ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ที่จะทำให้ร่างกายและตัวคุณเองรู้สึกเย็นสบายได้แม้ในวันที่อากาศร้อนจัด ถ้าตากแดดหรืออยู่ในที่ที่อากาศร้อนจัดนานๆ ก็เสี่ยงเกิดภาวะขาดน้ำ (dehydration) และโรคต่างๆ ที่เกิดจากความร้อน อย่าง heat stress (ภาวะเครียดจากความร้อน) โรคตะคริวแดด (heat cramps) โรคเพลียแดด (heat exhaustion) ไปจนถึงโรคลมแดด (heat stroke) ถ้าดูแลร่างกายให้เย็นแล้ว อารมณ์ก็จะเย็นลงตาม เพราะร้อนจัดเมื่อไหร่เราจะเครียดและหงุดหงิดง่ายเป็นพิเศษ บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีต่างๆ ที่ช่วยคุณคลายร้อนได้แบบง่ายๆ แต่เห็นผลดี แถมไม่เปลืองเงินอีกต่างหาก

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 5:

คลายร้อนด้วยอาหารและเครื่องดื่ม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. น้ำคือตัวช่วยสำคัญที่ช่วยคลายร้อนให้คุณได้เป็นอย่างดี ดื่มน้ำแล้วช่วยรักษาความเย็นในร่างกาย ถึงยังไม่หิวน้ำก็ต้องดื่มเรื่อยๆ เป็นระยะ ไม่ต้องดื่มแต่น้ำเปล่าก็ได้ อาจจะดื่มน้ำผสมวิตามิน หรือเครื่องดื่มเกลือแร่ เช่น Powerade หรือ Gatorade ก็ได้ แต่จริงๆ แล้วไม่จำเป็น เว้นแต่คุณออกกำลังกายมาหนักๆ จนร่างกายเสียวิตามิน/เกลือแร่ (อิเล็กโทรไลต์) แล้วต้องการชดเชย [1]
    • วิธีเช็คง่ายๆ ว่าร่างกายขาดน้ำหรือเปล่า คือสังเกตสีฉี่ของตัวเอง ถ้าสีเข้มกว่าสีฟางข้าว แสดงว่าเกือบจะขาดน้ำแล้ว ให้รีบเติมน้ำเข้าร่างกายด่วน [2]
    • อย่าดื่มอะไรหวานๆ เช่น น้ำอัดลม (ถึงจะเขียนว่า sugar-free ก็ไม่ได้!) เพราะทำให้ร่างกายกักเก็บน้ำได้น้อยลง ที่ต้องหลีกเลี่ยงอีกอย่างคือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ และเครื่องดื่มอื่นๆ ที่มีคาเฟอีน เพราะมีฤทธิ์ขับปัสสาวะตามธรรมชาติ
  2. ให้ดื่มน้ำเยอะๆ ก่อนออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมต่างๆ ถ้ารอจนคอแห้ง ระวังเป็นตะคริว ซึ่งเป็นสัญญาณบอกโรคที่เกิดจากความร้อน [3] พยายามเตือนตัวเองให้ดื่มน้ำบ่อยๆ ด้วยวิธีต่อไปนี้
    • ซื้อกระติกน้ำหรือถุงใส่น้ำ (water pack) ที่พกพาไปได้ทุกที่ แล้วหมั่นเติมน้ำดื่มเข้าไป
    • เอาขวดน้ำไปแช่แข็งแล้วพกติดตัวไปด้วย ตอนออกจากบ้านจะยังแข็งอยู่ แต่หลังจากนั้นก็จะโดนแดดโดนความร้อนจนละลายกลายเป็นน้ำที่ดื่มได้ ให้เอาผ้าขนหนูห่อขวดไว้ ตอนน้ำแข็งละลายจะได้ไม่มีหยดน้ำเกาะตามขวดจนเปียกไปทั้งกระเป๋าได้
    • ดาวน์โหลดแอพเตือนความจำให้ดื่มน้ำมาใช้ จากนั้นตั้งเตือน ตั้งปริมาณน้ำที่ต้องดื่มในแต่ละวัน แล้วบันทึกผลทุกครั้งที่ดื่มน้ำไป [4]
  3. อาหารก็ช่วยคุณคลายร้อนได้ ถ้าเลือกกินให้เหมาะสม แนะนำสลัดผัก อาหารสด และผักผลไม้ต่างๆ ฝรั่งเขายังมีสำนวนเลยว่า “Cool as a cucumber” เพราะงั้นผักสดที่น้ำเยอะแทบจะทั้งลูกอย่างแตงกวาช่วยคุณคลายร้อนได้แน่นอน [5] [6] อย่าพยายามกินเนื้อสัตว์และอาหารหนักโปรตีนช่วงอากาศร้อนๆ เพราะยิ่งร่างกายยิ่งเผาผลาญ เกิดความร้อน เสียน้ำมากกว่าเดิม
    • อาจจะฟังดูย้อนแย้ง แต่บอกเลยว่ากินพริกเผ็ดๆ ก็ช่วยคลายร้อนได้เหมือนกัน เพราะทำให้คุณเผ็ดจนเหงื่อแตก กลายเป็นระบายความร้อนให้ร่างกายเย็นสบายขึ้นซะงั้น [7]
    • ถ้ากินอาหารมื้อเล็กๆ จะช่วยลดอุณหภูมิแกนกลางลำตัวได้ดี แต่ถ้าเป็นอาหารมื้อใหญ่ ร่างกายต้องเร่งเผาผลาญมากขึ้น [8]
  4. ให้กินอาหารที่ไม่ต้องปรุงสุก หรือใช้ความร้อนในการทำอาหาร แต่ถ้าจำเป็นจริงๆ ก็ต้องระบายอากาศดีๆ พยายามให้อุณหภูมิในห้องครัวต่ำเข้าไว้ โดยทำอาหารด้วยไมโครเวฟแทนเตาและเตาอบ [9] เช่น ให้ผักจากในตู้เย็นหรืออาหารกระป๋อง แทนที่จะเอาไปใส่หม้อ ตั้งเตา ก็เอาเข้าไปอุ่นในไมโครเวฟแทน
    • ซุปเย็นๆ ก็เหมาะจะกินในวันที่อากาศร้อนๆ ถ้าปกติไม่เคยลองมาก่อน กินแต่ซุปร้อน นี่แหละโอกาสให้คุณได้ลองของแปลก! ตอนนี้ขอเย็นไว้ก่อน คุณค่าทางอาหารถือเป็นของแถม [10]
    • กินไอศครีมหวานเย็น บิงซู สเลอปี้ น้ำผลไม้ปั่น ไอศครีมโยเกิร์ต และอื่นๆ ก็ช่วยให้คลายร้อนได้แบบทันใจ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 5:

ป้องกันแสงแดด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ฟังดูเป็นเรื่องง่าย แต่บอกเลยว่าทำยาก โดยเฉพาะช่วงปิดเทอมใหญ่ที่อยากออกไปเที่ยวเล่นให้หายอยาก แต่ยังไงเราก็ขอย้ำกันตรงนี้อีกที ว่าอย่าทำอะไรกลางแจ้งช่วงเที่ยงจะดีกว่า แต่จริงๆ แล้วพยายามอย่าตากแดดเลยช่วง 10 โมงเช้าถึง 4 โมงเย็น ถ้าวันไหนแดดจ้า อากาศร้อนเป็นพิเศษ ถ้าจำเป็นหรือบังเอิญออกแดดช่วงนั้นพอดี ก็ต้องรีบเข้าที่ร่ม หลบแดดให้ได้เร็วที่สุด
    • พยายามนัดใครหรือทำอะไรให้เสร็จตั้งแต่ช่วงเช้า อีกทีก็คือช่วงบ่ายแก่ๆ หรือเย็นไปเลย
    • บางคนก็ไวต่อแสงแดดและความร้อนกว่าคนอื่นๆ เพราะงั้นก็ต้องงดออกแดดหรือทำอะไรกลางแจ้งในวันที่อากาศร้อนจัด กลุ่มเสี่ยงก็เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ คนที่เป็นโรคอ้วน ถ้าเป็นฝรั่งก็คนที่เส้นผมตามธรรมชาติสีออกแดง รวมถึงคนที่มีปัญหาสุขภาพด้วย
  2. ถึงตัวครีมกันแดดเองจะไม่ได้ช่วยเรื่องคลายร้อน แต่ก็ช่วยปกป้องแสงแดดในวันที่ร้อนจัดได้ เพราะถ้าปล่อยให้ผิวไหม้แดดจนเสีย ก็จะระคายเคือง แสบร้อน จนเป็นไข้และมีอาการต่างๆ ของภาวะขาดน้ำได้ [11] ถ้าไม่ดูแลตัวเองดีๆ ผิวไหม้แดดแล้วอาจมีอาการเพลียแดดหรือ heat stroke ต่อไป [12]
    • อย่างน้อยๆ ก็ต้อง SPF 15 แต่ถ้าจะอยู่นอกบ้านทั้งวัน ก็ต้องเลือกที่ SPF 30 ขึ้นไป
    • เติมกันแดดบ่อยๆ แนะนำว่าให้ทาเพิ่มทุก 2 ชั่วโมง หรือบ่อยกว่านั้นถ้าว่ายน้ำหรือเหงื่อออกเยอะเป็นพิเศษ
    • ให้ทาครีมกันแดดทั่วตัว ในปริมาณเท่ากับครีม 1 แก้วช็อต [13]
  3. พยายามหลบในที่ร่มหรือเข้าในตัวอาคารให้ได้มากที่สุด ถ้าไม่มีอะไรจริงๆ หลบใต้ต้นไม้ก็ได้ เพราะต้นไม้จะคายน้ำมาในอากาศที่ดูดซับความร้อนส่วนหนึ่งเข้าไป ถึงหลบในที่ร่มจะไม่ได้ช่วยลดอุณหภูมิ แต่อย่างน้อยก็ไม่โดนแดดตรงๆ ทำให้รู้สึกเย็นขึ้นได้ถึง 15 องศาเซลเซียส
    • ถ้ามีลมเย็นพัดมาโดนตัว ก็จะยิ่งรู้สึกเย็นขึ้นได้อีก 5 องศาเลยทีเดียว เวลาอยู่ในร่ม [14]
  4. ถ้าวันไหนข้างนอกแดดแรง ร้อนจัด ให้แช่ตัวในน้ำเย็น รับรองสดชื่น แต่ถ้าไม่มีสระว่ายน้ำให้ได้กระโดดเล่น ก็ยังมีสปริงเกลอร์รดน้ำตามสนามหญ้า [15] แต่ง่ายกว่านั้นคืออาบน้ำฝักบัวหรือแช่น้ำที่เย็นกว่าปกตินิดหน่อยในอ่างอาบน้ำ ช่วยคลายร้อนได้ดี [16]
    • เติมน้ำสะอาด (น้ำดื่ม) ในขวดสเปรย์แล้วแช่ตู้เย็น จะที่บ้านหรือที่ทำงานก็ได้ พอรู้สึกร้อนเมื่อไหร่ก็เอามาฉีดเป็นละอองละเอียดเย็นเจี๊ยบให้ทั่วหน้าและร่างกาย ช่วยคลายร้อนได้แบบทันทีทันใด ใกล้หมดก็เติมน้ำเพิ่มแล้วแช่ตู้เย็นต่อไป [17]
    • เล่นเกมคลายร้อน อาจจะช่วยเพื่อนๆ ไปวิ่งเล่นฝ่าน้ำที่ฉีดจากสปริงเกลอร์ โยนลูกโป่งน้ำใส่กัน หรือยิงปืนฉีดน้ำเหมือนช่วงสงกรานต์
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 5:

แต่งตัวคลายร้อน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เสื้อผ้าหลวมๆ เนื้อผ้าบางเบา ใส่แล้วจะเย็นสบายน่าดู ยิ่งถ้าเป็นเสื้อผ้าสีอ่อนยิ่งดี เพราะช่วยสะท้อนแสงและความร้อน กางเกงขาสั้นกับเสื้อเชิ้ตแขนสั้นก็ดี แต่จริงๆ แล้วชุดไหนก็ได้ที่อากาศถ่ายเทสะดวก จะได้เหงื่อแห้งเร็ว เย็นสบาย ต่อไปนี้คือเสื้อผ้าแบบที่แนะนำให้ใส่คลายร้อน
    • เสื้อผ้าที่เป็นคอตตอนกับลินินจะระบายความชื้นได้ดี ใส่แล้วเย็นสบาย
    • เสื้อผ้าที่ยกขึ้นส่องแล้วโปร่งแสงจะใส่สบายที่สุด แต่อย่าลืมทาครีมกันแดดเวลาใส่เสื้อผ้าบางๆ เพราะไม่ค่อยช่วยปกป้องผิวคุณจากแสงแดดเท่าไหร่
    • เสื้อผ้าใยสังเคราะห์มักกักเก็บความชื้น ทำให้ผ้าหนักแนบผิว อากาศไม่ค่อยถ่ายเท
    • ถ้าต้องทำงานในที่ความชื้นน้อยๆ แล้วใส่เสื้อแขนสั้น เขาวิจัยกันมาแล้วว่าช่วยได้นิดหน่อย แต่ก็ต้องแลกกับการที่แขนโดนแดดตรงๆ เพราะงั้นต้องทาครีมกันแดดป้องกัน [18]
  2. ใส่หมวกปีกกว้าง ที่ปกปิดหนังศีรษะด้านบน ครอบคลุมจนถึงใบหู จะช่วยให้รู้สึกเย็นขึ้นเหมือนมีร่มเงา พยายามเลือกหมวกปีกกว้าง ยิ่งกันแดดไม่ให้ส่องโดนต้นคอด้านหลังได้ยิ่งดี [19]
    • หมวกสีอ่อนใส่แล้วยิ่งเย็นสบาย
  3. อันนี้แล้วแต่กิจกรรมที่ทำ ต้องเลือกที่เหมาะสมกับโอกาสแต่ก็ใส่สบายด้วย [20] ลองเลือกโดยเน้นพื้นโค้งรับเท้า ทนทาน ใส่สบาย และเป็นรองเท้าที่ระบายอากาศได้ดีเวลาทำกิจกรรม
    • ถุงเท้าผ้าคอตตอนก็ใส่ดี แต่ถ้าเขียนว่า moisture wicking จะยิ่งใส่แล้วระบายอากาศได้ดี สบายเท้ากว่าเยอะเลย [21] [22]
    • รองเท้าวิ่งบางแบบก็เอาไว้ใส่หน้าร้อนโดยเฉพาะ เพราะเขาออกแบบมาให้ระบายอากาศดีเป็นพิเศษ [23]
    • ถ้าจะเดินเท้าเปล่าต้องระวัง เพราะถนนหนทางโดยเฉพาะที่คนสร้าง ไม่ได้เป็นดินตามธรรมชาติ จะร้อนจัดในวันที่แดดแรง ถึงขั้นเดินแล้วเท้าพองกันเลยทีเดียว [24]
  4. พยายามใส่เครื่องประดับให้น้อยชิ้นที่สุดช่วงอากาศร้อนๆ เพราะพวกโลหะจะร้อนง่ายมาก แถมยิ่งใส่เสื้อผ้าน้อยชิ้นก็ยิ่งสบายตัว พวกเข็มขัดหรืออะไรที่ใช้ตกแต่งเสื้อผ้ายิ่งไม่ควรใช้ เพราะไปเพิ่มน้ำหนักให้ชุด ยิ่งกักเก็บความร้อนและความชื้นมากกว่าเดิม [25] ถ้าเป็นคนผมยาว ให้รวบขึ้น อย่าปล่อยเกะกะใบหน้า คอ ไหล่ แบบนี้ลมเย็นๆ จะพัดผ่านต้นคอด้วย [26]
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 5:

คลายร้อนในบ้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถึงหลายคนจะมองว่าเปิดพัดลมตอนร้อนชื้นจัดๆ แล้วยิ่งร้อนไปกันใหญ่ แต่บางงานวิจัยก็ชี้ว่าพัดลมช่วยได้ถ้าอากาศร้อนไม่เกิน 36°C (97°F) ถ้ามีความชื้น 80% และ 42°C (108°F) ถ้าความชื้น 50% [27] ไม่ว่าจะเป็นพัดลมจริงๆ หรือแบบมือถือ ก็ช่วยคลายร้อนได้เพราะอากาศถ่ายเทตลอด ไม่ว่าจะในบ้านหรือออฟฟิศ ให้ตั้งพัดลมในห้องต่างๆ ที่คุณนั่งทำงานหรือพักผ่อน อากาศจะได้ถ่ายเทสะดวก ลดอากาศร้อนชื้นเหนียวตัว
    • ลองทำ "swamp cooler" หรือพัดลมไอเย็นใช้เอง ช่วยลดอุณหภูมิได้เยอะเลย มีตั้งแต่แบบง่ายๆ (เช่น ชามใส่น้ำแข็งวางหน้าพัดลม) ไปจนถึงซับซ้อนขึ้นมาอีกหน่อย ขอแค่มีท่อ PVC ถังน้ำ พัดลม และแกลลอนใส่น้ำแช่แข็ง เท่านี้คุณก็ได้ลมเย็นประมาณ 4°C (40°F) แล้ว [28] แต่พัดลมไอเย็นแบบนี้จะใช้กับอากาศร้อนชื้นไม่ได้
    • ถ้าอากาศร้อนจัดจริงๆ พัดลมอย่างเดียวก็เอาไม่อยู่ [29] พัดลมช่วยคลายร้อนได้แน่นอน แต่ได้แค่ระดับหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่ในวันที่อากาศร้อนจัดแบบนรกแตก
  2. ถึงบ้านคุณจะไม่ได้ใช้แอร์ท่อ ก็ติดแอร์เครื่องเล็กๆ ที่ห้องใดห้องหนึ่ง ช่วยคลายร้อนให้คุณได้ เช่น ติดแอร์ในห้องที่คุณขลุกอยู่มากที่สุด ประมาณว่าห้องนั่งเล่น ห้องครัว และห้องนอน
    • พยายามเปิดแอร์อุณหภูมิสูงสุดที่ยังพอเย็นสบาย จะได้ไม่เปลืองค่าไฟ อย่าถึงขั้นเปิดแอร์เย็นจนเพนกวินเดินเล่น [30]
    • ถ้าที่บ้านไม่ได้ติดแอร์ หรือไม่ค่อยเย็น ก็แวะสถานที่สาธารณะต่างๆ ที่แอร์เย็นฉ่ำซะเลย [31] สถานที่ที่คุณแวะไปเดินเล่นตากแอร์ได้ก็เช่น
    • ห้องสมุดคณะ นอกจากแอร์เย็นแล้วยังได้อ่านหนังสือเพิ่มความรู้และรอยหยักในสมอง
    • ซูเปอร์และห้างสรรพสินค้า แน่นอนว่าแอร์เย็นฉ่ำ แต่ถ้ายังเย็นไม่พอก็แวะเข้าซูเปอร์ไปยืนหน้าตู้แช่ไอศครีมหรืออาหารแช่แข็งซะเลย
  3. แดดส่องเข้ามามากเท่าไหร่ ก็ร้อนขึ้นเท่านั้น เพราะงั้นต้องหาทางสกัดดาวรุ่ง อย่าให้แดดส่องเข้ามาในบ้านตรงๆ เท่านี้จะช่วยลดอุณหภูมิได้ โดยปิดม่าน ปิดมู่ลี่ หรือหาอะไรมาตั้งบังหน้าต่างซะเลย จะช่วยคลายร้อน ลดอุณหภูมิในบ้านได้ดี กันสาดก็ช่วยได้เยอะ เพราะกันไม่ให้แดดส่องมากระทบหน้าต่างตรงๆ แต่ก็ยังได้รับแสงสว่างเพียงพอ [32]
  4. เปลี่ยนสีหลังคาช่วยลดอุณหภูมิในบ้านได้ ยิ่งหลังคาเป็นสีโทนเย็น ก็ยิ่งลดอุณหภูมิช่วงหน้าร้อนไปได้ถึง 10°C เลยทีเดียว คุณอาจจะเพิ่มชั้นเคลือบที่หลังคาให้สีอ่อนลงก็ได้ หรือเปลี่ยนแผ่นปูหลังคาปกติให้สีอ่อนลง [33]
    • ถ้าอยากดัดแปลงหลังคาเพื่อลดอุณหภูมิในบ้าน ลองปรึกษาช่างก่อสร้าง ผู้รับเหมา หรือห้างค้าวัสดุก่อสร้างดู แต่บางทีก็ต้องรอจนรีโนเวทหลังคารอบหน้านู่น
  5. ยิ่งบุฉนวนกันความร้อนดีๆ บ้านก็จะร้อนน้อยลงช่วงหน้าร้อน ถ้ารู้สึกว่าบ้านร้อนกว่าปกติ ให้ลองบุฉนวนกันความร้อนดู ยิ่งซอกมุมหรือช่องที่อากาศเล็ดลอดออกไปได้น้อยลง อากาศเย็นก็จะไหลเวียนอยู่ในบ้านนั่นแหละ [34]
    • แต่ต้องมีอากาศระหว่างฉนวนกันความร้อนกับวัสดุของหลังคานะ
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 5:

รับมือกับอากาศร้อนจัด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไม่ว่าจะต้องออกนอกบ้านเพราะอะไร ให้วางแผนไว้ล่วงหน้า จะได้ไม่เสียเวลาเปล่ากลางแจ้ง ถ้าวางแผนจัดตารางไว้ดีแล้ว ก็จะจำกัดเวลาที่ต้องออกแดดได้ โดยวางแผนล่วงหน้าในแต่ละวัน เลือกเรื่องจำเป็นไว้ก่อน อะไรสำคัญรองลงมาค่อยเก็บเอาไว้ทำตอนแดดร่มลมตก
    • ถ้าจะไปเดินเขาเข้าป่า ก็ต้องสำรวจแผนที่ให้ดีๆ ตั้งแต่เริ่มวัน แล้วคำนวณหาเส้นทางที่ใกล้ที่สุด โดยเฉพาะเป็นเส้นทางที่มีร่มเงามากหน่อย
    • เวลาว่ายน้ำ ให้จับเวลาระหว่างอยู่ในสระด้วย คุณอาจจะคิดว่าไม่ค่อยได้โดนแดดเพราะอยู่แต่ใต้น้ำเย็นๆ แต่ถ้าว่ายน้ำนานเกินไปโดยไม่ทาครีมกันแดดเพิ่มหรือหยุดพักบ้าง ก็เสี่ยงผิวไหม้แดดได้เช่นกัน
    • ถ้าต้องขับรถไปไหนมาไหนเยอะเป็นพิเศษช่วงอากาศร้อนจัด ก็ต้องวางแผนล่วงหน้าโดยเอารถเข้าเช็ค โดยเฉพาะแอร์ต้องทำงานดี อย่าเสียกลางทาง ถ้ารู้สึกว่าแอร์ไม่ค่อยเย็น อากาศในรถร้อน ต้องรีบเอาเข้าอู่ทันที เพราะแสดงว่า Freon หรือสารทำความเย็นของรถน้อยลง [35]
  2. วางแผนจัดตารางเวลาแล้ว ก็อย่าลืมติดตามพยากรณ์อากาศด้วย จะเข้าเว็บของกรมอุตุฯ หรือเปิดทีวีดูข่าวอากาศประจำวันก็ได้ เพราะถ้าวันรุ่งขึ้นฝนตก แดดออก พายุเข้า จะได้รู้และเตรียมตัวทันท่วงที อย่างของอเมริกาเองก็มีดาวเทียมของ NOAA ช่วยเตือนเรื่องคลื่นความร้อนโดยอ้างอิงจาก Heat Index Values บอกได้เลยว่าถ้าความชื้นเท่านี้ อุณหภูมิในอากาศเท่านี้ คุณจะรู้สึกร้อนกี่องศา แต่ค่าดัชนีความร้อนนั้นเน้นบริเวณที่ร่มลมตก ถ้าอยู่กลางแจ้ง แดดจ้าเต็มที่ ลมกระโชกแรง heat factor ก็จะเพิ่มขึ้นได้ถึง -9°C (15°F) [36]
  3. ให้เวลาตัวเองได้ปรับตัวรับความร้อนเมื่อต้องเดินทาง. นักท่องเที่ยวบางคนทำพลาดเพราะยังคงกิจกรรมเดิมๆ แม้เดินทางไปยังประเทศที่อากาศร้อนกว่า หรือร้อนต่างกันออกไป เช่น เมืองไทยร้อนชื้น แต่ต้องเดินทางไปเมืองนอกที่ร้อนแห้ง บางครั้งต้องใช้เวลานานถึง 10 วันทีเดียว กว่าจะปรับตัวรับอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปได้ [37] แทนที่จะฝืนตัวเอง ลองให้เวลาได้ปรับตัวเข้ากับอากาศที่แตกต่างหน่อย คือจำกัดกิจกรรมที่ทำ จนกว่าจะรับอากาศร้อนของประเทศนั้นๆ ได้
    • พอรู้สึกสบายขึ้นแล้ว ให้ค่อยๆ เพิ่มกิจกรรมจนกลับมาทำกิจวัตรประจำวันตามปกติ
  4. ใจเย็นๆ ฝืนตัวเองในอากาศร้อนจัดไปก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรขึ้นมา ให้ทำอะไรแบบค่อยเป็นค่อยไป คอยสังเกตอาการตัวเองว่าเริ่มโดนความร้อนกระทบหรือยัง สำคัญมากว่าต้องพักผ่อนเป็นระยะถ้าอยู่ในอากาศร้อนนานๆ ห้ามคิดว่าทนไหว ถ้าเหนื่อยล้าเมื่อไหร่โดยเฉพาะในวันที่อากาศร้อน ต้องพักทันที [38]
    • ถ้าต้องทำกิจกรรมหนักๆ หรือออกแรง พยายามเก็บไว้ทำช่วงเช้าหรือเย็นไปเลย
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ต้องดูแลให้เด็กดื่มน้ำเพียงพอในแต่ละวัน โดยเฉพาะวันที่อากาศร้อนยิ่งต้องดื่มน้ำมากกว่าปกติ
  • เปิดน้ำเย็นราดข้อมือสัก 2 - 3 นาที บอกเลยว่าช่วยให้ตัวเย็นขึ้นได้!
  • ราดน้ำเย็นจัดใส่หมวกแก๊ปหรือหมวกมีปีกสักนิดหน่อย แล้วค่อยเอาสวมหัว จะช่วยให้หัวเย็นขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
  • ทาครีมกันแดดเพิ่มตามคำแนะนำที่ฉลาก แนะนำให้ทา 20 - 30 นาทีก่อนออกแดด เลือกครีมกันแดดที่มี SPF 15 ขึ้นไป แต่อย่าเกิน 50 [39] คอยทาครีมกันแดดเพิ่มให้เด็กด้วย เพราะยังเล็ก ดูแลตัวเองไม่ดีเท่าพ่อ แม่ ผู้ปกครองอย่างคุณ
  • ถ้าใช้บริการขนส่งสาธารณะ พยายามเลือกที่นั่งในๆ ไม่โดนแดด
โฆษณา

คำเตือน

  • ห้ามทิ้งเด็กหรือสัตว์เลี้ยงไว้ในรถที่จอดดับเครื่องอยู่ในช่วงที่อากาศร้อนจัด เพราะอุณหภูมิในรถหรือยานพาหนะต่างๆ จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นอันตรายถึงชีวิตได้จากภาวะตัวร้อนเกิน (hyperthermia) ร่างกายของเด็กและสัตว์เลี้ยงจะร้อนง่ายกว่าผู้ใหญ่ ถึงจะแค่จอดแป๊บเดียว ก็ต้องพาเด็กหรือสัตว์เลี้ยงลงไปด้วย ไม่ก็ให้อยู่บ้านเย็นๆ จะดีกว่า
  • บางวัตถุก็ร้อนจัดจนจับต้องไม่ไหวได้เหมือนกัน เช่น หัวเข็มขัดในรถ และพวงมาลัย
  • กลุ่มคนที่ยิ่งได้รับผลกระทบจากอากาศร้อนจัด คือผู้สูงอายุ เด็กเล็ก คนที่เป็นโรคอ้วน คนที่ป่วยและมีไข้ คนที่เลือดไหลเวียนได้ไม่ดีหรือเป็นโรคหัวใจ และคนที่ถูกแดดเผา หรือมีอาการทางจิต
  • ถ้าคุณโดนแดดจัดๆ หรืออยู่ในอากาศร้อนแล้วมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดหัว อ่อนเพลีย อ่อนแรง วิงเวียน และ/หรือคลื่นไส้ ให้หยุดทุกอย่างที่ทำอยู่ รีบเข้าที่ร่มหรือห้องแอร์ แล้วดื่มน้ำและพักผ่อน ถ้ายังคงมีอาการหลังหลบแดดแล้วสักพัก ให้รีบไปหาหมอ แต่ถ้าอาการแย่มากให้รีบโทรเรียกรถพยาบาล
  • ถ้ามีอาการผิดปกติรุนแรง เช่น หัวใจเต้นแรงเร็ว คลื่นไส้รุนแรง อาเจียน หายใจลำบาก อุณหภูมิร่างกายสูง 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป เหงื่อโทรมกาย ตัวแดงไปหมด หรือกลับกันคือร้อนแต่ไม่มีเหงื่อ ให้รีบไปหาหมอทันที (เรียกรถพยาบาล) [40]
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • น้ำและขวดน้ำ/กระติกน้ำ
  • เสื้อผ้าสีอ่อน ผ้าบางเบา
  • หมวกและแว่นกันแดด
  • ครีมกันแดด
  1. http://www.sheilakealey.com/2015/05/20/cool-soups-for-hot-weather/
  2. http://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/guide/sunburn?page=2
  3. http://patient.info/health/sun-and-health
  4. http://www.skincancer.org/skin-cancer-information/ask-the-experts/how-much-sunscreen-should-i-be-using-on-my-face-and-body
  5. http://articles.sun-sentinel.com/2013-07-07/news/fl-shady-breezy-temps-20130706_1_much-cooler-air-conditioning-temperatures
  6. http://childrensnational.org/news-and-events/our-blogs/parenting-blog/2015/june/8-tips-on-how-to-stay-cool-on-a-hot-day
  7. http://www.cdc.gov/features/extremeheat/
  8. http://www.medicinenet.com/script/main/art.asp?articlekey=52796
  9. http://www.thethermalenvironment.com/do-long-sleeve-shirts-increase-the-risk-of-heat-stress-for-outdoor-workers/
  10. http://www.skincancer.org/prevention/sun-protection/clothing
  11. http://childrensnational.org/news-and-events/our-blogs/parenting-blog/2015/june/8-tips-on-how-to-stay-cool-on-a-hot-day
  12. http://www.realmenrealstyle.com/dress-smart-hot-weather/
  13. http://lifehacker.com/is-there-really-a-benefit-to-special-exercise-clothing-1607198642
  14. http://www.complex.com/sneakers/2013/06/the-best-adidas-running-shoes-for-hot-summer-days
  15. http://childrensnational.org/news-and-events/our-blogs/parenting-blog/2015/june/8-tips-on-how-to-stay-cool-on-a-hot-day
  16. http://www.cosmopolitan.com/style-beauty/fashion/advice/a41303/summer-style-tricks-to-keep-you-cool/
  17. http://offbeatbride.com/keep-cool-on-the-wedding-day/
  18. http://health.usnews.com/health-news/articles/2015/02/17/study-refutes-notion-that-fans-are-useless-in-extreme-heat
  19. https://www.youtube.com/watch?v=HxSLbpAwibg
  20. http://www.cdc.gov/features/extremeheat/
  21. http://www.energy.gov/energysaver/home-cooling-systems
  22. http://www.cdc.gov/features/extremeheat/
  23. http://www.rodalesorganiclife.com/home/how-keep-your-house-cool-without-ac
  24. http://www.greenhomeguide.com/know-how/article/three-ways-to-make-your-roof-more-energy-efficient
  25. http://www.rodalesorganiclife.com/home/how-keep-your-house-cool-without-ac
  26. http://www.firestonecompleteautocare.com/cf/maintenance/everything-you-need-to-know-about-your-cars-ac/
  27. http://www.cdc.gov/features/extremeheat/
  28. http://www.kathmandu.com.au/expert-advice/expert-advice-articles/hiking-in-heat
  29. http://www.cdc.gov/features/extremeheat/
  30. https://www.ewg.org/sunscreen/top-sun-safety-tips/#.Wu0T2pe-nIU
  31. http://www.webmd.com/first-aid/tc/heat-related-illnesses-check-your-symptoms

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,339 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา