ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าท้องไส้ปั่นป่วน ก็ต้องดีท็อกซ์ลำไส้ซะหน่อย ร่างกายจะได้ดูดซึมสารอาหารและขับถ่ายได้ดีขึ้น คุณอาจจะรู้จักหรือเคยได้ยินวิธีดีท็อกซ์ลำไส้มาบ้าง แต่ถ้าให้เราแนะนำสุดยอดวิธีดีท็อกซ์ลำไส้ ก็ต้องเริ่มจาก "ปรับเปลี่ยนอาหารการกิน" แต่ถ้ายังอึไม่ง่ายถ่ายไม่คล่อง ก็ต้องลอง "ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต" สุดท้ายคือ "พบแพทย์" เพื่อรักษาจริงจังต่อไป

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ปรับเปลี่ยนอาหารการกิน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. กินอาหารที่มี ไฟเบอร์เพิ่มขึ้น . ไฟเบอร์หรือกากใยจะทำให้อึนุ่มเป็นก้อน และช่วยเรื่องการหดตัวของกล้ามเนื้อทางเดินอาหาร (peristalsis พูดง่ายๆ คือการบีบตัวเบาๆ เป็นจังหวะของลำไส้) ทำให้ขับถ่ายสะดวก [1] ยิ่งไฟเบอร์ในร่างกายมาก ลำไส้ก็ยิ่งกำจัดของเสียได้เร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ร่างกายควรได้รับไฟเบอร์ประมาณ 20 - 35 กรัม (0.7 - 1 ออนซ์) ต่อวัน เพราะงั้นคุณต้องกินผักผลไม้ 5 หน่วยบริโภค (serving) ต่อวัน รวมถึงเน้นโฮลเกรนหรือธัญพืชเต็มเมล็ดเยอะๆ [2]
    • กินโฮลเกรน 100% ได้ยิ่งดี เช่น ข้าวกล้อง คีนัว ข้าวโอ๊ต ข้าวฟ่าง และข้าวโพด
    • เมล็ดแฟลกซ์ รำข้าวสาลี และข้าวโอ๊ตนี่แหละสุดยอดแหล่งไฟเบอร์ คุณปรุงอาหารจากเมล็ดแฟลกซ์ได้เองง่ายๆ เช่น ใช้ทำสมูธตี้ หรือเสริมในอาหารชนิดอื่นๆ
    • ผลไม้ เช่น สตรอว์เบอร์รี่ แอปเปิ้ล และบลูเบอร์รี่ ก็อุดมไฟเบอร์เช่นกัน รวมถึงถั่วต่างๆ (ทั้งถั่วฝักและถั่วเปลือกแข็ง) และเมล็ดพืช
  2. นอกจากจะมีไฟเบอร์แล้ว ผักใบเขียวยังมีสารอาหารชนิดอื่นๆ ที่เอื้อต่อการซ่อมแซมลำไส้ พยายามกินผักใบเขียวให้ได้อย่างน้อย 1 อย่างในแต่ละมื้อหลักหรือมื้อรอง [3]
    • ผักใบเขียวที่แนะนำคือหญ้าอัลฟัลฟ่า ต้นอ่อนข้าวสาลี กะหล่ำดาว คะน้าฝรั่ง เคล ปวยเล้ง ถั่วเมล็ดกลม และหญ้าข้าวบาร์เลย์
    • กินผักเป็นของว่างก็ได้ โดยจิ้มกับดิปปิ้งซอสต่างๆ เช่น ฮัมมัส/ฮัมมุส (hummus) ซอสซาซีคี (tzatziki) หรือดิปปิ้งมะเขือม่วงบด (baba ganoush)
  3. น้ำจำเป็นมากต่อการทำงาน รวมถึงการกำจัดแบคทีเรียและของเสียของลำไส้ ถ้าเป็นผู้ใหญ่เพศชาย ต้องดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อย 13 แก้วต่อวัน ส่วนถ้าเป็นผู้ใหญ่เพศหญิง ให้ดื่ม 9 แก้วต่อวัน ถ้าเป็นคนกิจกรรมเยอะ เคลื่อนไหวตลอดเวลา หรืออยู่ในสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง ก็ต้องดื่มมากกว่านั้น [4]
    • พกขวดน้ำติดตัวเป็นนิสัย ไปไหนมาไหนตลอดวันจะได้ไม่ขาดน้ำ รวมถึงตั้งเตือนในมือถือ ไม่ให้ลืมดื่มน้ำอย่างน้อย 9 แก้วต่อวัน
    • ถ้าไม่ชอบรสของน้ำเปล่า ก็ลองเพิ่มเลมอน มะนาว หรือแตงกวาฝานลงไป หรือใช้สมุนไพรอย่างมินต์ (สะระแหน่) ก็สดชื่นดี
  4. พยายามหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น เบียร์ ไวน์ และ hard liquor (พวกบรั่นดี วิสกี้ วอดก้า) เพราะจะทำให้ร่างกายขาดน้ำและท้องผูกได้ พอท้องผูก ลำไส้ก็มีอึก้อนใหญ่ๆ แข็งๆ อุดตัน ขับถ่ายไม่สะดวก นอกจากนี้แอลกอฮอล์ยังไปยับยั้งการหดตัวของกล้ามเนื้อทางเดินอาหาร ทำให้ไม่รู้สึกอยากถ่ายท้อง สุดท้ายเลยท้องผูกนั่นเอง [5] [6]
  5. นมกับผลิตภัณฑ์นมอื่นๆ อาจทำให้ท้องผูกหนักกว่าเดิม โดยเฉพาะถ้าบริโภคในปริมาณมาก [7] ถ้าคุณยังท้องผูกทั้งที่ดื่มน้ำเยอะและเคลื่อนไหวร่างกายอยู่ตลอด ให้ลองจำกัดปริมาณผลิตภัณฑ์นมที่บริโภคในแต่ละวัน หรืองดไปเลยชั่วคราว
  6. คาเฟอีนช่วยกระตุ้นลำไส้ ให้อึง่ายถ่ายคล่อง [8] เครื่องดื่มร้อนก็ช่วยกระตุ้นการขับถ่ายได้ ให้ลองดื่มกาแฟร้อนสักแก้ว หรือชาดำ/ชาเขียว ก็ได้ผลเหมือนกัน
  7. เพราะมีโปรไบโอติกส์ หรือแบคทีเรียดีในลำไส้ ของหมักดองจะช่วยเพิ่มแบคทีเรียดี ทำให้ลำไส้ทำงานดีมีประสิทธิภาพ อาหารหมักดองที่แนะนำก็เช่น โยเกิร์ต เต้าเจี้ยว (มิโสะ) กิมจิ และกะหล่ำปลีดอง (เซาเออร์เคราท์) ส่วนเครื่องดื่มก็เช่น คีเฟอร์ (Kefir) น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ล (apple cider vinegar) และชาคอมบูฉะ/คมบูฉะ (kombucha tea) [9]
    • หรือกินอาหารเสริมโปรไบโอติกส์ แต่ต้องเลือกยี่ห้อที่ดีๆ คนนิยม ซื้อตามร้านขายยาหรือในเน็ตที่รีวิวดีๆ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การเคลื่อนไหวร่างกายช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหาร ทำให้การขับถ่ายดีตามไปด้วย [10] ถ้าใช้ชีวิตประจำวันให้สุขภาพแข็งแรง จะช่วยเรื่องการทำงานและสุขภาพโดยรวมของลำไส้ เพราะงั้นต้องหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น ออกทุกวัน หรืออย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 วัน ลองเดินออกกำลังกายวันละ 30 นาที หรือไปฟิตเนสอาทิตย์ละ 3 วันก็ได้ ร่างกายจะได้เผาผลาญแคลอรี่ สุขภาพแข็งแรง
    • หรือออกกำลังกายเองที่บ้าน โดยใช้ resistance band หรือยางยืดออกกำลังกาย จะได้ยืดเหยียดและเสริมสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ อีกทีคือเข้าคลาสฟิตเนส เช่น โยคะ หรือแอโรบิก จะได้กระตุ้นตัวเองให้ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  2. ปกติถ้ากินอาหารไฟเบอร์สูง ดื่มน้ำเยอะๆ และออกกำลังกายบ่อยๆ ลำไส้ก็ทำงานตามปกติแล้ว แต่ถ้ายังท้องไส้ปั่นป่วน อึไม่ออกหรือท้องเสีย คงถึงเวลาต้องปรึกษาคุณหมอ อย่าซื้อยาระบายกินเอง เพราะอาการที่เป็นอยู่อาจมาจากโรคอื่น ถ้าคุณหมอแนะนำให้ใช้ยาระบาย ก็ต้องสอบถามให้ละเอียดทั้งเรื่องตัวยาและปริมาณ เวลาใช้ต้องอ่านฉลากและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ห้ามกินยาระบายเกินขนาดเด็ดขาด ที่สำคัญคืออย่ากินติดต่อกันนานๆ เพราะอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงตามมา [11]
    • ถ้าเป็นลำไส้แปรปรวน (irritable bowel syndrome) ขับถ่ายผิดปกติ (ท้องเสีย) หรือมีปัญหาด้านการย่อยอาหาร ให้ลองกินยาระบายแบบเพิ่มมวลอุจจาระ (bulk-forming laxatives) เช่น Metamucil, Citrucel หรือ Psyllium แล้วดื่มน้ำตามเยอะๆ ยาแบบนี้มีผลข้างเคียงคืออาจทำให้ท้องอืด เกิดแก๊สในกระเพาะ ปวดเกร็งหน้าท้อง และท้องผูกได้
    • ถ้ามีปัญหาเรื่องท้องผูก ให้ใช้ยาทำให้อุจจาระอ่อนนุ่ม (stool softeners) ยาชนิดนี้จะปลอดภัยกว่า ไม่ค่อยทำให้ท้องอืดเหมือนยาระบายแบบเพิ่มมวลอุจจาระ
    • อย่าลดความอ้วนด้วยการกินยาระบาย เพราะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และอาจก่อให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา [12]
  3. ศึกษาให้ดีก่อนตัดสินใจใช้ผลิตภัณฑ์ดีท็อกซ์. ถ้าสนใจดีท็อกซ์ลำไส้โดยใช้ผลิตภัณฑ์ประจำวัน ก็ต้องศึกษาให้ดีก่อนใช้ เพราะยังไม่มีหลักฐานหรืองานวิจัยรองรับว่าช่วยให้สุขภาพดีขึ้นจริง [13] เดี๋ยวนี้มีหลายผลิตภัณฑ์ที่ติดป้ายว่าช่วยดีท็อกซ์ แต่ขอให้เลือกใช้เฉพาะที่มีอย. รับรองเท่านั้น คุณสามารถนำเลขไปตรวจสอบความถูกต้องของผลิตภัณฑ์ในเว็บของกระทรวงสาธารณสุขได้ด้วย ถ้าไม่มีอย. ถึงจะอ้างสรรพคุณวิเศษแค่ไหน หรือเน้นว่าเป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ก็ไม่ได้รับประกันว่าจะปลอดภัยใช้งานได้จริง [14]
    • ควรปรึกษาคุณหมอก่อนเริ่มใช้ผลิตภัณฑ์ดีท็อกซ์ลำไส้
    • สำรวจส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ที่จะใช้ให้ดี โดยเฉพาะถ้าทำจากสมุนไพรต่างๆ ควรระบุไว้โดยละเอียด ถ้ากลัวจะแพ้ส่วนผสมไหน หรือน่ากลัวกว่านั้นคือผลิตภัณฑ์ไม่ระบุส่วนผสมเลย ก็อย่าใช้ดีกว่า [15]
    • เวลาใช้ผลิตภัณฑ์ดีท็อกซ์ลำไส้ ต้องดื่มน้ำเยอะๆ จะได้ไม่ขาดน้ำ แถมช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ผลิตภัณฑ์
    • ห้ามดีท็อกซ์ลำไส้เพราะอยากลดความอ้วน ถือเป็นวิธีที่อันตราย อาจก่อปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมา เขาวิจัยกันมาแล้วว่าไม่มีผลต่อการลดน้ำหนัก [16]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

พบแพทย์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. colonic irrigation หรือ colonic hydrotherapy คือการสวนล้างลำไส้ ขับของเสียออกจากร่างกายโดยใช้น้ำ คุณหมออาจจะช่วยทำให้ได้ หรือแนะนำผู้เชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะและมีใบอนุญาตที่ออกโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ ก่อนตกลงใจ ให้ปรึกษาคุณหมอก่อน เพราะต้องพิจารณาประวัติการรักษาของคุณ ว่าเหมาะสมและปลอดภัยไหม [17]
    • ระหว่างขั้นตอนการสวนล้างลำไส้ จะมีการสอดท่อเข้าไปในทวารหนักและสวนล้างเป็นระยะเวลาหนึ่งด้วยน้ำอุ่นประมาณ 5 แกลลอน (ประมาณ 19 ลิตร) พอน้ำเข้าสู่ลำไส้แล้ว คุณหมอหรือนักบำบัดจะนวดบริเวณหน้าท้องเพื่อกระตุ้นให้น้ำไหลเวียนไปทั่วลำไส้ และขับของเสียออกมาในที่สุด ส่วนใหญ่ขั้นตอนทั้งหมดจะใช้เวลาประมาณ 30 - 45 นาที
    • การสวนล้างลำไส้ไม่เหมาะกับคนที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ (diverticulitis), ริดสีดวงทวารอักเสบรุนแรง, โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง (ulcerative colitis), โรคโครห์น (Crohn’s disease), เนื้องอกที่ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก, เพิ่งผ่าตัดลำไส้มา, เป็นโรคหัวใจ หรือโรคไต [18]
  2. บางทีคุณหมอก็แนะนำให้สวนอุจจาระ (enema) ถ้าท้องผูก ลำไส้อุดตัน หรือมีโรคลำไส้ต่างๆ แต่โดยมากจะเป็นกรณีท้องผูกหรือไม่ค่อยถ่ายท้อง [19]
    • คุณหมอจะแนะนำให้เองว่าควรสวนอุจจาระแบบไหน โดยพิจารณาเป็นเคสๆ ไป แต่ย้ำว่าคุณหมอต้องเป็นคนทำให้เท่านั้น และในสถานที่ปลอดเชื้อ อุปกรณ์สะอาดครบครัน
  3. ถ้าคุณท้องผูกเรื้อรังนานเกิน 6 เดือน ให้ปรึกษาคุณหมอเรื่องใช้ยารักษา กระตุ้นการทำงานของลำไส้ เหมาะสำหรับคนที่ปรับเปลี่ยนอาหารการกินและวิถีชีวิต รวมถึงรักษาลำไส้ด้วยวิธีอื่นๆ แต่ยังไม่ได้ผล รวมถึงคนที่มีปัญหาขับถ่ายเรื้อรังจนกลายเป็นโรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome (IBS)) [20]
    • เตรียมรับผลข้างเคียงของยา แต่ถ้ารุนแรงเกินทน ให้รีบหาหมอทันที ผลข้างเคียงของยารักษาลำไส้ก็เช่น คลื่นไส้ช่วงสั้นๆ วิงเวียน และปวดเกร็งหน้าท้อง
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 1,764 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา