ดาวน์โหลดบทความ
ดาวน์โหลดบทความ
การตัดใจนั้นอาจจะมีความหมายที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละคน การตัดใจอาจจะหมายถึงสิ่งที่ใครสักคนต้องการเพื่อที่จะก้าวเดินต่อไปหลังจากที่ยุติความสัมพันธ์อันแสนยาวนาน หรือหลังจากที่เสียคนรัก หรือเป็นการปล่อยวางบาดแผลในจิตใจที่เคยมีในสมัยเด็ก หรืออาจจะเป็นสิ่งที่ต้องการทำเพื่อเอาชนะความรู้สึกผิดจากการทำร้ายใครสักคนในอดีต ถ้าคุณกำลังหาวิธีตัดใจกับอะไรสักอย่าง บทความนี้มีวิธีที่คุณสามารถใช้เพื่อช่วยในการตัดใจได้
ขั้นตอน
-
คิดถึงสถานการณ์นั้นๆ. มีเหตุผลมากมายที่ว่าทำไมคุณถึงอยากจะตัดใจกับอะไรสักอย่าง ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจจะอยากตัดใจหลังจากที่เลิกรากับแฟน หรือตัดใจจากสิ่งเลวร้ายที่เกิดขึ้นตอนที่คุณเป็นเด็ก หรืออาจจะอยากตัดใจจากสิ่งที่คุณทำกับคนอื่นๆ ไม่ว่าสถานการณ์หรือเหตุผลที่อยากจะตัดใจจะเป็นอะไรก็ตาม คุณต้องค้นหาสิ่งเหล่านั้นให้เจอเพื่อที่จะก้าวต่อไปได้
- ลองกำหนดสถานการณ์ที่คุณอยากจะตัดใจและค้นหาเหตุผลที่คุณอยากจะตัดใจกับสิ่งนั้น ใครและประสบการณ์ใดที่คุณยึดติดอยู่ ทำไมคุณถึงยึดติดกับสิ่งนั้น [1] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะเคยถูกทำร้ายตอนเป็นเด็ก และบาดแผลนี้ยังส่งผลต่อชีวิตและคุณค่าในตัวคุณเอง หรือคุณอาจจะทนทุกข์ทรมานกับผลจากความรุนแรงในครอบครัวในช่วงที่คุณเติบโต เป็นต้น
- จำไว้ว่าการตัดใจจากบาดแผลในจิตใจอาจจะทำได้ยากหากไม่มีผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตคอยช่วยเหลือ ลองพิจารณาขอความช่วยเหลือจากที่ปรึกษาก่อนที่คุณจะเริ่มทำการตัดใจ
-
พิจารณาความหมายของคำว่า "ตัดใจ" ของคุณเอง. วางแผนสร้างกระบวนการที่คุณหวังที่จะสร้างขึ้น แล้วคุณจะรู้ว่าคุณรู้สึกอย่างไรกับสิ่งที่เกิดขึ้น คิดถึงความรู้สึกที่คุณมีในตอนนั้น อะไรที่ช่วยให้คุณรู้ถึงความรู้สึกของตัวเอง และคุณต้องการทำอะไรเพื่อตัวเอง
- ตัวอย่างเช่น การตัดใจอาจจะเป็นการที่คุณเรียกคุณค่าในตัวเองกลับมาหลังจากที่อกหัก ในกรณีนี้นั้น คุณควรจะวางแผนที่จะสนใจตัวเอง ปล่อยความคิดถึงแฟนเก่าออกไป ออกไปสังสรรค์กับเพื่อนๆ แล้วค่อยเริ่มหาคนใหม่ หรือการตัดใจอาจจะเป็นสิ่งที่คุณทำเพื่อให้หยุดคิดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตที่เข้ามาในใจของคุณ
-
เขียนความรู้สึกลงบนกระดาษ. การเขียนเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นวิธีที่ช่วยให้เข้าใจความรู้สึกได้มากขึ้น และช่วยให้เริ่มการตัดใจได้ดียิ่งขึ้น การเขียนยังช่วยให้คุณเข้าใจความรู้สึกที่มีต่อเหตุการณ์ได้อย่างชัดเจนอีกด้วย [2] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง อย่างไรก็ตาม จำไว้ว่าการเขียนความรู้สึกของตัวเองมักจะเป็นส่วนที่ยากที่สุดในการตัดใจ ดังนั้นคุณควรที่จะทำขั้นตอนนี้โดยได้รับการดูแลจากนักบำบัด
- ทบทวนเหตุการณ์ที่คุณพยายามจะตัดใจ แล้วเขียนรายละเอียดลงไปให้มากที่สุด พยายามเขียนสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ ละเอียดทุกอย่างที่จำได้ และความรู้สึกที่คุณมีต่อเหตุการณ์ในแต่ละช่วง
-
พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ. การไม่ยอมตัดใจอาจจะคอยขัดขวางชีวิตการทำงานและกิจวัตรประจำวันของคุณ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมคนบางคนถึงรีบตัดใจให้เร็วที่สุด อย่างไรก็ตาม การพยายามตัดใจอาจจะทำให้เกิดความรู้สึกที่เจ็บปวดมากมาย ดูให้ดีว่าคุณพยายามตัดใจโดยมีผู้เชี่ยวชาญคอยช่วยคุณอยู่
- นักบำบัดสามารถช่วยคุณได้ด้วยการใช้เทคนิคการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavior Therapy:CBT) หรือเทคนิคการให้การปรึกษาเชิงบำบัดแนวเกสตัลท์ (Gestalt Therapy Techniques) [3] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง [4] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง ซึ่งวิธีเหล่านี้ควรได้รับการดูแลจากนักบำบัดอย่างใกล้ชิด
- ถ้าคุณกำลังเผชิญกับความรู้สึกซึมเศร้า หมดความสนใจที่จะมีชีวิต หรือมีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย คุณควรปรึกษากับแพทย์โดยด่วน
โฆษณา
-
เผชิญหน้ากับบุคคลนั้น. ถ้าคนที่คุณอยากจะตัดใจยังมีชีวิตอยู่ คุณอาจจะเลือกที่จะบอกพวกเขาว่าคุณได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่เจ็บปวดนั้นมากขนาดไหน แม้ว่าวิธีนี้อาจจะช่วยได้ไม่มาก แต่ก็ช่วยให้คุณก้าวต่อไปได้ ถ้าคุณคิดว่าการได้รับคำตอบหรือการได้กล่าวหาใครสักคนต่อหน้าจะช่วยคุณได้ การเผชิญหน้าก็อาจจะเป็นทางเลือกที่ดี [5] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณอยากจะเผชิญหน้ากับบาดแผลจากการถูกทำร้ายในวัยเด็กเพื่อตัดใจจากความเจ็บปวดที่พวกเขาเหล่านั้นได้ทำกับคุณไว้ คุณควรพิจารณาที่จะเจอหน้าพวกเขา
- พาใครสักคนไปด้วย คุณอาจจะอยากพูดคุยกับคนๆ นั้นตามลำพัง อย่างไรก็ตาม คุณควรพาคนที่คุณรักไปด้วย เพราะคุณอาจจะรู้สึกแย่และกลัวหลังจากที่เจอหน้ากัน นอกจากนี้ การมีใครสักคนที่คุณไว้ใจอยู่ใกล้ๆ ก็เป็นตัวช่วยที่ดีมากเลยทีเดียว
- ถ้าคุณสนใจที่จะเจอหน้ากัน แต่ทำได้ยากหรือเป็นไปไม่ได้เลย ให้เขียนจดหมายหรือโทรหาแทนก็ได้
- ถ้าคนที่คุณอยากเจอเสียชีวิตไปแล้ว ให้เขียนจดหมายหรือพูดคุยกับคนรู้จักของเขาหากคุณมีอะไรติดค้างในใจ
- อย่าคิดว่าคนที่คุณเจอนั้นจะรับรู้ถึงสิ่งที่คุณเผชิญมาได้ในทันที พวกเขาอาจจะไม่ยอมรับการถูกกล่าวหาและพยายามแก้ต่าง ถ้าคุณยังมั่นใจว่าคุณจะรู้สึกพอใจหลังจากที่ได้พูดสิ่งที่อยากพูดออกไปไม่ว่าจะได้รับผลใดๆ ก็ตาม ก็ขอให้พูดต่อไปอย่าได้หยุด [6] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ให้อภัยคนที่ทำร้ายคุณ. การให้อภัยคือการที่คุณเลือกที่จะปล่อยวางความโกรธและความขุ่นเคืองใจ การให้อภัยไม่ได้หมายความว่าสิ่งที่คุณพูดถึงในเหตุการณ์นั้นถูกต้อง แต่เป็นการให้อภัยเพื่อสร้างความสงบในใจของตัวเอง [7] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Mayo Clinic ไปที่แหล่งข้อมูล
- คุณสามารถให้อภัยคนอื่นได้ และคุณยังสามารถให้อภัยตัวเองกับสิ่งเล็กๆ ที่คุณทำให้ตัวเองเจ็บปวดได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจจะให้อภัยคนไม่ดีที่เคยหาเรื่องคุณ หรือคุณอาจจะให้อภัยตัวเองที่ไม่ยอมลุกขึ้นปกป้องน้องชายเมื่อพ่อจะตีน้อง เป็นต้น
-
ขอโทษคนที่คุณเคยทำร้าย. ถ้าคุณเป็นคนผิด ก็ควรที่จะขอโทษแม้ว่าจะเป็นสิ่งที่เจ็บปวด คุณจะไม่สามารถก้าวออกจากสถานการณ์ที่คุณรู้สึกผิดได้ถ้าคุณยังเพิ่มความรู้สึกผิดโดยการไม่ยอมขอโทษ การขอโทษต้องทำได้อย่างเสรีโดยไม่หวังการให้อภัยจากคนอื่นหรือคนที่คุณทำผิดด้วย [8] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ในการขอโทษ ให้พูดว่าคุณเสียใจ พูดว่าคุณรู้สึกผิดกับสิ่งที่เกิดขึ้น และอธิบายสิ่งที่คุณทำว่ามันผิด ให้ทำตามนี้โดยการแสดงความรู้สึกผิดกับคนๆ นั้น และขอให้เขายกโทษให้ คุณอาจจะพูดได้ว่าคุณไม่ได้ขอให้เขายกโทษให้คุณ
- คุณอาจจะเขียนอีเมลหรือจดหมาย หรือคุณอาจจะพูดกับคนที่คุณทำผิดด้วยต่อหน้า ถ้าพวกเขาไม่พร้อมที่จะเจอคุณ ก็ขอให้ยอมรับขอบเขตของเขา
- คุณอาจจะพูดว่า “ฉันเสียใจจริงๆ ที่ระเบิดอารมณ์กับคุณเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ฉันรู้สึกแย่มากที่ฟิวส์ขาด เพราะคุณมีสิทธิ์ที่จะทำสิ่งที่คุณพูดเอาไว้ และฉันควรที่จะรับฟังอยู่เงียบๆ ฉันขอโทษที่ทำให้คุณรู้สึกแย่ และอับอายในที่สาธารณะ คุณจะยกโทษให้ฉันได้ไหม ฉันรู้ว่าฉันไม่ควรได้รับการยกโทษ แต่มิตรภาพของคุณมีค่ามากสำหรับฉัน และฉันรู้สึกว่ามันกำลังสั่นคลอน” [9] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
เขียนจดหมายที่ไม่ได้คิดจะส่ง. ถ้าการเผชิญหน้าหรือขอโทษกับคนๆ นั้นไม่ใช่ทางเลือก มีอีกวิธีก็คือเขียนจดหมายที่คุณไม่ได้ตั้งใจจะส่ง [10] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Mayo Clinic ไปที่แหล่งข้อมูล คุณสามารถใช้จดหมายนี้ในการยกภูเขาออกจากอกของตัวเองและพูดในสิ่งที่คุณอยากจะพูด จากนั้นให้ทำลายจดหมายนี้ทิ้งเมื่อคุณทำสำเร็จแล้ว
- ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจจะเขียนจดหมายถึงพ่อเพื่อบอกว่าคุณโกรธที่พ่อทำร้ายน้องชายตอนที่คุณเป็นเด็ก
- จำไว้ว่าคุณไม่ได้ต้องการที่จะส่งจดหมาย เพราะการเขียนจดหมายเป็นเพียงวิธีที่คุณจะแสดงความรู้สึกของตัวเอง คุณสามารถเผาจดหมายหรือฉีกทิ้งหลังจากที่คุณทำสำเร็จแล้ว [11] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
โฆษณา
-
มองโลกในแง่ดี. การสนใจอยู่กับวิธีที่จะก้าวผ่านความรู้สึกแย่ๆ จะช่วยพัฒนาชีวิตของคุณ ยกตัวอย่างเช่น คุณจะรู้สึกมีกำลังใจมากขึ้นหรือไม่ถ้าคุณนั้นไม่จมปลักอยู่กับการถูกทำร้ายอีกต่อไป คุณจะรักตัวเองมากขึ้นหรือไม่ถ้าคุณจะไม่รู้สึกผิดกับการที่ไม่ยอมปกป้องน้องชายอีกต่อไป พยายามค้นหาผลลัพธ์ที่ดีของการตัดใจและมุ่งเน้นไปที่การมองโลกในแง่ดี
- คุณอาจจะพิจารณาการย้ำคำพูดเพื่อช่วยให้คุณจดจ่ออยู่กับการมองโลกในแง่ดี ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจจะพูดซ้ำๆ กับตัวเองว่า “ฉันเชื่อว่าประสบการณ์นี้ทำให้ฉันแข็งแกร่งขึ้น” หรือ “ทุกอย่างที่เกิดขึ้นล้วนมีเหตุผล” เป็นต้น [12] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ฝึกสร้างความกตัญญู. อีกวิธีที่ดีที่จะทำให้คุณมองโลกในแง่ดีและมองการณ์ไกลได้ก็คือการฝึกสร้างความกตัญญู การฝึกสร้างความกตัญญูนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสุขภาพทางกายและสุขภาพทางจิต [13] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Harvard Medical School ไปที่แหล่งข้อมูล นอกจากนี้ การสร้างความกตัญญูยังเป็นส่วนหนึ่งของการตัดใจอีกด้วย [14] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- พยายามสร้างรายการเขียนถึงสิ่งที่คุณอยากจะขอบคุณ 5 อย่างในทุกๆ วัน คุณอาจจะเขียนเป็นบันทึกหรือเขียนแปะไว้บนกำแพงก็ได้
- คุณอาจจะลองเขียนว่าทำไมถึงรู้สึกอยากขอบคุณประสบการณ์ที่คุณเคยเผชิญมาก่อน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณพยายามตัดใจจากความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจากการถูกทำร้าย คุณอาจจะรู้สึกขอบคุณประสบการณ์นั้นที่ทำให้คุณมีความเมตตาและเป็นคนใจดียิ่งขึ้น หรือถ้าคุณพยายามที่จะตัดใจไม่ให้ยึดติดอยู่กับน้องชาย คุณอาจจะรู้สึกขอบคุณประสบการณ์นั้นที่ทำให้คุณได้ใกล้ชิดกับน้องชายมากขึ้นในตอนท้าย
-
สานต่อความสัมพันธ์ถ้าเป็นไปได้. แม้ว่าการให้อภัยไม่ได้อนุมานว่าเป็นการสานต่อ คุณอาจจะตัดใจที่จะสร้างความสัมพันธ์ขึ้นมาใหม่ แต่ให้ระมัดระวังการใช้วิธีนี้ให้ดี เพราะไม่ใช่ว่าความสัมพันธ์ทุกอย่างจะสามารถสร้างขึ้นใหม่เป็นความสัมพันธ์ที่ดีได้ ถ้าคุณเลือกที่จะสานต่อ ให้พยายามทำอย่างช้าๆ คุณต้องซื่อสัตย์กับความรู้สึกของตัวเองก่อน และคนที่คุณอยากจะสานต่อนั้นต้องรับรู้ถึงประสบการณ์ของคุณก่อนที่เขาจะซื่อสัตย์ตอบ
- แทนที่จะก้าวกระโดดความสัมพันธ์ให้ใกล้ชิดกันแบบที่เคยเป็น ให้ลองหาช่วงเวลาที่สามารถทำกิจกรรมร่วมกันได้ และให้พื้นที่ระหว่างกันและกัน ด้วยวิธีนี้ คุณจะมีเวลาที่จะทบทวนความรู้สึกของตัวเองในช่วงที่ไปมาหาสู่กันได้ [15] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- แม้ว่าคุณจะใช้ชีวิตร่วมกับคนที่คุณอยากจะสานสัมพันธ์ด้วย แต่คุณก็สามารถวางแผนและสร้างพื้นที่ของตัวเองได้ ยกตัวอย่างเช่น วางแผนที่จะทานอาหารเย็นร่วมกับคนรักของคุณ ในวันถัดมาให้วางแผนอยู่กับเพื่อน ให้สร้างช่องว่างระหว่างความสัมพันธ์จนกว่าความเชื่อใจของคุณจะมั่นคง
-
ตัดความสัมพันธ์. ในกรณีที่เป็นความสัมพันธ์สั้นๆ ความสัมพันธ์ยาวนานที่เจ็บปวดและเป็นบาดแผลในจิตใจ ให้ตัดสินใจตัดคนๆ หนึ่งออกไปจากชีวิตอย่างเป็นทางการ จำไว้ว่าคุณมีสิทธิ์ที่จะยุติความสัมพันธ์กับใครสักคนที่เอาแต่ทำร้ายคุณได้ แม้ว่าคนที่ทำร้ายนั้นจะเป็นคนในครอบครัวก็ตาม คุณไม่ได้มีข้อผูกมัดที่จะต้องดูแลคนที่พยายามทำร้ายคุณ
- การตัดความสัมพันธ์กับคนที่มีความสัมพันธ์แบบครอบครัวจะทำได้ยากมากๆ
- อธิบายกับคนอื่นๆ ในชีวิตว่าทำคุณถึงได้ตัดสินใจยุติความสัมพันธ์ลง และขอให้คนอื่นเคารพการตัดสินใจครั้งนี้ ขอให้พวกเขาอย่าพูดถึงชีวิตของคนที่คุณตัดความสัมพันธ์ด้วย และอย่าพูดเรื่องของคุณให้เขาคนนั้นฟัง
- คุณไม่ได้มีข้อผูกมัดที่จะแบ่งปันข้อมูลในชีวิตของคุณให้คนอื่นที่ไม่เคารพขีดจำกัดของตัวคุณ
-
พยายามอดทนเข้าไว้. การตัดใจกับประสบการณ์แย่ๆ หรือบาดแผลในจิตใจอาจจะใช้เวลาเป็นปีๆ พยายามอดทนที่จะผ่านกระบวนการนี้ไปให้ได้ และฉลองให้กับความสำเร็จของตัวเองระหว่างที่กำลังตัดใจและเดินหน้าต่อไปเรื่อยๆ จนถึงจุดหมาย
- ดูให้ดีว่าคุณได้เผชิญหน้ากับความรู้สึกของตัวเองมากกว่าปกปิดความรู้สึกด้วยสุราและยาเสพติด การดื่มสุราและเสพยานั้นช่วยได้เพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้น ไม่ได้ทำให้คุณตัดใจได้แต่อย่างใด [16] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
โฆษณา
ข้อมูลอ้างอิง
- ↑ https://www.psychologytoday.com/blog/in-flux/201104/5-ways-find-closure-the-past
- ↑ http://psychcentral.com/lib/the-health-benefits-of-journaling/
- ↑ http://www.counseling.org/docs/david-kaplan%27s-files/wagner-moore.pdf
- ↑ http://plaza.ufl.edu/jerez64/paper2.html
- ↑ http://www.vawnet.org/advanced-search/print-document.php?doc_id=836&find_type=web_desc_NRCDV
- ↑ http://www.naasca.org/2011-Articles/062211-ForgivenessAndReconciliation.htm
- ↑ http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/in-depth/forgiveness/art-20047692?pg=1
- ↑ http://op-talk.blogs.nytimes.com/2014/06/23/when-should-we-be-sorry/
- ↑ https://www.psychologytoday.com/blog/the-squeaky-wheel/201311/the-five-ingredients-effective-apology
- ↑ http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/in-depth/forgiveness/art-20047692?pg=2
- ↑ http://psychcentral.com/blog/archives/2012/06/20/finding-closure/
- ↑ http://psychcentral.com/blog/archives/2012/06/20/finding-closure/
- ↑ http://www.health.harvard.edu/healthbeat/giving-thanks-can-make-you-happier
- ↑ http://psychcentral.com/blog/archives/2012/06/20/finding-closure/
- ↑ http://psychcentral.com/blog/archives/2014/08/28/how-a-little-space-and-time-can-help-heal-a-relationship-crisis/
- ↑ http://psychcentral.com/blog/archives/2012/06/20/finding-closure/
เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้
มีการเข้าถึงหน้านี้ 8,568 ครั้ง
โฆษณา