ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

อุบัติเหตุจากไฟดูดเกิดจากการที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย ผลกระทบจากการถูกไฟดูดอาจมีตั้งแต่รู้สึกซ่าๆ เสียวๆ ไปจนถึงตายคาที่ การรู้ว่าจะต้องทำอย่างไรเวลาเกิดไฟดูดอาจช่วยชีวิตใครสักคนหนึ่งไว้ได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

ทำสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แรงกระตุ้นอย่างแรกของคุณคือรีบร้อนเข้าไปช่วยใครสักคนหนึ่ง แต่หากยังคงมีอันตรายจากไฟดูดอยู่ การทำเช่นนั้นรังแต่จะทำให้คุณได้รับบาดเจ็บตามไปด้วย จงใช้เวลาชั่วอึดใจหนึ่งประเมินสถานการณ์ และมองหาอันตรายใดๆ ที่มองเห็นได้ [1]
    • ตรวจหาแหล่งที่มาของไฟดูด จงดูว่าผู้ประสบภัยยังสัมผัสกับแหล่งที่มาของไฟฟ้าหรือไม่ และจงจำไว้ว่าไฟฟ้าสามารถไหลผ่านร่างของผู้ประสบภัยเข้ามาในตัวคุณได้
    • ห้ามใช้น้ำ ถึงหากจะมีเพลิงกำลังไหม้อยู่ก็ตาม เพราะน้ำสามารถเป็นตัวนำไฟฟ้าได้
    • ห้ามเข้าไปในบริเวณที่มีการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าอยู่หากว่าพื้นเปียก
    • จงใช้ถังดับเพลิงเฉพาะสำหรับดับไฟไหม้ที่เกิดจากไฟฟ้า ถังดับเพลิงที่ใช้กับไฟไหม้ซึ่งเกิดจากไฟฟ้าจะมีเครื่องหมายติดว่าเป็นถังดับเพลิงชนิด C หรือ BC หรือ ABC [2]
  2. มีความสำคัญมากที่คุณจะแจ้งขอความช่วยเหลือโดยเร็วที่สุดที่จะทำได้ ยิ่งแจ้งเร็วเท่าไร ความช่วยเหลือจะยิ่งมาถึงเร็วมากขึ้นเท่านั้น จงอธิบายสถานการณ์ของคุณอย่างสงบและชัดเจนเท่าที่จะสามารถทำได้ในตอนที่โทรแจ้ง [3]
    • อธิบายว่าเป็นเหตุฉุกเฉินและมีเหตุไฟดูด เพื่อที่ผู้รับแจ้งจะได้สามารถเตรียมการอย่างดีที่สุด
    • พยายามไม่ตื่นตระหนก การที่คุณพยายามสงบให้มากที่สุดที่จะทำได้จะช่วยให้คุณส่งต่อข้อมูลที่เหมาะสม
    • จงพูดให้ชัดเจน หน่วยบริการฉุกเฉินจะต้องการข้อมูลที่แม่นยำและชัดเจน การพูดเร็วเกินไปอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้ ซึ่งอาจทำให้เสียเวลาอันมีค่าไปเปล่าๆ [4]
    • แจ้งบ้านเลขที่และหมายเลขโทรศัพท์ของคุณอย่างถูกต้อง
    • ประเทศส่วนใหญ่ได้กำหนดให้สายด่วนบริการฉุกเฉินเป็นหมายเลขที่จดจำได้ง่าย สำหรับประเทศไทยคือ 191 ตัวอย่างอื่นๆ อีกสี่ถึงห้าประเทศ เช่น:
      • สหรัฐ-911
      • อังกฤษ – 999
      • ออสเตรเลีย – 000
      • แคนาดา- 911
  3. จงตัดกระแสไฟฟ้าหากสามารถทำได้โดยปลอดภัย แต่อย่าพยายามทำเช่นนั้นเพื่อช่วยเหลือบางคนผู้อยู่ใกล้กับสายไฟฟ้าแรงสูง [5] ทางเลือกที่ดีที่สุดคือตัดกระแสไฟที่ตู้จ่ายไฟ ที่กล่องเซอร์กิต เบรกเกอร์หรือกล่องฟิวส์ จงทำตามขั้นตอนเหล่านี้เพื่อตัดกระแสไฟฟ้าด้วยกล่องเซอร์กิต เบรกเกอร์:
    • เปิดกล่องเซอร์กิต เบรกเกอร์ มองหาบล็อกรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งมีที่จับ และอยู่ที่ด้านบนสุดของกล่องฟิวส์
    • คว้าที่จับแล้วสับไปอีกด้านหนึ่ง เหมือนกับสับสวิตช์ไฟฟ้า
    • ทดลองเปิดไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ เพื่อตรวจสอบซ้ำสองว่าได้ตัดกระแสไฟฟ้าแล้วจริงๆ
  4. อย่าแตะต้องตัวผู้ประสบภัยหากยังไม่มีการตัดกระแสไฟฟ้า แม้คุณจะใช้อุปกรณ์ที่ไม่ใช่ตัวนำไฟฟ้าก็ตาม ต่อเมื่อคุณแน่ใจว่าไม่มีกระแสไฟฟ้าแล้ว จึงใช้ไม้หรือแท่งยางหรืออุปกรณ์ที่ไม่ใช่ตัวนำไฟฟ้าใดๆ ทำการแยกตัวผู้ประสบภัยออกจากแหล่งไฟฟ้า [6]
    • ตัวอย่างของวัสดุที่ไม่ใช่ตัวนำไฟฟ้าคือ กระจก เครื่องกระเบื้อง พลาสติก และกระดาษ กระดาษแข็งเป็นวัสดุที่ไม่ใช่ตัวนำไฟฟ้าชนิดหนึ่งซึ่งพบได้ทั่วไป และคุณสามารถนำมาใช้ได้ [7]
    • ตัวนำไฟฟ้าซึ่งยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้คือ ทองแดง อลูมิเนียม ทองคำ และเงิน [8]
    • หากผู้ประสบภัยถูกฟ้าผ่า คุณสามารถจับต้องตัวเขาหรือเธอได้อย่างปลอดภัย
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

ช่วยเหลือผู้ประสบภัย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การให้ผู้ประสบภัยจากไฟดูดนอนในท่าพักฟื้นจะช่วยให้แน่ใจว่าทางเดินหายใจยังคงเปิดโล่งอยู่ [9] จงปฏิบัติตามขั้นตอนเหล่านี้เพื่อจัดการอย่างเหมาะสมให้ผู้บาดเจ็บนอนในท่าพักฟื้น :
    • วางแขนของผู้ประสบภัยข้างที่อยู่ใกล้คุณมากที่สุดให้ตั้งฉากกับลำตัวของเขาหรือเธอ
    • วางแขนอีกข้างหนึ่งใต้ด้านข้างศีรษะของเขาหรือเธอ หลังมือสมควรแตะอยู่ที่แก้ม
    • งอเข่าข้างที่อยู่ไกลคุณที่สุดให้เป็นมุมฉาก
    • พลิกตัวผู้ประสบภัยให้นอนตะแคงข้าง ให้ด้านบนของท่อนแขนรองรับศีรษะอยู่
    • ยกคางของผู้ประสบภัยขึ้น และตรวจดูทางเดินหายใจ
    • จงอยู่กับผู้ประสบภัยและเฝ้าสังเกตการหายใจ เมื่ออยู่ในท่าพักฟื้นแล้ว อย่าขยับตัวผู้ประสบภัย เพราะการทำเช่นนั้นอาจทำให้บาดเจ็บเพิ่มมากขึ้น
  2. ผู้ประสบภัยจะมีอุณหภูมิร่างกายเย็นลงอย่างรวดเร็ว คุณสมควรพยายามห่อตัวเขาหรือเธอด้วยผ้าห่มไฟฟ้าเพื่อควบคุมอุณหภูมิในร่างกายเอาไว้ [10] จงรอหน่วยบริการฉุกเฉินอยู่กับผู้ประสบภัย
    • อย่าใช้ผ้าคลุมร่างของผู้ประสบภัยหากมีบาดแผลขนาดใหญ่ หรือมีแผลไหม้ที่ยังไม่ได้รักษา
    • จงใช้ผ้าห่มคลุมร่างของผู้ประสบภัยอย่างอ่อนโยน
    • เมื่อหน่วยบริการฉุกเฉินมาถึง จงแจ้งรายละเอียดที่คุณทราบแก่พวกเขา รีบอธิบายถึงแหล่งที่มาของอันตราย แจ้งให้พวกเขาทราบเรื่องบาดแผลใดๆ ที่คุณได้สังเกตเห็น และช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุ อย่าพยายามเข้าแทรกแซงหลังจากพวกเขาเข้ารับช่วงต่อแล้ว
  3. จงพยายามพูดคุยกับผู้ประสบภัยเพื่อเรียนรู้มากขึ้นเรื่องอาการบาดเจ็บ คุณจะสามารถช่วยเหลือได้ดีขึ้นโดยเรียนรู้ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ จงใส่ใจอย่างระมัดระวังต่ออาการตอบสนองใดๆ และพร้อมถ่ายทอดข้อมูลเหล่านี้เมื่อหน่วยบริการฉุกเฉินมาถึง [11]
    • แนะนำตัวคุณเองและถามผู้ประสบภัยว่าเกิดอะไรขึ้น สอบถามด้วยว่ามีปัญหาเรื่องการหายใจหรือไม่ รู้สึกเจ็บตรงไหนบ้างหรือไม่
    • ขอให้ผู้ประสบภัยระบุแหล่งที่มาของอาการเจ็บ การทำเช่นนี้อาจช่วยระบุบาดแผลหรือแผลไหม้ได้
    • หากผู้ประสบภัยหมดสติ จงตรวจสอบทางเดินหายใจและฟังเสียงหายใจ.
  4. ตรวจดูร่างกายของผู้ประสบภัย เริ่มจากศีรษะและเลื่อนลงไปที่คอ แขน ท้อง และขา มองหาแผลไหม้หรืออาการบาดเจ็บใดๆ ซึ่งอาจสังเกตเห็นได้ในทันที รายงานเรื่องอาการบาดเจ็บให้หน่วยบริการฉุกเฉินทราบ เมื่อพวกเขาเดินทางมาถึง [12]
    • อย่าจับต้องหรือขยับเขยื้อนบริเวณที่มีบาดแผลหรือรู้สึกเจ็บ และอย่าสัมผัสแผลไหม้ใดๆ การเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยอาจทำให้บาดเจ็บมากยิ่งขึ้น
  5. หากผู้ประสบภัยมีเลือดออก จงพยายามห้ามเลือดหรือชะลอการเสียเลือดให้ช้าลง ใช้ผ้าสะอาดกดโดยตรงบนบาดแผล แล้วกดที่บาดแผลต่อไปจนเลือดหยุดไหล [13]
    • อย่าถอดเสื้อผ้าที่โชกด้วยเลือดออก แต่ให้เพิ่มทับอีกหลายๆ ชั้น
    • ยกแขนขาข้างที่บาดเจ็บให้อยู่สูงเหนือหัวใจ แต่อย่าขยับแขนขาหากสงสัยว่ากระดูกร้าว
    • เมื่อเลือดหยุดไหล ให้ใช้ผ้าพันแผลห่อผ้าที่ใช้กดห้ามเลือดเพื่อตรึงให้แน่น
    • รอจนหน่วยบริการฉุกเฉินมาถึง แล้วแจ้งให้พวกเขาทราบเรื่องอาการบาดเจ็บ กับสิ่งที่คุณได้ทำไปแล้วกับบาดแผล
  6. จงโทรแจ้งหน่วยบริการฉุกเฉินอีกครั้งหนึ่ง หากสถานภาพของผู้ประสบภัยเลวร้ายลง. หากคุณสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในอาการของผู้ประสบภัย หรือหากตรวจพบบาดแผลใหม่จงแจ้งให้หน่วยบริการฉุกเฉินทราบอีกครั้งหนึ่งเพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม การแจ้งความคืบหน้าล่าสุดต่อหน่วยบริการฉุกเฉินจะช่วยให้พวกเขาตอบสนองได้ดีมากขึ้น [14]
    • หากอาการเลวร้ายลง โอเปอเรเตอร์อาจจัดลำดับความเร่งด่วนให้กับสถานการณ์ของคุณก่อน
    • หากผู้ประสบภัยหยุดหายใจ โอเปอเรเตอร์อาจบอกกับคุณเรื่องปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ หรือ CPR จงอย่าตื่นตระหนกและปฏิบัติตามคำแนะนำใดๆ ที่ได้รับ
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

ทำ CPR อย่างปลอดภัยแม้ไม่ได้ผ่านการฝึก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ในสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น มีความสำคัญที่จะประเมินช่องทางหายใจ (Airways) การหายใจ (Breathing) และระบบไหลเวียนโลหิต (Circulatory system) ของผู้ประสบภัย ก่อนที่จะทำ CPR ซึ่งกระบวนการนี้ยังเป็นที่รู้จักในชื่อ ABC อีกด้วย คุณสามารถประเมินสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ด้วยการทำดังต่อไปนี้: [15]
    • ตรวจดูทางเดินหายใจของผู้ประสบภัย มองหาอุปสรรคใดๆ หรือสัญญาณต่างๆ ของความเสียหาย
    • เฝ้าดูเพื่อทราบว่าผู้ประสบภัยกำลังหายใจเองหรือไม่ สังเกตผู้ประสบภัยเพื่อดูว่าเขาหรือเธอกำลังหายใจเป็นปกติหรือไม่ เพื่อทำเช่นนี้จงนำหูของคุณไปอยู่ใกล้กับจมูกและปากของผู้ประสบภัยแล้วฟังเสียงลมหายใจ [16] อย่าทำ CPR หากผู้ประสบภัยกำลังหายใจหรือกำลังไอ
    • เริ่มทำ CPR หากผู้ประสบภัยไม่หายใจ ในกรณีที่ผู้บาดเจ็บไม่หายใจ คุณจะต้องเริ่มทำ CPR ในทันที [17]
  2. ประเมินผู้ประสบภัยเพื่อหาสัญญาณของการไร้ความสามารถ.แม้มืออาชีพทางการแพทย์จะเป็นผู้ประเมินผู้ประสบภัยเพื่อหาสัญญาณของการไร้ความสามารถ แต่คุณอาจพบว่าเป็นประโยชน์หากจะสามารถระบุระดับการตอบสนองของผู้ประสบภัย และส่งผ่านข้อมูลนี้ให้กับหน่วยงานบริการฉุกเฉิน การไร้ความสามารถมักถูกแบ่งเป็นหนึ่งในสี่ระดับดังนี้: [18]
    • A คือรู้สึกตัวดี.( Alert) หมายความว่าผู้ประสบภัยรู้สึกตัว พูดคุยได้ และตระหนักถึงสภาพแวดล้อมของเขาหรือเธอ
    • V คือตอบสนองต่อเสียงเรียก (Voice responsive) หมายความว่าผู้ประสบภัยสามารถตอบคำถามต่างๆ แต่เขาหรือเธออาจไม่รู้สึกตัวดีนัก หรือไม่ได้ตระหนักว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น
    • P คือตอบสนองต่อความเจ็บปวด ( Pain responsive) หมายความว่าผู้ประสบภัยสามารถแสดงการตอบสนองในบางรูปแบบต่อความเจ็บปวด
    • U คือไม่ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นใดๆ (Unresponsive) หมายความว่าผู้บาดเจ็บหมดสติและไม่ได้กำลังตอบสนองต่อคำถามหรือมีปฏิกิริยาต่อความเจ็บปวด หากผู้ประสบภัยหมดสติ คุณอาจเดินหน้าทำ CPR แต่อย่าใช้เทคนิค CPR กับผู้ที่ยังหายใจอยู่และหมดสติ [19]
  3. คุณกับผู้ประสบภัยจำเป็นต้องอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมเพื่อทำ CPR จงปฏิบัติตามขั้นตอนเหล่านี้เพื่อให้แน่ใจว่าคุณทั้งคู่อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องสำหรับการนวดหัวใจ (Compression): [20]
    • ให้คนๆ นั้นนอนหงายและแหงนศีรษะไปด้านหลัง
    • คุกเข่าลงข้างๆ บ่าของผู้ประสบภัย
    • วางสันมือข้างหนึ่งเหนือกลางอกของคนๆ นั้น ตรงระหว่างหัวนมทั้งคู่
    • วางมือของคุณอีกข้างหนึ่งเหนือมือข้างแรก คอยดูให้ข้อศอกทั้งคู่ตั้งตรงและให้ไหล่ทั้งคู่ของคุณอยู่เหนือทั้งสองมือโดยตรง
  4. หลังจากจัดวางตำแหน่งตัวเองให้เหมาะสม คุณอาจเริ่มนวดได้แล้วในตอนนี้ การนวดสามารถช่วยให้คนๆ นั้นยังมีชีวิตอยู่ และช่วยให้เลือดซึ่งมีออกซิเจนไหลไปเลี้ยงสมอง [21]
    • จงใช้น้ำหนักร่างกายท่อนบนของคุณ ไม่ใช่ใช้แค่แขนทั้งคู่ในขณะที่กดนวดลงมาตรงๆ บนแผ่นอก
    • กดลึกอย่างน้อย 2 นิ้ว (ประมาณ 5 เซ็นติเมตร)
    • นวดแรงๆ ในอัตรา 100 ครั้ง/นาที จงทำต่อไปจนกระทั่งผู้ประสบภัยกลับมากำลังหายใจอีกครั้งหนึ่ง หรือจนหน่วยบริการฉุกเฉินมาถึง
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

รักษาแผลไหม้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ขอความช่วยเหลือทางการแพทย์สำหรับผู้ประสบภัยจากไฟดูด. แม้แต่ผู้ที่มีแผลไหม้เพียงเล็กน้อยจากไฟดูดก็ต้องการการดูแลทางการแพทย์ อย่าพยายามรักษาผู้ประสบภัยเอง จงแจ้งหน่วยบริการฉุกเฉินหรือพาผู้ประสบภัยไปยังโรงพยาบาลซึ่งอยู่ใกล้ที่สุด
  2. แผลไหม้มีลักษณะที่แน่นอน จึงสามารถช่วยให้คุณระบุพวกมันได้ จงมองหาอาการบาดเจ็บใดๆ บนร่างกายของผู้ประสบภัยซึ่งมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดหรือมากกว่าดังต่อไปนี้: [22]
    • ผิวหนังเป็นสีแดง
    • ผิวหนังลอกออก
    • แผลพุพอง
    • มีอาการบวม
    • ผิวหนังเป็นสีขาวหรือไหม้เกรียม
  3. ตามปกตินั้น ไฟฟ้าจะเข้าสู่ร่างกายตรงที่หนึ่งและออกจากร่างกายตรงอีกที่หนึ่ง จงตรวจดูร่างกายของผู้ประสบภัยให้มากที่สุดที่จะทำได้ เมื่อสามารถระบุอาการบาดเจ็บต่างๆ ได้แล้ว จงทำให้บาดแผลเย็นลงโดยล้างด้วยน้ำเย็นนานสิบนาที [23]
    • จงทำให้แน่ใจว่าน้ำสะอาดเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย
    • อย่าใช้น้ำแข็ง น้ำไม่ว่าจะร้อนจัดหรือเย็นจัด ครีมหรือของเหลวที่เป็นน้ำมันใดๆ กับแผลไหม้ แผลไหม้ไวต่ออุณหภูมิสุดขั้ว และครีมอาจสร้างปัญหาเรื่องการสมานแผล
  4. จำเป็นที่จะต้องถอดเสื้อผ้าหรือเครื่องเพชรพลอยที่อยู่ใกล้แผลไหม้ออก เพื่อหลีกเลี่ยงการสร้างความเสียหายเพิ่มเติม เสื้อผ้าหรือเครื่องเพชรพลอยบางชิ้นอาจจะยังมีความร้อนจากไฟดูด และยังสามารถสร้างความเสียหายให้กับผู้ประสบภัยได้ [24] . [25]
    • อย่าพยายามดึงเอาเสื้อผ้าหรือชิ้นเนื้อเยื่อที่หลอมละลายซึ่งติดอยู่ในแผลออก
    • หากผู้ประสบภัยมีแผลไหม้ อย่าพยายามคลุมร่างกายด้วยผ้าห่มทั่วไป เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้
  5. การปิดแผลไฟไหม้จะช่วยปกป้องบริเวณดังกล่าวจากความเสียหายเพิ่มเติม และลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ จงพยายามใช้วัสดุต่างๆ ดังต่อไปนี้เพื่อปิดแผลไหม้ [26]
  6. เมื่อผู้ประสบภัยมีอาการเสถียรแล้ว คุณสมควรอยู่กับผู้ประสบภัยและพยายามช่วยปลอบใจเพื่อให้สงบลง หากคุณกำลังจัดการกับแผลไหม้ อย่าลืมคอยแจ้งอาการคืบหน้าให้หน่วยบริการฉุกเฉินทราบด้วย
    • พกโทรศัพท์ติดตัวในกรณีที่คุณจำเป็นต้องโทรถึงใครอย่างรีบด่วน เฝ้าดูอาการของผู้ประสบภัยอย่างดีที่สุดที่จะทำได้ และอย่าทิ้งไว้ตามลำพัง
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ยังคงสงบหากทำได้
  • แจ้งรายละเอียดแก่หน่วยบริการฉุกเฉินมากสุดที่คุณจะสามารถทำได้
  • อยู่กับผู้ประสบภัยและเฝ้าดูสถานภาพของเขาหรือเธอ
  • แจ้งให้หน่วยบริการฉุกเฉินทราบเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เรื่องสถานภาพของผู้ประสบภัย
  • อย่าทำงานกับไฟฟ้าตามลำพัง เพื่อนร่วมงานอีกคนหนึ่งอาจช่วยชีวิตของคุณได้ในกรณีเกิดอุบัติเหตุ
โฆษณา

คำเตือน

  • ให้แน่ใจเสมอว่ามีการตัดกระแสไฟฟ้าแล้วก่อนที่คุณจะเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย
  • อย่าใช้น้ำแข็ง เนย ยาขี้ผึ้ง เวชภัณฑ์ ชุดทำแผลที่เป็นสำลีซึ่งนุ่มและเบา หรือพลาสเตอร์ยา กับแผลไหม้ [28]
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 34,294 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา