ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าคนรู้จักหรือใกล้ชิดของคุณเป็นโรควิตกกังวล (anxiety disorder) คุณก็คงพอเคยเห็นหรือพอรู้มาบ้าง ว่านี่เป็นโรคที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่ออารมณ์ของคนคนนั้น จนทำเอาเขารู้สึกเหนื่อยล้าไร้ทางสู้ [1] คุณมาถูกที่แล้ว เพราะบอกเลยว่ามีหลายวิธีด้วยกันที่คุณช่วยเหลือดูแลคนเป็นโรควิตกกังวลให้ดีขึ้นได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

รู้จักและเข้าใจโรควิตกกังวล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณต้องศึกษาให้เข้าใจซะก่อน [2] จะได้เข้าถึงและมองโลกจากมุมมองของคนที่เขามีอาการ จะได้รู้ว่าเมื่อไหร่ที่ควรแทรกแซงเข้าช่วย อาจจะลองเลียบๆ เคียงๆ ถึงอดีตอันยากลำบากของเขา อาการเจ็บป่วยที่เขาต่อสู้อยู่ หรือแค่ชวนคุยให้เขาสบายใจขึ้นก็ได้
    • ถึงตอนนี้สาเหตุของโรควิตกกังวลจะยังคงไม่แน่ชัด แต่บางปัจจัยอย่างความเจ็บปวดหรือเรื่องกระทบกระเทือนในชีวิตที่ผ่านมา รวมถึงกรรมพันธุ์ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงของโรควิตกกังวลได้ [3]
    • แต่บางคนก็เป็นโรควิตกกังวลเพราะความเจ็บป่วยบางอย่าง เช่น โรคลำไส้แปรปรวน (irritable bowel syndrome) โรคหัวใจ โรคหอบหืด (asthma) กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (premenstrual syndrome) หรือโรคไทรอยด์ [4]
  2. โรควิตกกังวลมีด้วยกันหลายประเภท ซึ่งสิ่งกระตุ้นให้อาการกำเริบก็จะแตกต่างกันออกไป คุณต้องสันนิษฐานหรือหาให้เจอก่อน ว่าคนที่คุณพยายามจะช่วยเขาจัดอยู่ในประเภทไหน จะได้รับมืออย่างเหมาะสม [5]
    • Agoraphobia: คือโรคกลัวที่ชุมชน หรืออาการกลัวที่โล่ง เป็นโรควิตกกังวลชนิดที่กลัวสิ่งแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคย กดดัน หรือรู้สึกว่าตัวเองไร้การควบคุม [6]
    • โรควิตกกังวลที่เป็นผลมาจากโรคหรืออาการอื่นๆ เช่น โรคลำไส้แปรปรวน โรคหัวใจ หรือโรคไทรอยด์ กรณีนี้ถ้าคุณรักษาบรรเทาโรคต้นเหตุก่อน ก็จะช่วยเขาคลายความวิตกกังวลลงได้เยอะเลย (เช่น เตือนให้เขากินยาครบถ้วนตามหมอสั่ง)
    • Generalized anxiety disorder (GAD) หรือโรคกังวลทั่วไป เป็นประเภทที่วิตกกังวลเกินพอดี เกี่ยวกับแต่ละเรื่องที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
    • โรควิตกกังวลจากการใช้หรือเลิกสารเสพติด ข้อนี้แนะนำให้พาคนที่เป็นไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อเลิกยาหรือบรรเทาอาการอยากยาจะดีกว่า
    • โรคแพนิค (Panic disorder): จะมีอาการวิตกกังวลและ/หรือหวาดกลัวรุนแรงมาก ซึ่งจะคงอยู่ประมาณหลายนาที อาการที่พบก็เช่น หายใจติดขัด ใจสั่น (palpitations) และรู้สึกเหมือนตัวเองกำลังตกอยู่ในอันตรายหรือไร้ทางออก [7]
    • โรคกลัวการเข้าสังคม (Social anxiety disorder): หวาดกลัวการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นเกินปกติ คนที่เป็นอาจกังวลเรื่องความคิดและการกระทำของตัวเองมากเกินไป รวมถึงรู้สึกอาย ละอายง่าย และกลัวจะทำเปิ่นหรือขายหน้าต่อหน้าคนจำนวนมาก [8]
  3. ต้องรู้ก่อนว่าโรควิตกกังวลกำเริบแล้วรู้สึกยังไง. สรุปง่ายๆ คือไม่ใช่เรื่องน่าสนุกหรือขำขันเลย ก่อนจะคิดช่วยใครก็ต้องเข้าใจก่อนว่าคนที่เขาเป็นโรควิตกกังวลเขาต้องทนอยู่กับความรู้สึกแบบไหน คุณจะได้ปลอบใจได้ตรงจุด อาการของคนเป็นโรควิตกกังวลก็คือ [9]
    • กระวนกระวาย
    • รู้สึกไร้ทางสู้ ควบคุมสถานการณ์ไม่ได้
    • รู้สึกตกอยู่ในอันตราย
    • รู้สึกอ่อนแอ
    • เหนื่อยล้า
    • จดจ่อกับอะไรไม่ค่อยได้
  4. ต่างคนก็ต่างปัญหา วิธีการช่วยเหลือก็ต้องแตกต่างกันออกไป บางทีวิธีที่ดีที่สุดก็คือถามเขาเลย (ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม) ว่าอยากให้คุณช่วยยังไง คุณทำตัวเป็นผู้ฟังที่ดีได้ โดย [10]
    • รับฟังอย่างเป็นกลาง เช่น รับคำว่า "เราเข้าใจ" หรือ "อืม"
    • ปรับสีหน้าท่าทางของคุณตามอารมณ์ของการสนทนา เช่น ถ้าเพื่อนไม่สบายใจหรือไม่พอใจมาก เวลาคุณบอกว่า "เราเข้าใจ" ก็ต้องฟังดูเห็นใจหรือให้กำลังใจ ไม่ใช่รับคำไปงั้นๆ หรือตื่นเต้นตื่นตัวแบบเฟคๆ (ซึ่งเป็นอะไรที่ตรงกันข้ามกับอารมณ์หดหู่ของเพื่อนมาก)
    • ถามคำถามแบบปลายเปิดเข้าไว้ ถ้าคุณอยากรู้ละเอียดขึ้นว่าคุณจะช่วยเขาได้ยังไง แทนที่จะโพล่งออกไปว่า "นี่เครียดอยู่ใช่ไหม?" ให้เปลี่ยนเป็นคำถามปลายเปิดอย่าง "เวลาเจอแบบนี้เรานี่เซ็งเลย แล้วเธอล่ะ เรื่องอะไรที่ทำให้นอยด์หรือเครียดสุดๆ?"
    • จดจ่อให้มาก ลืมทุกความกังวลของคุณเองไปก่อน แล้วสังเกตและจดจำแต่ความคิดและความรู้สึกของเพื่อนในเวลานั้น
  5. การเห็นใจหรือเข้าอกเข้าใจคนอื่นก็คือการจับสังเกตอารมณ์ของเขา และคิดต่อยอดว่าทำไมถึงเป็นแบบนั้น เขาคิดหรือรู้สึกยังไงอยู่กันแน่ [11] คุณเข้าใจความรู้สึกคนเป็นโรควิตกกังวลได้แค่ลอง [12]
    • จดจ่อสนใจเขาให้มาก
    • คิดถึงเรื่องที่คนทั่วไปก็เคยประสบพบเจอหรือมักคิดเห็นตรงกัน เพราะเราต่างก็เคยเจ็บ กลัว และเครียดเรื่องคล้ายๆ กันมาก่อน พอมาปรับจูนเข้ากับเรื่องของเขาจะได้ทำความเข้าใจและมองจากมุมมองของเขาง่ายขึ้น
    • งดแสดงความคิดเห็นหรือตัดสินเขาในมุมมองของคุณ
    • แบ่งปันประสบการณ์คล้ายๆ กันของคุณได้ แต่อย่าเยอะจนแย่งซีนเรื่องของเขา เพราะคุณแค่อยากให้เขารู้ ว่าคุณเองก็เคยเจอเรื่องแนวนี้เพราะฉะนั้นคุณเข้าใจความรู้สึกของเขา
  6. ต้องรู้จักจับสังเกตสีหน้าท่าทางเวลาเขาอาการวิตกกังวลกำเริบ คุณจะได้รู้และช่วยเหลือหรือปลอบโยนทัน อาการที่ว่าก็เช่น [13]
    • กระวนกระวาย อยู่ไม่สุข
    • หายใจหอบถี่
    • เหงื่อแตก
    • ตัวสั่น
  7. จำไว้ว่าคุณช่วยเขาได้ แต่ถ้าทำแล้วคุณเดือดร้อนซะเอง แถมเพื่อนหรือคนรู้ใจยังวิตกกังวลไม่หายหรืออาการหนักกว่าเดิม ก็ถึงเวลาต้องตัดใจ
    • หรือก็คืออย่าพยายามดันทุรังปรับเปลี่ยนเขา และก็อย่าปล่อยให้การช่วยเขามาเปลี่ยนคุณ เพราะทำแบบนั้นไปบางทีก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรขึ้นมา [14]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ดูแลช่วยเหลือคนเป็นโรควิตกกังวล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เช่น ชมเลยถ้าปกติเพื่อนหรือคนรู้ใจของคุณกลัวการเข้าสังคมแต่อยู่ๆ ก็ลุกไปปาร์ตี้แถมเข้ากันได้ดีกับคนอื่น บอกเขาให้ชื่นใจว่าเขาคนใหม่นี่ฮิตติดลมบน ลงรายละเอียดด้วยก็ดี ว่าชอบที่เขาทำอะไร และใครชมอะไรเขาบ้าง [15]
    • แบบนี้เพื่อนหรือแฟนคุณจะได้รู้ว่าการเข้าสังคมก็ไม่ใช่เรื่องเลวร้ายอะไร และเอาเข้าจริงเขาก็เป็นดาวเด่นในวงสนทนาได้เหมือนกัน
  2. เพราะยิ่งไปตำหนิคนที่เขาวิตกกังวลจนทำพลาด จะทำให้เขายิ่งเครียดยิ่งพลาดกว่าเดิม ซึ่งจะไม่ได้ประโยชน์อะไรขึ้นมาเลย [16]
    • ถ้าคุณหัวเสียแถมคันปากอยากวิจารณ์ ให้ปลีกตัวออกจากตรงนั้นไปก่อน แล้วค่อยกลับมาใหม่เมื่อใจเย็นลงแล้ว
    • แทนที่จะจดจ่ออยู่กับพฤติกรรมแย่ๆ ของเขา ณ เวลานั้น ให้มองไปข้างหน้าดีกว่า ว่าถ้าเขาเปลี่ยนพฤติกรรมได้ อะไรดีๆ จะเกิดขึ้นบ้าง เช่น แทนที่จะเซ็งว่าเพื่อนเก็บตัวไม่ยอมออกไปเจอใคร ให้ลองพูดว่า "ลองคิดดูสิ ว่าถ้าเธอออกไปงานคืนนี้ อาจจะได้เส้นสายดีๆ แบบไม่รู้ตัวเลยนะ สมัยก่อนเราก็เจอเพื่อนที่เดี๋ยวนี้สนิทๆ จากงานแบบนี้นี่แหละ"
  3. อีกวิธีที่คุณช่วยเขาได้ คือแนะนำให้เขาไปหาหมอเพื่อทำการรักษา [17] อธิบายให้เขาสบายใจ ว่าจิตบำบัด การใช้ยา หรือทั้ง 2 อย่างผสมกัน จะทำให้เขาอาการดีขึ้นแน่นอน [18]
    • บางทีวิธีการรักษาที่คุณแนะนำก็ต้องแล้วแต่ชนิดอาการของเขาและโรคอื่นที่อาจเป็นสาเหตุ เช่น เขาอาจต้องเลิกสารเสพติดก่อน เป็นต้น ส่วนถ้าเขาเป็นโรคกลัวการเข้าสังคม ก็ต้องรักษากับจิตแพทย์หรือนักจิตบำบัดเป็นต้น
  4. โรควิตกกังวลบางประเภทอาจมีอาการ panic attacks ร่วมด้วย ซึ่งจะทำให้หายใจลำบากหรือใจสั่น จนทำให้เขาอาจเหมาว่าตัวเองกำลังจะหัวใจวายหรือหมดสติ อาการ panic attacks ถือเป็นอาการที่น่ากลัวมากสำหรับคนเป็นโรควิตกกังวล รวมถึงคุณเองด้วยถ้าไม่รู้จักเตรียมรับมือไว้แต่เนิ่นๆ [19]
    • ระหว่างอาการ panic attack กำเริบ เขามักจะไม่มีแรงขยับเขยื้อน ตอบสนอง หรือคิดอ่านได้ตามปกติ แทนที่จะโมโหหรือกลัว ให้คุณรีบปลอบใจเขาให้สงบลง และย้ำกับเขาว่าเดี๋ยวก็จะหายแล้ว
    • ถ้าคุณสงสัยว่าอาการของเขาอาจไม่ใช่ panic attack ให้รีบติดต่อขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ หรือนำตัวเขาส่งโรงพยาบาลทันที
  5. หาโอกาสใช้เวลาด้วยกันแค่ 2 คนแบบเงียบๆ สบายๆ บ้างก็ดี จะเป็นที่บ้านตอนค่ำๆ ก็ได้ ถ้าออกไปข้างนอกเจอคนเยอะๆ แล้วกลัวเขาเครียด [20]
    • อธิบายกันให้ชัดเจนไปเลย ว่าคุณยินดีใช้เวลาร่วมกับเขา ถ้านั่นจะทำให้เขา (และคุณ) รู้สึกผ่อนคลายสบายใจ บางทีวิธีช่วยเหลือดูแลคนเป็นโรควิตกกังวลได้ดีที่สุด ก็คือเข้าอกเข้าใจเขาและรู้จักยืดหยุ่นปรับตัวไปด้วยกันนี่แหละ
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,641 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา