ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าอยากมีแผนการทำงานที่สามารถนำมาใช้ได้ผลจริง เราต้องเริ่มด้วยการมีจุดประสงค์ วิสัยทัศน์ หรือเป้าหมายที่ชัดเจนในใจก่อน แผนการทำงานจะนำเราจากจุดที่เป็นอยู่ตอนนี้ไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ หากเรามีแผนการทำงานที่ดี เราก็จะสามารถบรรลุเป้าหมายใดๆ ก็ตามที่ตั้งไว้ได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

วางแผนการทำงาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าไม่รู้อย่างชัดเจนว่าตนเองต้องการทำอะไร แผนการทำงานที่วางไว้ก็อาจใช้ไม่ได้ผลมากนัก ฉะนั้นพยายามกำหนดให้ชัดเจนว่าตนเองต้องการทำอะไรให้สำเร็จบ้าง กำหนดให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ก่อนเริ่มลงมือทำงาน
    • ตัวอย่างเช่น สมมติว่าเรากำลังพยายามเขียนวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทให้เสร็จ นี้เป็นงานเขียนหลายหน้า อาจต้องเขียนให้ได้สักประมาณ 40,000 คำ เนื้อหาในเล่มประกอบด้วยบทนำ ทบทวนวรรณกรรม (อภิปรายงานวิจัยอื่นที่เกี่ยวช้องกับงานวิจัยของเราและอภิปรายวิธีการทำวิจัยของเรา) วิธีดำเนินงานวิจัย ผลการวิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลการวิจัย เราต้องเขียนให้เสร็จภายใน 1 ปี
  2. หาเป้าหมายสุดท้าย แล้วจดรายการทุกอย่างที่คุณจำเป็นต้องทำเพื่อทำเป้าให้สำเร็จ คุณอาจต้องคิดหาทางหลายๆ ทางในการนำไปสู่เป้าหมายขึ้นอยู่กับว่ามันคืออะไร หลังจากนั้นให้แตกมันออกมาเป็นขั้นตอนที่สามารถทำได้เพื่อช่วยให้คุณสามารถสร้างแผนการที่ยืนอยู่บนความเป็นจริง
    • จำไว้ว่าแผนการอาจเปลี่ยนแปลงเมื่อทำมันไป พยายามทำให้มันปรับเปลี่ยนได้
    • ให้แน่ใจว่าเป้าหมายของคุณนั้น S.M.A.R.T. เพื่อความแน่ใจว่าแผนการจะมีประสิทธิภาพ: [1]
      • Specific (เจาะจง) - กำหนดให้ชัดเจนว่าอยากจะประสบความสำเร็จเรื่องอะไร
      • Measurable (วัดค่าได้) - คุณสามารถแตกเป้าหมายให้เป็นจุดย่อยที่สามารถวัดค่าความสำเร็จได้
      • Attainable (ไปถึงได้) - คุณสามารถทำขั้นตอนที่จำเป็นแต่ละขั้นได้เพื่อนำไปสู่เป้าหมาย
      • Relevant (มีส่วนเกี่ยวข้อง) - เป้าหมายนั้นเหมาะสมกับชีวิตและจุดประสงค์ของคุณ
      • Timely (มีระยะเวลา) - คุณมีเวลาทำงานไปสู่เป้าหมายและก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ ตามแผนงาน
  3. มีแผนการทำงานที่เฉพาะเจาะจงและเป็นไปตามความจริง. การมีเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงเป็นแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น ไม่ว่าจะทำงานใดก็ตาม เราต้องมีแผนการทำงานที่เฉพาะเจาะจงและเป็นไปตามความจริง ตัวอย่างเช่น มีตารางงานที่เฉพาะเจาะจงและทำให้สำเร็จได้จริง มีการใส่เหตุการณ์สำคัญและผลลัพธ์สุดท้ายลงในแผนการทำงาน
    • การมีแผนการทำงานระยะยาวที่เฉพาะเจาะจงและเป็นไปตามความจริงเป็นการลดความเครียดที่อาจเกิดขึ้นล่วงหน้า หากเกิดเหตุขัดข้องซึ่งอาจทำให้การทำงานไม่เป็นตามแผนการที่วางไว้ เช่น การทำงานไม่ทันตามกำหนดและความเหนื่อยล้าจากการทำงานนานหลายชั่วโมง
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการให้วิทยานิพนธ์เสร็จทันเวลา เราต้องเขียนให้ได้ประมาณ 5,000 คำต่อเดือน เราก็จะเหลือเวลาสองเดือนไว้ตรวจและแก้ไขสิ่งที่เราเขียน แต่ถ้าเราวางแผนที่จะเขียนวิทยานิพนธ์เกิน 5,000 คำต่อเดือน แผนการทำงานนี้อาจเกินกำลังของเรามากเกินไป เป็นแผนการที่ไม่เป็นไปตามความจริง ฉะนั้นจึงอาจทำไม่สำเร็จได้
    • ถ้าทำงานเป็นผู้ช่วยสอนเป็นเวลาสามเดือนด้วย ก็จะเห็นว่าตนเองอาจไม่สามารถเขียนวิทยานิพนธ์ได้สัก 15,000 คำในตอนนั้นได้ จึงอาจกระจายงานไปเพิ่มในเดือนอื่นที่ไม่ต้องเข้าสอนก็ได้
  4. กำหนดขั้นตอนและระยะเวลาเพื่อวัดความก้าวหน้า. ขั้นตอนและระยะเวลาเปรียบเสมือนหลักเขตที่ช่วยบอกว่าเหลือระยะทางอีกเท่าไรถึงจะบรรลุเป้าหมาย การกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาต่างๆ นั้นง่ายมาก เราแค่ต้องเริ่มจากจุดสุดท้ายก่อน (บรรลุเป้าหมาย) และค่อยย้อนกลับไปจุดและสถานการณ์ที่เราอยู่ตอนนี้
    • การกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาช่วยเราได้ และถ้าสามารถนำไปปรับใช้กับการทำงานเป็นทีมได้ ทุกคนก็จะมีแรงบันดาลใจในการทำงานให้ลุล่วง เพราะเราได้แตกงานใหญ่ออกเป็นงานย่อยและเป้าหมายที่จับต้องได้ ฉะนั้นเราก็จะรู้สึกว่าตนเองนั้นบรรลุเป้าหมายได้ทุกวันโดยไม่ต้องรอจนกว่างานใหญ่เสร็จโดยสมบูรณ์ก่อน แล้วจึงรู้สึกว่าตนบรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งใจแล้ว
    • อย่าให้เวลาในการทำงานมากเกินไปหรือน้อยเกินไป มีผู้พบว่าการให้เวลาทำงานแต่ละงานสองสัปดาห์จะทำให้ผลงานออกมาดีมีคุณภาพ [2]
    • ตัวอย่างเช่น เมื่อเขียนวิทยานิพนธ์ อย่ากำหนดขั้นตอนและระยะเวลาการเขียนให้เสร็จตามจำนวนบท เพราะอาจต้องใช้เวลาหลายเดือน ให้กำหนดขั้นตอนและระยะเวลาทำงานสั้นๆ อาจกำหนดให้ตนเองเขียนวิทยานิพนธ์ให้ได้ตามจำนวนคำที่กำหนดในทุกสองสัปดาห์ และให้รางวัลตนเองเมื่อทำได้สำเร็จด้วย
  5. แบ่งงานใหญ่ออกเป็นงานย่อยที่สามารถจัดการได้ง่ายขึ้น. สาเหตุที่ต้องทำแบบนี้เพราะงานหรือขั้นตอนบางอย่างอาจดูหนักหนาและทำให้สำเร็จยากกว่างานอื่น
    • ถ้าเห็นว่างานใหญ่นั้นเป็นอะไรที่หนักหนาเกินไปสำหรับเรา ให้แตกงานใหญ่นั้นออกเป็นงานย่อยที่เราสามารถจัดการได้ง่ายมากขึ้น เราจะได้วิตกกังวลน้อยลงและสามารถทำงานให้สำเร็จได้ง่ายขึ้น
    • ตัวอย่างเช่น บททบทวนวรรณกรรมเป็นบทที่เขียนได้ยากมากที่สุด เพราะบทนี้ก่อให้เกิดรากฐานอันนำมาสู่วิทยานิพนธ์ของเรา เราจะต้องทำการค้นคว้าและวิเคราะห์มามาก ถึงจะเริ่มเขียนบททบทวนวรรณกรรมให้เสร็จสมบูรณ์ได้
    • เราอาจแบ่งงานเขียนออกเป็นสามส่วนนั่นคือ วิจัย วิเคราะห์ และเขียน เราอาจแบ่งแยกย่อยลงไปอีกได้โดยดูจากบทความและหนังสือเฉพาะทางที่เราต้องอ่าน เราต้องตั้งกำหนดเวลาในการวิเคราะห์และเขียน
  6. เขียนรายการสิ่งที่ต้องทำให้สำเร็จพร้อมกำหนดระยะเวลา เขียนแค่สิ่งที่ต้องทำอย่างเดียวไม่เพียงพอ เราต้องเขียนระยะเวลาในการทำลงไปพร้อมกับระบุการกระทำของตนให้ชัดเจนตามความเป็นจริง
    • ตัวอย่างเช่น เมื่อเราแตกงานเขียนบททบทวนวรรณกรรมเป็นงานย่อยแล้ว เราก็จะรู้ว่าตนเองต้องทำอะไรให้เสร็จบ้างและสามารถกำหนดกรอบเวลาสำหรับงานย่อยแต่ละงานตามความเป็นจริงได้ เราอาจต้องอ่าน วิเคราะห์ และเขียนเนื้อหาสำคัญทุกหนึ่งหรือสองวัน
  7. ถ้าไม่มีกรอบเวลาและเส้นตายที่ชัดเจน สุดท้ายงานนั้นก็จะเกินเวลาที่กำหนดไว้และบางงานอาจไม่มีทางเสร็จเลยก็ได้
    • ไม่ว่าเราจะเลือกทำภารกิจใดในช่วงเวลาไหนก็ตาม เราต้องมีกรอบเวลาในการทำภารกิจแต่ละภารกิจด้วย
    • ตัวอย่างเช่น ถ้ารู้ว่าตนเองอ่านหนังสือได้ 2,000 คำในเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง แสดงว่าถ้าเราต้องอ่านบทความ 10,000 คำ เราต้องใช้เวลาอย่างน้อย 5 ชั่วโมง ถึงจะอ่านบทความนั้นจบ
    • ในช่วงเวลานั้นเรายังต้องนับเวลากินข้าวอย่างน้อย 2 มื้อเข้าไปด้วยรวมทั้งเวลาพักช่วงสั้นๆ ทุก 1 หรือ 2 ชั่วโมง เมื่อสมองล้า นอกจากนี้เราจะต้องเพิ่มเวลาอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงจากเดิมเผื่อมีเหตุไม่คาดคิดเกิดขึ้นระหว่างนั้น
  8. พอได้เขียนรายการสิ่งที่ต้องทำและกำหนดระยะเวลาในการทำแต่ละภารกิจแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการสร้างแผนภาพการทำงานขึ้นมา อาจวาดเป็นแผนผังแสดงขั้นตอนการทำงาน แผนภูมิแกนต์ แผ่นตารางทำการ หรือใช้เครื่องมือทางธุรกิจอื่นๆ วาดแผนภาพการทำงานขึ้นมา
    • ติดแผนการทำงานในบริเวณที่สามารถมองเห็นได้ง่าย อาจติดที่ผนังห้องทำงานหรือในห้องที่ใช้ทบทวนบทเรียนก็ได้
  9. การรู้ว่าตนเองทำอะไรเสร็จไปบ้างไม่เพียงแต่ทำให้เรารู้สึกพอใจเท่านั้น แต่จะช่วยเราให้รู้ตัวว่าลืมทำอะไรไปหรือไม่
    • การตรวจดูว่าทำอะไรเสร็จไปบ้างนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งเมื่อต้องทำงานร่วมกับผู้อื่น ถ้าทำงานร่วมกับผู้อื่น เราอาจลองใช้เมนูแบ่งปันเอกสารทางอินเตอร์เน็ต ทุกคนในกลุ่มจะสามารถเข้ามาตรวจความก้าวหน้าของงานได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน
  10. ขณะที่ทำตามแผนการทำงาน หมั่นจดทุกสิ่งทุกอย่าง เราอาจพบว่าสิ่งที่จดไว้สามารถเป็นหลักช่วยเราจัดภารกิจต่างๆ ออกเป็นหมวดหมู่ เมื่อกำลังวางแผนการทำงานขึ้นมา ตัวอย่างหมวดหมู่มีดังนี้:
    • สิ่งที่คิดหรือสิ่งที่จดต่างๆ
    • ตารางประจำวัน
    • ตารางประจำเดือน
    • ขั้นตอนและระยะเวลา
    • การศึกษาค้นคว้า
    • การติดตามผล
    • ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่ต้องติดต่อ
  11. ทำตามแผนการทำงานจนกว่าจะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้. พอวางแผนการทำงานเสร็จ นำมาแบ่งปันกับทุกคนในทีม (ถ้ามี) แล้วมีกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาเรียบร้อย ขั้นต่อไปนั้นง่ายมากนั้นคือทำตามแผนการทำงานที่กำหนดไว้จนกว่าจะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
    • ถึงแม้คุณจะต้องการให้มันเป็นไปตามแผน ก็ควรจะต้องยืดหยุ่นได้ มันอาจมีเหตุไม่คาดฝันที่ทำให้คุณต้องเปลี่ยนแผนหรือตารางทำงานเสียใหม่
  12. ปรับเปลี่ยนกำหนดเวลาถ้าจำเป็นและอย่ายอมแพ้จนกว่าจะบรรลุเป้าหมาย. บางครั้งสถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดอาจเกิดขึ้นและทำให้งานของเราเสร็จล่าช้าไปอีก เราอาจต้องปรับระยะเวลา ลงมือทำภารกิจต่างๆ จนกว่าจะเสร็จสิ้น และบรรลุเป้าหมายตามที่ตนเองตั้งไว้
    • ถ้าหากไม่สามารถทำตามแผนที่วางไว้ได้ อย่าท้อแท้ ให้ปรับแผนและทำตามแผนนั้นต่อไปจนกว่าจะบรรลุเป้าหมาย
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

จัดเวลา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เราต้องมีสมุดจดบันทึกตารางเวลา เราจะได้วางแผนว่าในแต่ละชั่วโมงและแต่ละวันต้องทำอะไรบ้าง สมุดจดบันทึกตารางเวลาควรอ่านและใช้ง่าย ไม่อย่างนั้นเราอาจไม่อยากใช้ก็ได้
    • ผลการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าการเขียนภารกิจที่ต้องทำด้วยลายมือของตนเอง (ใช้ปากกาและกระดาษ) จะทำให้เรามีโอกาสทำภารกิจนั้นมากขึ้น [3] ถ้านี้เป็นเหตุผลที่จะช่วยให้เราทำตามแผนการทำงานได้ ก็อาจใช้สมุดจดบันทึกตารางเวลาวางแผนการทำงานดีกว่า
    • การมีสมุดจดบันทึกยังช่วยคุณคลายความกดดันและรู้สึกสงบ เพราะมันทำให้คุณต้องมาครุ่นคิดว่าต้องทำอะไรบ้างน้อยลง มันยังช่วยให้แผนขึ้นเป็นรูปเป็นร่างในใจมากขึ้น [4]
  2. เรามีภารกิจที่ต้องทำมากมายก็จริง แต่เราจะเริ่มลงมือทำภารกิจเหล่านี้เมื่อไร รายการภารกิจที่ต้องทำอาจช่วยให้เราทำภารกิจสำเร็จได้ไม่มากเท่ากับการกำหนดว่าจะทำภารกิจเมื่อไร เมื่อเราจัดเวลาทำภารกิจ เราก็ได้กำหนดเวลาที่จะทำภารกิจให้เสร็จแล้ว [5]
    • เมื่อได้กำหนดเวลาทำงานแล้ว (สมุดจดบันทึกตารางเวลาส่วนใหญ่จะมีตารางเป็นแบบชั่วโมง) ก็จะเห็นว่าตนเองนั้นผัดวันประกันพรุ่งน้อยลง เพราะเราต้องทำงานให้เสร็จตามเวลาที่กำหนดไว้ก่อนที่จะเปลี่ยนไปทำภารกิจต่อไปตามตาราง
  3. การกำหนดระยะเวลาจะช่วยให้เรารู้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าที่จริงแล้วในวันหนึ่งเราใช้เวลาไปมากเท่าไรกันแน่ จัดเวลาให้กับภารกิจที่สำคัญที่สุดก่อนและจัดเวลาย้อนหลังไป
    • ทำตามตารางเวลานี้ไปประมาณหนึ่งสัปดาห์ การได้มุมมองอย่างกว้างๆ ในแต่วันเพิ่มเติมจะช่วยเรากำหนดตารางเวลาที่สามารถนำมาใช้อย่างได้ผลมากขึ้น [6]
    • แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญบางท่านก็ยังแนะว่าอย่างน้อยควรรู้ว่าภารกิจหลักที่ตนเองทำในหนึ่งเดือนนั้นมีอะไรบ้าง [7]
    • บางคนแนะว่าให้เริ่มจัดเวลาตอนจบวันและย้อนหลังไป สมมติว่าเราทำงานหรือการบ้านเสร็จตอน 5 โมงเย็น ให้จัดเวลาย้อนหลังจากตรงจุดนั้นไปจนเริ่มวัน เช่น ตอน 7 โมงเช้า [8]
  4. ผลการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าแม้แต่เวลาว่างก็ช่วยเพิ่มความพึงพอใจกับชีวิตได้ [9] ผลการศึกษายังพิสูจน์ว่าในความเป็นจริงแล้วชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน (50 ชั่วโมงขึ้นไปต่อสัปดาห์) ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเราลดลง [10]
    • การนอนไม่เต็มอิ่มจะทำให้เราทำงานได้ลดลง [11] ฉะนั้นคนในวัยผู้ใหญ่ควรนอนหลับวันละ 7 ชั่วโมงและวัยรุ่นควรนอนหลับอย่างน้อยวันละ 8.5 ชั่วโมง
    • ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการจัดเวลา "ฟื้นฟูกำลังกายและพลังใจ" (เช่น ออกกำลังกาย งีบหลับช่วงสั้นๆ ทำสมาธิ ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ) ในแต่ละวันจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและทำให้สุขภาพดีขึ้น [12]
  5. ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านแนะนำว่าควรนั่งวางแผนว่าจะทำอะไรบ้างตั้งแต่เริ่มสัปดาห์ รู้ว่าควรใช้เวลาแต่ละวันให้ดีที่สุดอย่างไรเพื่อบรรลุเป้าหมาย [13]
    • จัดตารางเวลาให้กับงานหรือกิจกรรมทางสังคมที่เราต้องทำ ถ้าเห็นว่าตารางแน่น อาจต้องตัดภารกิจบางอย่างที่สำคัญน้อยกว่าออกไปก่อน
    • การตัดภารกิจที่ไม่สำคัญออกไปไม่ได้หมายถึงการตัดกิจกรรมทางสังคมออก การรักษาเพื่อนที่ดีเอาไว้และการเอาใจใส่บุคคลใกล้ชิดเป็นสิ่งสำคัญ บุคคลเหล่านี้คอยสนับสนุนและช่วยเหลือเรา ฉะนั้นเราจึงควรหาเวลาดูแลเอาใจใส่บุคคลเหล่านี้ด้วย
  6. จากตัวอย่างในกรณีมีภารกิจต้องเขียนวิทยานิพนธ์ ตารางในหนึ่งวันควรเป็นแบบนี้
    • 7.00 น. ตื่นนอน
    • 7.15 น. ออกกำลังกาย
    • 8.30 น. อาบน้ำและแต่งตัว
    • 9.15 น. ทำและรับประทานอาหารเช้า
    • 10.00 น. เขียนวิทยานิพนธ์ (รวมกับการพักเป็นช่วงๆ ช่วงละ 15 นาที)
    • 12.15 น. รับประทานอาหารกลางวัน
    • 13.00 น. เขียนและส่งอีเมล
    • 14.00 น. ทำวิจัยและวิเคราะห์ผลการวิจัย (รวมกับการพักหรือกินของว่างเป็นช่วงๆ ช่วงละ 20 ถึง 30 นาที)
    • 17.00 น. สรุปผล เช็คอีเมล ตั้งเป้าหมายแรกสำหรับวันพรุ่งนี้
    • 17.45 น. ออกไปซื้อของ
    • 19.00 น. ทำและรับประทานอาหารเย็น
    • 21.00 น. ผ่อนคลายด้วยการทำงานอดิเรก เช่น เล่นดนตรี
    • 22.00 น. เตรียมเข้านอน อ่านหนังสือก่อนนอน (30 นาที) เข้านอน
  7. เราอาจเปลี่ยนไปทำภารกิจอื่น แค่สัก 1 หรือ 2 วันต่อสัปดาห์ บางครั้งการเปลี่ยนไปทำภารกิจอื่นบ้างก็ช่วยให้เราสามารถกลับมาทำภารกิจเดิมด้วยสมองที่แจ่มใส
    • ตัวอย่างเช่น เราอาจเขียนวิทยานิพนธ์และทำวิจัยวันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์ พอวันพฤหัสบดีเราก็เปลี่ยนมาเรียนดนตรี
  8. มีการเผื่อเวลาให้กับทุกภารกิจ หากเกิดความล่าช้าหรือเหตุไม่คาดคิดระหว่างทำภารกิจนั้น หลักการง่ายๆ คือเพิ่มเวลาทำภารกิจแต่ละภารกิจเป็นสองเท่าจากที่คาดไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเรายังเป็นมือใหม่ในด้านการจัดการเวลา
    • เมื่อเราเริ่มทำภารกิจตามแผนการทำงานได้คล่องมากขึ้นหรือเริ่มรู้อย่างชัดเจนแล้วว่า ภารกิจแต่ละอย่างจะต้องใช้เวลามากเท่าไร เราอาจลดเวลาลงได้ แต่ก็ควรมีการเผื่อเวลาไว้เสมอ
  9. โดยเฉพาะถ้าเราเพิ่งเริ่มลองทำตามแผนการทำงาน ขณะที่กำลังพยายามทำตามแผนการทำงาน อาจมีเหตุให้ต้องปรับเปลี่ยนตารางที่กำหนดไว้ การปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ ฉะนั้นถ้าเกรงว่าจะต้องมีการปรับเปลี่ยนเกิดขึ้น อาจเขียนแผนการทำงานโดยใช้ดินสอเพื่อจะได้ปรับแก้ได้ง่าย
    • เราอาจเห็นว่าการใช้เวลาหนึ่งหรือสองสัปดาห์ บันทึกสิ่งที่เราทำในแต่ละวันลงในสมุดจดบันทึกตารางเวลาขณะดำเนินตามแผนการทำงานนั้นมีประโยชน์ การจดบันทึกจะช่วยให้เรารู้ว่าตนเองใช้เวลาไปเท่าไรและภารกิจแต่ละอย่างใช้เวลาเท่าไร
  10. ในแต่ละวันให้กำหนดเวลาเช็คอีเมลหรือสื่อสังคม เช็คอีเมลและสื่อสังคมตามเวลาที่กำหนด อย่าเสียเวลาเช็คอีเมลทุกๆ สองสามนาทีตลอดเวลา . [14]
    • อาจปิดโทรศัพท์มือถือด้วย ถ้าเป็นไปได้ อย่างน้อยก็ปิดโทรศัพท์มือถือในช่วงที่เราต้องใช้สมาธิในการทำงานจริงๆ
  11. ก็คือเช็คอีเมลและดูสื่อสังคมตามเวลาที่กำหนด รู้ว่าอะไรคือสิ่งที่สำคัญที่สุดในวันนั้น อะไรเป็นสิ่งที่จะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายและเน้นทำสิ่งนั้น ลดการทำภารกิจที่มีความสำคัญน้อยกว่า และอาจทำให้เราทำอะไรไม่เป็นชิ้นเป็นอันในวันนั้น เช่น การคอยแต่เช็คอีเมล การทำงานเอกสารจิปาถะ เป็นต้น
    • ผู้เชี่ยวชาญแนะว่าในแต่ละวันไม่ควรเช็คอีเมลอย่างน้อยหนึ่งหรือสองชั่วโมงแรก ถ้าทำตามคำแนะนำนี้ได้ เราก็จะจดจ่อกับภารกิจสำคัญได้มากขึ้น เพราไม่ต้องพะวงกับข่าวสารต่างๆ ที่อีเมลนั้นส่งมาให้ [15]
    • ถ้ารู้ว่าตนเองมีงานย่อยที่ต้องทำอยู่เยอะ (เช่น ส่งอีเมล ทำงานเอกสาร จัดที่ทำงานให้เรียบร้อย) ให้จัดงานเล็กๆ นั้นมาทำในช่วงเดียวกัน ทำแบบนี้จะดีกว่ากำหนดเวลาทำงานย่อยเหล่านั้นแยกกันไป หรืออาจทำให้การทำงานสำคัญที่ต้องการสมาธิไม่ต่อเนื่องกัน [16]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

รักษาแรงบันดาลใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การมองโลกในแง่ดีอยู่เสมอจะเป็นหลักที่นำเราไปสู่การบรรลุเป้าหมาย [17] เชื่อมั่นในตนเองและผู้คนรอบข้าง เอาชนะความคิดในแง่ลบด้วยการมองโลกในแงดี
    • นอกจากการอยู่กับคนที่มองโลกในแง่ดีจะทำให้เรากลายเป็นคนมองโลกในแง่ดีแล้ว เรายังได้รับประโยชน์จากคนที่มองโลกในแง่ดีด้วย ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าเมื่อได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นเวลานาน เราจะค่อยๆ รับเอานิสัยของผู้คนเหล่านั้นเข้ามา ฉะนั้นเราจึงควรเลือกคบเพื่อนให้ดีด้วย [18]
  2. [19] ให้รางวัลตนเองแต่ละครั้งที่ทำภารกิจเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด ให้รางวัลตนเองในแบบที่เป็นรูปธรรม ตัวอย่างเช่น ออกไปรับประทานอาหารค่ำดีๆ สักมื้อที่ร้านอาหารร้านโปรด เมื่อสามารถทำตามแผนการทำงานได้สำเร็จสองสัปดาห์แรก หรือไปนวดหลัง เมื่อสามารถทำตามแผนการทำงานได้สำเร็จเป็นเวลาสองเดือน
    • ผู้เชี่ยวชาญท่านหนึ่งกล่าวว่า เราอาจเพิ่มแรงจูงใจในการทำตามแผนการทำงานด้วยการฝากเงินไว้กับเพื่อนคนหนึ่งและบอกเพื่อนคนนั้นว่าเขาสามารถนำเงินมาคืนเราได้ก็ต่อเมื่อเราทำงานเสร็จตามกำหนดเวลา ถ้าเราทำงานไม่เสร็จตามกำหนดเวลา ให้เพื่อนเก็บเงินนี้ไว้ [20]
  3. การมีเพื่อนและครอบครัวคอยให้กำลังใจนั้นสำคัญ การอยู่กับผู้คนที่มีเป้าหมายเดียวกับเราก็สำคัญด้วยเช่นกัน เพราะเราจะได้สามารถตรวจสอบความก้าวหน้าของกันและกันได้ [21]
    • หาเพื่อนคู่หูที่เชื่อใจได้ผู้จะรู้เส้นตายของคุณและจะช่วยคุณอยู่ในเป้าหมาย เช่น พวกเขาอาจส่งข้อความถามความคืบหน้า หรือคุณอาจนัดดื่มกาแฟกับพวกเขาเพื่อคอยรายงานความคืบหน้าก็ได้
  4. ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าความก้าวหน้านั้นเป็นแรงบันดาลใจที่ดีที่สุด [22] เราสามารถติดตามความก้าวหน้าได้ด้วยการขีดเครื่องหมายถูกหน้าภารกิจที่ทำเสร็จสิ้นไปแล้ว
  5. เมื่อได้ดูตารางของผู้คนที่ทำงานออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง ส่วนใหญ่คนเหล่านี้จะเริ่มทำภารกิจตั้งแต่เช้าตรู่ คนกลุ่มนี้ยังมีกิจวัตรประจำวันตอนเช้าด้วย ซึ่งโดยปกติจะทำก่อนไปทำงาน
    • กิจวัตรยามเช้าที่ดีคือ การออกกำลังกาย (ตั้งแต่ยืดเหยียดเบาๆ และเล่นโยคะไปจนใช้เวลาหนึ่งชั่วโมงในโรงยิม) การกินอาหารเช้าที่ดีต่อสุขภาพ และการใช้เวลา 20 ถึง 30 นาทีเขียนบันทึก [23]
  6. การได้หยุดพักเสียบ้างก็เป็นการรักษาแรงบันดาลใจอย่างหนึ่ง ถ้าเราทำงานอยู่ตลอดเวลา ก็จะลงเอยด้วยความอ่อนล้าหมดแรง การหยุดพักจะช่วยป้องกันไม่ตนเองเหนื่อยจนหมดแรง และเสียเวลาอันมีค่าไปกับการต้องมานั่งฟื้นฟูกำลังระยะยาว
    • ตัวอย่างเช่น เมื่อถึงเวลาพัก ให้อยู่ห่างจากคอมพิวเตอร์ ปิดโทรศัพท์มือถือ ไปนั่งในบริเวณที่สงบและปล่อยให้ตนเองอยู่ว่างๆ ถ้าเกิดคิดเรื่องใดออก ให้เขียนลงไปในสมุดบนทึก แต่ถ้าสมองยังตื้ออยู่ ก็ให้นั่งอยู่เฉยๆ จะดีกว่า [24]
    • ตัวอย่างเช่น นั่งสมาธิ ปิดเสียงโทรศัพท์มือถือ ปิดการแจ้งเตือนใดๆ ที่อาจเข้ามาระหว่างนั้น และตั้งเวลาสัก 30 นาที หรือตั้งเวลาสักเท่าไรก็ได้แล้วแต่สะดวก นั่งนิ่งๆ และพยายามทำจิตใจให้ว่าง เมื่อเกิดความคิดอะไรเข้ามาในใจ อาจแค่รับรู้ไว้ว่าเราคิดเรื่องอะไรและจากนั้นจึงค่อยปล่อยความคิดเหล่านั้นไป ตัวอย่างเช่น ถ้าคิดเรื่องงาน ก็แค่บอกตนเองในใจว่า "งาน" และจากนั้นจึงค่อยๆ ปล่อยความคิดนี้ให้ผ่านไป ให้ทำแบบนี้ทุกครั้งที่มีความคิดต่างๆ แล่นเข้ามาในหัว
  7. บางครั้งเราอาจต้องใช้เวลาสักสองสามนาทีนึกถึงเป้าหมายของตนและความรู้สึกเมื่อทำตามเป้าหมายได้สำเร็จ การนึกภาพความสำเร็จจะช่วยให้เราผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบาก ซึ่งอาจเกิดขึ้นระหว่างที่กำลังไล่ตามเป้าหมาย
  8. สิ่งต่างๆ ที่สูงค่ามักจะไม่ค่อยได้มาง่ายๆ เราอาจต้องแก้ปัญหาต่างๆ มากมายหรือฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างเดินตามเป้าหมาย ให้ยอมรับว่าอาจมีปัญหาและอุปสรรคเกิดขึ้นระหว่างทาง และพยายามรับมือให้ได้
    • ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านซึ่งเห็นคุณค่าของการอยู่กับปัจจุบันแนะนำว่า ควรยอมรับความล้มเหลวราวกับเราเป็นคนเลือกสิ่งเหล่านั้นเอง แทนที่จะปฏิเสธหรือยอมแพ้ ให้ยอมรับความล้มเหลว เรียนรู้จากความล้มเหลวนั้น และเริ่มหาทางอื่นบรรลุเป้าหมายเมื่อสถานการณ์เกิดเปลี่ยนแปลงไป [25] [26]
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

รู้ว่าเป้าหมายของตนเองคืออะไร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เขียนความต้องการของตนเองลงในบันทึกหรือกระดาษ การเขียนจะช่วยได้มากโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราไม่แน่ใจว่าตนเองต้องการอะไรกันแน่ มีแต่ความรู้สึกว่าตนเองต้องการทำอะไรสักอย่างเท่านั้น
    • การเขียนความต้องการของตนเองลงในบันทึกเป็นประจำ จะช่วยให้เราได้พูดคุยกับตนเองและรู้ว่าตอนนี้ตนเองรู้สึกอย่างไร หลายคนบอกว่าการเขียนออกมาช่วยให้เข้าใจความรู้สึกของตนเองอย่างชัดเจนและรู้ว่าตนเองต้องการอะไร
  2. พอรู้ว่าสิ่งที่ตนเองต้องการทำคืออะไร ให้ค้นคว้าหาวิธีการทำให้สำเร็จ การค้นคว้าวิธีการทำตามเป้าหมายจะช่วยให้เราได้วิธีที่ดีที่สุดในการบรรลุเป้าหมายนั้น
    • หาคนที่มีเป้าหมายคล้ายๆ กับของคุณ พวกเขาอาจให้เคล็ดลับหรือสิ่งที่พึงหลีกเลี่ยงแก่คุณได้
    • เราอาจหาเว็บไซต์ที่สามารถอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดในเรื่องต่างๆ ก็ได้ ถ้าอยากได้มุมมองจากผู้อื่นต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ตนสนใจหรือสงสัย ถ้าโชคดีอาจมีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาตอบปัญหาของเราก็ได้
    • ตัวอย่างเช่น ขณะกำลังเขียนวิทยานิพนธ์ เราเริ่มสงสัยว่าตนเองจะได้อะไรเมื่อเขียนเสร็จ เราอาจลองอ่านความคิดเห็นของคนที่กำลังทำเช่นเดียวกันกับเรา เมื่อได้อ่านมุมมองของคนเหล่านี้ต่อการทำวิทยานิพนธ์แล้ว อาจช่วยให้เรามีแรงบันดาลใจที่จะเขียนวิทยานิพนธ์ให้เสร็จ เพื่อจะตีพิมพ์เผยแพร่หรือได้รับโอกาสที่ช่วยให้อาชีพการงานเจริญก้าวหน้า
  3. ดูสิว่าเรามีทางเลือกอะไรบ้างและเลือกทางที่ดีที่สุด. หลังค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับวิถีทางต่างๆ อย่างละเอียดและรู้ผลลัพธ์ของแต่ละวิถีทางแล้ว เราก็จะรู้ว่าตนเองต้องเลือกวิธีถีทางใดถึงจะบรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการ
  4. รู้ว่าอาจต้องเผชิญกับปัจจัยที่เป็นอุปสรรคขัดขวาง. มีปัจจัยที่อาจขัดขวางไม่ให้เราบรรลุเป้าหมาย ในกรณีการเขียนวิทยานิพนธ์ ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการเขียนอาจได้แก่ จิตใจเหนื่อยล้า ขาดการค้นคว้าอย่างละเอียด หรือมีงานด่วนที่ต้องรับผิดชอบเข้ามา
  5. ขณะที่กำลังทำตามเป้าหมายที่วางไว้ เราอาจปรับเปลี่ยนเป้าหมายไปบ้าง เราต้องยอมปรับเปลี่ยนเส้นทางเพื่อสิ่งที่ดีกว่า อย่ายอมแพ้เมื่อพบกับความยากลำบาก การหมดความสนใจและการหมดหวังนั้นแตกต่างกัน!
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เราสามารถนำวิธีวางแผนการทำงานและเทคนิคในการหาเป้าหมายของบทความนี้ ไปใช้กับเป้าหมายใหญ่และเป้าหมายระยะยาวอย่างเช่น การเลือกอาชีพได้
  • ถ้าคิดว่าการจัดตารางเวลาให้กับภารกิจต่างๆ เป็นเรื่องน่าเบื่อ ให้ลองคิดเสียว่าการจัดตารางประจำวัน ประจำสัปดาห์ และแม้แต่ประจำเดือนไว้ล่วงหน้าช่วยประหยัดเวลาในการตัดสินใจเลือกทำภารกิจต่างๆ ได้ ทำให้เราคิดอะไรได้อย่างสร้างสรรค์และจดจ่อกับงานที่สำคัญได้มากขึ้น [27]
โฆษณา

คำเตือน

  • การมีช่วงเวลาพักนั้นสำคัญมาก อย่าทำงานมากเกินไป ไม่อย่างนั้นเราจะทำงานออกมาได้ไม่ดีและคิดงานไม่ออก


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 188,415 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา