ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ความเร็ว คือ อัตราการเปลี่ยนแปลงของการกระจัดต่อหนึ่งหน่วยเวลา โดยทั่วไป เราสามารถหาความเร็วได้จากการนำการเปลี่ยนแปลงของการกระจัดมาหารด้วยการเปลี่ยนแปลงของเวลา นอกจากวิธีนี้แล้วยังมีวิธีอื่นอีก ซึ่งคุณสามารถใช้เครื่องคิดเลขในการคิดคำนวณได้ ถ้าอยากรู้ว่ามีวิธีทำอย่างไร ก็มาเริ่มที่ขั้นตอนแรกกันเลย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

ความเร็วเฉลี่ย [1]

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ความเร็วเฉลี่ย คือ อัตราส่วนระหว่างการกระจัดต่อเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่
    • ซึ่งสามารถเขียนเป็นสูตรได้ดังนี้
      • v(av) = [d(f) - d(i)] / [t(f) - t(i)]
      • หรือ
      • v(av) = Δd / Δt
    • v(av) คือ “ความเร็วเฉลี่ย”
    • d(f) คือ “การกระจัดตรงจุดสิ้นสุด” ส่วน d(i) คือ “การกระจัดตรงจุดเริ่มต้น”
    • t(f) คือ “เวลาตรงจุดสิ้นสุด” ส่วน t(i) คือ “เวลาตรงจุดเริ่มต้น”
    • Δd คือ “การเปลี่ยนแปลงของการกระจัด” ส่วน Δt คือ “การเปลี่ยนแปลงของเวลา”
  2. การคำนวณหาการกระจัดที่ใช้ในการเคลื่อนที่หรือการเปลี่ยนแปลงของการกระจัด สามารถทำได้โดยนำการกระจัดตรงจุดสิ้นสุดมาลบด้วยการกระจัดตรงจุดเริ่มต้น
    • ตัวอย่าง:
      • การกระจัดตรงจุดเริ่มต้น = 5 เมตร
      • การกระจัดตรงจุดสิ้นสุด = 25 เมตร
      • จาก Δd = d(f) - d(i)
      • ดังนั้นการกระจัดที่ใช้ในการเคลื่อนที่มีค่าเท่ากับ d(f) - d(i) = 25 - 5 = 20 เมตร
  3. การคำนวณหาเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่หรือการเปลี่ยนแปลงของเวลา สามารถทำได้โดยนำเวลาตรงจุดสิ้นสุดมาลบด้วยเวลาตรงจุดเริ่มต้น
    • ตัวอย่าง:
      • เวลาตรงจุดเริ่มต้น = 4 วินาที
      • เวลาตรงจุดสิ้นสุด = 8 วินาที
      • จาก Δt = t(f) - t(i)
      • ดังนั้นเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่มีค่าเท่ากับ t(f) - t(i) = 8 - 4 = 4 วินาที
  4. นำการกระจัดที่ใช้ในการเคลื่อนที่มาหารด้วยเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่. คุณสามารถหาความเร็วได้โดยนำการเปลี่ยนแปลงของการกระจัดมาหารด้วยการเปลี่ยนแปลงของเวลา
    • ตัวอย่าง:
      • จากสูตร v(av) = Δd / Δt
      • ดังนั้นความเร็วเฉลี่ยมีค่าเท่ากับ Δd / Δt = 20 เมตร / 4 วินาที = 5 เมตร/วินาที
  5. เนื่องจากความเร็วเป็นปริมาณเวกเตอร์ จึงจำเป็นต้องระบุทิศทางในการเคลื่อนที่ด้วย
    • ตัวอย่าง: ความเร็วเฉลี่ย 5 เมตร/วินาที ไปทางทิศตะวันออก (ทิศเหนือ, ทิศตะวันตก, ทิศใต้ ฯลฯ)
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วกับความเร่ง [2]

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เขียนสูตรความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วกับความเร่งลงไป. ในกรณีที่รู้ความเร่งของวัตถุ คุณสามารถหาความเร็วได้โดยการนำความเร่งมาคูณกับการเปลี่ยนแปลงของเวลา จากนั้นบวกด้วยความเร็วตรงจุดเริ่มต้น
    • ซึ่งสามารถเขียนเป็นสูตรได้ดังนี้
      • v = v(0) + (a × t)
      • จำไว้ว่าสูตรนี้แปลงมาจากสูตรที่ใช้หาความเร่ง นั่นคือ a = [v - v(0)] / t
    • v คือ “ความเร็วตรงที่เวลาเท่ากับ t” ส่วน v(0) คือ “ความเร็วตรงจุดเริ่มต้นหรือตรงที่เวลาเท่ากับ 0”
    • a คือ “ความเร่ง”
    • t คือ “เวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่”
    • ความเร่ง คือ อัตราการเปลี่ยนแปลงของความเร็ว
  2. นำความเร่งมาคูณด้วยเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่. ถ้าคุณรู้ความเร็วตรงจุดสิ้นสุด ความเร่ง และเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ คุณก็สามารถหาความเร็วได้ โดยเริ่มจากการนำความเร่งมาคูณกับเวลา
    • ตัวอย่าง: การคำนวณหาความเร็วของวัตถุที่เคลื่อนที่ไปทางทิศเหนือ ด้วยความเร่ง 10 เมตร/วินาที 2 เป็นเวลา 5 วินาที โดยมีความเร็วเริ่มต้น 2 เมตร/วินาที ไปทางทิศเหนือ
      • a = 10 เมตร/วินาที 2
      • t = 5 วินาที
      • ดังนั้น a × t = 10 × 5 = 50
  3. นำผลลัพธ์ที่ได้มาบวกกับความเร็วตรงจุดสิ้นสุด. ในการหาความเร็ว ณ เวลา t คุณต้องรู้ความเร็วตรงจุดสิ้นสุด หรือตรงที่เวลาเท่ากับ 0 โดยนำความเร็วตรงจุดสิ้นสุดมาบวกกับผลคูณระหว่างความเร่งกับเวลา แล้วคุณก็จะได้ความเร็วของวัตถุ ณ เวลานั้น
    • ตัวอย่าง:
      • จากโจทย์ v(0) = 2 เมตร/วินาที
      • จากสูตร v = v(0) + (a × t)
      • ดังนั้นความเร็วของวัตถุ ณ วินาทีที่ 5 มีค่าเท่ากับ v(0) + (a × t) = 2 + 50 = 52 เมตร/วินาที
  4. เนื่องจากความเร็วเป็นปริมาณเวกเตอร์ จึงจำเป็นต้องระบุทิศทางในการเคลื่อนที่ด้วย
    • ตัวอย่าง: ความเร็ว 52 เมตร/วินาที ไปทางทิศเหนือ
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วตรงจุดเริ่มต้นกับความเร่ง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เขียนสูตรในการหาความเร็วตรงจุดเริ่มต้นลงไป. สูตรนี้แปลงมาจากสูตรที่แล้ว กล่าวคือ เมื่อนำสูตรที่แล้วมาแปลงใหม่ คุณก็จะสามารถหาความเร็วตรงจุดเริ่มต้นได้จากการนำความเร็วตรงที่เวลาเท่ากับ t มาลบด้วยผลคูณระหว่างความเร่งกับเวลา
    • ซึ่งสามารถเขียนเป็นสูตรได้ดังนี้
      • v(0) = v - (a × t)
      • จำไว้ว่าสูตรนี้แปลงมาจากสูตรที่ใช้หาความเร่ง นั่นคือ a = [v - v(0)] / t
    • v คือ “ความเร็วตรงที่เวลาเท่ากับ t” ส่วน v(0) คือ “ความเร็วตรงจุดเริ่มต้นหรือตรงที่เวลาเท่ากับ 0”
    • a คือ “ความเร่ง”
    • t คือ “เวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่”
    • ความเร่ง คือ อัตราการเปลี่ยนแปลงของความเร็ว
  2. นำความเร่งมาคูณด้วยเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่. ในการคำนวณหาความเร็วตรงจุดเริ่มต้น คุณต้องเริ่มจากการนำอัตราการเปลี่ยนแปลงของความเร็วหรือความเร่งมาคูณกับเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่
    • ตัวอย่าง: การคำนวณหาความเร็วตรงจุดเริ่มของวัตถุที่เคลื่อนที่ไปทางทิศเหนือด้วยความเร็ว 52 เมตร/วินาที ณ วินาทีที่ 5 โดยมีความเร่ง 10 เมตร/วินาที 2
      • a = 10 เมตร/วินาที
      • t = 5 วินาที
      • ดังนั้น a × t = 10 × 5 = 50
  3. นำความเร็วมาลบด้วยผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนที่แล้ว. เมื่อได้ผลคูณระหว่างความเร่งกับเวลาแล้ว ก็นำความเร็วมาลบด้วยผลคูณดังกล่าว เพื่อหาความเร็วตรงจุดเริ่มต้น
    • ตัวอย่าง:
      • จากโจทย์ v = 52 เมตร/วินาที
      • จากสูตร v(0) = v - (a × t)
      • ดังนั้นความเร็วตรงจุดเริ่มต้นมีค่าเท่ากับ v - (a × t) = 52 - 50 = 2 เมตร/วินาที
  4. เนื่องจากความเร็วเป็นปริมาณเวกเตอร์ จึงจำเป็นต้องระบุทิศทางในการเคลื่อนที่ด้วย เพราะถ้าคุณไม่ใส่ทิศทาง ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะเป็นเพียงอัตราเร็ว ไม่ใช่ความเร็ว
    • ตัวอย่าง: ความเร็วตรงจุดเริ่มต้น 2 เมตร/วินาที ไปทางทิศเหนือ
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

ความเร็วของการเคลื่อนที่แบบวงกลม [3] [4]

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ศึกษาสูตรที่ใช้ในการหาความเร็วของการเคลื่อนที่แบบวงกลม. การเคลื่อนที่แบบวงกลม คือ การเคลื่อนที่รอบจุดใดจุดหนึ่ง โดยมีระยะห่างเท่ากันเสมอ เช่น การเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์ของโลก การเคลื่อนที่รอบโลกของดวงจันทร์ เป็นต้น
    • ความเร็วของการเคลื่อนที่แบบวงกลมสามารถหาได้โดยการนำความยาวของเส้นรอบวงมาหารด้วยเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่
    • ซึ่งสามารถเขียนเป็นสูตรได้ดังนี้
      • v = (2πr) / T
      • จำไว้ว่า 2πr มีค่าเท่ากับความยาวของเส้นรอบวงของวงกลม
    • r คือ “รัศมี”
    • T คือ “เวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ครบหนึ่งรอบ”
  2. ขั้นแรกในการคำนวณหาความเร็วของการเคลื่อนที่แบบวงกลมคือ หาเส้นรอบวงของวงกลมที่วัตถุเคลื่อนที่ ซึ่งสามารถทำได้โดยการนำรัศมีมาคูณด้วย 2 และ 3.14 หรือ π
    • ตัวอย่าง: การคำนวณหาความเร็วของการเคลื่อนที่แบบวงกลมของวัตถุซึ่งเคลื่อนที่เป็นรูปวงกลมที่มีรัศมี 8 เมตร และใช้เวลา 45 วินาทีในการเคลื่อนที่ครบหนึ่งรอบ
      • r = 8 เมตร
      • T = 45 วินาที
      • ดังนั้นเส้นรอบวงมีค่าเท่ากับ 2 × π × r = 2 × 3.14 × 8 = 50.24 เมตร
  3. นำผลลัพธ์ที่ได้มาหารด้วยเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ครบหนึ่งรอบ. เมื่อได้ความยาวของเส้นรอบวงมาแล้ว ก็นำมันมาหารด้วยเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ครบหนึ่งรอบ เพื่อหาความเร็วของการเคลื่อนที่แบบวงกลม
    • ตัวอย่าง:
      • จากโจทย์ T = 45 วินาที
      • จากสูตร v = (2πr) / T
      • ดังนั้นความเร็วของการเคลื่อนที่แบบวงกลมมีค่าเท่ากับ (2πr) / T = 50.24 เมตร / 45 วินาที = 1.12 เมตร/วินาที
    โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • ปากกา (ใช้หรือไม่ใช้ก็ได้)
  • กระดาษ (ใช้หรือไม่ใช้ก็ได้)
  • เครื่องคิดเลข (ใช้หรือไม่ใช้ก็ได้)

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 124,148 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา