ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านส่วนใหญ่จะมีฉลากกำกับกำลังไฟที่ใช้ไม่ทางด้านหลังก็ด้านท้าย ฉลากนี้จะบอกปริมาณกำลังไฟน้อยสูงสุดที่เครื่องใช้นั้นจะดึงมา ในการประมาณการใช้พลังงานโดยรวมนั้น คุณจะต้องแปลงมันให้เป็นกิโลวัตต์-ชั่วโมง หรือ kWh

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ประมาณค่ากิโลวัตต์ต่อชั่วโมงจากฉลากกำกับเครื่องใช้ไฟฟ้า

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เครื่องใช้ไฟฟ้ากำลังสูงส่วนใหญ่จะมีฉลากพลังงานทางด้านหลังหรือไม่ก็ด้านท้ายเครื่อง มองหาค่ากำลังไฟหรือวัตต์ซึ่งจะใช้สัญลักษณ์ "W" ส่วนใหญ่นี่จะเป็นค่ากำลัง สูงสุด ที่เครื่องสามารถทำงานได้ ซึ่งอาจจะสูงกว่าระดับที่เครื่องใช้ทำงานจริง [1] ขั้นตอนด้านล่างนี้จะเป็นการประเมินคร่าวๆ ของ kWh จากตัวเลขนี้ แต่ค่าการใช้ kWh จริงๆ ส่วนใหญ่จะต่ำกว่านั้น
    • เครื่องใช้บางรุ่นจะแสดงกำลังไฟเป็นช่วง เช่น "200–300W" มันอาจจะแม่นยำกว่าถ้าเราคิดเป็นค่ากลางของช่วงนั้น หรือถ้าตามตัวอย่างก็อยู่ที่ 250W
  2. คูณกำลังไฟด้วยจำนวนชั่วโมงที่ใช้ในแต่ละวัน. วัตต์เป็นตัววัดกำลัง หรือพลังงานที่ใช้ตามเวลา คูณมันด้วยหน่วยเวลาที่คุณใช้จะได้คำตอบในแง่ของพลังงาน ซึ่งสำคัญต่อค่าไฟฟ้าของคุณ
    • ตัวอย่าง: พัดลมตั้งพื้นขนาดใหญ่มีอัตราการกินไฟอยู่ที่ 250 วัตต์และเปิดใช้เฉลี่ยวันละ 5 ชั่วโมง ค่ากำลังไฟต่อชั่วโมงของพัดลมเครื่องนี้ตกอยู่ที่วันละ (250 วัตต์) x (5 ชั่วโมง / วัน) = 1250 วัตต์-ชั่วโมงต่อวัน
    • สำหรับเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความร้อน ให้แยกการคำนวณออกไปตามแต่ฤดูกาล
    • ตู้เย็นจะใช้พลังงานราว ⅓ ของเวลาทั้งหมด หรือราว 8 ชั่วโมงต่อวันถ้าคุณไม่เคยถอดปลั๊กมันออก [2]
  3. หนึ่งกิโลวัตต์จะเท่ากับ 1,000 วัตต์ ดังนั้น ขั้นตอนนี้จึงแปลงคำตอบของคุณจากวัตต์-ชั่วโมงให้เป็นกิโลวัตต์-ชั่วโมง
    • ตัวอย่าง: คุณได้คำนวณว่าพัดลมใช้พลังงาน 1250 วัตต์-ชั่วโมงต่อวัน (1250 วัตต์-ชั่วโมง / วัน) ÷ (1000 วัตต์ / 1 กิโลวัตต์) = 1.25 กิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อวัน
  4. ตอนนี้คุณรู้ว่าเครื่องใช้นั้นกินไฟกี่กิโลวัตต์-ชั่วโมง (kWh) ในแต่ละวัน ในการคำนวณ kWH ต่อเดือนหรือต่อปีนั้น ก็แค่คูณด้วยจำนวนวันที่คุณใช้ในช่วงระยะเวลานั้นๆ
    • ตัวอย่าง: ภายในระยะเวลาหนึ่งเดือนหรือ 30 วัน พัดลมนี้กินไฟ (1.25 kWh / วัน) x (30 วัน / เดือน) = 37.5 kWh ต่อเดือน
    • ตัวอย่าง: หากคุณใช้พัดลมทุกวันเป็นเวลาหนึ่งปี มันจะกินไฟ (1.25 kWh / วัน) x (365 วัน / ปี) = 456.25 kWh ต่อปี
  5. บิลค่าไฟของคุณนั้นจะระบุค่าใช้จ่ายต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมงมา คูณตัวเลขนี้ด้วยค่า kWh เพื่อหาจำนวนเงินที่คุณคาดว่าจะต้องจ่าย
    • ตัวอย่าง: หาค่าพลังงานอยู่ที่ 17 สตางค์/kWh การเปิดพัดลมจะเสียค่าไฟ (0.17 บาท / kWh) x (456.25 kWh / ปี) = 77.56 บาทต่อปี (ปัดเศษให้อยู่ในหน่วยสตางค์ที่ใกล้เคียงที่สุด)
    • จำไว้ว่าค่าประมาณการนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานค่ากำลังไฟที่ระบุไว้สูงสุด ในความเป็นจริงคุณจะเสียค่าไฟน้อยกว่านี้
    • หากคุณมองหาค่าไฟในสถานที่อื่นนอกเหนือจากนี้ ให้ค้นหาราคาค่าไฟออนไลน์ สำหรับในสหรัฐนั้นให้ดูที่ the EIA website .
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

คำนวณกิโลวัตต์-ชั่วโมงจากแอมป์และโวลท์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ฉลากเครื่องใช้ไฟฟ้าบางตัวไม่ได้บอกค่าวัตต์หรือกำลังไฟ ในกรณีนี้ ให้มองหาค่าแอมป์ (ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้า) หรือหน่วยวัด "A" แทน
    • แล็ปท็อปและแท่นชาร์จโทรศัพท์มือถือมักบอกค่าแอมป์มาสองตัว ใช้ตัวที่บอกไว้ว่า input (กระแสไฟฟ้าเข้า) [3]
  2. ในสหรัฐและบางประเทศจะใช้แรงดันไฟฟ้ามาตรฐาน 120V ในประเทศไทยและประเทศใน EU และประเทศส่วนใหญ่จะใช้แรงดันไฟฟ้าระหว่าง 220 กับ 240V [4]
    • ในสหรัฐ เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่บางชนิดอย่างเครื่องซักผ้าอาจต้องเสียบปลั๊กเข้าไปในวงจรต่อพิเศษ 240V ให้ตรวจสอบฉลากกำกับไฟถึงอัตราแรงดันไฟฟ้า (ฉลากจะบอกเฉพาะแรงดันไฟฟ้าที่แนะนำ แต่คุณเหมาเอาได้ว่าเครื่องที่ได้รับการประกอบติดตั้งแบบมืออาชีพเหล่านี้จะรับแรงดันได้ตามที่แนะนำมา)
  3. คูณแอมป์กับโวลท์จะได้คำตอบในหน่วยวัตต์หรือพลังงานไฟฟ้า
    • ตัวอย่าง: ฉลากเตาไมโครเวฟบอกว่ามันใช้ 6.5 แอมป์และเสียบเข้ากับเต้าขนาด 120V มันจะกินไฟ 6.5 แอมป์ x 120 โวลท์ ≈ 780 วัตต์
  4. วัตต์นั้นบอกคุณถึงอัตราพลังงานที่ถูกใช้เมื่อใช้เครื่องไฟฟ้าชิ้นนี้ คูณวัตต์กับเวลาที่ใช้เป็นชั่วโมงในระหว่างวันโดยเฉลี่ย
    • ตัวอย่าง: หากใช้เตาไมโครเวฟครึ่งชั่วโมงต่อวัน คูณ 780 วัตต์ x 0.5 ชั่วโมง / วัน = 390 วัตต์-ชั่วโมงต่อวัน
  5. นี่จะแปลงจากวัตต์-ชั่วโมงเป็นกิโลวัตต์-ชั่วโมง
    • ตัวอย่าง: 390 วัตต์-ชั่วโมง / วัน ÷ 1000 วัตต์ / กิโลวัตต์ = 0.39 กิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อวัน
  6. คูณเพื่อหากิโลวัตตื-ชั่วโมงสำหรับช่วงระยะเวลานานกว่านั้น. เช่น หากคุณต้องการหาว่าคุณจะต้องเสียค่าไฟเท่าไหร่ในรอบบิลMultiply to find the 31 วัน ก็ให้คูณคำตอบด้วย 31 วัน
    • ตัวอย่าง: 0.39 กิโลวัตต์-ชั่วโมง / วัน x 31 วัน = 12.09 กิโลวัตต์-ชั่วโมง
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ใช้พาวเวอร์มิเตอร์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อุปกรณ์ชิ้นนี้ยังมีชื่อเรียกว่าวัตต์มิเตอร์หรือกิโลวัตต์มิเตอร์ มันจะวัดพลังงานจริงๆ ที่เครื่องไฟฟ้านั้นใช้ ซึ่งจะแม่นยำกว่าตามฉลากไฟ
    • หากคุณคุ้นกับเครื่องมือของช่างไฟฟ้า คุณอาจสามารถใช้มัลติมิเตอร์แทนก็ได้ โดยเครื่องนี้จะต้องเข้าถึงสายไฟของเครื่องไฟฟ้าในขณะเสียบปลั๊กอยู่ ไม่จำเป็นต้องบอกก็รู้ว่าอย่าถอดเครื่องไฟฟ้าเองเว้นแต่คุณทราบดีว่าต้องทำอย่างไร
  2. เสียบมิเตอร์ระหว่างเต้าเสียบกับเครื่องไฟฟ้า. เสียบพาวเวอร์มิเตอร์เข้ากับเต้า แล้วเสียบปลั๊กเครื่องไฟฟ้าเข้ากับพาวเวอร์มิเตอร์
  3. ตั้งค่าพาวเวอร์มิเตอร์ให้แสดงกิโลวัตต์-ชั่วโมง ตราบเท่าที่คุณยังเสียบพาวเวอร์มิเตอร์ มันจะคำนวณกิโลวัตต์-ชั่วโมงโดยรวมของเครื่องไฟฟ้าที่เสียบติดกับมัน
    • หากพาวเวอร์มิเตอร์ของคุณวัดได้แต่วัตต์ คุณก็ใช้วิธีการข้างต้นคำนวณกิโลวัตต์-ชั่วโมงจากค่าที่ได้นั้น
    • ทำตามคำแนะนำในคู่มือของพาวเวอร์มิเตอร์หากคุณไม่แน่ใจเวลาเปลี่ยนการตั้งค่า
  4. ยิ่งเสียบพาวเวอร์มิเตอร์ทิ้งไว้ มันจะยิ่งคำนวณได้แม่นยำขึ้น
  5. กิโลวัตต์-ชั่วโมงที่แสดงบนมิเตอร์เป็นจำนวนรวมจากเวลาที่เครื่องไฟฟ้านั้นเสียบอยู่ คุณสามารถคูณจำนวนนี้เพื่อประมาณค่า kWh ในช่วงระยะเวลาที่นานกว่านั้น
    • เช่น สมมติว่ามิเตอร์ทำงานมา 5 วัน และคุณอยากหาประมาณการ 30 วัน ก็ให้นำ 30 หารด้วย 5 ซึ่งก็คือ 6 จากนั้นให้คูณตัวเลข kWh ที่แสดงขึ้นมาด้วย 6
    โฆษณา

เคล็ดลับ

โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 109,215 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา