ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เคยอยู่สถานการณ์ที่ไม่สามารถหาทางออกหรือทางแก้ปัญหาได้ไหม ถ้าเคยแสดงว่าอาจต้องใช้วิธีคิดแบบอเนกนัย กระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์นี้ช่วยเราตรวจสอบส่วนต่างๆ ของปัญหา และหาวิธีการที่น่าจะแก้ปัญหาได้ภายในระยะเวลาสั้นๆ [1] วิธีนำการคิดแบบอเนกนัยมาใช้ไม่ได้ยากลำบากถ้ารู้ว่าต้องทำอย่างไร

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

รู้จักการคิดแบบอเนกนัย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การคิดแบบอเนกนัยเป็นการคิดสร้างสรรค์แบบหนึ่ง ฉะนั้นจึงใช้ตรวจสอบปัญหาที่ใช้กรอบความคิดแบบนอกกรอบ แทนที่จะยอมรับคำตอบตามสภาพปัจจุบันหรือการไม่มีคำตอบเลย ให้เราลองแก้ปัญหาด้วยการถามว่า “ถ้าฉันลองวิธีนี้จะเป็นยังไง” [2] การคิดแบบอเนกนัยช่วยสนับสนุนให้ค้นหาและใคร่ครวญวิธีการ โอกาส ความคิด หรือทางแก้ไขใหม่ๆ ที่แตกต่างออกไป [3]
  2. สมองซีกซ้ายนั้นเป็นส่วนแสดงเหตุผล วิเคราะห์ และการควบคุม แต่สมองซีกขวาเป็นส่วนแสดงความคิดสร้างสรรค์ สัญชาตญาณ และอารมณ์ความรู้สึก จึงมีบทบาทสำคัญในการคิดแบบอเนกนัยและการแก้ปัญหาที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ การคิดแบบอเนกนัยนั้นเกิดขึ้นเอง หลั่งไหลออกมาอย่างอิสระ ไม่ตรงไปตรงมา จึงต้องใช้การคิดในแนวข้าง การคิดนอกหลักเกณฑ์ และการคิดนอกแบบแผน [4]
  3. แตกต่างจากเทคนิคการแก้ปัญหาแบบทั่วไปซึ่งใช้ในโรงเรียน. เราจำเป็นต้องใช้การคิดแบบสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหา แต่เราไม่ใช้การคิดแบบนี้ในห้องเรียน [5] การคิดแบบเอกนัยซึ่งเป็นเส้นตรงต้องมีการทดสอบทางเลือกหลายทางในฐานะตัวอย่างที่ดีเยี่ยมตัวอย่างหนึ่ง นี้ไม่ใช่การบอกว่าการคิดแบบอเนกนัยช่วยแก้ปัญหาอย่างไร แต่จะกล่าวถึงส่วนประกอบของการคิดแบบนี้ซึ่งมีสี่อย่าง [6]
    • ความคล่องแคล่วในการคิด คือความสามารถในการทำให้เกิดความคิด หรือทางแก้ปัญหามากมายอย่างรวดเร็ว
    • ความยืดหยุ่น คือความสามารถในการคิดวิธีการต่างๆ มาแก้ปัญหาหนึ่งในเวลาเดียวกัน
    • ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คือความสามารถในการก่อให้เกิดความคิดที่คนส่วนใหญ่คาดไม่ถึง
    • ความละเอียดลออ คือความสามารถที่ไม่ใช่แค่คิดถึงรายละเอียดทุกอย่างของความคิดนั้น แต่นำความคิดนั้นมาปฏิบัติด้วย
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

กระตุ้นการคิดแบบอเนกนัย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ศึกษาวิธีต่างๆ ที่เรียนรู้มา และสร้างสรรค์วิธีการแบบใหม่ เมื่อสร้างสรรค์เสร็จแล้ว ลองคิดถึงวิธีการเหล่านั้นดู ถ้าความคิดนั้นเป็นไปในทางทฤษฎีมากกว่า ก็ลองหาว่าจะสามารถนำมาโยงกับประสบการณ์ชีวิตและสิ่งที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ซึ่งเกิดจากกระทำในอดีตอย่างไร [7]
  2. บังคับตนเองให้มองมุมที่ผิดแผกแตกต่างไปจากเดิม. ลองทำดูถึงแม้จะดูเหมือนโง่เง่าก็ตาม ตัวอย่างเช่น ลองคิดว่าชีวิตเป็นโต๊ะงานเลี้ยงที่หรูหรา และเราเป็นอาหารจานหนึ่งบนโต๊ะนั้น คราวนี้ลองประเมินโต๊ะผ่านมุมมองคนกินหลายมุมมองดู
    • คนกินหวังว่าจะเห็นอะไรบนโต๊ะอาหาร
    • คนกินจะผิดหวังหากขาดอะไรไป
    • มีอะไรแปลกพิกลวางอยู่บนโต๊ะไหม อย่างเช่น ไดร์เป่าผม
    • ทำอย่างไรได้บ้างเพื่อทำให้อาหารน่ากินขึ้น และเพิ่มเติมอะไรได้บ้างเพื่อทำให้โต๊ะดูไม่น่ามอง [8]
    • สมองจะคุ้นเคยรูปแบบการคิดใหม่ๆ ด้วยการท้าทายจินตนาการของเรา และการสร้างความคิดใหม่ๆ จะเริ่มง่ายดายขึ้น [9]
  3. การคิดแบบอเนกนัยไม่ใช่การหาคำตอบ แต่เป็นการตั้งคำถามเพื่อให้ได้คำตอบนั้น การตั้งคำถามที่ถูกต้องจะทำให้เราได้สิ่งที่ค้นหา ฉะนั้นความท้าทายคือรู้ว่าจะถามอะไร [10]
    • ยิ่งตั้งคำถามเฉพาะที่ล้วงลึกให้เห็นถึงความแตกต่าง ก็ยิ่งมีโอกาสทำสำเร็จมากขึ้น
    • ทำเรื่องที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้นด้วยแตกคำถามออกเป็นส่วนๆ จากนั้นแสดงแต่ละคำถามเป็น “ถ้าหาก”
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ฝึกเทคนิคการคิดแบบอเนกนัย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เทคนิคนี้เป็นเครื่องมือที่อาศัยความคิด ความคิดหนึ่งก่อให้เกิดอีกความคิดหนึ่ง จากนั้นอีกความคิดหนึ่งก็ก่อให้เกิดอีกความคิดอื่นๆ และต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั้งสามารถรวบรวมความคิดที่เกิดจากการสุ่มอย่างสร้างสรรค์และไม่มีแบบแผนนี้ได้มากมาย [11] เมื่อระดมสมองเป็นกลุ่ม ปล่อยให้ทุกคนคิดอย่างอิสระ อย่าเพิ่งหาทางแก้ที่ปฏิบัติได้จริง ให้รวบร่วมความคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหาน้อยที่สุดแทน [12]
    • ไม่ต้องวิจารณ์ความคิด แต่จดบันทึกทุกความคิดไว้
    • หลังจากได้รายการความคิดยาวๆ แล้ว ลองกลับไปทบทวนความคิดที่บันทึกลงไปเพื่อประเมินค่าหรือประโยชน์ [13]
  2. การจดบันทึกช่วยให้เราจับและบันทึกความคิดที่เกิดขึ้นมาระหว่างที่อยู่ในเวลาและสถานที่ผิดแปลก อาจมอบหมายให้ทีมระดมสมองคนหนึ่งเขียนความคิดลงไป หลังจากนั้นบันทึกเล่มนั้นจะกลายเป็นหนังสือรวบรวมความคิดอันเป็นทรัพยากรที่สามารถนำมาพัฒนาและจัดระเบียบได้ [14]
  3. เลือกหัวข้อเฉพาะเรื่องเดียว และเริ่มเขียนเกี่ยวกับหัวข้อนี้เป็นระยะเวลาสั้นๆ เขียนทุกสิ่งที่คิดออกและเกี่ยวข้องกับหัวข้อที่เลือก ไม่ต้องพะวงเรื่องเครื่องหมายวรรคตอนหรือไวยากรณ์ แค่เขียนอย่างเดียว เราจะเรียบเรียง ตรวจสอบความถูกต้อง และแก้ไขได้ภายหลัง จุดประสงค์คือเลือกมาหัวข้อหนึ่งและระดมความคิดต่างๆ หลายอย่างเกี่ยวกับหัวข้อนั้นภายในระยะเวลาสั้นๆ [15]
  4. นำความคิดที่ระดมไว้มาทำแผนผังภาพหรือรูปภาพ ต้องให้แผนผังหรือภาพนั้นแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างความคิด ตัวอย่างเช่น หัวข้ออาจเป็นวิธีเริ่มธุรกิจ
    • เขียน “เริ่มธุรกิจ”กลางกระดาษ และวงกลมรอบวลีนี้ไว้
    • ตามด้วยสี่หัวข้อย่อยซึ่งได้แก่ผลิตภัณฑ์หรือบริการ การหาเงินทุน ตลาด และลูกจ้าง
    • จากนั้นวาดเส้นสี่เส้น แต่ละเส้นสำหรับแต่ละหัวข้อย่อย โดยลากมาจากวงกลมที่วงหัวข้อหลักไว้ไป คราวนี้เราจะได้รูปที่ดูคล้ายรูปพระอาทิตย์
    • วาดวงกลมที่ปลายเส้นแต่ละเส้นนั้น เขียนหัวข้อย่อย (ผลิตภัณฑ์หรือบริการ การหาเงินทุน ตลาด และลูกจ้าง) ลงในวงกลมเล็กๆ แต่ละวงนี้ เขียนหัวข้อละวง
    • ต่อไปลองพูดถึงเรื่องภายในหัวข้อย่อยเหล่านี้ อาจเกิดความคิดที่แยกย่อยหัวข้อออกไปอีก ตัวอย่างเช่น หัวข้อย่อยเรื่อง “ผลิตภัณฑ์หรือบริการ ” เราอาจนึกถึง “เสื้อผ้า” และ “รองเท้า” ถ้าเป็นหัวข้อย่อย “การหาเงินทุน” เราอาจคิดเรื่อง “เงินกู้”และ“เงินเก็บ”
    • จากนั้นวาดเส้นสองเส้นจากวงกลมหัวข้อย่อยแต่ละหัวข้อ มันจะดูเหมือนพระอาทิตย์ดวงจิ๋วที่มีรังสีสองเส้น
    • ที่ปลายเส้นแต่ละเส้น (หรือ “รังสี”) วาดวงกลมเล็กๆ และเขียนหัวข้อที่แยกย่อยไปอีกในวงกลมแต่ละวง ตัวอย่างเช่น จากหัวข้อย่อย “ผลิตภัณฑ์หรือบริการ” ให้เขียน “เสื้อผ้า”ในวงกลมของหัวข้อที่แยกย่อยไปอีกและ “รองเท้า”ในวงกลมของหัวข้อที่แยกย่อยไปอีกวงกลมหนึ่ง จากหัวข้อย่อย“การหาเงินทุน” ให้เขียน “เงินกู้” ในวงกลมของหัวข้อที่แยกย่อยไปอีกและ “เงินเก็บ”ในวงกลมของหัวข้อที่แยกย่อยไปอีกวงกลมหนึ่ง
    • เมื่อเสร็จสมบูรณ์ แผนผังนี้สามารถใช้พัฒนาหัวข้อต่อไปได้อีก การพัฒนานี้ได้ทั้งการคิดแบบอเนกนัยและการคิดแบบเอกนัย [16]
  5. จะต้องใช้ทั้งการคิดแบบอเนกนัยและการคิดแบบเอกนัยเพื่อให้ได้ผลดีที่สุด การคิดทั้งสองแบบนี้มีบทบาทสำคัญในกระบวนการนี้ การคิดแบบอเนกนัยจะให้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ส่วนการคิดแบบเอกนัยจะวิเคราะห์และประเมินความคิดที่สร้างสรรค์เหล่านั้น แล้วจำกัดให้แคบลง [17]
    โฆษณา


เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 27,112 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา