ดาวน์โหลดบทความ
ดาวน์โหลดบทความ
website hosting ฟรีแบบไม่ต้องเช่านี่แหละ เหมาะสำหรับเว็บที่คนเข้าน้อยๆ อย่างเว็บส่วนตัว และเหมาะกับมือใหม่หัดทำเว็บ ที่แค่อยากหาช่องทางเผยแพร่ข้อมูลของตัวเองแบบง่ายๆ แถมฟรี บอกเลยว่าไม่มีทุนหรือไม่เก่งคอมก็ทำเว็บได้นะจะบอกให้
ขั้นตอน
ข้างล่างคือรายชื่อเว็บที่ให้คุณสร้างและโฮสต์เว็บได้ฟรีๆ แทบทุกเว็บมีธีมสวยหรูดูดีให้ได้เลือกใช้กัน หรือจะสร้างธีมเองก็ได้ โดยเปลี่ยนสี ฟอนต์ และรูปตามใจชอบ ก่อนตัดสินใจลองศึกษาดูว่าแต่ละเว็บมีข้อดีข้อเสียยังไง จะได้เจอตัวเลือกที่เหมาะกับคุณที่สุด
- ข้อดีของเว็บพวกนี้ก็เช่น
:
- โฮสต์เว็บได้ฟรีแถมมีบริการช่วยเหลือ
- เริ่มใช้งานและจัดการภายหลังง่าย
- มีเครื่องมือต่างๆ แบบ DIY
- เทมเพลต/ธีมสวยหรูดูโปร
- backup ข้อมูลอัตโนมัติ
- มีฟีเจอร์รักษาความปลอดภัยในตัว
- ข้อเสียของเว็บพวกนี้ก็เช่น
:
- เว็บคุณจะถูกติดโฆษณา
- ปรับแต่งเทมเพลต/ธีมได้แค่เล็กๆ น้อยๆ
- เลือก domain name ไม่ได้
- มีพื้นที่เก็บข้อมูลกับ bandwidth จำกัด
-
Wordpress:. Wordpress ไม่ได้เป็นแค่บล็อก แต่ให้คุณสร้างและโฮสต์เว็บไซต์ได้ฟรีๆ แถมมีเทมเพลตสวยหรูดูโปรให้ได้เลือกใช้กัน
- ลองเข้าไปเช็คดูที่ http://en.wordpress.com/features/ ว่าสมัครบัญชี Wordpress ฟรีแล้วใช้ฟีเจอร์อะไรได้บ้าง
- คุณสมัครบล็อกฟรีได้ที่ https://en.wordpress.com/signup/ ที่ต้องใช้ก็แค่อีเมล activate แล้วก็เข้าไปสร้างเว็บกันได้เลย
- ไปที่หน้า support จะมีสอนเริ่มสร้างเว็บ http://en.support.wordpress.com/
-
Weebly:. เคยเป็น 1 ใน 50 เว็บไซต์ยอดเยี่ยมประจำปี 2550 ของ TIME เลยทีเดียว Weebly นั้นให้คุณสร้างเว็บได้ง่ายๆ ด้วยการลากแล้ววาง (drag-and-drop) ถ้าคุณหัวศิลป์หน่อย นี่แหละเว็บที่ใช่สำหรับคุณ
- ลองศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Weebly ดูในเน็ต
- สำรวจฟีเจอร์ว่า Weebly คือเว็บที่ใช่สำหรับคุณหรือเปล่า ให้คลิกปุ่มสีฟ้าที่ล่างหน้าหลักของเว็บเพื่อเริ่มต้นได้เลย
- สมัครบัญชีใหม่ด้วยอีเมล แล้วทำไปตามขั้นตอน
-
เว็บโฮสต์อื่นๆ:. ยังมีเว็บโฮสต์ฟรีอีกหลายเว็บให้เลือกใช้กัน ยังไงลองค้นหาและศึกษาดูว่าเว็บไหนที่ใช่สำหรับคุณ แต่ที่เหมือนกันคือพื้นที่เก็บข้อมูลกับ bandwidth จะมีจำกัดแน่นอนโฆษณา
-
ค่ายเน็ตที่ใช้ต้องอนุญาตให้คุณโฮสต์เว็บก่อน. ค่ายเน็ตบางเจ้าก็เคร่ง ไม่ยอมให้คุณทำแบบนั้น
-
หา IP address ของตัวเอง.
- เปิด Start แล้วคลิก Run จากนั้นพิมพ์ "cmd" (ไม่ต้องมีเครื่องหมายคำพูด) แล้วกด OK
- พิมพ์ "ipconfig/all" (ไม่ต้องมีเครื่องหมายคำพูด) แล้วกด Enter
- จด IP address, subnet mask, default gateway และ DNS servers ที่เห็น เดี๋ยวต้องใช้ข้อมูลพวกนี้
-
เปิดโฟลเดอร์ Network Connections.
-
คลิกขวาสัญญาณเน็ตที่ใช้.
-
เลือก properties.
-
เลื่อนไปตามเมนูจนเจอ Internet protocol. ให้เลือกแล้วคลิก properties โดยเปิดหน้าต่าง command prompt ไว้
-
คลิก "use the following IP address" . ถ้าติ๊กอยู่แล้ว ก็ข้ามขั้นตอนที่ต้องกลับไปที่หน้าต่าง command prompt ไปได้เลย
-
ใส่ข้อมูลที่ copy มา. หลักสุดท้ายของ IP address ควรจะต่างกับที่คุณ copy มา จากนั้นคลิก OK
- ถ้ามีข้อความว่ามี IP address นี้ในเครือข่ายแล้ว ให้เปลี่ยนเลขหลักสุดท้าย
-
กลับไปที่ command prompt. พิมพ์ "ping www.yahoo.com" (ไม่ต้องมีเครื่องหมายคำพูด) ลงไป
- ถ้ามีข้อความว่า "Reply from 67.195.160.76" หรืออะไรที่ใกล้เคียง แสดงว่าเรียบร้อย
- แต่ถ้าเป็น "Request timed out" ให้ติดต่อค่ายเน็ตที่ใช้ เพราะแสดงว่า DNS servers มีปัญหา ค่ายเน็ตจะได้บอกว่าควรใช้ DNS servers ไหน
- เท่านี้ก็จบขั้นตอนแรกในการตั้ง static IP address ปกติต้องมีเราเตอร์ถึงจะทำได้ คือตั้ง static IP ให้เราเตอร์ แต่ถ้าไม่มี ก็ต้องซื้อ static IP จากค่ายเน็ต หรือสมัครใช้ static DNS ฟรี
-
ดาวน์โหลด Wampserver. Wampserver ดีตรงที่มี Apache และตั้งค่าเองอัตโนมัติ
- หมายเหตุ: ระหว่างติดตั้ง จะมีการถามหาชื่อเซิร์ฟเวอร์ ให้คุณพิมพ์ "localhost" ใน server name ขอให้พิมพ์เป๊ะๆ โดยไม่มีเครื่องหมายคำพูด ส่วนที่ให้พิมพ์อีเมล ก็ใส่อีเมลของคุณไปได้เลย
-
สร้างโฟลเดอร์ใน www directory. เซฟไฟล์ของเว็บลงในโฟลเดอร์นี้
- address ของเว็บจะเป็น yourstaticipaddress/yourfolderinthewwwdirectory/ เว้นแต่คุณได้สมัครใช้ static DNS ไป
-
ลงทะเบียน domain name แล้วลิงค์ไป address ของเว็บ.โฆษณา
คำเตือน
- ถ้าจะโฮสต์เว็บเอง เว็บคุณจะล่มทุกครั้งที่เน็ตหลุด คอมดับ หรือระบบล่ม
- บางคำแนะนำในเน็ตก็ใช่ว่าจะถูกต้องหรือถูกกฎหมายเสมอไป ถ้าคุณเป็นมือใหม่หัดสร้างเว็บ ยังงูๆ ปลาๆ อยู่ พยายามเชื่อแต่แหล่งข้อมูลที่ดังๆ หรือคนนิยมจะดีกว่า
- ถ้าคุณโฮสต์เว็บเองในคอม เว็บจะตอบสนองช้ากว่าใช้เว็บโฮสต์ตามปกติ
- ของฟรีแถมดีไม่มีในโลก ถ้าจะใช้เว็บโฮสต์ฟรีก็ต้องยอมรับข้อจำกัดต่างๆ ที่จะตามมา
โฆษณา
สิ่งของที่ใช้
- คอมพิวเตอร์กับสัญญาณเน็ต
- อีเมลที่ใช้การได้
เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้
มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,522 ครั้ง
โฆษณา