ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ไม่ว่าจะต้องการอัพเกรดไปใช้แล็ปท็อปรุ่นใหม่ แล็ปท็อปเก่าพังจนใช้การไม่ได้ หรือมีแล็ปท็อปเหลือใช้อยากทิ้ง สุดท้ายก็ต้องหาทางว่าจะกำจัดอย่างไรให้เหมาะสม ถ้าคุณใช้แล็ปท็อปมาสักพัก ก็ต้องพยายาม backup ไฟล์สำคัญในฮาร์ดไดรฟ์ไว้ หรือป้องกันไม่ให้ข้อมูลตกถึงมือใครที่มาใช้เครื่องต่อ ถ้าล้างข้อมูลในฮาร์ดไดรฟ์แล้ว บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการกำจัดแล็ปท็อปที่ไม่ใช้แล้วอย่างปลอดภัยให้คุณเอง ว่าแล้วก็เลื่อนลงไปอ่านกันเลย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

ลบข้อมูลและไฟล์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แน่นอนว่าทิ้งแล็ปท็อปไปแล้ว จะเสียข้อมูลในฮาร์ดไดรฟ์ไปตลอดกาล เพราะงั้นต้อง backup เก็บไว้แต่เนิ่นๆ หาเวลาสัก 1 - 2 ชั่วโมง เช็คข้อมูลทั้งหมดในคอม ว่าไฟล์ไหนสำคัญ ต้องเก็บไว้บ้าง [1] ต่อไปนี้คือวิธีการต่างๆ ในการ backup ข้อมูล
    • ซื้อ external hard drive มา copy ข้อมูลไว้ ใช้เสียบพอร์ท USB ของคอม แล้ว copy ไฟล์ที่ต้องการได้เลย ถ้าจะโหลดใส่คอมเครื่องใหม่ ก็แค่เสียบ external hard drive นี้ แล้วเซฟไฟล์ลงคอมใหม่ได้เลย
    • backup ไฟล์ไว้ในเว็บเก็บข้อมูล อย่าง Google Drive, iCloud หรือ Dropbox เว็บพวกนี้จะมีพื้นที่เก็บข้อมูลออนไลน์ จุไฟล์ได้ค่อนข้างเยอะ ใช้เก็บไฟล์สำคัญได้ แต่บางเว็บก็จะมีค่าบริการเพิ่มเติม ถ้าอยากได้พื้นที่ backup ไฟล์เยอะๆ
  2. ยกเลิกการอนุญาตสิทธิ์ (deauthorize) โปรแกรมที่ลงทะเบียนไว้. โปรแกรมคอมส่วนใหญ่ โดยเฉพาะแบบเสียเงิน จะจำกัดว่า 1 บัญชี ติดตั้งและใช้งานโปรแกรมได้ตามจำนวนเครื่องที่กำหนด ให้ลองเช็ค Microsoft Office, iTunes, Adobe Creative Suite และโปรแกรมอื่นๆ แนวนี้ แล้ว deauthorize หรือยกเลิกการอนุญาตสิทธิ์ในแล็ปท็อปเครื่องเก่าก่อนกำจัด [2]
    • ถ้าจะ deauthorize คอมใน iTunes ให้คลิก “Account” ในแถบด้านบน แล้วเลือก “Deauthorize This Computer”
    • ถ้าใช้ Adobe products จะมีให้ deauthorize คอมโดยเลือก “Help”, “Deactivate” และ “Deactivate Permanently”
    • โปรแกรมอื่นๆ ก็จะมีวิธี deauthorize แตกต่างกันไป ให้ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมในเน็ตดู ถ้าไม่แน่ใจว่าต้อง deauthorize โปรแกรมนั้นๆ ยังไง
  3. ถึงจะล้างข้อมูลจากฮาร์ดไดรฟ์แล้ว ก็ต้องปลอดภัยไว้ก่อน โดยเฉพาะพวกเอกสารทางการเงิน ภาษี หรือรูปลับๆ ที่เก็บไว้ในคอม ลองหาโปรแกรมสำหรับลบไฟล์ถาวรมาใช้ดู แค่โยนไฟล์เข้าถังขยะ หรือ recycling bin นั้นไม่พอ เพราะคนเก่งๆ คอมสามารถกู้ไฟล์ที่คุณลบแล้วกลับมาได้ [3]
    • ถ้าใช้ Windows ให้ทำลายไฟล์ลับด้วยโปรแกรมอย่าง CCleaner, Eraser หรือ File Shredder
    • ถ้าใครใช้ Mac ส่วนใหญ่จะมีฟังก์ชั่นนี้ติดมาอยู่แล้ว แค่โยนไฟล์ที่จะลบใส่ถังขยะ (trash can) กดปุ่ม command ค้างไว้ แล้วคลิกไอคอนถังขยะ จากนั้นเลือก “Empty Trash Securely” เท่านี้ก็ทำลายไฟล์ในถังขยะไม่มีเหลือ
  4. ถ้าใช้เบราว์เซอร์หลักในแล็ปท็อปไปนานๆ แน่นอนว่ามีการเซฟข้อมูลส่วนตัว รหัสผ่าน และข้อมูลทางการเงินไว้เต็มไปหมด ต้องลบข้อมูลพวกนี้ไปจากคอมไม่ให้เหลือ ก่อนจะกำจัดคอมไป [4] ต่อไปนี้คือวิธีลบประวัติการท่องเว็บในเบราว์เซอร์ยอดนิยม
    • ถ้าใช้ Safari ให้คลิก tab “Safari” มุมซ้ายบนของหน้าจอ แล้วเลือก “Clear History” อย่าลืมเลือก “all history” แล้วคลิกปุ่ม “Clear History” มุมล่างของหน้าต่างที่โผล่มา
    • ถ้าใช้ Google Chrome, Internet Explorer, Microsoft Edge หรือ Mozilla Firefox ให้ลบประวัติการท่องเว็บโดยกด Ctrl+Shift+Del อย่าลืมติ๊กทุกช่องในหน้าต่างที่โผล่มา รวมถึงเลือก time frame หรือช่วงเวลาเป็น everything คือลบทุกอย่าง สุดท้ายคลิกปุ่ม delete ที่มุมล่าง เพื่อลบข้อมูลการท่องเว็บได้เลย
  5. ก็เหมือนเบราว์เซอร์ โปรแกรมต่างๆ ในคอมจะมีการเก็บข้อมูลส่วนตัวไว้ เพื่อไม่ให้คุณต้องมานั่งพิมพ์ใหม่ซ้ำๆ ทุกครั้งที่ใช้งาน ให้เช็คแล้วลบโปรแกรมที่เก็บข้อมูลส่วนตัว หรือถอนการติดตั้งทุกอย่างเลยจะปลอดภัยสุด [5]
    • โปรแกรมอย่าง Microsoft Word หรือ Excel บางทีก็เซฟชื่อ-นามสกุล และที่อยู่ของคุณไว้ ซึ่งถ้าแล็ปท็อปเปลี่ยนมือไป แล้วมีข้อมูลพวกนี้ติดไปด้วย ถือว่าอันตรายมาก
    • ถ้าติดตั้งโปรแกรมที่ซื้อของได้ไว้ เช่น Steam จะมีการเซฟหมายเลขบัตรเครดิตไว้ ต้องระวัง
  6. พอแน่ใจว่าเซฟทุกอย่างที่จะเก็บไว้ และลบทุกอย่างที่ไม่ต้องการจากแล็ปท็อปแล้ว ให้ทำ system reset คือรีเซ็ตระบบกลับค่าโรงงาน เพื่อไม่ให้เหลือข้อมูลใดๆ ในฮาร์ดไดรฟ์ ขั้นตอนการทำ factory reset และล้างข้อมูลทั้งหมดในฮาร์ดไดรฟ์อาจจะยุ่งยากสักหน่อย ต้องศึกษาขั้นตอนโดยละเอียดซะก่อน [6]
  7. ถ้าจะทิ้งคอมเพราะเจ๊ง เปิดไม่ติดแล้ว ข้อเสียคือเช็คไม่ได้ว่ามีอะไรอยู่ในฮาร์ดไดรฟ์บ้าง แบบนี้ให้ถอดฮาร์ดไดรฟ์จากคอมไปเลย [7] ต่อไปนี้คือ 2 - 3 วิธีในการถอดหรือทำลายฮาร์ดไดรฟ์ของคอมแบบต่างๆ
    • ถ้าเป็นแล็ปท็อปรุ่นเก่า จะมีฮาร์ดไดรฟ์ที่เลื่อนออกมาจากพอร์ทที่ด้านข้างได้ง่ายๆ อาจจะต้องเปิดสวิตช์ที่ล็อคไว้ซะก่อน แต่จะจับยึดฮาร์ดไดรฟ์ไว้แล้วดึงออกมาได้ง่ายๆ [8]
    • บางทีฮาร์ดไดรฟ์ก็ซ่อนอยู่หลังแผงพลาสติกที่ด้านหลังของแล็ปท็อป ให้มองหาพลาสติกแผ่นยาวๆ ฝั่งที่เปิดแล็ปท็อปออกมาได้ ปกติจะมีสกรูยึดไว้ ให้ไขสกรูที่ยึดแผงนี้หรือฮาร์ดไดรฟ์ออก [9]
    • ถ้าไม่รู้ว่าต้องถอดฮาร์ดไดรฟ์จากคอมยังไง ให้อ่านคู่มือที่ติดมากับคอม หรือเข้าเว็บ official ของยี่ห้อคอมที่ใช้ แล้วค้นหาวิธีการโดยระบุรุ่นแล็ปท็อปของคุณ
    • ถ้าจะเก็บไฟล์ข้างในฮาร์ดไดรฟ์ไว้ ให้เก็บฮาร์ดไดรฟ์ที่ถอดออกมาแล้ว ในซองป้องกันไฟฟ้าสถิต ถ้าเอาไปร้านรับซ่อมคอม ช่างน่าจะช่วยกู้ข้อมูลให้ได้
    • ถ้าไม่ได้จะใช้ข้อมูลในฮาร์ดไดรฟ์แล้ว ให้ใช้สว่านไฟฟ้าเจาะทำลายไดรฟ์หลายๆ ครั้ง หลายๆ จุด เพื่อให้แน่ใจว่าไดรฟ์จะเสียหายจนใครเอาไปใช้งานต่อไม่ได้ แล้วค่อยทิ้งไดรฟ์ไปพร้อมกับเครื่องแล็ปท็อป [10]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

กำจัดแล็ปท็อป

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถึงแล็ปท็อปเก่าจะค่อนข้างอืด หรือเหมือนจะไม่ค่อยทำงานได้ดั่งใจ ก็อาจจะมีใครอยากซื้อไปทำอะไรก็ได้ ลองลงขายแล็ปท็อปเก่าในเน็ตดู หรือถามคนใกล้ตัว ไปจนถึงเพื่อนของเพื่อนก่อนก็ได้ แต่อย่าลืมบอกเขาด้วยว่าเครื่องคุณมีปัญหาตรงไหน รวมถึงสเปคคอมโดยละเอียด เขาจะได้ตัดสินใจถูก [11]
    • บางคนก็ซื้อแล็ปท็อปเก่าเพราะอยากได้อะไหล่ กรณีนี้เขาจะไม่สนใจว่าแล็ปท็อปจะใช้งานได้หรือเปล่า ขอแค่ชิ้นส่วนต่างๆ ข้างในยังสภาพดีก็พอ
  2. ร้านขายคอมและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ มักออกโปรโมชั่นให้เอาคอมหรือแล็ปท็อปเครื่องเก่าไปเทิร์นเป็นส่วนลดในการซื้อเครื่องใหม่ ยังไงลองอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในเน็ตดู หรือสอบถามค่ายเน็ต ค่ายคอมที่ใช้โดยตรง ว่าช่วงนี้มีโปรที่น่าสนใจหรือเปล่า และส่วนต่างที่คุณต้องจ่ายคือเท่าไหร่ [12]
    • อย่างในอเมริกาเอง ร้าน Best Buy, Apple และ Amazon ก็ให้คนเอาเครื่องเก่าไปเทิร์นเครื่องใหม่ได้เช่นกัน
    • จุดสำคัญคืออย่าลืมเปรียบเทียบส่วนต่าง และช่องทางการชำระเงินต่างๆ ให้ดีหลายๆ โปร หลายๆ ที่ เพื่อให้เทิร์นแล็ปท็อปได้คุ้มค่าที่สุด ถ้าต่างประเทศจะมีร้านใหญ่ๆ ที่มีสาขาตามห้าง แต่ของไทยจะเป็นร้านคอมทั่วไปแทน
    เคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญ

    Spike Baron

    วิศวกรเครือข่ายและดูแลคอมพิวเตอร์
    สไปค์ บาร์รอนเป็นเจ้าของ Spike's Computer Repair ซึ่งด้วยประสบการณ์กว่า 25 ปีในด้านเทคโนโลยีของเขา ทำให้ร้านมีความเชี่ยวชาญในการซ่อมดูแลคอมพิวเตอร์ทั้งในระบบ PC และ Mac การกำจัดไวรัส การกู้คืนข้อมูล การอัพเกรดทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ และการขายคอมพิวเตอร์มือสอง เขาได้รับประกาศนียบัตร CompTIA A+ และเป็นช่างซ่อมที่ทาง Microsoft ให้การรับรอง
    Spike Baron
    วิศวกรเครือข่ายและดูแลคอมพิวเตอร์

    คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ: อย่างของอเมริกาก็จะมีร้าน Best Buy และ Staples ที่จัดให้เทิร์นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เก่าได้เดือนละครั้ง หลังจากนั้นจะเอาไปรีไซเคิลหรือกำจัดให้ ยิ่งถ้าเมืองใหญ่ๆ จะมีจุดให้เอาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไปทิ้งสำหรับรีไซเคิลได้เลย

  3. ถ้าแล็ปท็อปยังใช้งานได้อยู่ ก็บริจาคให้ครอบครัวหรือผู้ที่ต้องการได้ ลองค้นในเน็ตดูว่ามีมูลนิธิหรือสถานศึกษาไหนต้องการแล็ปท็อปมือสองบ้าง เขาจะมีรายละเอียดบอกให้สอบถามได้ [13]
    • โครงการคอมพิวเตอร์เพื่อน้อง มูลนิธิกระจกเงา ก็เป็นหนึ่งในองค์กรที่รับบริจาคคอมพิวเตอร์มือสอง นอกจากนี้ยังมีอีกหลายที่ ลองค้นหาเพิ่มเติมในเน็ตและลองสอบถามรายละเอียดดู
  4. นอกจากขายอะไหล่ ขายร้านคอม ร้านรับซื้อของเก่าแล้ว แนะนำให้กำจัดคอมในจุดที่รับรีไซเคิลคอมและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพราะเก่าไปจะมีสารหรือวัสดุที่เป็นพิษได้ เช่น สารตะกั่ว สารปรอท หรือแคดเมียม ถือเป็นขยะอันตรายถ้าทิ้งไม่ถูกที่ถูกวิธี หลายที่ทั่วโลกเลยมีศูนย์หรือโรงรีไซเคิลอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะ ให้ค้นหารายละเอียดเพิ่มเติมในเน็ตดู [14]
    • จุดรีไซเคิลที่ว่า ต้องให้คุณเป็นคนเอาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไปทิ้งเอง ง่ายที่สุดคือร้านรับซื้อของเก่า แต่ต้องแน่ใจว่าไม่เหลือข้อมูลสำคัญหรือเป็นความลับในเครื่องแล้ว ยังไงลองสอบถามในโลกออนไลน์ดู ว่ามีจุดรีไซเคิลแถวบ้านคุณไหม
  5. ถ้าไม่มีวิธีอื่นแล้วจริงๆ ก็คงต้องทิ้งแล็ปท็อปเก่าไปตามเรื่องตามราว โดยใส่ถุงดำหรือถังขยะอะไรก็ว่าไป แต่วิธีนี้ก็ออกจะไม่ค่อยดีต่อสิ่งแวดล้อมเท่าไหร่ ควรทำต่อเมื่อหมดหนทางจะกำจัดแล้วจริงๆ [15]
    • อย่างหลายรัฐในอเมริกาเองก็ผ่านกฎหมายบังคับให้กำจัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบถูกวิธีด้วยการรีไซเคิลเท่านั้น เรื่องแบบนี้จริงๆ แล้วต้องศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมตามถิ่นที่อยู่ของคุณ ว่าจะใช้วิธีไหนกำจัดแล็ปท็อปเก่าได้ดีที่สุด
    โฆษณา

คำเตือน

  • เวลาจะใช้สว่านเจาะทำลายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ต้องสวมแว่นนิรภัยก่อนเสมอ เพราะพวกเศษเล็กเศษน้อยคมๆ อาจจะกระเด็นเข้าตาได้ อันตรายมาก
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,890 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา