ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

processor หรือ "CPU" เปรียบเสมือนระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system) ของคอมพิวเตอร์เลยทีเดียว CPU ก็เหมือนชิ้นส่วนต่างๆ ของคอม คือแป๊บเดียวก็ตกรุ่น ใช้งานไม่ได้หรือไม่ดีเท่าที่ควร ส่วนรุ่นใหม่ๆ แรงๆ ก็ออกมาตลอด การอัพเกรด CPU ถือเป็นหนึ่งในการอัพเกรดคอมที่ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง แต่ก็เห็นความต่างชัดเจนเช่นกัน ก่อนจะลงมือตามขั้นตอน ต้องรู้ซะก่อนว่า CPU ที่ใช้ได้กับคอมของคุณคือประเภทไหน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เช็ครุ่นที่เมนบอร์ดรองรับ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปัจจัยสำคัญที่บอกได้ว่า CPU นั้นจะติดตั้งได้ไหม ก็คือประเภท socket ของเมนบอร์ด ปกติ AMD กับ Intel จะใช้ socket ที่ต่างกัน แถมยังแตกแยกย่อยไปหลายแบบตามรุ่น CPU ในคู่มือเมนบอร์ดจะมีข้อมูลสำคัญของ socket บอกไว้
    • คุณติดตั้ง CPU ของ Intel ในเมนบอร์ด AMD (หรือกลับกัน) ไม่ได้
    • บางที CPU ยี่ห้อเดียวกัน ก็ไม่ได้ใช้ socket แบบเดียวกัน
    • คุณอัพเกรด CPU ของแล็ปท็อป
  2. CPU-Z เป็น freeware utility ใช้เช็คได้เลยว่าคุณติดตั้ง hardware ไหนไว้บ้าง ถือเป็นโปรแกรมที่ใช้เช็คประเภท socket ของเมนบอร์ดได้รวดเร็วทันใจที่สุด
    • ดาวน์โหลดและติดตั้ง CPU-Z จาก www.cpuid.com
    • เปิด CPU-Z
    • คลิก tab "CPU" แล้วสังเกตว่าในช่อง "Package" เขียนว่ายังไง
  3. เปิดเคสคอมแล้วหาเลขรุ่นเมนบอร์ด จะได้เอาไปค้นต่อในเน็ต
  4. ถ้ายังบอกไม่ได้ว่าใช้ socket ประเภทไหน ให้ถอด CPU เก่าจากเมนบอร์ด แล้วยกไปให้ช่างที่ร้านคอมเขาดู จะบอกได้เลยว่าใช้ socket ประเภทไหน แถมแนะนำได้ด้วยว่าควรซื้อ CPU ใหม่แบบไหน
  5. ถ้าจะอัพเกรด CPU ใหม่ในคอมเก่า เป็นไปได้ว่า socket อาจจะไม่ตรงกัน เพราะเวลาผ่านไป CPU ใหม่ๆ ที่ออกมาก็มักใช้กับเมนบอร์ดเก่าได้ยากหรือไม่ได้เลย ถ้าซื้อใหม่ทั้ง CPU และเมนบอร์ด จะทำให้ขั้นตอนต่างๆ ง่ายขึ้นอีกเยอะ
    • หมายเหตุ: ถ้าจะอัพเกรดเมนบอร์ด อาจจะต้อง อัพเกรด RAM ก่อน เพราะ RAM เก่ามักใช้กับเมนบอร์ดใหม่ไม่ได้
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ถอด CPU เก่า

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จะถอด CPU ได้ ก็ต้องเปิดเคสซะก่อน ให้ปิดคอมแล้วถอดปลั๊กทั้งหมด จากนั้นตะแคงเคสนอนลง ให้พอร์ทต่างๆ ด้านหลังอยู่ใกล้โต๊ะที่สุด ถอดฝาเคสด้านข้างด้วยไขควงปากแฉก (Phillips) หรือตะปูควง
    • ถ้าอยากรู้ขั้นตอนการแยกส่วนเคสคอมโดยละเอียด ให้หาอ่านเพิ่มเติมในเน็ตดู
  2. ต้อง ground ตัวเองป้องกันไฟฟ้าสถิตก่อนแตะต้องชิ้นส่วนใดๆ ในเคส อาจจะใส่สายรัดข้อมือป้องกันไฟฟ้าสถิต แล้วหนีบปลายสายกับเคสส่วนที่เป็นโลหะก็ได้ หรือเอามือไปแตะหัวก๊อกโลหะซะก่อน
  3. ปกติ CPU จะมี CPU cooler ติดตั้งไว้ที่ด้านบน คือเป็น heatsink โลหะ มีพัดลมในตัว คุณต้องถอด CPU cooler ก่อน ถึงจะถอด CPU ได้
  4. ในเคสคอมบางทีก็แออัด อาจจะมีสายไฟหรือชิ้นส่วนต่างๆ กีดขวางหรือบัง CPU cooler ไว้ ต้องถอดทุกอย่างออกเพื่อให้เข้าถึงได้ แต่อย่าลืมถ่ายรูปหรือจดไว้ว่าอะไรอยู่ตรงไหน จะได้เสียบคืนถูก
  5. ถอดปลั๊ก cooler จากเมนบอร์ด แล้วแยกออกมา stock cooler ส่วนใหญ่จะมี 4 ขา จะถอดด้วยมือหรือไขควงปากแบนก็ได้ CPU cooler บางรุ่นก็มีกรอบที่ด้านหลังเมนบอร์ดด้วย ต้องถอดออกซะก่อน
    • พอถอด cooler จากเมนบอร์ดแล้ว จะยังติดกับ CPU อยู่ เพราะมี thermal paste ให้ค่อยๆ บิด heat sink ไปมา จนหลุดจาก CPU
    • ถ้าจะใช้ CPU cooler เดิมกับ CPU ใหม่ อย่าลืมเช็ด thermal paste ส่วนเกินที่ฐาน cooler ด้วยแอลกอฮอล์ก่อน
  6. ฝาจะเด้งเปิดออกมา ให้ถอด CPU ได้สะดวก
  7. จับข้าง CPU ให้มั่น แล้วยกขึ้นมาตรงๆ เพราะ pin บอบบางมาก อาจจะต้องเอียง CPU นิดหน่อยตอนเอาออกจากฝา socket แต่ต้องให้ pin พ้นมาก่อน
    • ถ้าอยากเก็บ CPU เก่าไว้ ก็ต้องเก็บในซองป้องกันไฟฟ้าสถิต ถ้าจะเก็บ AMD CPU ให้พยายามกด CPU กับโฟมป้องกันไฟฟ้าสถิต และระวังอย่าให้ pin หักหรือบิดงอ
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ติดตั้ง CPU ใหม่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าอัพเกรดเมนบอร์ดเพราะจะใช้ CPU ใหม่ ก็ต้องทำขั้นตอนนี้ก่อน ให้ถอดชิ้นส่วนและสายต่างๆ ออกจากเมนบอร์ดเก่าให้หมด จากนั้นเอาเมนบอร์ดออกจากเคส แล้วค่อยติดตั้งเมนบอร์ดใหม่ในเคส ทางที่ดีให้ใช้หมุดรองเมนบอร์ดหรือ standoffs ใหม่ที่ติดมาด้วยเลย
  2. ต้อง ground ตัวเองให้ปลอดภัยก่อน แล้วค่อยเอา CPU ใหม่ออกจากซองป้องกันไฟฟ้าสถิต เป็นขั้นตอนที่ต้องระวังมาก เพราะไฟฟ้าสถิตแค่นิดเดียวก็ทำ CPU ไหม้ได้แล้ว เสียเวลาเปล่าเลย
    • ถ้าไม่แน่ใจว่า ground ตัวเองดีหรือยัง ให้แตะหัวก๊อกที่เป็นโลหะซ้ำอีกที
  3. โดยจับที่ขอบ อย่าแตะ pin หรือขั้ว
  4. อันนี้แล้วแต่ CPU และ socket ที่ใช้ บางทีก็มีหลายรอยบากตามขอบ หรือมีสามเหลี่ยมเล็กๆ ที่มุมเดียว ขั้นตอนต่อไปนี้ใช้แล้วแน่ใจได้ว่าคุณจะติดตั้ง CPU ถูกตำแหน่งแน่นอน
  5. พอแน่ใจแล้วว่าทาบ CPU ในองศาที่ถูกต้องแล้ว ก็ค่อยๆ ใส่ CPU ลงไปใน socket ตรงๆ อย่าเอียง
    • ปกติไม่ต้องออกแรงกดก็เข้าที่แล้ว ถ้าต้องกดช่วยเยอะ ระวัง pin งอหรือหักได้ แบบนั้นเท่ากับ CPU เสียไปเลย
  6. พอใส่ CPU เข้าที่แล้ว ก็ให้ปิดฝา socket ลงมาแล้วล็อคสลักยึด CPU ไว้ให้มั่น
  7. ก่อนจะติดตั้ง CPU cooler ต้องทา thermal paste บางๆ ที่ด้านบน CPU ก่อน เพื่อให้ความร้อนถ่ายเทจาก CPU ไปยัง CPU cooler ได้สะดวก ต้องไม่มีอะไรกีดขวางที่พื้นผิว
    • ถ้าอยากรู้ขั้นตอนการทา thermal paste โดยละเอียด ให้หาอ่านเพิ่มเติมในเน็ต
  8. ขั้นตอนจะต่างกันออกไปตามประเภท cooler ที่ใช้ อย่าง stock cooler ของ Intel ก็จะเชื่อมต่อกับเมนบอร์ดด้วย 4 ขา ส่วนของ AMD จะติดเฉียงที่แผ่นโลหะ
    • ต้องเสียบ CPU cooler กับขั้ว CPU_FAN ของเมนบอร์ด เพื่อจ่ายไฟไปยังพัดลมของ cooler
  9. เสียบสายและประกอบชิ้นส่วนต่างๆ ที่ถอดไปคืนที่ให้ถูกต้อง. ก่อนจะปิดเคสคอม ต้องเช็คก่อนว่าเสียบสายและประกอบทุกชิ้นส่วนคืน CPU แล้ว
  10. ประกอบแผ่นข้างของเคสคืนที่แล้วยึดด้วยสกรู จากนั้นตั้งคอมบนโต๊ะตามเดิม แล้วเสียบสายไฟ
  11. ถ้าเพิ่งเปลี่ยน CPU ใหม่แต่ใช้เมนบอร์ดเดิม คอมก็น่าจะบูทเครื่องขึ้นมาตามปกติ ให้เปิดหน้าต่าง CPU-Z หรือ System Properties ( Win + Pause ) เพื่อเช็คว่าสแกนเจอ CPU ใหม่หรือเปล่า
  12. ถ้าติดตั้งเมนบอร์ดใหม่ หรือ CPU ที่ติดตั้งไปนั้นต่างกับอันเก่ามาก ก็ต้องลงระบบปฏิบัติการใหม่ ถ้ามีปัญหาตอนบูทเครื่องหลังติดตั้ง CPU ใหม่แล้ว ก็ให้ลงระบบปฏิบัติการก่อนเลย [1]
    โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 9,545 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา