ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

มะรุมผง เป็นอาหารเสริมสมุนไพรสารพัดประโยชน์ที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ โปรตีน และแร่ธาตุ หลายคนมักเลือกทานมะรุมผงเพิ่มเติมจากอาหารมื้อหลักเพื่อบำรุงสุขภาพ เพราะเชื่อกันว่ามะรุมผงมีประโยชน์ต่อร่างกายในหลายๆ ด้านตั้งแต่ช่วยลดอาการของโรคหอบหืดไปจนถึงกระตุ้นการสร้างน้ำนม [1] เพื่อให้คุณค่าของมะรุมผงเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ให้คุณทานมะรุมผงเดี่ยวๆ โดยเทเข้าปากทันทีหรือผสมเข้ากับอาหารหรือเครื่องดื่มที่คุณชื่นชอบ สิ่งเดียวที่ควรหลีกเลี่ยงคือการนำมะรุมผงไปปรุงสุก เนื่องจากความร้อนอาจทำให้สารอาหารต่างๆ ในมะรุมผงสูญเสียไปได้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ทานเดี่ยวๆ โดยเทเข้าปากทันที

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อย่าลืมปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนเริ่มต้นทานอาหารเสริมทุกชนิด แม้ว่าในปัจจุบันยังไม่มีการยืนยันที่แน่ชัดว่ามะรุมผงสามารถเกิดปฏิกิริยากับยาตัวอื่นๆ ได้ อย่างไรก็ตาม แพทย์ของคุณจะเป็นผู้พิจารณาว่าการทานมะรุมผงมีความปลอดภัยกับร่างกายของคุณหรือไม่ [2]
    • ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการทานมะรุมผงได้แก่ อาการปวดท้องหรืออาการท้องเสีย
    • หญิงตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการทานมะรุมผงเพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งบุตรได้
    • ห้ามทานมะรุมผงที่สกัดจากรากของต้นมะรุมโดยเด็ดขาด เพราะแม้ว่าใบและเมล็ดของต้นมะรุมจะสามารถทานได้อย่างปลอดภัย แต่ส่วนของรากอาจมีฤทธิ์เป็นพิษต่อร่างกายได้
  2. การทานมะรุมผงมากเกินไปอาจมีฤทธิ์เป็นยาระบายได้ ดังนั้นพยายามทานในปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงดังกล่าว ซึ่งมะรุมผงเพียง 1 ช้อนชาก็เพียงพอต่อการสร้างประโยชน์ให้กับร่างกายได้ [3]
    • แม้ว่าบางคนอาจทานมะรุมผงมากถึง 1 ช้อนโต๊ะ (18 กรัม) ต่อวัน แต่โดยทั่วไปแล้วปริมาณที่แนะนำให้ทานในช่วงเริ่มต้นคือวันละไม่เกิน 1-2 ช้อนชา (6-12 กรัม)
  3. การทานมะรุมผงโดยเทไว้ใต้ลิ้นจะช่วยให้มะรุมผงสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้เร็วยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม อย่าเผลอสูดมะรุมผงเข้าไปในระหว่างนี้ รวมทั้งเตรียมใจไว้เนิ่นๆ กับรสขมเฝื่อนและเผ็ดฉุนคล้ายกับหัวไช้เท้าของมะรุมผง [4]
  4. ดื่มน้ำเปล่าอึกใหญ่ๆ และกลืนมะรุมผงลงไปพร้อมกัน จากนั้นจิบน้ำเปล่าตามเข้าไปอีกครั้งเพื่อชะล้างคราบมะรุมผงที่ยังคงเหลือในปาก [5]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ผสมเข้ากับอาหารหรือเครื่องดื่ม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เตรียมน้ำเย็นหรือน้ำอุ่น 1 แก้ว (235 มล.) และเติมมะรุมผงลงไปคนผสมให้ละลายเข้ากันจนเกือบหมด จากนั้นเตรียมกระชอนหรือผ้าขาวบางวางไว้เหนือแก้วอีกใบหนึ่งก่อนเทน้ำชาลงไปเพื่อกรองเอาเฉพาะน้ำและแยกเอากากมะรุมผงทิ้งไป [6]
    • หากไม่ชอบรสชาติของมะรุมผงเท่าไรนัก คุณสามารถเติมน้ำผึ้งและเลมอนเพิ่มลงไปได้
    • คุณอาจเลือกดื่มชามะรุมผงแบบร้อนได้เช่นกัน แต่จำไว้ว่าความร้อนอาจทำลายสารต้านอนุมูลอิสระบางส่วนในมะรุมผงได้
  2. ผสมมะรุมผง 1 ช้อนชา (6 กรัม) เข้ากับสมูธตี้รสโปรด. สมูธตี้สามารถช่วยเจือจางรสชาติที่เผ็ดฉุนคล้ายกับหัวไช้เท้าของมะรุมผงให้เบาลงได้อย่างดีเยี่ยม โดยคุณสามารถเพิ่มมะรุมผงลงไปผสมเข้ากับสมูธตี้รสชาติใดก็ได้ตามต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมูธตี้ผักเคลหรือสมูธตี้ผักปวยเล้งที่มีรสชาติเข้ากันอย่างดีกับรสขมเฝื่อนของมะรุมผง [7]
    • โรยมะรุมผงเพิ่มลงไปในส่วนผสมก่อนปั่นให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียว หรือจะคนผสมเข้ากับสมูธตี้ที่ปั่นเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ได้เช่นกัน
  3. โรยมะรุมผงลงไปบนสลัดหรืออาหารสดที่ไม่ต้องผ่านการปรุงสุกอื่นๆ. คุณสามารถเพิ่มมะรุมผงลงไปในอาหารประเภทต่างๆ มากมาย อย่างไรก็ตาม หลีกเลี่ยงการนำมะรุมผงไปปรุงสุกพร้อมกับอาหาร เนื่องจากความร้อนสามารถทำลายสารอาหารที่มีประโยชน์ในมะรุมผงได้ พยายามทานมะรุมผงร่วมกับอาหารสดที่ไม่ต้องผ่านการปรุงสุกต่างๆ อย่างสลัด ฮัมมัส และโยเกิร์ต [8]
    • คุณยังสามารถเติมมะรุมผงลงไปในอาหารที่ปรุงสุกเรียบร้อยและทิ้งไว้จนเย็นดีแล้ว เช่น โอ๊ตมีล ก็ได้เช่นกัน
  4. อีกหนึ่งตัวเลือกที่สะดวกยิ่งขึ้นคือการเลือกทานมะรุมผงในรูปแบบแคปซูลหรือเม็ด โดยคุณสามารถหาซื้อมะรุมผงในรูปแบบแคปซูลหรือเม็ดได้จากร้านขายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพหรือร้านขายอาหารเสริมทั่วไปและควรทานตามปริมาณที่ระบุไว้บนฉลากข้างขวด [9]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ทำความเข้าใจในคุณประโยชน์ของมะรุมผง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทานมะรุมผงเพื่อเพิ่มโปรตีนประเภทสมบูรณ์สำหรับอาหารมังสวิรัติ. มะรุมผงเป็นแหล่งโปรตีนประเภทสมบูรณ์ชั้นดีที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนจำเป็นทั้ง 9 ชนิด จึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ทานมังสวิรัติซึ่งอาจมองหาแหล่งโปรตีนจากอาหารที่ไม่ใช่เนื้อสัตว์ [10]
  2. แม้ว่าสรรพคุณในการบรรเทาอาการของโรคเบาหวานของมะรุมผงยังคงอยู่ในช่วงศึกษาวิจัย แต่มีการคาดการณ์ว่ามะรุมผงสามารถช่วยในเรื่องของการรักษาระดับน้ำตาลในเลือดของร่างกายให้เป็นปกติได้ นอกจากนี้การทานมะรุมผงเป็นประจำทุกวันยังช่วยลดโอกาสการเกิดผลข้างเคียงต่างๆ อย่างโรคหัวใจได้อีกด้วย [11]
  3. ทานมะรุมผงเพื่อลดการอักเสบจากโรคหอบหืดหรือโรคข้ออักเสบ. เนื่องจากมีแนวโน้มว่ามะรุมผงมีสรรพคุณในการต้านการอักเสบ การทานมะรุมผงจึงอาจช่วยบรรเทาอาการของโรคหอบหืดหรือโรคข้ออักเสบได้บ้างเล็กน้อย คุณสามารถลองทานมะรุมผงควบคู่กับการรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันอื่นๆ เพื่อประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น [12]
    • จำไว้ว่าคุณสมบัติของมะรุมผงในด้านการต้านอักเสบยังคงอยู่ในช่วงศึกษาวิจัย ดังนั้นจึงยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่ามะรุมผงสามารถใช้ในการรักษาอาการของโรคหอบหืดหรือโรคข้ออักเสบได้อย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด
  4. หลายคนนิยมทานมะรุมผงเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนมให้มากขึ้นในช่วงให้นมลูก อย่างไรก็ตาม อย่าลืมปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มต้นทานเพื่อให้แน่ใจว่ามะรุมผงมีความปลอดภัยต่อคุณและทารก [13]
    • แพทย์ของคุณอาจแนะนำให้คุณรอสัก 1-2 สัปดาห์หลังคลอดลูกก่อนเริ่มทางมะรุมผง
    • ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่ามะรุมผงสามารถช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมได้หรือไม่
  5. หยุดทานมะรุมผงทันทีหากพบความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร. อาการปวดท้อง ท้องเสีย หรือความผิดปกติอื่นๆ ของระบบทางเดินอาหารเป็นผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยจากการทานมะรุมผง หากสังเกตเห็นอาการเหล่านี้ ลองหยุดทานมะรุมผงประมาณ 2-3 วันจนกระทั่งอาการหายเป็นปกติ และหากคุณต้องการกลับมาทานมะรุมผงอีกครั้ง ให้คุณลดปริมาณลงเหลือเพียงครึ่งหนึ่งของที่ทานตามปกติ อย่างไรก็ตาม คุณควรหยุดทานมะรุมผงอย่างสิ้นเชิงหากอาการยังคงไม่ดีขึ้น [14]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • มะรุมเป็นสมุนไพรที่สามารถนำมาใช้ได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันจากที่สกัดจากเมล็ด ใบ รวมทั้งเปลือกของลำต้นด้วย
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,609 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา