ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

บางทีสัตว์เลี้ยงแสนน่ารักก็ยกพวก (ที่ไม่ค่อยน่ารัก) มาบุกบ้านคุณ พวกที่ว่าก็คือหมัดตัวจิ๋วจอมดูดเลือด ไล่ยังไงก็ไม่ไป บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการไล่แขกไม่พึงประสงค์ที่ชื่อ "หมัด" ออกจากบ้านให้คุณเอง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

กำจัดหมัดในบ้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทำความสะอาดทั้งสิ่งของและบริเวณที่อยู่อาศัย. เอาเบาะนอนของสัตว์เลี้ยงไปซักเครื่องแล้วปล่อยให้ปั่นไปนานๆ จริงๆ ไม่ใช่แค่เบาะแต่ต้องเป็นทุกอย่างที่สัตว์เลี้ยงชอบไปนอนเล่นหรือเกลือกกลิ้งด้วย พวกนี้ต้องซักให้หมด เช่น ผ้าปูที่นอน หมอนอิงที่โซฟา กระทั่งผ้าเช็ดเท้าในห้องน้ำ
    • ถ้าสิ่งของชิ้นนั้นเยินเกินเยียวยา เช่น ไส้เบาะนอนสกปรกเต็มพิกัด (มีทั้งสะเก็ดผิวหนัง ไข่หมัด ตัวอ่อนของหมัด และขี้หมัด) ก็ทิ้งไปเลย ค่อยหาซื้อใหม่ ถึงจะซักปลอกแล้วแต่ถ้าไส้หมอน/เบาะยังมีไข่หมัด ก็ไม่มีประโยชน์
    • หมัดก็กัดคนนะ ถ้าสงสัยว่าตัวเองตกเป็นเหยื่อของหมัดดูดเลือด (แค่สงสัยก็พอแล้วที่จะลงมือ) ก็ต้องซักผ้าปูและที่นั่งที่นอนหมอนมุ้งทั้งหลาย สรุปแล้วอะไรที่คุณกับสัตว์เลี้ยงคลุกคลีก็เป็นแหล่งกบดานของหมัดได้ทั้งนั้น ต้องซักหรือล้างทำความสะอาดให้หมดจด
  2. ฉีดพ่นสารยับยั้งการเติบโตของแมลง (insect growth regulator (IGR)) เช่น methoprene หรือ pyriproxyfen. room fogger ที่ใช้รมควันห้องกำจัดหมัด (เป็นละอองลอย) จะไม่ได้ผลดีเท่าสเปรย์ เว้นแต่มี IGR ป้องกันไม่ให้ตัวอ่อนของหมัดโตเต็มวัย ถ้าไม่มี IGR ตัวอ่อนจะไม่ตาย เพราะละอองไปไม่ถึงชั้นเส้นใยลึกเข้าไปในพรม ซึ่งเป็นแหล่งกบดานของตัวอ่อน [1]
  3. แค่ซักผ้ากำจัดหมัดนั้นไม่พอ ต้องคว้าเครื่องดูดฝุ่นมาล้างเผ่าพันธุ์ทุกพื้นผิวและทุกซอกทุกมุม ระหว่างนี้เอาสัตว์เลี้ยงไปเก็บก่อน เช่น พาไปนอกบ้าน หรือกักบริเวณในห้องน้ำ หมัดตามตัวจะได้ไม่ร่วงลงมาบริเวณที่เพิ่งดูดฝุ่นไป
    • ใส่ปลอกคอกันหมัดหรือเศษลูกเหม็นในเครื่องดูดฝุ่น ก็ช่วยฆ่าหมัดที่ดูดฝุ่นเข้าไปได้อีกแรง จะได้ไม่กลับมาจองล้างจองผลาญกัน ปกติหมัดถูกดูดเข้าเครื่องดูดฝุ่นก็ตายเรียบ แต่อันนี้เพื่อความชัวร์
    • เน้นดูดฝุ่นมุมอับที่ไม่ค่อยโดนแดด (ก็หมัดชอบที่เย็นๆ ชื้นๆ) โดยเฉพาะจุดที่เจอขี้หมัดกับเลือดแห้ง (ซากหมัด) ตามผ้าหุ้มเฟอร์นิเจอร์ และซอก/รอยแตกตามบัวเชิงผนังและตู้ต่างๆ (แหล่งซ่องสุมชั้นดีของไข่และตัวอ่อนหมัด)
    • พอถุงดูดฝุ่นเต็มแล้ว ให้ปิดสนิท จับใส่ถุงดำ แล้วทิ้งในถังขยะที่มีฝาปิด นอกบ้านจะดีที่สุด ไม่งั้นหมัดอาจจะคลานกลับมาตายรังที่เดิมได้
  4. ถ้าไม่ได้ดูดเลือดจากสัตว์เลี้ยง หมัดโตเต็มวัยจะอยู่ได้แค่ประมาณ 1 อาทิตย์ แต่ถ้าเป็นตัวอ่อนหมัด จะอยู่ได้นานหลายเดือนเลย เพราะฉะนั้นให้กำจัดด้วยยาฆ่าแมลงสูตรธรรมชาติอย่าง botanical dust กับ borate ที่ไม่อันตรายเหมือนสารเคมีทั่วไป ใช้กำจัดตัวอ่อนหมัดได้ดี
    • botanical dust ถือว่าเป็นยาฆ่าแมลงสูตรธรรมชาติที่ใช้กันมาแต่เก่าก่อน ส่วน borate ก็เป็นแร่ธาตุที่คนนิยมใช้รักษาเนื้อไม้ เป็นผงซักฟอก แถมยังใช้ทำยาฆ่าแมลงได้ด้วย เพราะหมัดกินแล้วเป็นพิษ แต่สำหรับคนถือว่าปลอดภัย เพราะเป็นพิษแค่นิดเดียวเท่านั้น
    • ส่วนผสมระหว่าง botanical dust กับ borate นั้นถือว่าปลอดภัยมาก แต่ก็อย่าเผลอสูดดมเข้าไป ให้ใส่หน้ากากอนามัยตอนใช้กำจัดหมัดในบ้าน
    • โรยผงที่ผสมแล้วแถวพรม เฟอร์นิเจอร์ เตียง และเบาะนอนของหมาแมว ให้ทำตอนจะออกจากบ้านสักพัก ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมงได้ยิ่งดี พอกลับมาก็ให้ดูดฝุ่น ซักผ้า ซักเบาะนอน หรือจะซักเฉพาะผ้าปูแล้วทิ้งผง borate ไว้ที่พรมก็ได้ เผื่อหมัดจะบุกอีก (ย้ำอีกทีว่าปลอดภัยกับคน)
  5. ก่อนจะปล่อยสัตว์เลี้ยงออกนอกบ้าน ให้ริดกิ่งเล็มใบ และตัดหญ้า ตัวอ่อนหมัดจะได้โดนแดดเผา [2] ลองมองไปรอบๆ ถ้าเห็นมุมมืดอับชื้น ให้รีบหาทางแก้ไขให้แสงส่อง
    • ถึงมุมอับจะมีแดดส่องแล้ว บางทีหมาแมวก็ติดหมัดมาจากข้างนอกอีก ทางแก้คือใช้เศษไม้สนซีดาร์ หรือใบยูคาลิปตัส เพราะหมัดเกลียดเข้าไส้ แถมเป็นวิธีธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมี ไม่เป็นอันตรายต่อต้นไม้อื่นๆ รอบข้าง (หรือแมลงที่ไม่ใช่ศัตรูพืช) เพราะงั้นไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงแน่นอน
    • เศษไม้สนซีดาร์ หาซื้อได้ตามร้านขายต้นไม้ อุปกรณ์การเกษตร หรือในเน็ต ได้มาแล้วให้กระจายทั่วบริเวณที่หมัดระบาด ถ้าน้องหมาไม่ว่าอะไร ก็เอาใส่ในกรงด้วย หรือหยดน้ำมันยูคาลิปตัสแทนก็ได้ ไม่ก็ปลูกพุ่มยูคาลิปตัสซะเลย แต่ข้อเสียคือโตเร็วชะมัด อาจไปรบกวนต้นไม้หรือพืชอื่นๆ รอบข้าง
  6. เป็นกับดักหมัดแบบทำเองก็ได้ง่ายจัง น้ำพอผสมน้ำยาล้างจานแล้ว สำหรับหมัดก็เหมือน "สระพิษ" ดีๆ นี่เอง ถ้ามีโคมไฟเล็กๆ ล่อหมัดมาใกล้ แล้วเผลอโดดลงน้ำก็เรียบร้อย หนีไม่ได้แน่นอน
    • ผสมน้ำกับน้ำยาล้างจานในชามก้นตื้นหรือจานก็ได้ เพราะต้องเตี้ยพอที่หมัดจะบังเอิญกระโดดลงไปติดกับ ใช้จานร่อนเก่าหรือขันน้ำก็ได้เหมือนกัน
    • วางจานหรือชามส่วนผสมใต้โคมไฟเตี้ยๆ แต่ถ้าจ้ากว่า night-light (ไฟ LED ส่องทาง) ได้ก็ดี เพราะหมัดจะเข้าหาไฟ พอผ่านไปได้ 2 - 3 วัน จะเห็นว่าชามน้ำของคุณนี่สุสานหมัดดีๆ นี่เอง
  7. ใช้เครื่องลดความชื้น 1 - 2 เครื่อง แล้วแต่ขนาดของห้อง. อย่างถ้าห้องขนาด 4 x 4 เมตร ก็ต้องใช้เครื่องลดความชื้นแบบ 10 ลิตร/วัน (คือดูดความชื้นในอากาศได้เท่ากับน้ำ 10 ลิตรต่อวัน) ปกติหมัดจะอยู่ได้ในสภาวะที่มีความชื้นสัมพัทธ์ 50% ขึ้นไป เพราะงั้นถ้าความชื้นในห้องต่ำกว่า 50% ได้นาน 2 วัน ก็จะกำจัดตัวอ่อนกับหมัดโตเต็มวัยได้ ไข่หมัดก็จะฟักไม่ได้ด้วย ที่เหลือก็แค่ดูดฝุ่นซากกับไข่หมัดให้เรียบร้อย
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

อาบน้ำกำจัดหมัดให้สัตว์เลี้ยง

ดาวน์โหลดบทความ

ใช้แชมพูกำจัดหมัด

  1. ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงยอดนิยม (อย่าง pyrethrins, permethrin, d-limonene, chlorpyrifos หรือ carbaryl) ก็อาจเป็นอันตรายหรือทำผิวหนังสัตว์เลี้ยงระคายเคือง รวมถึงคุณด้วย [1]
    • ให้ใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติแทน พวกนี้กำจัดหมัดแต่ไม่เป็นอันตรายต่อคนและสัตว์ ทางที่ดีให้ปรึกษาสัตวแพทย์ประจำตัวก่อน ต่อไปนี้คือน้ำมันที่น่าลองใช้กำจัดหมัดดู
      • น้ำมันโรสแมรี่
      • น้ำมันยูคาลิปตัส
      • น้ำมันซีตรัส (จากผลไม้รสเปรี้ยว)
      • น้ำมันซีดาร์ (อันนี้เป็นอันตรายต่อแมว [3] )
      • น้ำมันทีทรี (tea tree oil อันนี้ก็เป็นอันตรายต่อแมว [4] ) ถ้าหมากินเข้าไปก็อันตราย เพราะงั้นต้องใช้อย่างระมัดระวังที่สุด!!
  2. หมัดจะได้ไม่กระโดดหนีไปรวมกันที่ส่วนหัวตอนคุณอาบที่ตัวสัตว์เลี้ยง
    • พอหมัดโดนน้ำ จะรีบหนีไปที่แห้ง หรือมุมอับตามตัวสัตว์เลี้ยง เพราะงั้นต้องราดน้ำให้ทั่ว (ไม่ใช้แชมพู ใช้น้ำเปล่าก็ยังดี) แถวก้น (รูก้น) หู ตา และคอ ก่อนจะราดจนชุ่มทั้งตัว
    • เพื่อความชัวร์ ให้ขยี้แชมพูหรือน้ำมันที่ตัวหมาแมวต่อไปประมาณ 15 นาที จริงๆ 5 นาทีหมัดก็เริ่มตายแล้ว แต่ถ้า 15 นาทีจะชัวร์สุด
    • ล้างตัวด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำอุณหภูมิห้องหลายนาทีหน่อย จนแน่ใจว่าไม่เหลือฟอง พยายามราดน้ำตรงมุมอับที่หมัดอาจไปซุกตัวอยู่ให้ชุ่มๆ
  3. เช่น ปลอกคอกันหมัด ยาหยดหลังคอ หรือยากิน แต่ถ้าเป็นยาหยดที่หมอสั่งจะได้ผลที่สุด [1]
    • ถ้าปลอกคอมีแต่สารยับยั้งการเติบโตของแมลง (insect growth regulator (IGR)) ที่ใช้ป้องกันไม่ให้ตัวอ่อนของหมัดโตเต็มวัย แต่ไม่กระทบอะไรกับหมัดปกติ ก็ต้องใช้อย่างอื่นร่วมด้วย เช่น ยาหยดหลังคอ ถึงจะแก้ปัญหาหมัดระบาดได้ หมาแมวบางตัวก็แพ้ปลอกคอกันหมัด และบางปลอกคอก็ใช้ไม่ได้ผลซะงั้น
    • ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ค่อยได้ผล [1] ก็เช่น อาหารเสริมวิตามินบี 1 (thiamine hydrochloride) ปลอกคอสมุนไพร และเครื่องปล่อยคลื่นเสียงอัลตร้าโซนิค
  4. หมัดจะมีขนสั้นๆ เอาไว้ "เกาะติดหนึบ" กับขนของสัตว์เลี้ยง ถ้าใช้หวีซี่ถี่สางชิดผิวหนังพอ หมัดก็จะดิ้นไม่หลุด ถือเป็นสุดยอดวิธีกำจัดหมัดจากตัวสัตว์เลี้ยง ถ้าใช้หวีหรือแปรงแบบอื่นๆ ที่ไม่ได้ใช้กำจัดหมัดโดยเฉพาะ จะไม่ได้ผลเลย [5]
    โฆษณา

ใช้น้ำผสมน้ำส้มสายชู

  1. ผสมน้ำอุ่น 2 ควอท (8 ถ้วยตวง) กับน้ำส้มสายชู 1 ถ้วยตวง. จากนั้นเติมน้ำยาล้างจานสูตรอ่อนโยน
  2. เติมน้ำยาล้างจานเพิ่มได้ถ้าจำเป็น จากนั้นขยี้ประมาณ 15 นาที
  3. เอาถ้วยพลาสติกใส่น้ำอุ่นราด ล้างตัวสัตว์เลี้ยงให้หมดจด. เอาถ้วยไปรองน้ำใต้ก๊อกไว้ระหว่างคุณสำรวจส่วนที่ยังเหลือฟอง
  4. แล้วพ่นหรือเทน้ำส้มสายชูในจุดที่หมัดกระจุกตัวอยู่เยอะเป็นพิเศษ
  5. กอดปลอบ ชมว่าเก่ง แล้วค่อยหยดยากำจัดหมัด
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

กำจัดหมัดด้วยวิธีธรรมชาติ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เบคกิ้งโซดาเห็นผลไวแถมไม่แพง ถ้าทำทุกวิธีที่บอกมาแล้วยังถูกหมัดบุกซ้ำ ก็มีเบคกิ้งโซดานี่แหละที่ช่วยชีวิตคุณได้.
  2. ฟอกขนน้องหมาด้วยน้ำผสมน้ำยาล้างจานสูตรเข้มข้น จากนั้นทิ้งไว้ประมาณ 5 - 10 นาที (หรือนานกว่านั้นถ้าหมัดเยอะจัด) แล้วสางเอาซากหมัดออกไป จากนั้นล้างน้ำให้สะอาดแล้วเช็ดให้แห้ง ถ้าเป็นน้ำยาล้างจานสูตรถนอมมือ ขนจะนุ่มสวย เงางาม และหอมอีกต่างหาก
    • แต่ต้องล้างฟองออกให้หมดจด ผิวน้องหมาจะได้ไม่แห้ง
    • หมาบางตัวก็ผิวบอบบาง ไม่เหมาะจะใช้น้ำยาล้างจานแรงๆ เพราะงั้นถ้าเห็นอาการผิดปกติ ให้รีบล้างออกด้วยน้ำเย็น แล้วพอผิวกลับมาเป็นปกติค่อยใช้แชมพูเด็กแทน
  3. เขาว่าหมัดไม่ชอบรสของยีสต์ แต่ยังไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจน เป็นแค่เรื่องพูดกันปากต่อปาก ยังไงลองใช้ยีสต์แบบ brewer's yeast หรือ nutritional yeast (สารอาหารบำรุงผิว) นวดๆ ถูๆ ตามผิวหนังสัตว์เลี้ยง หรือจะใช้โรยแล้วผสมในอาหารเปียกนิดๆ ก็ได้
  4. ผสมใบโรสแมรี่สด 2 ถ้วยตวงในน้ำ 2 ไพนต์ (4 ถ้วยตวง) จากนั้นต้ม 30 นาที แล้วกรองเอาแต่น้ำ ทิ้งใบไปได้เลย ต่อมาผสมน้ำที่ได้กับน้ำอุ่น 1 แกลลอน (ประมาณ 4 ลิตร) แล้วใช้เทราดตัวสัตว์เลี้ยงจนชุ่ม ไม่ต้องล้างออกด้วยน้ำสะอาด ให้สัตว์เลี้ยงผึ่งลมจนแห้งเอง
  5. เกลือเป็นสารดูดความชื้น ใช้ดูดความชื้นจากสิ่งของอื่นได้จนแห้งสนิท ถ้าเกล็ดเกลือไปติดตามตัวหมัด จะเกาะแน่นทนนาน แถมเสียดสีจนหมัดถลอก เดินไปไหนก็ไม่รอด เลือดไหลตายในที่สุด
    • ให้เลือกใช้เกลือเม็ดละเอียดที่สุด เพราะต้องเกล็ดเล็กพอจะติดตามตัวหมัด
    • พอผ่านไปได้ 7 - 10 วัน ก็ดูดฝุ่นบริเวณที่โรยเกลือไว้ให้สะอาดหมดจด ต้องไม่เหลือเกลือหรือซากหมัด ทำซ้ำได้อีก 1 - 2 ครั้ง
    • พอดูดฝุ่นเสร็จแล้ว ให้ทิ้งถุงเก็บฝุ่นเก่า ซื้อใหม่ไปเลย เวลาทิ้งต้องมัดปากให้ดี ซ้อนถุงพลาสติกอีกชั้น แล้วเอาไปทิ้งถังขยะนอกบ้าน
  6. ฝานเลมอนหรือมะนาวบางๆ ใส่น้ำ 1 ไพนต์ (2 ถ้วยตวง) แล้วต้มจนเดือด จากนั้นทิ้งไว้ข้ามคืน เช้ามาให้กรอกใส่ขวดสเปรย์ ใช้ฉีดพ่นบริเวณที่สงสัยว่าจะเป็นแหล่งกบดานของหมัด (ระวังเป็นคราบ) เอาไปถูตามตัวตามขนแมวด้วย แต่แค่หมาดๆ อย่าให้เปียกโชก ทำสักเดือนละ 1 ครั้ง รับรองหมัดหาย
    • อีกวิธีทำสเปรย์จากผลไม้รสเปรี้ยวง่ายๆ ก็คือใช้น้ำมันหอมระเหย (มีขายตามห้างและในเน็ต) อาจจะซื้อน้ำมันเลมอนมา 1 ขวด แล้วหยดไป 10 - 20 หยดต่อน้ำเปล่า 1 ออนซ์ (ประมาณ 30 มล.)
    • ขั้นตอนนี้ให้ทำวันที่แดดแรง ไม่หนาว คือหยดน้ำที่ผสมน้ำมันเลมอนแล้ว 2 - 3 หยดใต้ปลอกคอของสัตว์เลี้ยงก็ช่วยกำจัดหมัดได้
  7. Diatomaceous Earth หรือดินเบาค่อนข้างหาซื้อง่าย ราคาไม่แพง เป็นผงออร์แกนิกไม่มีสารเคมี ใช้กำจัดหมัดและแมลงส่วนใหญ่ โดยโรยตามสนามหรือพรม
    • ดินเบาเป็น food-grade คือปลอดภัยกับทั้งคนและสัตว์ เพราะกินได้ไม่อันตราย ดินเบาจะเจาะทะลุระบบโครงกระดูกภายนอกของแมลงเข้าไป สุดท้ายเลยแห้งตาย
  8. ถือเป็นขั้นตอนสำคัญ เพราะถ้าทำครั้งเดียวจบ ทั้งหมดที่สู้อุตส่าห์ทำมาก็จะเสียเปล่า ไข่หมัดที่รอดมาได้จะฟักเป็นตัว เท่ากับวงจรชีวิตเริ่มใหม่อีกรอบ เพราะงั้นให้ทำซ้ำตามขั้นตอนจนไม่เหลือร่องรอยของหมัด ทั้งตามตัวสัตว์และในบ้าน
    • ดูดฝุ่นให้หมดจดวันเว้นวัน เพราะนานๆ ไปหมัดอาจดื้อยาฆ่าแมลงหรือน้ำยาที่ใช้กำจัดขึ้นมา ต้องดูดฝุ่นบ่อยๆ ถึงจะควบคุมสถานการณ์ได้ [1]
    • ตัดหญ้าบ่อยๆ
    • ซักเบาะนอนของสัตว์เลี้ยงในน้ำสบู่ร้อนๆ อย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

กำจัดหมัดในรถ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อุตส่าห์ล้างยกบ้านแล้วอย่าตายน้ำตื้นเพราะลืมล้างรถ ถึงจะไม่เคยพาน้องหมาน้องแมวขึ้นรถ แต่บางทีหมัดก็หาโอกาสเกาะรองเท้าหรือกางเกงคุณติดรถไปด้วย เพราะงั้นให้เก็บขยะทั้งหมดใส่ถุงพลาสติก/ซิปล็อค แล้วมัดปากหรือรูดปิดให้สนิท ค่อยทิ้งไป
  2. ให้ซักทั้งหมดในน้ำร้อน แล้วอบด้วยความร้อนสูงเช่นกัน
  3. โดยเฉพาะตามมุม ขอบ ร่องข้างที่นั่ง ใต้ที่นั่ง และใต้แผ่นยางปูพื้น รอประมาณ 30 นาทีแล้วค่อยเช็ดสเปรย์ออก
  4. เหมือนเดิมคือเน้นตามมุม ขอบ ร่องข้างที่นั่ง ใต้ที่นั่ง และใต้แผ่นยางปูพื้น หลังจากนั้นให้รีบทิ้งถุงเก็บฝุ่น เพราะทิ้งไว้ไข่หมัดจะฟักตัวได้
  5. เลือกผลิตภัณฑ์ที่พ่นทิ้งไว้ที่พรมได้ไม่อันตราย เช่น สเปรย์เลมอน สเปรย์ยูคาลิปตัส และน้ำมันซีดาร์ พวกนี้ใช้ไล่หมัดได้ แถมทำให้รถหอมสดชื่น
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าไม่สะดวกจะซักที่บ้าน ก็ต้องขนทุกอย่างไปร้านซักรีดให้หมด
  • ถ้าหมาคุณไปเล่นกับหมาคนอื่น ต้องรีบเตือนเจ้าของหมาอีกตัวให้ระวังเห็บ จะได้ตัดไฟแต่ต้นลม
  • อีกผลิตภัณฑ์ที่ใช้ได้ผลที่สุด หาซื้อได้ตามคลินิกหรือโรงพยาบาลสัตว์ คือยาเม็ดที่มี spinosad แค่กินเดือนละครั้ง สารเคมีจะไปฆ่าหมัดในไม่กี่ชั่วโมงหลังกิน เพราะหมัดกัดหมาแล้วโดนพิษ
  • หาแก้วใส่น้ำผสมน้ำยาล้างจาน แล้ววางทิ้งไว้บนโต๊ะ พอเจอหมัดเมื่อไหร่ก็จับมาทิ้งในแก้ว หมัดจะจมตายในน้ำนั่นแหละ (น้ำยาล้างจานจะไปทำลายความตึงผิวของน้ำ หมัดเลยลอยกลับขึ้นมาไม่ได้)
  • (S)-methoprene เป็นยาหยดหลังคอสำหรับฆ่าหมัด ถ้าหมาขนเหนียวหน่อยจะได้ผลเป็นพิเศษ เพราะน้ำมันตามธรรมชาติจากผิวของสัตว์จะเป็นตัวช่วยกระจายยา แต่บางทีหมัดก็เกิดดื้อยาขึ้นมาซะอย่างนั้น อย่างที่พบรายงานในสหรัฐอเมริกา (โดยเฉพาะรัฐฟลอริดาและแคลิฟอร์เนียตอนเหนือ) เพราะงั้นถ้าใช้ (S)-methoprene แล้วไม่ได้ผล ให้ลองเปลี่ยนเป็น imidacloprid หรือ permethrin ผสมกับสารยับยั้งการเติบโตของแมลง (IGR หรือ insect growth regulator) อย่าง pyriproxyfen หรือ methoprene แทน คำแนะนำในการใช้งานคืออย่าเพิ่งอาบน้ำให้สัตว์เลี้ยง 2 - 3 วันหลังใช้ยา
  • ถ้าใช้ (S)-methoprene แล้วไม่ได้ผล ก็ควรพาสัตว์เลี้ยงไปหาสัตวแพทย์ จะได้กำจัดหมัดแบบเห็นผลชะงัด
  • Nitenpyram ใช้ฆ่าหมัดแบบเห็นผลเร็วทันใจ ถ้าสังเกตเห็นว่าสัตว์เลี้ยงมีหมัด ลองให้กินยาที่มี nitenpyram 1 เม็ด ภายใน 30 นาทีจะเห็นซากหมัดร่วงกราวจากตัวเลย เห็นผลสุดๆ!
  • ผง Carbaryl เป็นยาฆ่าแมลงใช้โรยตามสนามหญ้าเพื่อกำจัดและป้องกันหมัดได้ แต่ไม่แนะนำให้ใช้ Carbaryl ในบ้านหรือใช้กับสัตว์โดยตรง
  • อีกวิธีที่ได้ผลดี คือให้หยดน้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ลประมาณ 2 หยดในน้ำดื่มของสัตว์เลี้ยง รวมถึงใส่ขวดสเปรย์ไว้ฉีดพ่นทั่วๆ บ้าน กลิ่นไม่ค่อยพึงประสงค์เท่าไหร่ แต่รับรองผลเรื่องการกำจัดหมัด พอระเหย ไม่นานกลิ่นก็จาง
  • น้ำมันจากผลไม้รสเปรี้ยวกับน้ำผสมเลมอนจะปลอดภัยกับแมวมากกว่าสมุนไพรสูตรอื่นๆ
  • ถ้าใช้กระป๋องพ่นละอองลอย (fogger) ยับยั้งการระบาดของหมัดในบ้าน ข้อควรระวังคืออย่าเปิดแก๊สหรือจุดไฟไว้ เพราะตอนปล่อยละอองลอยอาจทำบ้านระเบิดได้เลย
  • บอกเลยว่าในโลกมีหมัดกว่า 2,000 สายพันธุ์แตกต่างกันไป มีทั้งพันธุ์ที่อยู่ในหมา ในแมว กระทั่งในคน ก็ต้องสำรวจก่อนว่ากำลังจะกำจัดประเภทไหน ไม่งั้นจะเสียเวลาเปล่า
โฆษณา

คำเตือน

  • ห้าม ใช้น้ำมัน tea tree, น้ำมันซีดาร์ และน้ำมันซีตรัส (ผลไม้รสเปรี้ยว) กับแมว ยังไงให้ปรึกษาคุณหมอก่อนใช้น้ำมันกำจัดหมัดตามตัวแมว แต่ปกติน้ำมัน tea tree คุณหมอห้ามใช้อยู่แล้ว เพราะเป็นพิษกับแมว หมาเองถ้ากินเข้าไปก็อันตรายเหมือนกัน!
  • ไม่ว่าจะใช้สารเคมีชนิดไหนกำจัดหมัด ต้องอ่านวิธีการใช้งานให้ละเอียดแล้วทำตามอย่างเคร่งครัด
  • ถ้าเลือกใช้ (S)-methoprene แล้วเลอะมือ ให้รีบล้างกันไว้ก่อน
  • กำชับทุกคนในบ้านโดยเฉพาะเด็กๆ ว่าต้องล้างมือให้สะอาดก่อนกินข้าว เพราะถ้าเผลอกลืนหมัดที่มีพยาธิตัวตืดเข้าไป คุณจะติดพยาธิไปด้วย [5]
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,286 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา