตรธรรมดา อย่าเลือกที่แต่งกลิ่นแต่งสี หรือผสมน้ำยาทำความสะอาด
  • ถังดับเพลิง
  • ของใช้ต่างๆ เพื่อสุขอนามัยของสาวๆ
  • เครื่องครัวสำหรับตั้งแคมป์ ถ้วยกระดาษ จานกระดาษ ช้อนส้อมพลาสติก และทิชชู่
  • กิจกรรมคลายเครียดสำหรับเด็กๆ (และคุณด้วย!) (พวกหนังสือ เกม จิ๊กซอ ไพ่ และอื่นๆ)
  • ถ้าเป็นไปได้ ควรมีอาวุธป้องกันตัว เช่น ปืนและกระสุน ทั้งสำหรับป้องกันตัวและล่าสัตว์
  • เต็นท์ ถ้าเกิดภัยพิบัติ บางทีบ้านคุณอาจจะเสียหาย ถูกทำลาย หรือคุณเองที่ต้องทิ้งบ้านเพื่ออพยพ เพราะงั้นก็ต้องเตรียมที่พักชั่วคราวให้อุ่นใจไว้ก่อน

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Ready.gov แหล่งข้อมูล เนื้อหาบางส่วนก็ถูกหยิบยกมาไว้ในบทความนี้โดยตรง เป็นข้อมูลจากทางรัฐที่เผยแพร่เพื่อสาธารณประโยชน์
  2. FEMA.gov

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 7,210 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา