ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ผิวถลอกจากการเสียดสี เกิดจากการที่ผิวหนัง เสื้อผ้า หรือวัตถุอื่นๆ ถูไปมากับผิวหนังจนทำให้เกิดการอักเสบ โดยส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นที่ต้นขาด้านใน ขาหนีบ รักแร้ หน้าท้องส่วนล่าง และหัวนม ซึ่งหากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษา ก็จะส่งผลให้แผลถลอกเกิดการอักเสบมากขึ้น และในบางกรณีอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ ผู้ที่มีความเสี่ยงของการเกิดแผลถลอก ได้แก่ นักกีฬา เนื่องจากนักกีฬามักสวมใส่เสื้อผ้าที่เสียดสีกับผิวหนังติดต่อกันเป็นเวลานาน รวมถึงผู้ที่มีน้ำหนักเกินที่มักประสบปัญหาผิวหนังเสียดสีกัน มีหลายวิธีง่ายๆ ในการรักษาแผลถลอกแบบธรรมชาติ ซึ่งบางวิธีนั้นก็ได้รับการรับรองจากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และอีกหลายวิธีที่เชื่อกันว่าสามารถรักษาอย่างได้ผล นอกจากนี้ คุณยังสามารถหลีกเลี่ยงการเกิดแผลถลอกได้โดยการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตเพียงเล็กน้อย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ใช้วิธีการรักษาที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. รักษาความสะอาดของบริเวณที่เป็นแผลถลอกโดยชำระล้างเบาๆ ด้วยสบู่สูตรอ่อนโยนที่ไม่มีกลิ่น แล้วล้างออกให้สะอาด โดยอาจเลือกใช้สบู่ที่ทำมาจากน้ำมันที่สกัดจากพืช [1]
  2. หลังอาบน้ำเสร็จแล้ว ควรแน่ใจว่าแต่ละบริเวณในร่างกายที่เป็นแผลถลอกหรือที่มีแนวโน้มในการเกิดแผลถลอกนั้นแห้งสนิท ให้ใช้ผ้าขนหนูผ้าฝ้ายซับผิวให้แห้ง และอย่าถูแรงจนเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองมากขึ้น [2]
    • คุณยังสามารถใช้ไดร์เป่าผมที่เปิดความร้อนต่ำเพื่อให้แน่ใจว่าผิวหนังบริเวณที่ถลอกแห้งดีแล้ว อย่าใช้ความร้อนสูง เนื่องจากอาจทำให้ผิวหนังแห้งเกินไป และส่งผลให้เกิดการระคายเคืองมากขึ้น
  3. รักษาความชุ่มชื้นของผิวโดยใช้น้ำมันจากธรรมชาติ เช่น น้ำมันอัลมอนด์ น้ำมันละหุ่ง ลาโนลิน น้ำมันคาเลนดูลา หรือยาทาวิตามินเอและดี (หมายเหตุ: ยาทาวิตามินเอและดีมีส่วนประกอบของน้ำหอม ดังนั้นหากคุณมีอาการแพ้น้ำหอม ให้เลือกใช้ผลิตภัณฑ์เพิ่มความชุ่มชื้นชนิดอื่นแทน)
    • ทาผลิตภัณฑ์เพิ่มความชุ่มชื้นลงบนผิวที่สะอาดและแห้งอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง อาจต้องทาในปริมาณมากขึ้นหากแผลถลอกเกิดขึ้นในบริเวณที่มักมีการเสียดสีกับเสื้อผ้าหรือผิวหนังในอีกบริเวณหนึ่ง
    • หลังเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวแล้ว อาจใช้ผ้าก๊อซที่สะอาดวางทับบนแผลถลอก เพื่อปกป้องแผลถลอกจากการสัมผัสกับผิวหนังหรือเสื้อผ้า ทั้งยังช่วยระบายอากาศได้ดีอีกด้วย [3]
  4. นอกจากใช้ในการรักษาแผลไหม้แล้ว ว่านหางจระเข้ยังสามารถรักษาแผลถลอกได้อีกด้วย เนื่องจากว่านหางจระเข้มีสรรพคุณทางยามากมาย ว่านหางจระเข้ประกอบไปด้วยสารที่สามารถซ่อมแซมผิวหนังที่ถูกทำลาย เพื่อช่วยลดการระคายเคืองและคัน [4]
    • การนำเจลว่านหางจระเข้สดจากต้นมาทาบนแผลถลอกสามารถช่วยบรรเทาอาการคันและแดงได้เกือบทันที เพียงปลูกต้นว่านหางจระเข้ไว้ที่บ้าน และเมื่อไรก็ตามที่คุณต้องการรักษาอาการด้วยวิธีง่ายๆ ให้ตัดใบออกมาเพียงเล็กน้อย แล้วนำเจลมาทาบนบริเวณที่ต้องการ
    • คุณยังสามารถหาซื้อเจลว่านหางจระเข้บริสุทธิ์ได้จากร้านขายยาทั่วไป โดยเลือกซื้อเจลว่านหางจระเข้ 100%
  5. ผิวหนังที่แห้งและถลอกเกิดขึ้นเมื่อผิวหนังเสียดสีกัน หรือถูไปมากับเสื้อผ้าที่สัมผัสกับผิว เมื่อเวลาผ่านไป การเสียดสีกันเรื่อยๆ จึงส่งผลให้ผิวหนังลอก หรือยิ่งกว่านั้นอาจทำให้มีเลือดออกได้ ข้าวโอ๊ตมีสรรพคุณทางยามากมายที่ช่วยให้ความชุ่มชื้น ทำความสะอาด และมีฤทธิ์ต่อต้านการอักเสบ รวมถึงช่วยบรรเทาอาการและปกป้องผิวหนัง การแช่น้ำที่ผสมข้าวโอ๊ตจะทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลาย และยังช่วยรักษาแผลถลอกได้อีกด้วย [5]
    • คุณสามารถแช่น้ำที่ผสมข้าวโอ๊ตได้ที่บ้าน โดยเติมน้ำอุ่นลงในอ่างอาบน้ำให้เต็ม และนำข้าวโอ๊ตแบบโรลโอ๊ต (rolled oats) หรือสตีลคัทโอ๊ต (steel cut oats) 1-2 ถ้วยผสมลงไปในน้ำ แช่ทิ้งไว้เพียงไม่กี่นาที แล้วจึงแช่ตัวลงไปในอ่าง แช่ตัวในอ่างอาบน้ำประมาณ 20-25 นาที ปล่อยให้ข้าวโอ๊ตได้สัมผัสถูกผิวเพื่อช่วยบรรเทาแผลถลอกบนร่างกาย ทำซ้ำวันละครั้ง
    • อย่าขัดหรือถูผิวหนังแรงเกินไป โดยให้ใช้ข้าวโอ๊ตที่ผสมอยู่ในน้ำมาตบเบาๆ บนผิวแทน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาให้ดียิ่งขึ้น
    • ล้างตัวให้สะอาดด้วยน้ำอุ่น จากนั้นจึงใช้ผ้าขนหนูซับผิวให้แห้ง
  6. น้ำมันมะกอกสามารถรักษาแผลถลอกได้ เนื่องจากมีสารประกอบที่ช่วยในการเพิ่มความชุ่มชื้น ให้ใช้น้ำมันมะกอกทาบนบริเวณที่เกิดการถลอก เพื่อให้เห็นผลดีขึ้น ควรทาหลังการอาบน้ำ [6]
    • คุณยังสามารถทำยาทาได้ง่ายๆ จากน้ำมันมะกอกกับข้าวโอ๊ต ซึ่งมีประสิทธิภาพดีและช่วยต่อต้านการถลอกของผิวได้แบบธรรมชาติ นำส่วนผสมทั้งสองอย่างผสมเข้าด้วยกัน จากนั้นทาให้ทั่วบนบริเวณที่มีแผลถลอก แล้วทิ้งไว้ประมาณ 20-30 นาที ยาทานี้จะช่วยบรรเทาอาการบนผิวหนัง ทั้งยังช่วยฟื้นฟูความชุ่มชื้นที่เป็นส่วนสำคัญในการรักษาแผลถลอกอีกด้วย
    • เนื่องจากสรรพคุณในการรักษาความชุ่มชื้นได้นาน น้ำมันมะกอกจึงสามารถใช้สำหรับบำรุงผิวได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะมีแผลถลอกหรือไม่ก็ตาม
  7. เมื่อใช้น้ำมันวิตามินอีทาบนบริเวณที่เกิดการถลอก น้ำมันวิตามินอีจะช่วยบรรเทาอาการคันและการอักเสบได้โดยทันที นอกจากนี้ คุณยังสามารถใช้โลชั่นหรือครีมที่มีส่วนผสมของวิตามินอีเพื่อช่วยในการฟื้นฟูผิวหนังที่อักเสบได้อีกด้วย [7]
    • หลังจากทาน้ำมันหรือครีมบนผิวแล้ว ให้ใช้ผ้าก๊อซวางทับไว้ด้านบนเพื่อเก็บกักความชุ่มชื้นไว้ วิธีนี้จะช่วยให้น้ำมันหรือครีมออกฤทธิ์ได้นานขึ้น อย่างไรก็ตาม ควรเปลี่ยนผ้าก๊อซทุกๆ 6 ชั่วโมงเพื่อให้ผิวหนังได้ระบายอากาศบ้าง
  8. คาร์โมไมล์มีส่วนช่วยในการลดการอักเสบและการคัน กระตุ้นการฟื้นฟูของผิวหนัง และป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย คุณสามารถเลือกใช้คาร์โมไมล์ได้ทั้งแบบโลชั่น น้ำมัน หรือเป็นดอกบริสุทธิ์ที่ไม่เจือปนสารใดๆ โดยมีวิธีการใช้ต่างๆ ดังนี้ [8]
    • เตรียมน้ำใส่ชามใบใหญ่ไว้ นำดอกคาร์โมไมล์ใส่ลงไป แล้วต้มสักพักประมาณ 2-3 นาที ปล่อยทิ้งไว้สักครู่ให้เย็นลง จากนั้นจึงเติมน้ำแข็งลงไปเล็กน้อย เมื่อเสร็จแล้วให้แช่ส่วนที่เกิดการถลอกลงไปในน้ำประมาณ 10-15 นาที
    • คุณสามารถใช้คาร์โมไมล์ในรูปแบบโลชั่นได้ โดยทาให้ทั่วบนบริเวณที่ต้องการและปล่อยให้โลชั่นซึมเข้าไปในผิว
    • นอกจากนี้ น้ำมันหรือชาคาร์โมไมล์ยังสามารถใช้ผสมกับน้ำสำหรับอาบได้เช่นกัน เพียงเติมน้ำมันไม่กี่หยดหรือถุงชาเพียงเล็กน้อยลงไปในน้ำสำหรับอาบ ก็สามารถช่วยในการบรรเทาอาการอย่างได้ผล ทั้งยังทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น
  9. ใช้อิชินาเชียทั้งในรูปแบบทิงเจอร์ ยาเม็ด หรือชา. สมุนไพรชนิดนี้สามารถใช้ในรูปแบบยาทาภายนอกเพื่อรักษาการอักเสบและบาดแผลบนผิวหนัง เนื่องจากอิชินาเชียมีสรรพคุณเป็นทั้งยาปฏิชีวนะ ยาต้านไวรัส และยาต้านเชื้อรา นอกจากนี้ อิชินาเชียยังมีในรูปแบบทาน ทั้งทิงเจอร์ ยาเม็ด หรือชา สามารถช่วยป้องกันไม่ให้แผลถลอกเกิดการติดเชื้อได้ [9]
    • การรับประทานอิคินาเซียในรูปแบบชาอาจมีรสชาติที่ไม่ค่อยถูกปากเท่าไหร่นัก ดังนั้นหลายๆ คนจึงมักเลือกทานแบบทิงเจอร์หรือยาเม็ดแทน อย่างไรก็ตาม ชาและทิงเจอร์ดูเหมือนจะได้ผลดีมากกว่ายาแบบผงที่บรรจุในแคปซูล
    • นอกจากใช้ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันแล้ว อิคินาเซียยังเหมาะกับผู้ที่มักมีรอยโรคบนผิวหนัง เช่น หนอง เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง และยังสามารถใช้เป็นยาบำรุงในการเสริมสร้างการทำงานของตับ เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากสารพิษจากสิ่งแวดล้อม
  10. ไธม์มีสารออกฤทธิ์ชื่อว่า ไธมอล (Thymol) เป็นสารฆ่าเชื้อโรคที่ถูกจัดให้เป็นยาปฏิชีวนะและยาต้านเชื้อราจากธรรมชาติ ชาไธม์สามารถช่วยขับไล่และกำจัดเชื้อแบคทีเรียและไวรัส ซึ่งมีประโยชน์ต่อการรักษาแผลถลอกที่มีสาเหตุมาจาก 2 สิ่งนี้ หรือแผลถลอกที่เริ่มมีการระคายเคืองจากการเกา นำไธม์ผสมลงไปในชา เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากแผลถลอก [10]
    • น้ำมันหอมระเหยไธม์สามารถช่วยป้องกันบาดแผลจากการติดเชื้อได้ เนื่องจากส่วนประกอบหลักของไธม์อย่างแครีโอฟิลลีน (Caryophyllene) และแคมฟีน (Camphene) ที่เป็นสารยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียทั้งภายในและภายนอกร่างกาย
  11. โดยส่วนใหญ่ผู้คนจะใช้อาร์นิกาในรูปแบบครีม ขี้ผึ้ง และยาทา โดยใช้ทาเฉพาะที่เพื่อรักษารอยช้ำ บาดแผล และอาการบวม อาร์นิกามักใช้เพื่อกระตุ้นการฟื้นฟูของบาดแผล ดังนั้นจึงเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่มีแผลถลอก เนื่องจากอาร์นิกาสามารถช่วยบรรเทาอาการบวมและความเจ็บปวดได้อย่างรวดเร็ว [11] [12]
    • ทาน้ำมันหรือครีมอาร์นิกาบนบริเวณที่เกิดการถลอกได้บ่อยครั้งตามต้องการ อาร์นิกาสามารถใช้ในปริมาณมากได้อย่างปลอดภัย ทั้งยังใช้ง่ายและสะดวก เนื่องจากจะซึมลงสู่ผิวอย่างรวดเร็ว
  12. กำมะถันอินทรีย์ที่เป็นส่วนประกอบในสะเดานั้นสามารถรักษาโรคผิวหนังต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ น้ำมันสะเดามีสรรพคุณในการต่อต้านการอักเสบและรักษาแผล นอกจากนี้ยังมีการทดลองกับเด็กที่มีแผลไหม้และพบว่าสามารถรักษาอย่างได้ผล วิธีการใช้น้ำมันสะเดาเพื่อรักษาแผลถลอกมีดังนี้ [13]
    • เตรียมใบสะเดา 1 กำมือ บดให้ละเอียด
    • เติมน้ำเลมอนที่คั้นจากเลมอนขนาดกลาง ½ ลูก
    • ผสมให้เข้ากันจนเป็นเนื้อเหนียว แล้วนำไปทาบนผิวเพื่อบรรเทาอาการ
  13. ใช้น้ำมันคาเลนดูล่า อัลมอนด์ ยาร์โรว์ หรือลาเวนเดอร์. หยดน้ำมันดังกล่าว 1-2 หยดลงไปผสมกับผลิตภัณฑ์เพิ่มความชุ่มชื้น 4 ช้อนโต๊ะ หากคุณเลือกใช้ขี้ผึ้งหรือยาทา ให้ผสมน้ำมันหอมระเหยลงไปในขี้ผึ้งหรือยาทาด้วย โดยควรทาตลอดวัน (วันละประมาณ 3-4 ครั้ง) เพื่อให้บริเวณที่เกิดการถลอกได้รับการรักษาอยู่ตลอดเวลา ก่อนเริ่มใช้ ให้ลองทาบนบริเวณที่ไม่มีอาการเสียก่อน เพื่อตรวจสอบดูว่าผิวหนังไม่แสดงปฏิกิริยาใดๆ หรือคุณไม่มีอาการแพ้สมุนไพรชนิดนี้ อย่างไรก็ตาม คุณอาจรู้สึกแสบเล็กน้อยเมื่อเริ่มใช้ครั้งแรก [14] [15]
    • น้ำมันคาเลนดูล่ามีฤทธิ์ต้านการอักเสบ แบคทีเรีย และเชื้อรา สามารถบรรเทาอาการระคายเคืองได้อย่างรวดเร็ว
    • น้ำมันอัลมอนด์ช่วยให้ผิวหนังชุ่มชื้นและต่อต้านการเกิดแผลถลอกได้ โดยนวดบนบริเวณที่ต้องการเพื่อบรรเทาอาการให้ดีขึ้น น้ำมันอัลมอนด์อุดมไปด้วยวิตามินอีและสารต้านอนุมูลอิสระ และยังประกอบไปด้วยกรดไขมันอิ่มตัวโอเมก้า 3 ที่มีส่วนช่วยให้ผิวเปล่งประกายอีกด้วย นำน้ำมันนวดบนบริเวณที่เกิดการถลอกเบาๆ ประมาณ 2-3 นาที และปล่อยไว้ให้ซึมลงสู่ผิว
    • น้ำมันลาเวนเดอร์มีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการบนผิวหนัง ทั้งยังช่วยลดอาการบวมและคันในบริเวณที่มีแผลถลอกด้วย
    • น้ำมันยาร์โรว์สกัดมาจากพืชที่มีชื่อว่า Achillea millefolium ซึ่งชื่อนี้มีที่มาจากตำนานหนึ่ง กล่าวถึงนักรบกรีกโบราณที่ชื่อว่า Achilles ได้ใช้ดอกยาร์โรว์ในการรักษาเพื่อนนักรบที่ได้รับบาดเจ็บบนสนามรบ ในปัจจุบัน ยาร์โรว์เป็นที่รู้กันว่ามีสรรพคุณในการต้านการอักเสบและกระตุ้นการฟื้นฟู
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ใช้วิธีการรักษาที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เออาร์-เทอร์เมอโรน (Ar-turmerone) ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของขมิ้นชัน มีส่วนช่วยในการรักษาโรคผิวหนัง และส่วนประกอบชนิดนี้ที่ทำให้ขมิ้นชันมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อรา สามารถช่วยรักษาแผลถลอกได้ โดยมีวิธีใช้ดังนี้ [16]
    • นำผงขมิ้น 3 ช้อนชากับน้ำเปล่า 1 ช้อนชาผสมเข้าด้วยกัน คนเรื่อยๆ จนเป็นเนื้อเดียวกัน
    • ทาลงบนบริเวณที่เกิดการถลอก และปิดทับด้วยผ้าฝ้าย
    • ทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง แล้วจึงล้างออก
  2. กระเทียมมีสรรพคุณในการต้านแบคทีเรียและเชื้อรา สามารถช่วยทำความสะอาดและฟื้นฟูผิว นอกจากนี้ อัลลิซิน (Allicin) ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของกระเทียมยังช่วยกำจัดความชื้นบนผิวหนัง ทำให้อาการบวมและแดงที่เกิดจากการถลอกลดลง [17]
    • นำกระเทียม 10 กลีบมาบดให้ละเอียด จุ่มสำลีก้อนลงไปในกระเทียม แล้วทาเบาๆ บนบริเวณที่มีแผลถลอก เพื่อบรรเทาอาการอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ให้ทำวันละ 3 ครั้ง
  3. เลมอนบาล์มไม่ใช่สารที่มีลักษณะเหมือนวุ้นที่ทำมาจากเลมอน แต่เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง เลมอนบาล์มสามารถใช้ชำระล้างแผลถลอกเพื่อบรรเทาความร้อนและเจ็บปวด โดยเติมเลมอนบาล์มลงไปในน้ำร้อนและแช่ทิ้งไว้ประมาณ 10-15 นาที ทิ้งไว้สักครู่ให้เย็นลง แล้วจึงนำไปเช็ดตัวด้วยผ้าสะอาด [18]
  4. นอกจากน้ำมันหอมระเหยที่ได้กล่าวถึงก่อนหน้านี้แล้ว น้ำมันทั้ง 3 ชนิดนี้ก็มีประสิทธิภาพในการรักษาเช่นเดียวกัน [19]
    • ในน้ำมันทีทรีประกอบด้วยสาร Terpinen-4-o ที่เชื่อกันว่ามีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรค สามารถช่วยทำลายจุลินทรีย์ก่อโรค และรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียบนผิวหนัง นำน้ำมันหยดบนสำลีที่ชุ่มน้ำ แล้ววางสำลีเบาๆ บนบริเวณที่เกิดการถลอก ทำวันละ 2 ครั้งจนแผลทุเลาลง
    • น้ำมันมะพร้าวอาจมีคุณสมบัติในการต่อต้านแบคทีเรียและเชื้อรา ซึ่งช่วยป้องกันการติดเชื้อราหรือเชื้อยีสต์ ทำให้การระคายเคืองและผื่นคันมีอาการดีขึ้น ทาน้ำมันมะพร้าวบนบริเวณที่เกิดการถลอกก่อนเข้านอน เพื่อบรรเทาอาการบนผิวหนังและรักษาการระคายเคือง อาจทาซ้ำอีกครั้งในตอนเช้า
    • น้ำมันไม้จันทน์อาจมีคุณสมบัติในการต่อต้านการอักเสบ แบคทีเรีย และฆ่าเชื้อโรค Santalol ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของน้ำมันไม้จันทน์ สามารถบรรเทาอาการบนผิวหนังและลดการอักเสบ ทำให้อาการคันลดลง ทาน้ำมันไม้จันทน์บนบริเวณที่เกิดการถลอก 2-3 ครั้งต่อวัน
  5. กล่าวกันว่าหญ้าลูกไก่จะเริ่มออกฤทธิ์ในการรักษาทันทีเมื่อทาบนผิวหนัง สมุนไพรชนิดนี้สามารถใช้ผสมลงในยาทา เพื่อช่วยในการรักษาแผลถลอกและการระคายเคืองอื่นๆ บนผิวหนัง [20]
    • ทายาทิ้งไว้บนบริเวณที่มีแผลถลอกประมาณ 30 นาที เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา ให้ล้างออกด้วยน้ำกุหลาบ เพื่อกักเก็บความชุ่มชื้นบนผิวหนัง แล้วจึงเช็ดให้แห้ง
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

หลีกเลี่ยงการเกิดแผลถลอก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เสื้อผ้าที่คับแน่นเกินไปอาจทำให้ผิวหนังเกิดการถลอกได้ จึงควรหลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าทำให้รู้สึกอึดอัดเพื่อให้รู้สึกสบายตัว ควรเว้นช่องว่างให้ผิวหนังได้ระบายอากาศโดยการสวมเสื้อผ้าที่พอดีตัว เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียดสีและการถูไปมา คุณอาจจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนสไตล์การแต่งตัวของคุณเพื่อความสะดวกสบายของร่างกาย เพราะการเสียดสีบนผิวหนังจะทำให้คุณเคลื่อนไหวได้ไม่สะดวกนัก เนื่องจากเกิดการอักเสบอย่างรุนแรงและบวม [21]
    • หลีกเลี่ยงเข็มขัด ชุดชั้นในที่รัดแน่น และเสื้อผ้าที่ทำให้มีเหงื่อออกมาก เพราะจะส่งผลให้ผิวหนังไม่มีการระบายอากาศ และเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้แผลถลอกมีอาการแย่ลง
  2. สวมใส่ผ้าคอตตอนเมื่อไรก็ตามที่เป็นไปได้ เสื้อและกางเกงที่ทันสมัยอาจดูล่อตาล่อใจอยู่บ้าง แต่ควรพิจารณาดูก่อนว่าเสื้อผ้าเหล่านี้ดีต่อผิวหรือไม่ เสื้อผ้าที่เหมาะที่สุดสำหรับผู้หญิงคือชุดกระโปรงผ้าคอตตอน ส่วนผู้ชายควรใส่เสื้อและกางเกงขาสั้นผ้าคอตตอน ผ้าคอตตอนจะช่วยให้ผิวหนังระบายอากาศได้ดี ไม่ว่าแผลถลอกจะเกิดขึ้นที่บริเวณใด พยายามให้ผิวหนังบริเวณนั้นระบายอากาศได้ดีที่สุด
    • เมื่อออกกำลังกาย หลายคนมักเลือกใช้เสื้อผ้าที่ทำมาจากวัสดุสังเคราะห์ที่ระบายความชื้นได้ดี วัสดุสังเคราะห์ประเภทนี้จะช่วยลดเหงื่อและแห้งเร็วกว่าเสื้อผ้าที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ
    • โดยทั่วไป คุณควรเลือกใส่เสื้อผ้าที่ทำให้รู้สึกสบายผิวอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงเนื้อผ้าบางประเภทอย่างเช่นขนแกะหรือหนังสัตว์ ที่มีเนื้อหยาบ ทำให้รู้สึกคัน และระบายความชื้นได้ไม่ดี
  3. สิ่งสำคัญที่จะทำให้ผิวหนังมีสุขภาพดีคือการทำให้ผิวหนังไม่แห้งและไม่เปียกจนเกินไป ผิวที่เปียกหรือแห้งจนเกินไปนั้นเป็นสาเหตุทำให้เกิดการถลอกได้ เพราะจะกระตุ้นให้รู้สึกคัน ควรแน่ใจว่าผิวของคุณมีความชุ่มชื้นเพียงพอ แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่เปียกมากเกินไป [22] [23]
    • หากคุณสังเกตเห็นว่าผิวหนังเริ่มแห้ง ให้ทาครีมหรือโลชั่นเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น หรือหากผิวมันเกินไป ให้ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวที่อ่อนโยนทำความสะอาดบนบริเวณนั้น จากนั้นซับให้แห้งและปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ต้องหาอะไรมาปิดทับเพื่อไม่ให้เกิดความชื้นมากเกินไป
    • เหงื่อสามารถส่งผลให้แผลถลอกมีอาการแย่ลงได้ เนื่องจากเหงื่อประกอบด้วยแร่ธาตุหลายชนิดที่ทำให้ผิวหนังเกิดการระคายเคืองมากขึ้น หากคุณมีเหงื่อออกมาก ให้ถอดเสื้อผ้าออก แล้วจึงชำระล้างด้วยฝักบัวและเช็ดให้แห้งสนิท
    • อาจทาแป้งเด็กเพื่อดูดความชื้นบนผิวหนัง
  4. หากคุณมีน้ำหนักเกิน ก็จะมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดแผลถลอกมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณต้นขา และเนื่องจากความอ้วนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผิวเกิดการถลอก ดังนั้นวิธีป้องกันคือการออกกำลังกายและควบคุมอาหาร วิธีที่ดีที่สุดในการลดน้ำหนักคือการเผาผลาญพลังงานให้มากกว่าปริมาณที่รับประทานเข้าไป ลองพูดคุยกับแพทย์เกี่ยวกับวิธีการลดน้ำหนักที่เหมาะสม เนื่องจากไม่มีวิธีการลดน้ำหนักใดที่จะเหมาะสมสำหรับทุกคน โดยคุณควรมองหาวิธีที่คุณชื่นชอบและทำให้รู้สึกสนุก เพื่อทำให้คุณมีแรงบันดาลใจและมีความสุขในการลดน้ำหนัก
    • พยายามทานอาหารที่มีประโยชน์และมีสัดส่วนที่เหมาะสม ซึ่งประกอบด้วยผลไม้และผักสดปริมาณมาก คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (เช่น ขนมปังโฮลวีต พาสต้า และข้าว) และโปรตีน
    • เพิ่มการออกกำลังกายในแผนการลดน้ำหนักของคุณแทนที่จะลดแคลอรี่เพียงอย่างเดียว สำหรับผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี ควรออกกำลังกายในระดับปานกลางอย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที โดยคุณสามารถเลือกออกกำลังกายในระดับที่เบาหรือหนักกว่านี้ก็ได้ นอกจากนี้ คุณยังควรทำการฝึกกล้ามเนื้อควบคู่ไปกับการออกกำลังกายตามปกติอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
  5. พยายามทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินซี สังกะสี และเบต้าแคโรทีน ในวิตามินเอและเบต้าแคโรทีนมีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่จะช่วยปกป้องร่างกายและผิวหนังเป็นพิเศษ ในขณะที่วิตามินซีจะช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานและรักษาผิวให้มีสุขภาพดี [24]
    • ผักและผลไม้ที่มีสีเหลืองและสีส้มหลายชนิดมักมีปริมาณวิตามินเอและเบต้าแคโรทีนสูง นอกจากนี้ อาหารที่เป็นแหล่งสำคัญของวิตามินเอยังมีผักปวยเล้ง ไขมันสัตว์ และไข่แดง
    • ผลไม้รสเปรี้ยวอย่างส้ม เกรปฟรุต และเลมอน เป็นแหล่งสำคัญของวิตามินซี
    • นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่เต็มไปด้วยไขมัน อาหารแปรรูป และอาหารสำเร็จรูป เพื่อช่วยให้คุณได้ลดน้ำหนักและลดปริมาณไขมันใต้ผิวหนัง ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการถลอกได้
    โฆษณา

คำเตือน

  • ในหลายกรณี ผิวถลอกจากการเสียดสีสามารถรักษาให้หายเองได้ง่ายๆ อย่างไรก็ตาม หากวิธีการรักษาที่กล่าวมานั้นไม่ช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้นหลังผ่านไปแล้ว 4-5 วัน หรือหากมีอาการแย่ลงและคุณรู้สึกกังวลเกี่ยวกับการติดเชื้อ ให้ไปพบแพทย์โดยทันที
  • การใช้แป้งข้าวโพดเคยเป็นวิธีแนะนำสำหรับการรักษาแผลถลอก อย่างไรก็ตาม แป้งข้าวโพดนั้นทำให้แบคทีเรียและเชื้อราเจริญเติบโตได้ดี จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดการติดเชื้อได้ [25] [26]
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. http://www.naturalremedies.org/chafing/
  2. http://www.aafp.org/afp/2005/0901/p833.html
  3. http://www.naturalremedies.org/chafing/
  4. Amoo So, Aremu Ao, Van Staden J. Unraveling the medicinal potential of South African Aloe species. J Ethnopharmacol. 2014 Apr 11;153(1):19-41. doi: 10.1016/j.jep.2014.01.036. Epub 2014 Feb 5.
  5. Kurtz ES, Wallo W. Colloidal oatmeal: history, chemistry and clinical properties. J Drugs Dermatol. 2007 Feb;6(2):167-70. Review.
  6. Yamamoto S, Morita T, Fukuoka T, et al. The moisturizing effects of glycolipid biosurfactants, mannosylerythritol lipids on human skin. J Oleo Sci. 2012;61(7):407-12.
  7. Shaik-Dasthagirisaheb YB, Varvara G, et al. Role of vitamins D, E and C in immunity and inflammation. J Biol Regul Homeost Agents. 2013 Apr-Jun;27(2):291-5.
  8. Bhaskaran N, Shukla S, Srivastava JK, Gupta S. Chamomile: an anti-inflammatory agent inhibits inducible nitric oxide synthase expression by blocking RelA/p65 activity. Int J Mol Med. 2010 Dec;26(6):935-40.
  9. Sharma M, Schoop R, Suter A, Hudson JB. The potential use of Echinacea in acne: control of Propionibacterium acnes growth and inflammation. Phytother Res. 2011 Apr;25(4):517-21. doi: 10.1002/ptr.3288. Epub 2010 Sep 9.
  1. Fratini F, Casella S, Leonardi M, Pisseri F, Ebani VV, Pistelli L. Antibacterial activity of essential oils, their blends and mixtures of their main constituents against some strains supporting livestocks mastitis. Fitoterapia. 2014 Apr 13;96C:1-7. doi: 10.1016/j.fitote.2014.04.003. [Epub ahead of print].
  2. Leu S, Havey J, White LE, Martin N, Yoo SS, Rademaker AW, Alam M. Accelerated resolution of laser-induced bruising with topical 20% arnica: a rater-blinded randomized controlled trial. Br J Dermatol. 2010 Sep;163(3):557-63. doi: 10.1111/j.1365-2133.2010.09813.x.
  3. Rakel, D. (2012). Integrative Medicine. Philadelphia, PA: Saunders.
  4. Mainetti, S., & Carnevali, F. (2013). An experience with paediatric burn wounds treated with a plant-derived wound therapeutic. Journal Of Wound Care, 22(12), 681.
  5. Broadhurst, C. L. (1998). Marigold--The Little Flower That Could ... Heal Wounds, That Is. Better Nutrition, 60(11), 26.
  6. Duncan, N. (2009). Alternative medicine cabinet. Tough scrapes: easy, natural treatments for helping wounds heal. Natural Solutions, (118), 55
  7. http://www.findhomeremedy.com/6-simple-home-remedies-for-chafing/
  8. http://www.homeremedycentral.com/en/home-remedies/natural-cure/chafing.html
  9. http://www.searchhomeremedy.com/5-useful-herbal-remedies-for-chafing/
  10. http://greatist.com/health/genius-ways-to-use-coconut-oil
  11. http://www.searchhomeremedy.com/5-useful-herbal-remedies-for-chafing/
  12. http://www.naturalremedies.org/chafing/
  13. http://www.aafp.org/afp/2005/0901/p833.html
  14. Guitart J, Woodley DT. Intertrigo: a practical approach. Compr Ther. 1994;20:402–9.
  15. http://www.home-remedies-for-you.com/remedy/Chafing.html
  16. http://www.aafp.org/afp/2005/0901/p833.html
  17. Guitart J, Woodley DT. Intertrigo: a practical approach. Compr Ther. 1994;20:402–9

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 108,393 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา