ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ไม่ว่าคุณจะต้องการสร้างความแข็งแกร่งและเพาะกล้ามหรือรักษากล้ามเนื้อที่บาดเจ็บ การใช้เทคนิคฟื้นฟูที่ถูกต้องนั้นเป็นเรื่องสำคัญ คุณจะฟื้นสภาพได้ดีแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณกำลังฟื้นตัวขึ้นมาจากอะไร ถ้าหากคุณมีอาการเจ็บจากการออกกำลังกายและพยายามสร้างกล้ามเนื้อ การฟื้นฟูก็อาจไม่จำเป็นต้องหมายถึงการนั่งว่างๆ ไปสามวันระหว่างรอออกกำลังกายแต่ละช่วง แต่คุณอาจจำเป็นต้องพักจริงจังเพื่อฟื้นฟูอาการบาดเจ็บหรืออาการเคล็ด เรียนรู้วิธีการเร่งเวลาที่ใช้ฟื้นฟูกล้ามเนื้อ ไม่ว่าคุณจะฟื้นฟูจากอะไร จะช่วยให้คุณรักษาความแข็งแกร่งและกลับเข้ายิมได้ไวที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

บรรเทากล้ามเนื้อที่บาดเจ็บ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณไปดึง ทำให้กล้ามเนื้อตึง หรือฉีกขาด คุณจำเป็นต้องปล่อยให้มันได้พักมากเท่าที่จะทำได้ พยายามหลีกเลี่ยงการใช้กล้ามเนื้อนั้นถ้าเป็นไปได้ หรืออย่างน้อยก็เลี่ยงไม่ให้มันมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ทำให้คุณบาดเจ็บ (วิ่ง ยกเวท เป็นต้น) [1]
  2. ประคบน้ำแข็งตรงบริเวณกลุ่มกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บ. การประคบน้ำแข็งจะช่วยลดอาการบวมและแดงอักเสบโดยการผ่อนอัตราเร็วของกระแสเลือดที่จะไหลเวียนไปยังจุดที่บาดเจ็บ [3] หากคุณไม่มีก้อนน้ำแข็งหรือถุงน้ำแข็ง คุณสามารถใช้ถุงผักแช่แข็งหรือถุงอาหารแช่แข็งอื่นๆ จากในช่องแช่แข็งก็ได้ [4]
  3. หลังจากประคบน้ำแข็งจนเพียงพอแล้ว มันจะช่วยได้เยอะถ้าใช้วิธีบำบัดด้วยการรัดและยกสูงระหว่างนอนพัก การบำบัดด้วยการรัดก็ง่ายแค่ใช้พลาสเตอร์ที่ยืดหยุ่นได้มาพันรอบจุดที่บาดเจ็บเพื่อลดการไหลเวียนของเลือด นี่จะช่วยป้องกันการบวมได้ [9] คุณยังสามารถยกแขนขาที่บาดเจ็บให้อยู่สูงเพื่อลดการไหลเวียนเลือดลงไปอีกและป้องกันอาการบวม แค่สอดหมอนรองแขนหรือขาสักใบสองใบระหว่างนั่งหรือเอนตัวนอน [10]
    • อย่าพันรอบจุดที่บาดเจ็บจนแน่นเกินไป ไม่งั้นอาจทำให้เลือดไม่ไหลเวียนช่วงแขนหรือขาได้ [11]
  4. ถ้าการบาดเจ็บทำให้คุณรู้สึกปวดเป็นอย่างยิ่ง สามารถใช้ยาอะซีตามิโนเฟน (acetaminophen) หรือยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช้สเตียรอยด์อย่างแอสไพรินกับไอบูโพรเฟน ยาเหล่านี้จะช่วยลดอาการบวมแดงและช่วยให้ขยับเคลื่อนไหวได้พร้อมลดอาการปวดลงด้วย [12]
    • ใช้ยาตามคำแนะนำบนฉลาก หรือปรึกษาแพทย์ว่าต้องใช้ยามากเท่าไหร่ที่ยังอยู่ในระยะปลอดภัย
    • ต้องไม่ให้แอสไพรินแก่เด็กหรือวัยรุ่นเว้นแต่จะได้รับคำแนะนำจากกุมารแพทย์ แอสไพรินนั้นมีส่วนเชื่อมโยงกับอาการที่รุนแรงในเด็ก/วัยรุ่นที่เรียกว่าเรย์ซินโดรม ซึ่งจะทำให้ตับและสมองบวมโต [13]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

รับมือกับอาการกล้ามเนื้อขัดยอก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณน่าจะรู้ว่าต้องทำการยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกาย แต่มันก็ลืมกันได้ง่ายว่าคุณต้องยืดเหยียด “หลัง” ออกกำลังกายเช่นกัน หรือแม้กระทั่งในวันถัดมาเมื่อกล้ามเนื้อเริ่มมีอาการยอก การยืดเหยียดช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้นและขจัดกรดแลคติกที่ก่อตัวขึ้นและเป็นผลให้กล้ามเนื้อยอกในวันถัดมาจากวันออกกำลังกาย [14]
    • ยืดกลุ่มกล้ามเนื้อที่รู้สึกยอกและทำค้างไว้ มันจะช่วยให้เลือดไหลเวียนไปยังกล้ามเนื้อกลุ่มนั้นดีขึ้น ทำให้ยืดหยุ่นได้ดีขึ้น
    • ค้างท่ายืดเหยียดไว้ต่ำสุดที่ 10 วินาที เริ่มต้นด้วยการยืดเหยียดแคบๆ ก่อนจะค่อยๆ เพิ่มการยืดเหยียดให้มากขึ้นในแต่ละครั้งที่ทำซ้ำ
  2. กระทั่งนักกีฬาที่เจนสนามก็ยังรู้สึกว่าพวกเขาสามารถกระโจนจากตอนจบการแข่งขันกระโดดไปอาบน้ำทันที ทว่าผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าช่วงเวลาผ่อนคลายกล้ามเนื้อเป็นส่วนจำเป็นอย่างยิ่งในการออกกำลังกาย เพียงแค่ออกกำลังแบบแอโรบิคง่ายๆ เพียงช่วงสั้นๆ (ประมาณ 10 นาที) อย่างวิ่งเหยาะๆ หรือเดิน แล้วยืดเหยียดกล้ามเนื้อสักสองสามนาทีให้เลือดได้ไหลเวียน [15]
  3. ผู้เชี่ยวชาญหลายคนแนะนำการใช้การบำบัดด้วยความร้อน (อย่างการใช้กระเป๋าน้ำร้อน เจลร้อน หรือแช่น้ำร้อน) เพื่อช่วยรักษาอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ [16] ทั้งนี้เป็นเพราะความร้อนเมื่อใช้กับผิวหนัง จะช่วยให้เลือดไหลเวียนไปยังจุดที่กล้ามเนื้ออักเสบ ทำให้กล้ามเนื้อได้ฟื้นฟูและสร้างขึ้นมาใหม่ [17]
    • อย่าใช้ความร้อนตรงจุดที่กล้ามเนื้อมีอาการบวมหรืออักเสบแดง เนื่องจากมันจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงที่จะบวมต่อไป [18]
    • อย่าใช้การบำบัดด้วยความร้อนถ้าคุณเป็นโรคเบาหวานหรือร่างกายมีระบบไหลเวียนโลหิตที่แย่ [19]
    • อย่าเอนตัวนอนพร้อมกับแหล่งให้ความร้อน เพราะคุณอาจเผลอหลับและทำให้เกิดรอยไหม้ได้ [20]
    • ปรึกษาแพทย์ว่าควรใช้การบำบัดด้วยความร้อนนี้บ่อยแค่ไหนและนานเท่าใด เพราะอาการบาดเจ็บอาจต้องการการบำบัดแบบนี้ชนิดระบุเวลาแน่นอน หมอยังอาจแนะให้คุณไม่รักษาด้วยวิธีนี้ ขึ้นอยู่กับประวัติการรักษาของคุณ
  4. การนวดเป็นที่นิยมในหมู่นักกีฬาอาชีพ และมันมีเหตุผลที่เข้าท่า นักนวดมืออาชีพสามารถช่วยให้กล้ามเนื้อฟื้นตัวได้เร็วขึ้นโดยการนวดไปถึงเนื้อเยื่อ ช่วยลดการบวมแดงและทำให้เซลล์ฟื้นฟูตัวเองได้ [21]
    • หาข้อมูลหมอนวดที่ผ่านการรับรองในแถวที่คุณอาศัยอยู่จากอินเทอร์เน็ต
    • ถ้าคุณไม่อยากนัดเวลาหมอนวด ให้แฟนช่วยนวดหรือนวดเองก็ได้ นวดแขนขาด้วยการกดที่มั่นคงและลึกแน่น เพื่อให้เลือดลมไหลเวียนกับคลายความตึงเครียด
    • ใช้ลูกกลิ้งโฟม (foam roller) อาจกระตุ้นกล้ามเนื้อในแบบเดียวกับการนวดได้ ให้กลิ้งลูกกลิ้งโฟมไปบนกลุ่มกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บสัก 30 - 60 วินาทีในแต่ละครั้งและทำซ้ำตลอดทั้งวัน
  5. ว่ายน้ำนับเป็นอีกรูปแบบของการนวดกล้ามเนื้อ มันจะสร้างแรงต้านเบาๆ เพื่อที่กล้ามเนื้อที่บาดเจ็บอยู่นั้นมีโอกาสได้ยืดเหยียดและขยับโดยไม่ต้องล้าไปกว่าเดิม การว่ายน้ำยังช่วยทำให้กล้ามเนื้อได้ขยับเคลื่อนไหวในระหว่างที่บาดเจ็บ ทำให้เลือดไหลเวียนโดยไม่ทำให้อักเสบหรือบวมแดงมากขึ้น [22]
    • อย่าออกกำลังแบบว่ายน้ำเต็มกำลัง ตั้งเป้าไว้แค่ 20 นาทีหรือว่ายเบาๆ ไปรอบสระสำหรับการออกกำลังกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บ ใช้ท่าว่ายที่ได้ใช้งานกล้ามเนื้อกลุ่มที่บาดเจ็บ
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

ผ่อนคลายระหว่างการออกกำลังกาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้กล้ามเนื้อได้มีเวลาเพียงพอต่อการฟื้นสภาพจากการออกกำลังกายอย่างหนักหน่วง โดยเฉพาะถ้าคุณเพิ่งเริ่มเข้าฟิตเนส การไม่มีวันพักอย่างที่ร่างกายต้องการสักวันสองวันนั้นอาจส่งผลให้กล้ามเนื้อฉีกขาด ซึ่งจะยิ่งใช้เวลานานในการฟื้นสภาพและอาจส่งผลให้เกิดบาดเจ็บเรื้อรังได้ [23]
    • การฟื้นฟูระยะสั้นคือการพักระหว่างเซ็ตในขณะออกกำลังกาย [24]
    • การฟื้นฟูระหว่างฝึกคือช่วงพักที่คุณใช้ระหว่างวันไปยิมหรือวันออกกำลังกาย [25]
    • ผู้เชี่ยวชาญบางคนแนะนำให้พักนานถึง 48 ชั่วโมงหากมีอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อก่อนที่คุณจะเริ่มออกกำลังกล้ามเนื้อกลุ่มนั้นอีก [26]
  2. การได้หลับเพียงพอจะช่วยกล้ามเนื้อฟื้นสภาพได้เร็วขึ้นและทำให้คุณพร้อมไปออกกำลังในคราวหน้า ตั้งเป้าว่าต้องนอน 7-8 ชั่วโมง การนอนหลับได้ต่อเนื่องทำได้ง่ายขึ้นหากคุณเข้านอนและตื่นในเวลาเดิมเป็นประจำ
  3. นอกเหนือจากการช่วยคลายอาการปวดกล้ามเนื้อแล้ว การแช่น้ำร้อนในอ่างยังช่วยให้เนื้อเยื่อผ่อนคลาย ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ และทำให้ขยับเคลื่อนที่ได้ดีกว่าเดิม [27] แช่ในอ่างน้ำร้อนของยิมหรือเข้าซาวน่าสัปดาห์ละครั้งเพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อฟื้นตัวจากการออกกำลังกายอย่างหนัก หรือพยายามนอนแช่ในอ่างที่บ้านทุกสัปดาห์เพื่อช่วยรักษากล้ามเนื้อที่บาดเจ็บ
    • เติมดีเกลือฝรั่งเพื่อช่วยลดการยอกของกล้ามเนื้อ
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

รับประทานเพื่อสร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาใหม่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โปรตีนเป็นตัวสร้างเส้นใยกล้ามเนื้อ [28] แต่ตรงข้ามกับความเชื่อทั่วไป การกินที่เน้นแต่โปรตีนไม่ได้ช่วยสร้างโปรตีนขึ้นมาจริงๆ และอาจเป็นอันตรายต่อการออกกำลังกายหรือสุขภาพโดยรวมได้ [29]
    • คุณควรบริโภคโปรตีน 0.36 กรัมตามน้ำหนักตัวทุกๆ ครึ่งกิโลกรัม เช่น ถ้าคุณหนัก 68 กิโลกรัม คุณควรทานโปรตีนประมาณ 54 กรัมทุกวัน [30]
    • ไข่ เนื้อแดงไร้ไขมัน ปลา ถั่ว/ถั่วเป็นฝัก กับเต้าหู้ ล้วนแต่เป็นแหล่งโปรตีนชั้นยอด
    • โปรตีนไม่ได้สร้างกล้ามเนื้อใหม่ แต่มันจะช่วยซ่อมแซมการฉีกขาดในมัดกล้ามเนื้อที่เกิดในระหว่างออกกำลังกาย
  2. ผลการศึกษาบางชิ้นแนะนำว่าสารต้านอนุมูลอิสระอย่างวิตามินซีอาจช่วยป้องกันการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ อย่างไรก็ดี คุณควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้วิตามินหรืออาหารเสริมรวมไปถึงวิตามินซีด้วย [31]
    • นอกจากผลไม้รสเปรี้ยวจำพวกซิตรัสอย่างส้มแล้ว คุณยังได้วิตามินซีจากเบอร์รี่ บร็อคโคลี พริกเขียวและพริกแดง มันฝรั่ง มะเขือเทศ ผักโขม กับผักใบเขียวอื่นๆ [32]
  3. แม็กนีเซียมช่วยให้กล้ามเนื้อทำงานได้ดีขึ้นพร้อมๆ กับช่วยเพิ่มระดับพลังงานและความทนทานในการออกกำลัง [33] ด้วยเป็นเช่นนี้ แม็กนีเซียมจึงอาจช่วยลดการเป็นตะคริวและเร่งระยะเวลาฟื้นฟู
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ในขณะที่คุณอาจไม่ได้เกิดอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหลังการออกกำลังกายในทันที คุณอาจสังเกตอาการมันได้ในอีกหนึ่งถึงสองวันให้หลัง เตรียมคาดหวังอาการกล้ามเนื้อขัดยอก โดยเฉพาะหลังจากเพิ่มระยะเวลาหรือความเข้มข้นของการออกกำลังกาย และวางแผนรับมือไว้ล่วงหน้า
โฆษณา

คำเตือน

  • เวลายืดเหยียด สำคัญมากที่ต้องยืดเหยียดให้สุดเท่าที่คุณยังสบาย ทันทีที่เริ่มรู้สึกตึง ให้หยุดและกลับสู่ท่าตั้งต้น การยืดจนสุดเกินไปอาจส่งผลให้เอ็นฉีกขาด ให้ขยับช้าๆ และควบคุมได้เพื่อกันไม่ให้เกิดขึ้น


โฆษณา
  1. http://www.emedicinehealth.com/muscle_strain/page6_em.htm#muscle_strain_home_remedies
  2. http://www.emedicinehealth.com/muscle_strain/page6_em.htm#muscle_strain_home_remedies
  3. http://www.emedicinehealth.com/muscle_strain/page6_em.htm#muscle_strain_home_remedies
  4. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/reyes-syndrome/basics/definition/con-20020083
  5. http://www.webmd.com/fitness-exercise/sore-muscles-dont-stop-exercising?page=2
  6. http://www.webmd.com/fitness-exercise/sore-muscles-dont-stop-exercising?page=2
  7. http://www.webmd.com/fitness-exercise/sore-muscles-dont-stop-exercising?page=2
  8. http://www.webmd.com/fitness-exercise/sore-muscles-dont-stop-exercising?page=3
  9. https://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=1&ContentID=4483
  10. https://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=1&ContentID=4483
  11. https://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=1&ContentID=4483
  12. http://well.blogs.nytimes.com/2012/02/06/how-massage-heals-sore-muscles/?_r=0
  13. http://www.webmd.com/fitness-exercise/sore-muscles-dont-stop-exercising?page=2
  14. http://familydoctor.org/familydoctor/en/prevention-wellness/exercise-fitness/exercise-basics/sore-muscles.html
  15. https://www.unm.edu/~lkravitz/Article%20folder/recoveryUNM.html
  16. https://www.unm.edu/~lkravitz/Article%20folder/recoveryUNM.html
  17. http://familydoctor.org/familydoctor/en/prevention-wellness/exercise-fitness/exercise-basics/sore-muscles.html
  18. https://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=1&ContentID=4483
  19. http://www.webmd.com/fitness-exercise/will-eating-more-protein-help-your-body-gain-muscle-faster?page=2
  20. http://www.webmd.com/fitness-exercise/will-eating-more-protein-help-your-body-gain-muscle-faster?page=1
  21. http://www.webmd.com/fitness-exercise/will-eating-more-protein-help-your-body-gain-muscle-faster?page=2
  22. http://www.webmd.com/fitness-exercise/art-sore-muscles-joint-pain?page=2
  23. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/002404.htm
  24. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-998-magnesium.aspx?activeingredientid=998&activeingredientname=magnesium
  25. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/magnesium-supplement-oral-route-parenteral-route/proper-use/drg-20070730
  26. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/magnesium-supplement-oral-route-parenteral-route/proper-use/drg-20070730
  27. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/magnesium-supplement-oral-route-parenteral-route/proper-use/drg-20070730
  28. https://ods.od.nih.gov/factsheets/Magnesium-HealthProfessional/

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 20,342 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา