ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ครึ่งชีวิตของสสารที่มีการสลายตัว คือเวลาที่สสารใช้ในการสลายตัวจนเหลือครึ่งหนึ่งสำหรับปริมาณนั้นๆ โดยแต่เดิมนั้นครึ่งชีวิตถูกนำมาใช้เพื่อบอกถึงการสลายตัวของสารกัมมันตรังสีอย่างยูเรเนียมหรือพลูโตเนียม แต่จริงๆ แล้วครึ่งชีวิตก็สามารถนำมาใช้กับสสารใดๆ ที่สลายตัวแบบเอกซ์โพเนนเชียลได้เช่นกัน คุณสามารถคำนวณหาครึ่งชีวิตของสสารใดๆ ก็ได้ถ้ารู้อัตราการสลายตัว ซึ่งก็คือปริมาณเริ่มต้นของสสารนั้นและปริมาณของสสารที่เหลืออยู่หลังจากเวลาผ่านไประยะหนึ่ง [1]

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

ทำความเข้าใจครึ่งชีวิต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การสลายตัวแบบเอกซ์โพเนนเชียลเป็นไปตามฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลทั่วไปที่ โดยที่ [2]
    • กล่าวได้ว่า ขณะที่ เพิ่มขึ้น ก็จะลดลงและเข้าใกล้ศูนย์มากขึ้น รูปแบบดังกล่าวเป็นรูปแบบความสัมพันธ์ที่เราอยากจะนำมาใช้อธิบายถึงครึ่งชีวิต โดยในกรณีนี้ เราอยากให้ เพื่อที่เราจะได้ความสัมพันธ์
  2. เขียนฟังก์ชันขึ้นมาใหม่ให้เป็นกรณีของครึ่งชีวิต. แน่นอนว่าฟังก์ชันของเราไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวแปรทั่วๆ ไปอย่าง แต่เป็นเวลา [3]
    • แค่แทนที่ตัวแปรเฉยๆ บอกอะไรเราทุกอย่างไม่ได้ เรายังต้องนำครึ่งชีวิตจริงๆ มาคิดด้วย ซึ่งสำหรับวัตถุประสงค์ของเราแล้วมันก็คือค่าคงที่
    • จากนั้นเราก็สามารถที่จะเพิ่มครึ่งชีวิต เข้าไปในเลขชี้กำลังได้ แต่ถ้าทำแบบนี้เราต้องระมัดระวัง เพราะคุณสมบัติหนึ่งของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลของฟิสิกส์ก็คือการที่เลขชี้กำลังจะต้องไร้มิติ เมื่อเรารู้แล้วว่าปริมาณของสสารนั้นขึ้นอยู่กับเวลา เราก็ต้องนำครึ่งชีวิตไปหารเพื่อหาปริมาณที่ไร้มิติ โดยวัดครึ่งชีวิตให้อยู่ในหน่วยของเวลาเช่นกัน
    • การที่ทำแบบนั้นก็บ่งบอกเช่นกันว่า และ ถูกวัดอยู่ในหน่วยเดียวกัน จากนั้นเราก็จะได้ฟังก์ชันด้านล่าง
  3. แน่นอนว่าฟังก์ชัน ของเรานั้น ถ้าอยู่เดี่ยวๆ ก็เป็นแค่ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกัน โดยเป็นฟังก์ชันที่วัดปริมาณสสารที่เหลืออยู่หลังจากเวลาผ่านไประยะหนึ่งในรูปแบบเปอร์เซ็นต์ของปริมาณเริ่มต้น ทั้งหมดที่เราต้องทำคือเพิ่มปริมาณเริ่มต้น เข้ามา แล้วเราก็จะมีสูตรสำหรับครึ่งชีวิตของสสารใดๆ
  4. สูตรด้านบนนั้นมีตัวแปรทุกตัวที่เราต้องมีในเบื้องต้น แต่ถ้าเราต้องเจอกับสารกัมมันตรังสีที่เราไม่รู้จักแล้ว การหามวลก่อนและหลังผ่านไประยะเวลาหนึ่งโดยตรงนั้นอาจจะเป็นเรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่กับการหาครึ่งชีวิตของสารนั้นๆ ดังนั้นมาหาครึ่งชีวิตในแง่ของหน่วยตัวแปรอื่นๆ (ที่รู้จัก) กันเถอะ วิธีนี้ไม่ได้หาค่าอะไรใหม่ๆ แต่เป็นวิธีที่สะดวก โดยเราจะอธิบายขั้นตอนไปทีละขั้นที่ด้านล่าง [4]
    • หารทั้งสองข้างด้วยปริมาณเริ่มต้น
    • ใส่ลอการิทึมฐาน ทั้งสองข้าง ซึ่งจะนำเลขชี้กำลังลงมา
    • คูณทั้งสองข้างด้วย และหารทั้งสองข้างด้วยฝั่งซ้ายทั้งหมดเพื่อหาครึ่งชีวิต คุณอาจจะต้องใช้เครื่องคิดเลขเพื่อหาครึ่งชีวิตเนื่องจากมีลอการิทึมในผลลัพธ์
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ตัวอย่างโจทย์ปัญหา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สารกัมมันตรังสีไม่ทราบชื่อ 300 g สลายตัวเหลือ 112 g หลังจากผ่านไป 180 วินาที สารนี้มีครึ่งชีวิตเท่าไร
    • วิธีแก้ : เรารู้ปริมาณเริ่มต้น ปริมาณท้าย และระยะเวลาที่ผ่านไป
    • คิดถึงสูตรครึ่งชีวิต ครึ่งชีวิตนั้นอยู่เดี่ยวๆ อยู่แล้ว ดังนั้นให้แทนค่าตัวแปรที่เหมาะสมแล้วหาค่าออกมาได้เลย
    • ตรวจดูว่าผลลัพธ์ถูกต้องหรือไม่ ในเมื่อ 112 g น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของ 300 g แปลว่าอย่างน้อยต้องผ่านไปหนึ่งครึ่งชีวิตแล้ว คำตอบถูกต้อง
  2. เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ผลิตยูเรเนียม-232 ออกมา 20 kg ถ้าครึ่งชีวิตของยูเรเนียม-232 คือประมาณ 70 ปี จะต้องใช้เวลาเท่าไรจึงจะสลายตัวจนเหลือ 0.1 kg
    • วิธีแก้ : เรารู้ปริมาณเริ่มต้น ปริมาณท้าย และครึ่งชีวิตของยูเรเนียม-232
    • เขียนสูตรครึ่งชีวิตใหม่เพื่อหาเวลา
    • แทนค่าและหาค่า
    • อย่าลืมตรวจสอบผลลัพธ์คร่าวๆ ว่าถูกต้องหรือไม่
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อีกสูตรที่ใช้หาครึ่งชีวิตโดยใช้ฐานจำนวนเต็ม จำไว้ว่าสูตรนี้สลับ และ ในการหาค่าลอการิทึม
  • ครึ่งชีวิตคือการประเมินความน่าจะเป็นว่าสสารที่ยังเหลืออยู่ครึ่งหนึ่งใช้เวลาเท่าไรในการสลายตัว ไม่ใช่การคำนวณแบบแม่นยำ ตัวอย่างเช่น ถ้าสสารมีอะตอมเหลืออยู่แค่หนึ่งอะตอม หลังจากเวลาผ่านไปครึ่งชีวิตอะตอมก็จะไม่ได้ลดลงเหลือครึ่งหนึ่ง แต่อาจจะเหลือหนึ่งหรือศูนย์อะตอม ยิ่งมีปริมาณของสสารเหลืออยู่มากเท่าไร การคำนวณหาครึ่งชีวิตก็จะแม่นยำขึ้นมากเท่านั้นตามกฎว่าด้วยจำนวนมาก
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 14,772 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา