ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ข้อมูลในคอมนี่แหละสำคัญยิ่งชีพ ไม่ว่าจะรูปครอบครัว เอกสารภาษี งานศิลป์ชิ้นเอก เพลงเด็ดประจำวง ไปจนถึงงานวิจัยละเอียดอ่อนทั้งหลาย และอื่นๆ ถ้าหายแล้วก็หายเลย ข่าวร้ายก็คือคอมน่ะแฮงก์หรือเจ๊งได้ไม่เลือกเวลา การรู้จักวางแผน backup ข้อมูลแต่เนิ่นๆ นี่แหละจึงเป็นหน้าที่สำคัญของผู้ใช้คอมพิวเตอร์อย่างคุณ แต่โชคดีที่การ back up ข้อมูลนั้นแสนจะง่ายดาย แค่เลื่อนลงไปอ่านขั้นตอนแรกข้างล่าง แล้วเดี๋ยวรู้เอง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 5:

Back Up ไฟล์ด้วยตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใส่อุปกรณ์หรือสื่อในการจัดเก็บข้อมูลเข้าไป. คุณสามารถ back up ไฟล์ต่างๆ ได้ทันทีแค่เสียบ external hard drive หรือ thumb drive กับคอม แล้ว copy ไฟล์เข้าไป หรือจะใช้แผ่น CD หรือ DVD ก็ได้ แต่ก็กินพื้นที่หน่อยเวลาเก็บ ที่สำคัญคือมีแนวโน้มจะข้อมูลสูญหายหรือผิดพลาดได้ง่ายกว่าใช้ external drive คุณต้องมานั่งไรท์ไฟล์ลงแผ่นเวลาจะเซฟ แต่ถ้าเป็น external drive ก็ลากไฟล์ไปหย่อนใส่ได้เลย
  2. เวลาคุณ back up ด้วยตัวเอง คุณต้องคอยเช็คว่าได้ back up ครบถ้วนทุกไฟล์ที่ต้องการแล้ว เพราะฉะนั้นต้องกวาดต้อนให้หมดไม่เหลือแม้แต่ไฟล์เดียว
  3. back up ข้อมูลสำคัญที่สุดก่อนเสมอ นั่นหมายรวมถึงเอกสารสำคัญที่ขาดไม่ได้ ไฟล์และรูปส่วนตัวที่มีคุณค่าทางจิตใจ และข้อมูลอื่นที่หาใหม่ไม่ได้แล้ว การ Copy ไฟล์นั้นใช้เวลาไม่น้อย เพราะฉะนั้นเลือกเซฟเฉพาะอะไรที่สำคัญหรือมีคุณค่าต่อคุณจะดีกว่า
  4. พอรู้แล้วว่าต้องเซฟอะไรบ้าง ก็เริ่ม copy ลงสื่อสำหรับ backup ข้อมูลได้เลย ถ้าคุณเลือกใช้ external drive, thumb drive หรือ network drive ก็แค่ลากไฟล์ไปหย่อนใส่ drive แล้วรอให้ไฟล์ถูก copy ลงไปจนเสร็จเท่านั้นเอง แต่ถ้าคุณเลือกไรท์ข้อมูลลงแผ่น disc ให้ทำตามขั้นตอนข้างล่างได้เลย
    • เพื่อความปลอดภัยยิ่งขึ้นของข้อมูล ให้ back up ข้อมูลไว้ 2 ที่แยกกัน จะได้ป้องกันไว้ก่อนเวลาข้อมูลในที่นึงเกิดหายไป
  5. เพราะว่าคุณเป็นคน back up เอง จึงไม่มีกำหนดการแน่ชัดว่าจะ copy ข้อมูลเมื่อไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับตัวคุณเองว่าต้องหมั่น backup ข้อมูลเรื่อยๆ เพื่อความปลอดภัย
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 5:

Backup ด้วยโปรแกรม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มีทั้งแบบฟรีและเสียเงิน แต่ส่วนใหญ่ฟังก์ชั่นพื้นฐานก็คล้ายๆ กัน แต่ข้อดีของคนที่ใช้โปรแกรมแบบเสียเงิน แทนที่จะมานั่ง back up ข้อมูลด้วยตัวเอง ก็คือคุณสามารถกำหนดตารางเวลาการ back up ข้อมูลให้เป็นไปโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องมาเสียเวลาคอย backup ข้อมูลเป็นระยะด้วยตัวเองอีกต่อไป [1]
    • บางโปรแกรมจะย่อไฟล์เวลา back up เพื่อให้ประหยัดความจำ ในขณะที่โปรแกรมอื่นจะ copy มาแบบเป๊ะๆ ให้คุณใช้ได้ตลอดเวลา แค่เพิ่มความจำนิดๆ หน่อยๆ แต่อีกหลายโปรแกรมก็ให้คุณเลือกได้ทั้ง 2 แบบเลย
  2. ทุกโปรแกรมจะถามเหมือนกันหมด ว่าคุณจะ back up ไฟล์และโฟลเดอร์ไหน ขอให้แน่ใจว่าเลือกมาครบทุกโฟลเดอร์สำคัญ ไม่ได้มีอะไรหลงไปที่ไหน
  3. ถึงจะใช้โปรแกรมพวกนี้ คุณก็ยังต้องมี external หรือ network drive อยู่ดี ขอให้แน่ใจว่าเสียบกับคอมไว้แล้วก่อนเริ่ม backup
  4. จะเลือก backup ถี่แค่ไหนขึ้นอยู่กับว่าคุณเข้าไปใช้งานและแก้ไขไฟล์บ่อยแค่ไหน ถ้ามีปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ต้องเซฟอยู่ตลอด ก็ควรกำหนดให้ back up บ่อยๆ ถึงขนาดทุกชั่วโมงเลยก็ได้ สำคัญมากสำหรับพวกศิลปิน นักเขียน และคนที่ต้องเก็บบันทึกข้อมูลด้านการเงิน
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 5:

Backup ด้วย File History (Windows 8)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จะโหลดเวอร์ชั่นเก่าของไฟล์หรือโฟลเดอร์ได้ คุณต้องเปิดใช้ File History ซะก่อน ซึ่งต้องใช้ external hard drive หรือ network folder ด้วย เพราะ Windows จะเก็บเวอร์ชั่นเก่าของไฟล์ไว้ในนั้น ให้คุณสามารถกู้คืนมาได้เวลาเซฟข้อมูลผิดพลาดหรือเผลอเซฟทับเอกสารไหนไป ที่สำคัญคือมันจะกลายเป็น backup ของเอกสารส่วนตัวของคุณได้เป็นอย่างดีเวลาเกิดเหตุไม่คาดฝันให้ข้อมูลต้องสูญหายไปขึ้นมา
  2. ถ้าคุณเสียบ external hard drive ไว้แล้ว จะมีปุ่ม Turn On ขึ้นมาให้คลิก ถ้าอยากเปลี่ยนตำแหน่งปลายทางของ network drive ให้คลิก Select Drive button ในเมนูทางซ้าย จากนั้นคลิก “Add network location” คุณก็จะสามารถหาแล้วเลือก network drive ที่ต้องการได้เลย [2]
  3. พอเปิดใช้ File History แล้ว คุณก็สามารถปรับแต่งค่าขั้นสูงได้ด้วยการคลิกลิงค์ “Advanced settings” ในเมนูทางด้านซ้าย
  4. ถ้าเป็น File History ของ Windows 8 คุณจะเลือกไม่ได้ว่าจะ back up อะไรบ้าง เพราะจะเป็นการ back up ทุกอย่างอัตโนมัติโดยดูจาก libraries (พวก Documents, Pictures และอื่นๆ) ของผู้ใช้ ถ้าคุณมีไฟล์อยู่ที่ตำแหน่งอื่นแล้วอยาก back up ให้ย้ายมาไว้ในโฟลเดอร์นึงใน libraries ของคุณซะก่อน
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 5:

Backup ด้วย Time Machine (Mac OS X)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปกติ drive นี้ควรจะมีความจำพอสำหรับ backup ข้อมูลทุกอย่างในเครื่อง Mac แถมยังเหลือที่ว่างซะอีก เพราะ Time Machine นั้น copy ข้อมูลไว้เรื่อยๆ และจะได้ผลดีที่สุดถ้าคุณ copy ข้อมูลไว้ให้เลือกหลายชุดด้วยกัน
  2. ถ้าคุณใช้ Time Machine เป็นครั้งแรก พอเสียบ external drive เข้าไปจะมีหน้าต่าง dialog box เปิดขึ้นมาถามว่าคุณจะใช้ drive นั้นกับ Time Machine ไหม ให้คลิก “Use as Backup Disk” เพื่อเริ่มใช้ drive นั้นกับ Time Machine ได้เลย [3]
  3. พอเลือก drive ไว้ให้ Time Machine backup ข้อมูลแล้ว ไฟล์ต่างๆ ก็จะถูกเซฟอัตโนมัติทุกชั่วโมง Time Machine จะเซฟ hourly copy ของ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา daily copy ของเดือนที่ผ่านมา และ weekly backup มากเท่าที่ความจำใน external drive ของคุณจะอำนวย
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 5:

Back up ข้อมูลไปยัง Cloud

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มีเว็บไซต์มากมายที่ให้คุณเก็บข้อมูลบน cloud ได้ฟรี โดยคุณสามารถใช้เป็นที่ backup ข้อมูลออนไลน์ได้ตลอดเวลา เว็บที่ว่าก็เช่น Google Drive, Microsoft SkyDrive, Apple iCloud, DropBox และอื่นๆ อีกมากมาย บริการฟรีเหล่านี้มาพร้อมพื้นที่เก็บข้อมูลจำนวนหนึ่ง ที่คุณสามารถอัพเกรดเพิ่มได้ในภายหลังโดยเสียค่าใช้จ่าย
  2. ถ้าคุณเลือกใช้บริการฟรี คุณก็ต้องจัดการเรื่อง backup ข้อมูลด้วยตัวเอง โดยอัพโหลดแต่ละไฟล์ไปที่ cloud เหมือนเวลา backup ลงใน external hard drive บางเว็บอย่าง SkyDrive และ Google Drive จะมีโฟลเดอร์ไว้ให้คุณแปะที่หน้าจอ desktop แล้วอะไรที่คุณใส่ลงไปในโฟลเดอร์นั้น ก็จะซิงค์ไปอยู่ในพื้นที่จัดเก็บข้อมูลใน cloud เองเรียบร้อย
  3. คอยเช็คให้ดีว่าเหลือพื้นที่ใน cloud อีกเท่าไหร่. ตอนสมัครใช้ cloud แรกๆ ก็มีพื้นที่เหลือเฟืออยู่หรอก แต่พอเริ่มอัพโหลดไฟล์รูปกับคลิปวิดีโอเข้าไปเท่านั้นแหละ โห ทำไมพื้นที่หมดเร็วจัง เราถึงได้เตือนว่าพยายาม backup ไว้เฉพาะไฟล์ที่จำเป็นสุดๆ เท่านั้นนะ ที่สำคัญอย่าลืมแวะไปดูไฟล์ใน cloud บ้าง อันไหนเก่า ไม่ใช้แล้ว ทิ้งๆ ไปบ้างก็ดี
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หมั่น Back up ข้อมูลในคอมบ่อยๆ จนติดเป็นนิสัย
  • จะดีกว่าถ้า back up ข้อมูลไว้หลายที่หลายวิธีการ เวลาอันนึงเสีย อันนึงหาย อีกอันจะได้ยังอยู่ นอกจากนี้คุณอาจกำหนดไปเลยก็ได้ ว่าสื่อไหนสำหรับ backup ไฟล์ชนิดไหน อย่าง flash drive สำหรับเก็บงานเขียนปัจจุบัน แล้ว external hard drive สำหรับเก็บรูปไม่ก็ไฟล์เพลง
โฆษณา

คำเตือน

  • ถึงจะตั้งให้เครื่อง backup เองถี่แค่ไหน คุณก็ยังต้องคอยเสียบสื่อสำหรับ backup เข้ากับคอมเองอยู่ดี
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 7,878 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา