ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

อยากให้เจ้าเหมียวซึ่งเป็นสมาชิกใหม่มีความเป็นมิตรและไว้ใจเรามากขึ้นใช่ไหม โดยธรรมชาติแล้วแมวเป็นสัตว์รักอิสระและไม่จำเป็นต้องผูกมิตรกับใคร แมวยังเป็นสัตว์ที่เราต้องใช้เวลานานกว่าจะไว้ใจเราและไม่ค่อยตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ ที่เราให้สักเท่าไหร่อย่างเช่น ของกิน ปล่อยให้เจ้าเหมียวเป็นฝ่ายตีสนิทเราก่อน ส่วนเราก็แค่พยายามทำให้แมวรู้สึกมั่นคงและปลอดภัยก็พอ พอเจ้าเหมียวรู้สึกคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมแล้ว เจ้าเหมียวก็จะเริ่มไว้ใจเราเอง

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

สร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เราไม่สามารถบังคับเจ้าเหมียวให้ทำอะไรได้ ต้องปล่อยให้มันไว้ใจเราเอง แต่เราสามารถโน้มน้าวแมวให้เชื่อว่ามันจะได้รับผลประโยชน์จากการกระทำใดการกระทำหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น เจ้าเหมียวอาจเลิกงีบหลับ หากเราให้ของกินที่มันชอบ อย่าขุ่นเคือง หากมันตัดสินใจไม่ทำตามที่เราสั่ง โดยธรรมชาติแล้วแมวมักจะเลือกปลีกตัวหรือทำตัวคาดเดาไม่ได้ [1]
    • แมวจะยอมรับเราได้ยาก หากเราชอบทำอะไรวุ่นวายและเสียงดัง แมวไม่ชอบความเครียด เสียงดัง หรือความวุ่นวาย แมวจะยอมรับเราได้เร็วขึ้น หากเรานิ่งและผ่อนคลายเวลาอยู่ใกล้ๆ พวกมัน
  2. วิธีการหนึ่งที่จะทำให้แมวของเราสบายใจคือให้แมวมีพื้นที่เป็นของตนเอง มีบริเวณที่อบอุ่นและสบายไว้นอนหลับ กินอาหาร เล่น ขับถ่ายหรือฉี่ วิธีจัดสรรพื้นที่ให้แมวอยู่อีกวิธีหนึ่งคือไปร้านขายสินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยงและซื้อชั้นแมวมาไว้ที่บ้าน เรานำชั้นแมวมาติดที่ผนังตรงบริเวณไหนก็ได้ที่เห็นว่าเหมาะสม เจ้าเหมียวของเราจะได้มีที่ไว้มองสำรวจได้รอบห้องและรู้สึกปลอดภัยเมื่ออยู่บนนั้น
  3. มีอยู่หลายครั้งที่แมวรู้สึกไม่ปลอดภัย กลัว หรือวิตกกังวล ให้แมวได้มีที่ซ่อนตัวเยอะๆ เวลารู้สึกตกใจกลัวอย่างเช่น ตู้ หรือบริเวณใต้เตียง เป็นต้น เราจะไปสำรวจดูหน่อยก็ได้ว่าเจ้าเหมียวซ่อนตัวอยู่ตรงไหน แต่อย่าบังคับให้มันออกมายกเว้นจำเป็นจริงๆ เราควรให้เจ้าเหมียวเข้าถึงที่สูงได้ (อย่างเช่น ขอบหน้าต่าง เฟอร์นิเจอร์ หรือแท่นลับเล็บแมวที่สูงๆ) รวมทั้งเข้าถึงของเล่นได้ เมื่อมันเบื่อและต้องการสำรวจรอบๆ บริเวณนั้นหรือเล่น
    • เราต้องมีสถานที่ซึ่งเป็นหลักแหล่งและปลอดภัยให้กับแมวโดยทันที ถ้าเราต้องการทำให้แมวซึ่งเป็นสมาชิกใหม่ของบ้านไว้ใจ ให้มันอยู่ในห้องใดห้องหนึ่ง แมวจะได้คุ้นเคยกับอาณาเขตของตนเองโดยไม่รู้สึกลำบากมากนัก [2]
    • เราควรจะจัดการตั้งห้องน้ำแมวไว้ที่มุมส่วนตัวของห้องนั้น ห้องน้ำแมวควรอยู่ห่างจากบริเวณที่มีเสียงดังอย่างเช่น เสียงไดร์เป่าผม เจ้าเหมียวจะรู้สึกปลอดภัย เมื่อใช้ห้องน้ำแมว (หากตั้งห้องน้ำอยู่ที่มุมห้อง ผนัง 2 ด้านจะเป็นที่กำบังของเจ้าเหมียว)
  4. ให้อาหารแมวเป็นประจำ มันจะได้เข้าใจว่าเราเป็นผู้ให้อาหารและที่พัก เมื่อวางชามอาหารลง พูดคุยกับเจ้าเหมียวด้วยน้ำเสียงที่สูงต่ำสม่ำเสมอและนุ่มนวล มันจะได้เริ่มจำเสียงของเราและนึกถึงสิ่งดีๆ อย่างเช่น ได้เวลากินอาหารแล้ว เมื่อแมวเดินมากินอาหาร คอยช่วยเหลือและปล่อยให้มันกินอาหารอย่างอิสระ ถ้าเราอยากอยู่กับแมวตอนมันกินอาหารด้วย นั่งลงกับพื้น เราจะได้ไม่อยู่สูงกว่าตัวแมว เพราะการอยู่สูงกว่าอาจเป็นการคุกคามมันได้
    • วางชามอาหารและน้ำให้แมวเข้าถึงได้ง่าย ถ้าแมวของเรานั้นขี้กลัว วางชามอาหารและน้ำไว้ใกล้ที่ซ่อนของมัน แมวจะได้ไม่รู้สึกกลัวหรือเครียดมากเกินไป เวลาออกมากินอาหาร
  5. แมวอาจผ่อนคลายหรือรู้สึกสงบในสภาพแวดล้อมใหม่ได้ยาก เราอาจหาซื้อผลิตภัณฑ์ฟีโรโมนแมวสังเคราะห์ (อย่างเช่น Feliway) แล้วฉีดในห้องนั้น สารนี้เป็นตัวขนส่งทางเคมีแบบสังเคราะห์ที่แม่แมวปล่อยออกมาเพื่อทำให้ลูกแมวรู้สึกมั่นคงและปลอดภัย ฟีโรโมนนี้สามารถลดความเครียดทั้งหมดและช่วยให้แมวตัวใหม่คุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมใหม่ได้เร็วขึ้น [3]
    • เราอาจฝึกให้แมวคุ้นเคยกับกลิ่นของเราเหมือนกับการเห็นอะไรจนชินตา การฝึกให้แมวคุ้นเคยกับกลิ่นตัวของเราจะช่วยให้มันจำเราได้เมื่อเริ่มสัมผัสตัวแมว ตัวอย่างเช่น เราอาจให้แมวหลับบนเสื้อที-เชิ้ตเก่าๆ ที่มีกลิ่นของเราติดอยู่ [4]
  6. ไม่ว่าเราจะทำให้บ้านน่าอยู่แค่ไหนก็ตาม แมวก็อาจกลัวสภาพแวดล้อมใหม่อยู่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าแมวตัวนั้นถูกทารุณหรือทอดทิ้งมา อย่าดุด่าแมวเมื่อเราสังเกตเห็นว่ามันกำลังทำอะไรบางอย่างที่ไม่ควรทำ เจ้าเหมียวอาจแค่กำลังสำรวจสภาพแวดล้อมใหม่อยู่ก็ได้ อย่างไรก็ตามเมื่อแมวทำพฤติกรรมที่ดี เราก็ต้องชมมันด้วยน้ำเสียงนุ่มนวลและผ่อนคลาย
    • ถ้าแมวยังหวาดกลัวสภาพแวดล้อมใหม่อยู่ เราจะต้องไม่ทำให้แมวตกใจกลัว อย่าย่องเข้าไปหาเจ้าเหมียวเงียบๆ หรือเคลื่อนไหวกะทันหัน เพราะอาจทำให้มันตกใจได้ แมวที่ถูกทารุณมามักจะตกใจกลัวง่าย เมื่อเราเข้าไปหาโดยไม่ทันตั้งตัว
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

สร้างความใกล้ชิด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จับตาดูว่าแมวมีท่าทางพร้อมที่จะให้เข้าใกล้หรือยัง. ปล่อยให้แมวเป็นฝ่ายเข้ามาหาเราเองเสมอ อย่าเป็นฝ่ายเข้าไปหาแมวก่อน ถ้าเราเห็นอย่างชัดเจนว่าเจ้าเหมียวดูเหมือนเครียดและจ้องมองเราเขม็ง (ยืน หางตั้ง รูม่านตาขยาย) ให้อยู่เฉยๆ ไว้ นั่งอยู่นิ่งๆ พร้อมหลับตาด้วยถ้าทำได้ การทำแบบนี้จะทำให้ตัวเองดูคุกคามน้อยลงและแมวจะเริ่มคุ้นเคยกับการที่มีเราอยู่ด้วย ในทางตรงกันข้ามหากแมวพร้อมจะใกล้ชิดเราแล้ว มันจะแสดงพฤติกรรมดังนี้ [5]
    • ยังอยู่ให้เราเห็นหลังจากกินอาหารเสร็จแล้ว ไม่วิ่งหนีไปซ่อนตัว
    • เดินเข้ามาหาเราสองสามก้าว
    • นั่งอยู่ใกล้เราและเลียตัวเอง (แสดงว่าเจ้าเหมียวรู้สึกผ่อนคลาย)
    • นั่งหันหลังให้เรา (แสดงว่าเจ้าเหมียวไว้ใจเรา)
  2. เราสามารถปรากฏตัวให้ดูคุกคามน้อยลงและทำให้แมวรู้สึกอุ่นใจมากขึ้นได้หลายวิธี นอนราบไปกับพื้น ถ้าทำได้ การย่อตัวให้อยู่ในระดับเดียวกับเจ้าเหมียวจะทำให้เราดูคุกคามน้อยลง อย่าสบตา เพราะการสบตากันตรงๆ เป็นการท้าทายหรือคุกคามในภาษาแมว [6] หันหน้าและมองไปทางอื่น
    • หากใส่แว่นอยู่ ให้ถอดออก เพราะเลนส์แว่นสายตาทำให้ดวงตาดูใหญ่สำหรับแมว อาจทำให้ดูเหมือนเราคุกคามมันอยู่ได้
  3. เราไม่จำเป็นต้องรีบร้อนให้เจ้าเหมียวไว้ใจเราให้ได้เร็วๆ เพราะสุดท้ายแล้วเจ้าเหมียวจะเริ่มไว้ใจและเข้ามาหาเราเอง เมื่อได้ทำตามขั้นตอนที่ผ่านมาอย่างสม่ำเสมอ แมวก็จะเอาหัวของมันมาชนกับมือหรือตัวของเราอย่างเต็มใจ การเอาหัวมาชนจะทำให้กลิ่นของมันติดตัวเราและแสดงให้เห็นว่ามันยอมรับเรา
    • เราอาจกระตุ้นให้แมวเข้ามาใกล้เราด้วยการให้ของกินอร่อยๆ วางแขนไว้บนพื้นและโรยของกินแมวจำนวนเล็กน้อยไว้ใกล้ๆ ตัวเรา ปล่อยให้เจ้าเหมียวรวบรวมความกล้าออกมากินของกินเอง ค่อยๆ วางของกินใกล้ตัวเราทีละนิด เจ้าเหมียวจะได้เข้ามาใกล้โดยไม่รู้สึกถูกคุกคาม
  4. สร้างสภาพแวดล้อมที่ทำให้แมวและสัตว์เลี้ยงตัวอื่นอยู่ร่วมกันได้. ให้ทั้งสองเล่นหรือกินอาหารใกล้ๆ กัน เราจะต้องทำให้ทั้งสองค่อยๆ คุ้นเคยกันทีละนิด เราจะต้องเริ่มจากให้แมวและสัตว์เลี้ยงตัวอื่นอยู่ห่างกันก่อนแล้วจากนั้นค่อยๆ ให้ทั้งสองเข้ามาใกล้กันวันละนิด เราจะต้องเป็นคนสร้างสภาพแวดล้อมที่ช่วยให้แมวและสัตว์เลี้ยงตัวอื่นอยู่ร่วมกันได้
  5. เมื่อแมวส่งสัญญาณ (ด้วยการนำหัวมาชนเรา) ว่ามันพร้อมแล้วที่จะใกล้ชิดเรามากกว่านี้ เราสามารถลูบหูหรือเกาคางของมันได้ ค่อยๆ เข้าไปหาเจ้าเหมียวและเริ่มยื่นนิ้วหนึ่งลูบมัน อย่าเคลื่อนไหวกะทันหันและเมื่อเจ้าเหมียวเริ่มไว้วางใจเรามากขึ้น เราก็จะสามารถเกาคางมันได้ [7]
    • อย่าทำอะไรอึกทึกครึกโครม เพราะแมวไม่ชอบ
  6. เมื่อเจ้าเหมียวเริ่มเข้ามาหาเราบ่อยขึ้นและทำเสียงครางเมื่อเรากอดมัน เราสามารถเลิกนอนลงกับพื้นได้ตอนอยู่ใกล้มัน ลุกขึ้นนั่งและกอดแมวไว้ มันอาจเริ่มขึ้นมานั่งที่ตักของเรา การขึ้นมานั่งที่ตักนั้นเป็นการแสดงให้เห็นว่ามันไว้ใจเราแล้วจริงๆ
    • เล่นกับแมวเป็นประจำทุกวัน การหาเวลาเล่นกับเจ้าเหมียวเป็นประจำทุกวันจะทำให้มันผูกพันกับเรามากขึ้นและรอเรามาเล่นกับมัน ผลการศึกษายังแสดงให้เห็นว่าการสัมผัสและพูดคุยกับสัตว์เลี้ยงมีผลดีต่อสุขภาพของมนุษย์ (เช่น ลดคอเลสเตอรอล ลดความดันเลือด และลดความวิตกกังวล) [8]
  7. จับตาดูว่าแมวต้องการเวลาอยู่กับตัวเองหรือเปล่า. การสังเกตเห็นสัญญาณนี้สำคัญเป็นอย่างยิ่ง หากเรากำลังฟื้นฟูจิตใจของแมวที่ถูกทารุณหรือทอดทิ้งมา ถึงแม้เราจะลูบแมวอย่างระมัดระวังแล้ว แต่จู่ๆ มันก็กัดเราเสียอย่างนั้น การกัดรวมทั้งการข่วนแบบไม่ทันตั้งตัวอาจหมายความว่าเจ้าเหมียวอยากให้เราหยุดลูบหรือหยุดแสดงความรักความเอ็นดูก่อน ให้เวลาเจ้าเหมียวอยู่กับตัวเองเพื่อมันจะได้สงบลง เพราะมันเองก็อาจตกใจเหมือนกัน คราวต่อไปอย่าลูบแมวนานเกินไป [9]
    • อย่าทำโทษแมวด้วยการดุด่าหรือตี เจ้าเหมียวไม่เข้าใจหรอกว่าทำไมเราถึงทำโทษมัน ออกห่างจากแมวสักพักจะดีกว่า
  8. ให้แมวได้มีเวลาออกกำลังกายและเล่นอย่างเพียงพอ. ถ้าแมวพยายามข่วนหรือกัดเรา แสดงว่ามันมีพลังงงานให้เผาพลาญ เล่นกับแมวอย่างน้อยวันละครั้ง เวลาที่เหมาะจะเล่นกับแมวคือก่อนที่เราจะเข้านอน การเล่นจะเผาผลาญพลังงานของแมว ช่วยให้มันใช้เวลากลางคืนผ่อนคลายและหลับเช่นเดียวกับเรา
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าแมวทำอะไรผิด แค่ทำเป็นไม่สนใจและเดินออกห่าง การลงโทษแมวมีแต่จะทำให้แมวเห็นการปรากฏตัวของเราเป็นสัญญาณของการถูกลงโทษและทำให้มันรู้สึกวิตกกังวลเมื่ออยู่ใกล้เรา ก่อนอื่นพยายามหาสาเหตุสิว่าทำไมแมวถึงทำพฤติกรรมแบบนี้และหาวิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันไม่ให้แมวทำพฤติกรรมเดิมซ้ำอีก
  • เรียนรู้วิธีอุ้มแมวอย่างถูกต้องเหมาะสม เจ้าเหมียวจะรู้สึกสบายใจมากขึ้นเมื่อเราอุ้มมัน เราควรรอจนกระทั่งแมวรู้สึกสบายใจที่มีเราอยู่ใกล้ๆ แล้วค่อยอุ้มแมวขึ้นมา แมวจะได้ยังคงไว้วางใจเราอยู่
  • เมื่อแมวสบายใจพอที่จะยอมให้เราลูบมัน อย่าเพิ่งลูบแมวตอนที่เราอยู่สูงกว่ามัน ย่อตัวให้ต่ำลงจนอยู่ระดับเดียวกับแมว วางมือให้ต่ำเข้าไว้ด้วย นำมือไปไว้ใต้คางของแมวและปล่อยให้มันก้มหัวลงถ้ามันอยาก อย่าให้มืออยู่เหนือหัวแมว เพราะมันจะคิดว่าวัตถุเหนือหัวคือนกและตะปบมือเราได้ ให้ลูบบริเวณหัวของแมวจนกว่ามันจะสบายใจที่มีเราอยู่ด้วย ถ้าเราลูบไปตามตัวแมวจนถึงบริเวณที่มันเริ่มไม่สบายตัวอย่างยิ่งและเจ้าเหมียวทำพฤติกรรมอย่างเช่นขู่ฟ่อใส่เรา อาการแบบนี้อาจไม่ใช่แค่ไม่สบายตัว อาจมีอะไรบางอย่างภายในตัวแมวผิดปกติและทำให้มันเจ็บเวลาเราสัมผัสบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากความผิดปกตินั้นก็เป็นได้
  • ถ้าแมวของเราเริ่มไว้ใจเราบ้างแล้วและหากคืนไหนมีการจุดพลุ เราควรจะพยายามปลอบโยนมัน เพราะทุกครั้งที่ได้ยินเสียงพลุดัง แมวจะกลัว ทุกครั้งที่ได้ยินเสียงพลุ เราต้องปลอบโยนแมว ข้อควรระวังอีกอย่างหนึ่งคืออย่าปล่อยแมวออกไปข้างนอกบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแมวที่ยังไม่ไว้ใจเราเต็มที่ เพราะหากปล่อยให้ออกไปข้างนอก มันอาจไม่กลับมาอีก
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Why Does My Cat..? Sarah Heath. Publisher: Souvenir Press
  2. Why Does My Cat..? Sarah Heath. Publisher: Souvenir Press
  3. Feline Behavior: A guide for Veterinarians. Bonnie Beaver. Publisher: Saunders
  4. Feline Behavior: A guide for Veterinarians. Bonnie Beaver. Publisher: Saunders
  5. Why Does My Cat..? Sarah Heath. Publisher: Souvenir Press
  6. http://www.icatcare.org/advice/keeping-your-cat-happy/interactions-your-cat
  7. Why Does My Cat..? Sarah Heath. Publisher: Souvenir Press
  8. https://books.google.com/books?id=QY7AZInZ1xEC&pg=PA72&lpg=PA72&dq=spend+time+with+your+cat+to+gain+trust&source=bl&ots=orUCFP5mKP&sig=UFCvDf5mONvxMYbbOjP0PUqIT2s&hl=en&sa=X&ei=oWSTVYWqL4GKsQWT3IDQCA&ved=0CEwQ6AEwBg#v=onepage&q=spend%20time%20with%20your%20cat%20to%20gain%20trust&f=false
  9. http://www.kittyconnection.net/2013/02/07/dealing-with-abused-or-neglected-cats/

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 10,837 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา