ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ชีวิตมีเครียดบ้างเป็นธรรมดา ถึงจะมีเรื่องเครียดมันตลอดศก แต่เราก็ต้องพยายามหาวิธีรับมือกับความเครียดนั้นในทางสร้างสรรค์ให้ได้ คนเราเครียดได้เพราะหลายสาเหตุ เช่น ปัญหาครอบครัว เรื่องงาน เรื่องเงิน สุขภาพ ไปจนถึงสูญเสียคนที่รัก ขั้นแรกคือต้องรู้ก่อนว่าต้นตอของความเครียดคืออะไร (บางทีก็เป็นเรื่องธรรมชาติ) แล้วค่อยหาทางขุดรากถอนโคน เอาชนะความเครียดให้ได้ ที่สำคัญคืออย่าเครียดอยู่คนเดียว พ่อแม่ พี่น้อง เพื่อนฝูงยังมี แต่ถ้าไร้คนปรึกษาจริงๆ ก็คงต้องพึ่งนักบำบัดมืออาชีพแทน

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตั้งเป้าหมายแล้วออกกำลังกายไปตามนั้นอย่างเคร่งครัด เพื่อลดฮอร์โมนเครียดและเพิ่มฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟินที่ทำให้คุณมีความสุข ถึงจะยุ่งแค่ไหนก็ขอให้หาเวลามาออกกำลังกาย ร่างกายจะได้แข็งแรง แถมคลายเครียดได้เป็นอย่างดี ไม่นานก็เห็นผล [1]
    • พยายามออกกำลังกายให้อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่ 120 - 180 ครั้งต่อนาที ต่อเนื่อง 30 นาทีต่อวัน ถ้าออกได้รวดเดียวไม่ถึง 30 นาทีก็ไม่ต้องกังวล เพราะแบ่งออกได้ตลอดวันในช่วงที่สะดวก
    • ถ้าคุณไม่ค่อยมีเวลา ไปเดินออกกำลังแค่ 20 - 30 นาทีต่อวันก็พอแล้ว นอกจากช่วยคลายเครียดแล้ว ยังมีข้อมูลว่าผู้ใหญ่อายุ 40 ปีขึ้นไปที่เดินเร็วอย่างน้อย 150 นาทีต่ออาทิตย์ จะทำให้อายุยืนไปอีก 3.4 – 4.5 ปีเลยทีเดียว [2]
    • ว่ายน้ำ เดินขึ้นเนิน และปั่นจักรยานก็ช่วยคลายเครียดได้ดี ว่ายน้ำกับปั่นจักรยานต่างจากการวิ่งจ็อกกิ้งตรงที่ไม่มีแรงกระแทก ทำให้ข้อไม่บาดเจ็บ คนที่ปวดข้อหรือกลัวมีปัญหาเรื่องข้อก็ออกได้ [3]
  2. ร่างกายต้องการการพักผ่อนอยู่แล้ว แถมนอนเยอะๆ ช่วยลดความเครียดอย่างเห็นผล การนอนเป็นกลไกให้ร่างกายได้พักผ่อนและฟื้นฟูพลังงานที่สะสมไว้ ถ้าอดนอน ความเครียดในตัวจะทำให้คุณตื่นตัวแทนพลังงานที่เสียไป ไม่ใช่เรื่องดีเลย
    • ผู้ใหญ่ทั่วไปต้องนอนอย่างน้อย 7 - 8 ชั่วโมงต่อวัน [4] ส่วนเด็กและคนชราต้องนอนมากกว่านั้น คือประมาณ 9 - 10 ชั่วโมงต่อวัน
    • เข้านอนให้เป็นเวลา ถ้าเป็นไปได้ให้เข้านอนและตื่นนอนเวลาเดิมทุกวัน ร่างกายจะได้รู้ว่าตอนไหนเหนื่อยแล้วถึงเวลานอน จะทำให้คุณนอนหลับสนิทและเพียงพอ
    • จากข้อมูลของกรมสุขภาพจิต พบว่าคนไทย 30 - 40% มีปัญหาเรื่องนอนไม่หลับ ซึ่งสาเหตุก็คงไม่พ้นความเครียด [5] ถ้าคุณพบว่าตัวเองเครียดจนนอนไม่หลับเรื้อรัง ควรพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายและรับการรักษาต่อไปให้ตรงจุด
  3. จะสู้กับความเครียดได้ ร่างกายต้องแข็งแรง สุขภาพดี มีความสุข และได้รับสารอาหารที่เพียงพอ ความเครียดเป็นปฏิกิริยาทางกายที่คุณห้ามไม่ได้ เกิดจากอะไรก็ตามที่มารบกวนขัดขวางการทำงานตามปกติ แปลว่าร่างกายของคุณนี่แหละที่ทั้งก่อและรักษาความเครียดในตัวเอง
    • ดื่มน้ำแล้วช่วยคลายเครียดได้ [6] เพราะร่างกายที่ขาดน้ำจะหลั่งคอร์ติซอล (cortisol) หรือฮอร์โมนเครียดนั่นเอง เพื่อกระตุ้นให้เจ้าของร่างกายอย่างคุณรู้ถึงความผิดปกติ และเริ่มดูแลตัวเอง
    • เริ่มจากลดคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ บางกรณีแอลกอฮอล์ดื่มแล้วร่างกายยิ่งตอบสนองต่อความเครียด แถมดื่มมากๆ ก็ติด กลายเป็นก่อความเครียดให้ร่างกายซะเอง [7] คาเฟอีนก็ทำให้เครียดกว่าเดิมได้ โดยเฉพาะเวลาดื่มที่ทำงาน [8] เพราะงั้นพยายามดื่มน้ำเปล่าจะดีที่สุด
    • กินอาหารและของว่างที่มีประโยชน์ แทนที่จะกินอาหารมื้อใหญ่ 3 มื้อ จะดีกว่าถ้าแบ่งเป็นมื้อเล็กๆ หลายๆ มื้อตลอดวัน [9]
    • ถ้าอยากกินอิ่มแบบไม่เครียด ให้เน้นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (complex carbohydrate) เช่น ขนมปังและพาสต้าโฮลเกรน อาหารวิตามินเอสูงอย่างส้ม อาหารแมกนีเซียมสูงอย่างผักปวยเล้ง ถั่วเหลือง ปลาแซลมอน ไปจนถึงชาดำและชาเขียว พวกนี้มีสารต้านอนุมูลอิสระ
  4. ไม่ว่าจะด้วยวิธีไหน ขอแค่ผ่อนคลายร่างกาย ก็ช่วยลดเครียดได้แล้ว แต่อย่าคาดหวังว่าจะหายเครียดในพริบตา เรื่องแบบนี้ต้องค่อยเป็นค่อยไป ให้คุณเลิกสนใจเรื่องเครียดแล้วปล่อยตัวปล่อยใจตามสบาย ให้จิตใจสงบ
  5. จริงๆ โยคะก็ถือเป็นการออกกำลังกายประจำวัน แต่การยืดเหยียดและเคลื่อนไหวร่างกายช้าๆ ก็ถือเป็นการฝึกสมาธิอย่างหนึ่ง ถ้านั่งสมาธิแล้วจิตใจแจ่มใสปลอดโปร่ง โยคะก็ได้ประโยชน์สองเท่า เพราะทั้งคลายความตึงเครียดของร่างกาย แถมฝึกสมาธิให้สบายใจในเวลาเดียวกัน
    • นึกภาพนำร่อง จินตนาการว่าตัวเองอยู่ในสถานที่สงบๆ ที่ไหนก็ได้ที่ทำให้คุณมีความสุข ใส่รายละเอียดเยอะๆ จะได้ยิ่งสมจริง พาคุณไปจากปัจจุบัน
    • เล่นโยคะคนเดียวหรือเป็นกลุ่ม แล้วเรียนรู้ท่าใหม่ๆ นานไปท่ายืดเหยียดจะยิ่งยาก ทำให้ต้องมีสมาธิไปโดยปริยาย ลืมเรื่องเครียดไปชั่วขณะ
    • ผ่อนคลายไปอีกขั้น ด้วยเทคนิค progressive muscle relaxation คือเกร็งกล้ามเนื้อแล้วคลายออก โดยเกร็งกล้ามเนื้อค้างไว้ 10 วินาทีจากนั้นผ่อนคลาย ช่วยให้กล้ามเนื้อกลุ่มต่างๆ ในร่างกายของคุณไม่ตึงเครียด
  6. หลายครั้งที่คุณเครียดอาจเพราะงานรัดตัวจนไม่มีเวลาทำสิ่งที่ชอบ ไม่ว่าจะเป็นการวาดรูป เขียนหนังสือ อ่านหนังสือ เล่นกีฬา หรือทำอาหารก็ตาม แบบนี้ต้องหาเวลาในแต่ละวันมาทำกิจกรรมที่ว่าบ้าง
    • หางานอดิเรกใหม่ๆ เพื่อผ่อนคลายความเครียด ถ้าอยากเรียนขี่ม้าหรืออยากต่อโมเดลเครื่องบินมาตั้งนานแล้ว ก็ทำเลยจะรออะไร! การฝึกหัดทักษะใหม่ๆ จะทำให้ไม่มีเวลาว่างเหลือมาเครียด แถมมีงานอดิเรกใหม่ให้ได้ทำต่อไปด้วย
    • ถ้างานยุ่งจริงๆ ก็ขอแค่ได้ทำอะไรที่ชอบสัก 10 นาทีต่อวัน แต่จริงๆ แล้วถ้าได้ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมงจะดีที่สุด อาศัยช่วงพักเบรคสั้นๆ ก็พอให้คลายเครียดได้แล้ว [10]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

เปลี่ยนที่ความคิด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เปิดใจมองมุมดีๆ ในชีวิตตัวเองบ้าง ให้เกิดสมดุลย์ทางอารมณ์ อย่าเอาแต่หมกมุ่นครุ่นคิดถึงแต่เรื่องแย่ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน เรื่องดีๆ มันต้องมีบ้างแหละ ถึงจะเล็กน้อยแค่ไหนก็ตาม
    • หยุด แล้วคิดพิจารณาถึงเรื่องดีๆ ที่เกิดขึ้น จะจดออกมาเลยก็ได้ อะไรก็ได้ที่ทำให้คุณรู้สึกดีมีความสุข จะเล็กน้อยแค่ไหนก็ตาม เช่น อย่างน้อยเราก็ยังมีบ้าน มีเตียงนุ่มๆ อาหารครบ 3 มื้อ หน้าที่การงานมั่นคง สุขภาพแข็งแรง มีครอบครัวและเพื่อนที่ดี บางคนเขาก็บ้านแตก ตกงาน ไม่โชคดีเหมือนเรา
    • คิดบวก แต่เช้า เพื่อให้ได้พลังงานเชิงบวก พร้อมรับวันใหม่ ดีใจซะว่าวันนี้เรายังมีโอกาสได้ตื่นมาทำอะไรต่อไป ชีวิตคนเรามันไม่แน่ไม่นอนหรอกนะ!
    • ให้กำลังใจตัวเอง ว่าต้องผ่านปัญหาต่างๆ ไปได้ เช่น "แค่นี้สบายมาก เดี๋ยวแก้กันไปทีละเปลาะ" หรือ "เรื่องแบบนี้เคยผ่านมาแล้วนี่ เดี๋ยวก็ต้องผ่านมันไปได้อีก"
    • จินตนาการถึงเรื่องดีๆ ช่วยให้กลับมาตั้งสติได้ในช่วงสั้นๆ พยายามคิดถึงความสำเร็จไว้ หรืออ่านเรื่องของคนที่เขาประสบความสำเร็จแล้วก็ได้ อย่าเพิ่งรีบถอดใจ ก่อน จบเรื่อง คนอื่นและโชคชะตาร้ายกับคุณได้ แต่ห้ามร้ายกับตัวเองเด็ดขาด
  2. ตั้งเป้าให้ชัดเจน ว่าต้องทำหรือต้องการอะไรในวันนั้น แล้วทำ "to do list" ไล่เรียงสิ่งที่ต้องทำออกมาเป็นข้อๆ อย่าลืมแบ่งเวลาให้ตัวเองได้เติมพลังบ้าง พอควบคุมดูแลเวลาและจัดลำดับความสำคัญได้ จะทำให้คุณเครียดน้อยลงเยอะเลย
    • รู้ขีดจำกัดของตัวเอง วันเดียวใช่ว่าจะทำให้ได้ทุกอย่าง ถ้าแบกภาระเกินตัวแล้วสุดท้ายไปไม่รอด เดี๋ยวจะเครียดกว่าเดิม
    • จัดลำดับความสำคัญ ของแต่ละงาน โดยทำเรื่องสำคัญที่สุดให้เสร็จก่อน (งานด่วน/ธุระสำคัญ) จากนั้นก็ทำเรื่องที่สำคัญรองลงมาเรื่อยๆ
    • ทำเรื่องยากๆ หรือไม่ชอบก่อนตั้งแต่ตอนยังสมองปลอดโปร่ง เพราะถ้าเก็บไว้วินาทีสุดท้ายเดี๋ยวจะยิ่งเครียดสองเท่า สบายแต่แรกระวังจะเครียดทีหลัง!
    • เน้นคุณภาพด้วย อย่าเน้นปริมาณอย่างเดียว อย่างน้อยก็ได้ภูมิใจ ว่าเราทำเต็มที่แล้ว ไม่ใช่สักแต่ว่าทำ
    • ถ้าเป็นไปได้ ให้ จัดตารางชีวิตประจำวัน จะได้งานไม่เต็มมือจนทำไม่ทันพาลให้เครียด แต่ถ้างานไหนใหญ่หรือเร่ง ก็ปรับเปลี่ยนเวลาขึ้นมาได้ตามสะดวก แค่ต้องมีเดดไลน์ชัดเจน
    • ประเมินผลเมื่อจบวัน ว่าทำอะไรสำเร็จไปแค่ไหน จะได้ไม่มีอะไรติดค้าง ทำให้หลับเต็มตื่น วิธีปลดล็อคความเครียดได้ดีที่สุด ก็คือติ๊กหรือขีดฆ่าเรื่องที่ทำสำเร็จออกจาก to do list ซะเลย
  3. ทำความเข้าใจว่าทำไมคุณถึงเครียด จะได้หลีกเลี่ยงสิ่งนั้นหรือสถานการณ์นั้นๆ อย่างที่เขาว่าความรู้เป็นอาวุธประจำกาย แต่การ "รู้จักตัวเองอย่างถ่องแท้" นั้นจะช่วยให้คุณพิฆาตความเครียดได้ดียิ่งกว่า
    • เช่น ถ้าคุณจับได้ว่าตัวเองมักเครียดเวลาเจอใครหรือตกอยู่ในสถานการณ์ไหน ก็ให้หาเวลามาเตรียมใจ ถ้าคนที่ว่าเป็นคนที่คุณรักและไว้ใจ ให้บอกเขาไปเลยตรงๆ ว่าเขาทำคุณไม่สบายใจตรงไหน แต่บอกแบบดีๆ อย่าใส่อารมณ์หรือหาเรื่อง แต่ถ้าคุณไม่สบายใจหรือสะดวกใจจะบอก ก็เปลี่ยนมาให้กำลังใจตัวเองว่าเจอเขาแค่แป๊บเดียวเดี๋ยวเขาก็ไป จะได้สบายใจขึ้น
    • ซ้อมรับสถานการณ์ รู้เมื่อไหร่ว่าเดี๋ยวต้องเจอบรรยากาศชวนเครียด ให้ซักซ้อมหาวิธีรับมือ ลองจินตนาการว่าคุณเอาชนะมันได้แล้ว จากนั้นหยิบฉากนั้นมารีรันซ้ำๆ ในหัว
  4. เช่น เรื่องการเมือง รวมถึงคนอื่นๆ ที่คุณพบเจอ บางทีการรับมืออีกแบบ ก็คือยอมรับคนนั้นหรือเรื่องนั้นในแบบที่เป็น ถึงจะทำได้ยากก็เถอะ
    • เช็คให้ชัวร์ว่าปัญหานั้นเป็นเรื่องจริงๆ ไม่ใช่แค่คุณกลัวไปเอง ถ้ากลายเป็นว่าคุณชิงเครียดไปเอง มันมีโอกาสแค่ไหนที่จะเกิดขึ้นได้จริง? เป็นเรื่องที่มีมูลไหม? ปัญหานี้พอมีทางแก้หรือรับมือไหม หรือทุกอย่างสายเกินแก้? [11]
    • ถ้าเข้าใจว่าเป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ และหาทางรับมือ จะดีกว่าในระยะยาว เพราะยิ่งเครียดก็มักทำอะไรติดขัด แล้วก็วนลูปมาเครียดกว่าเดิม
  5. ตั้งเป้าแล้วตัดสินใจทำเรื่องต่างๆ ในชีวิตเองจะเครียดน้อยกว่าเวลาตกอยู่ในสถานการณ์บีบบังคับให้ต้องเลือก คุณคือคนลิขิตชีวิตตัวเอง!
    • บางครั้งก็ต้องรู้จักปฏิเสธ คุณทำทุกเรื่องที่คนขอไม่ได้หรอก แต่ถึงทำได้ บางเรื่องคุณก็ไม่ได้อยากทำสักหน่อย แล้วจะฝืนใจตัวเองไปทำไม
    • อย่าเป็นพวกบ้าความสมบูรณ์แบบ จะทำให้เครียดโดยไม่จำเป็น เพราะต้องคอยรักษามาตรฐานสูงๆ เริ่มจากประเมินความสามารถตัวเองซะก่อน อย่าทำให้อีโก้บังตาจนเหนื่อยแทบตาย
    • ถ้าพยายามเต็มที่แล้ว จะผิดพลาดก็ช่างมัน ไม่มีใครมาโทษหรือตำหนิคุณได้ถ้าคุณทำสิ่งที่ควรทำไปหมดแล้ว ภูมิใจในตัวเองซะ อย่าโทษตัวเอง
    • คุณคือคนที่หวังดีกับตัวเองที่สุด อาจจะฟังดูเชยๆ เหมือนพวกโฆษณาประกันภัย แต่บอกเลยว่าเป็นจริงตามนั้น ถ้าคนอื่นไม่รักคุณ คุณก็รักตัวเองให้มากๆ ซะเลย อยู่ด้วยตัวเองให้ได้ (มากที่สุด) เรื่องไหนตัวเองทำดีก็ชื่นชมหน่อย คนรักตัวเองเขาไม่สงสัยบ่อยๆ หรอก ว่า "เราดีพอหรือเปล่า?" เขารู้เลยว่า "เราเก่งจะตายไป"
  6. ที่เครียดไม่หาย ก็เพราะทำอะไรจริงจังไปหมดนี่แหละ บางทีก็ต้องถอยมาตั้งหลัก มองชีวิตในมุมเบาสมองบ้าง หัวเราะให้พอกรุบกริบ หรือฮาแตกมันไปซะเลย! กระทั่งในสถานการณ์ตึงเครียด มองดีๆ จะเห็นเรื่องตลกซ่อนอยู่เสมอ
    • มองว่าเรานี่ต๊องจัง อย่าถึงขั้นกดตัวเองจมดิน หรือมองว่าเรานี่แสนห่วย แค่ตำหนิตัวเองแบบ "น่ารักๆ" เหมือนเวลาเห็นใครน่าเอ็นดู จะเห็นเรื่องเครียดชวนตลกได้ ต้องเริ่มจากตรงนี้
  7. จำเป็นมาก เพราะถ้าเอาแต่เก็บทุกอย่างไว้เอง ระวังจะเครียดจนระเบิด ถ้าเพื่อนรักเราจริง เขาต้อง (พยายาม) เข้าใจว่าเรากำลังเผชิญกับอะไรอยู่ นอกจากเห็นใจแล้วยังยินดีช่วยเหลือเท่าที่จะทำได้อีกต่างหาก
    • ขอให้เพื่อนช่วย ถ้ามีเรื่องต้องทำแต่ขาดแรงงานหรือเวลา ลองถามเพื่อน แฟน หรือญาติพี่น้องดู เผื่อเขาช่วยได้ ถ้ามีใครช่วยเราก็ต้องตอบแทน คือช่วยเหลือหรือให้คำปรึกษาเขาบ้างเมื่อถึงเวลา
    • เพื่อนเขาต้องให้เกียรติกัน ไม่ใช่บงการ ถึงบางครั้งเขาไม่เห็นด้วยกับคุณ แต่ถ้าเขารักและให้เกียรติคุณ ก็ต้องสนับสนุนให้กำลังใจ กระทั่งคู่แข่ง (ถ้ามี) ก็ยังต้องซูฮกถ้าคุณมุ่งมั่นตั้งใจมากพอ แต่อย่าคาดหวังให้คนเขารักและตามใจคุณไปซะหมด เพราะยากกว่างมเข็มในมหาสมุทร ถ้าแน่ใจว่าดีก็ทำต่อไป อย่าสนใจว่าใครจะขัดขาขัดคอ
    • อยู่กับคนมองโลกในแง่ดี ฟังดูโลกสวยแต่ก็เป็นความจริง พยายามอยู่ใกล้คนที่เขาตลก ร่าเริง มีไฟ แถมใจดี จะได้ไม่เครียดเหมือนอยู่ใกล้คนจุกจิก ชอบประชด และจับผิด
  8. ยิ่งตำหนิตัวเองก็ยิ่งเครียด ถ้าท้อแท้จนอยากถอดใจเมื่อไหร่ นั่นแหละเวลาที่ควรให้กำลังใจตัวเอง
    • คุณรู้จักตัวเองดีที่สุด เพราะฉะนั้นจะเป็นใครไปได้อีกที่จะให้กำลังใจคุณ ว่าทุกอย่างจะต้องผ่านไปด้วยดี
    • นึกถึงความสำเร็จที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเล็กน้อยแค่ไหน ถ้าเยอะๆ เข้าก็กลายเป็นความสำเร็จยิ่งใหญ่ได้
    • เปลี่ยนวิธีคิดวิธีพูด แทนที่จะมองว่า "ตายแน่" ให้เปลี่ยนเป็น "เราเคยเจอเรื่องคล้ายๆ กันมาแล้ว เดี๋ยวก็ต้องผ่านไปได้อีก"
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ยืนหยัดเพื่อตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้ามีใครข่มขู่ดูถูกจนทำเอาเครียดแถมวิตกจริตไปหมด ให้ลุกขึ้นปกป้องตัวเอง เผยความในใจของคุณ.
  2. เปิดอกเรื่องที่เครียดให้คนใกล้ตัวฟัง ว่าทำไมคุณถึงกลุ้มใจ. บางทีถึงจะรักและสนิทกันแค่ไหน ถ้าไม่เผยใจก็ไม่มีใครรู้ สองหัวดีกว่าหัวเดียว
  3. หาลูกบอลบีบแก้เครียด หรือกระสอบทรายก็ได้ เอาไว้ใช้เตะต่อยตะโกนด่าแล้วแต่ชอบ. นอกจากหายเครียดแล้วยังบริหารร่างกายไปในตัว เก็บไว้ก็หนักอกเปล่าๆ ระวังฉี่เหลือง
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เคี้ยวหมากฝรั่ง เขาวิจัยกันมาแล้ว ว่าช่วยลดอาการเครียด ไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมหลายคนเครียดแล้วกินแหลกจนท้องลาย อย่างน้อยเคี้ยวหมากฝรั่งก็ไม่อ้วนนะ
  • ไปนวดแผนไทยหรือเข้าสปา
  • รู้เท่าทันอารมณ์ของตัวเอง แต่ก็อย่าปกปิดหรือปฏิเสธ เพราะเดี๋ยวจะเก็บกดได้ ร้องไห้บ้างก็ไม่ใช่เรื่องผิด ดีซะอีกที่ได้ระบายความอัดอั้นตันใจออกมา จะรู้สึกดีขึ้น
  • วางแผนอนาคต จะได้เตรียมใจทันแถมมีเป้าหมาย นอกจากนี้จินตนาการก็เหมือนช่วยรับมือล่วงหน้าให้หายเครียดได้
  • ออกแดดบ้าง เพราะแสงแดดที่เพียงพอจะทำให้สดชื่นแจ่มใส อยู่แต่ในร่มระวังเป็นโรคซึมเศร้า เหมือนที่ฝรั่งเป็นกันช่วงฤดูหนาว (seasonally-affected disorder (SAD))
  • ขอโทษ ไม่ใช่เรื่องน่าอาย ถ้ารู้ตัวว่าทำผิดก็ขอโทษซะ แต่อย่าทำตัวรู้สึกผิดเกินไปจนทำคนอื่นอึดอัด แถมรู้สึกผิดนานๆ จะทำตัวเองเครียดได้
  • หาอะไรที่อยากทำ หรือไม่ได้ทำมานานก็กลับมาจดจ่อซะ แต่อย่าทิ้งงานมาทำนะ แบบนั้นเขาเรียกหนีความจริง
  • มองอะไรให้ขาด มองสถานการณ์ตามจริง อย่าให้ความกลัวมาบังตา หาว่าอะไรคือสิ่งสำคัญในชีวิต ถ้าเครียดแต่จำเป็นก็ต้องหาทางรับมือ
  • เล่นกีฬาหรือเคี้ยวหมากฝรั่ง เพื่อปลดปล่อยพลังงานส่วนเกินระหว่างวัน จะได้สงบจิตสงบใจ
  • ค่อยเป็นค่อยไป มองมุมดีๆ ของชีวิตไว้
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าเครียดจนเจ็บอกหรือวิงเวียนต้องหาหมอด่วน
  • อย่าดื่มแอลกอฮอล์หรือใช้ยาเสพติดแก้เครียด รวมถึงอย่าซื้อยากินเอง
  • ถ้าเครียดเรื้อรัง มีอาการร้องไห้ สติแตก น้ำหนักขึ้น/ลงฮวบฮาบ หรือเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ให้ปรึกษาคุณหมอ เพราะคุณอาจเป็นโรควิตกกังวล (anxiety disorder) หรืออื่นๆ
  • อย่าหนีความจริง เพราะไม่ทำให้อะไรดีขึ้น ถ้าพบว่าตัวเองหนีความจริงแล้วสบายใจบ่อยๆ อาจเป็นสัญญาณว่าคุณควรพบแพทย์
  • อย่าปิดตัวเอง พูดคุย ปรึกษา หรือยอมรับความช่วยเหลือของคนอื่นที่หวังดีกับคุณบ้าง
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,767 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา