ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การเปิดเผยรสนิยมทางเพศกับพ่อแม่เป็นกระบวนการที่สะเทือนอารมณ์ไม่น้อย คุณอาจจะรู้สึกประหม่า วิตกกังวล หรือแม้แต่หวาดกลัว จำไว้ว่าการเป็นไบเซ็กชวลเป็นส่วนสำคัญของตัวตน และการเลือกจะบอกรสนิยมทางเพศของตัวเองกับใครและเมื่อไหร่นั้นก็เป็นสิทธิ์ขาดของคุณคนเดียว ก่อนที่จะเปิดเผยเพศสภาพให้พ่อแม่ได้รับรู้ คุณต้องวางแผนล่วงหน้าให้ดีก่อน แล้วค่อยทำตามขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้บทสนทนาเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ หลังจากนั้นคุณสามคนพ่อแม่ลูกก็ค่อยมาคิดอ่านกันอีกทีว่า ทำอย่างไรคุณถึงจะดำเนินชีวิตได้อย่างมั่นใจในสิ่งที่คุณเป็น แต่จำไว้ว่าไม่ว่าพ่อแม่จะพูดอย่างไร คุณก็ยังคงงดงามทั้งภายนอกและภายในในแบบที่คุณเป็น

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เตรียมบอกพ่อแม่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ความแน่ใจในเพศสภาพของตัวเองเป็นเรื่องหนึ่ง ส่วนความสบายใจในเพศสภาพของตัวเองก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ถ้าคุณยังรับมือกับความรู้สึกผิด ละอายใจ หรือสับสน คุณควรรออีกสักนิดค่อยบอกพ่อแม่ดีกว่า เพราะคุณต้องยอมรับตัวตนของตัวเองให้ได้ก่อน จึงจะคาดหวังให้คนอื่นมายอมรับได้
    • ลองมองตัวเองในกระจกแล้วพูดว่า "ฉันเป็นไบเซ็กชวล" ถ้ามันทำให้คุณรู้สึกมั่นใจและมีความสุขก็เยี่ยมเลย แต่ถ้ามันทำให้คุณรู้สึกประหม่า ลองพูดไปเรื่อยๆ จนว่าคุณจะเริ่มสบายใจขึ้น
    • ลองเปิดเผยกับเพื่อนก่อน วิธีนี้จะทำให้คุณคุ้นเคยกับการพูดเรื่องการเป็นไบเซ็กชวลมากขึ้น
    • การเปิดเผยรสนิยมทางเพศต้องใช้พลังทางอารมณ์สูง เพราะฉะนั้นคุณต้องแน่ใจว่าคุณมั่นใจในสิ่งที่คุณเป็นก่อนตัดสินใจพูดคุยเรื่องที่ค่อนข้างยาก
  2. การเปิดเผยรสนิยมทางเพศเป็นเรื่องยาก ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าพ่อแม่จะมีปฏิกิริยาอย่างไร คุณก็อาจจะรู้สึกกลัวมากเป็นพิเศษ คุณต้องมีกลุ่มคนที่คุณสามารถพึ่งพิงได้ เครือข่ายสนับสนุนจะช่วยให้คุณพูดคุยได้อย่างสบายใจมากขึ้น และทำให้คุณมั่นใจได้ด้วยว่าคุณจะมีไหล่เอาไว้ให้ซบไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น
    • ถ้าคุณเล่าเรื่องนี้ให้ญาติคนอื่นฟัง บอกให้พวกเขารู้ล่วงหน้าว่าคุณกำลังจะเข้าไปคุยกับพ่อแม่ พวกเขาอาจจะมีคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ว่าจะต้องพูดคุยอย่างไร
    • คุณอาจจะลองขอให้คนที่อยู่ในเครือข่ายสนับสนุนคอยอยู่เคียงข้างคุณเพื่อเป็นตัวช่วย และคอยสนับสนุนเวลาที่คุณเปิดเผยเรื่องนี้กับพ่อแม่
  3. มีองค์กรต่างๆ มากมาย เช่น มูลนิธิเพื่อสิทธิความหลากหลายทางเพศ ที่เป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการรับมือในสถานการณ์อย่างการเปิดเผยตัวตนกับคนที่เรารัก ก่อนตัดสินใจว่าจะบอกพ่อแม่เมื่อไหร่และอย่างไร เข้าอินเทอร์เน็ตเพื่อค้นหาคำแนะนำและเคล็ดลับจากองค์กรเหล่านี้ก่อน
  4. คุณต้องหาคำตอบให้ได้ว่าทำไมคุณถึงอยากเปิดเผยเรื่องนี้กับพ่อแม่ เหตุผลที่ดีน่าจะเป็นเพราะว่าคุณรักพวกเขาและไม่อยากมีความลับด้วย แต่คุณไม่ควรบอกพวกเขาว่าคุณเป็นไบเซ็กชวลเพราะว่าคุณทะเลาะกันและอยากใช้เพศสภาพของตัวเองทำร้ายพวกเขา
    • หาเวลาสักครู่เขียนเหตุผลของตัวเองลงไป เหตุผลที่ว่านี้อาจจะเป็น “ฉันภูมิใจในสิ่งที่ตัวเองเป็น” หรือ “ฉันพร้อมที่จะใช้ชีวิตอย่างเปิดเผยแล้ว”
  5. การพูดคุยครั้งนี้อาจจะตึงเครียดและสะเทือนอารมณ์ ในการที่จะทำให้บทสนทนาเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ ให้ดูก่อนว่ามีอะไรเกิดขึ้นในบ้านบ้าง พ่อแม่กำลังเครียดเรื่องเงินหรือเปล่า ถ้าเป็นอย่างนั้นคงไม่ใช่เวลาที่เหมาะจะคุยเรื่องหนักหนาสักเท่าไหร่ คุณยายเพิ่งป่วยหรือเปล่า รอจนกว่าเรื่องต่างๆ จะเข้าที่สักหน่อยแล้วค่อยบอกดีกว่า
    • ถ้าเป็นไปได้ให้เลือกเวลาที่อารมณ์ของคนในบ้านค่อนข้างสงบ ให้พ่อแม่สนใจคุณได้อย่างเต็มที่
    • ลองถามว่าหลังกินข้าวเย็นเสร็จขอคุยด้วยได้ไหม สุดสัปดาห์ก็เป็นช่วงเวลาที่เหมาะจะพูดคุยเรื่องสำคัญแบบนี้เช่นกัน
  6. สังเกตว่าพ่อแม่มีมุมมองต่อกลุ่มคน LGBT อย่างไร คุณเคยได้ยินพ่อแม่พูดไม่ดีเกี่ยวกับคนที่เป็นไบเซ็กชวลหรือการรักร่วมสองเพศหรือเปล่า ถ้าคุณรู้สึกได้ว่าพ่อแม่จะมีปฏิกิริยาที่ไม่ดีมากๆ คุณต้องวางแผนเรื่องความปลอดภัยไว้ล่วงหน้า คุณต้องแน่ใจว่ามีวิธีดูแลตัวเองให้ปลอดภัยหากสถานการณ์เริ่มน่ากลัวหรือรุนแรง [1]
    • ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าพ่อแม่มีมุมมองต่อการรักร่วมสองเพศอย่างไร ให้ดูละครหรือหนังที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับสถานการณ์หรือผู้คนที่เป็นไบเซ็กชวล ถามพ่อแม่ว่าพวกเขาคิดอย่างไรกับสิ่งที่ดูเพื่อประเมินมุมมองของพวกเขาก่อนเข้าไปคุย
    • บอกให้เพื่อนสนิทรู้ว่าคุณจะคุยเรื่องนี้เมื่อไหร่ ถ้าจำเป็นให้พูดประมาณว่า “ฉันไม่แน่ใจว่าคุยกันแล้วจะเป็นยังไง ถ้าจำเป็นฉันขอมานอนบ้านแกได้มั้ย”
    • คุณต้องมีเงินของตัวเองเตรียมไว้ถ้ามีโอกาสที่พ่อแม่จะไล่คุณออกจากบ้าน
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

พูดคุยกันอย่างสร้างสรรค์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พยายามแสดงความมั่นใจขณะที่พูดออกไป โดยใช้น้ำเสียงที่ราบเรียบและชัดถ้อยชัดคำ อย่าพูดอ้อมแอ้ม พูดออกไปตรงๆ และพูดในสิ่งที่อยากพูด
    • เช่น คุณอาจจะพูดว่า “แม่คะ หนูอยากให้แม่รู้ว่าหนูเป็นไบค่ะ หนูสบายใจกับสิ่งที่ตัวเองเป็น และหนูก็หวังว่าแม่จะรู้สึกเหมือนหนู”
  2. พ่อแม่อาจจะประหลาดใจที่ได้ยินว่าคุณเป็นไบเซ็กชวล พวกเขาอาจจะไม่รู้ว่ามันคืออะไรกันแน่ เตรียมตัวตอบคำถามต่างๆ ของพ่อแม่ พยายามตอบอย่างตรงไปตรงมาใ้ห้มากที่สุด แต่ไม่จำเป็นต้องเล่าทุกอย่างที่คุณไม่อยากเล่า เช่น คุณอาจจะบอกว่า "หนูไม่ได้เลือกที่จะเป็นค่ะแม่ หนูเป็นของหนูแบบนี้เอง" เตรียมตอบคำถามอย่างเช่น: [2]
    • "ลูกแน่ใจหรือเปล่า"
    • "ทำไมลูกถึงเลือกเป็นแบบนี้"
    • "ลูกคิดว่าโตไปลูกจะไม่เปลี่ยนเหรอ"
  3. พ่อแม่อาจจะสับสนจริงๆ ว่าการเป็นไบเซ็กชวลคืออะไร เช่น พวกเขาอาจจะสงสัยว่านั่นหมายความว่าคุณเป็นผู้ชาย 50% ผู้หญิง 50% หรือเปล่า หรือว่าคุณมีมาตรวัดไหม คุณต้องคุยกับพ่อแม่ให้แน่ใจว่าเรื่องนี้ไม่ได้มีแค่ขาวกับดำ อธิบายว่าคุณชอบคนแต่ละคนด้วยเหตุผลที่ต่างกันไป การที่คุณตอบคำถามเหล่านี้จะช่วยได้มาก นอกจากนี้การให้ข้อมูลพ่อแม่เพิ่มเติมก็เป็นวิธีที่ดีที่จะทำให้พวกเขาเข้าใจเรื่องนี้มากขึ้นเช่นกัน แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับ LGBT โดยทั่วไปก็มีประโยชน์อยู่แล้ว แต่คุณก็สามารถขอข้อมูลที่จะช่วยอธิบายเรื่องการรักร่วมสองเพศได้อย่างเจาะจงมากขึ้นจากศูนย์สนับสนุนในท้องถิ่น
    • ขอแผ่นพับจากศูนย์ชุมชน LGBT ในท้องถิ่น และถ้าคุณยังเรียนอยู่ คุณก็สามารถขอเอกสารที่ให้ข้อมูลจากศูนย์ LGBT ในมหาวิทยาลัยได้
    • แนะนำเว็บไซต์ดีๆ ให้พ่อแม่เข้าไปดู พวกเขามีแนวโน้มที่จะสนับสนุนคุณมากขึ้นถ้าพวกเขามีข้อมูลมากกว่านี้
  4. คุณไม่สามารถคาดเดาได้แน่ชัดว่าพ่อแม่จะมีปฏิกิริยาอย่างไร ลองคิดปฏิกิริยาต่างๆ ที่เป็นไปได้ แล้วคิดว่าคุณจะตอบกลับอย่างไร จำไว้ว่าปฏิกิริยาแรกอาจจะไม่ได้บ่งบอกความรู้สึกของพ่อแม่เสมอไป พวกเขาอาจจะต้องการเวลาสักพักกว่าจะทำใจกับข่าวที่ได้รับและยอมรับได้ เช่น ตอนแรกพ่อแม่อาจจะช็อก แต่ไม่ช้าก็อาจจะกลับมายอมรับและสนับสนุนคุณ ปฏิกิริยาทั่วไปก็เช่น:
    • ช็อก
    • โกรธ
    • เสียใจ
    • ไม่ยอมรับ
  5. หวังว่าพ่อแม่จะมีปฏิกิริยาที่น่ารักและสนับสนุนคุณ มันคงดีมากหากพวกเขาเคารพสิ่งที่คุณเป็นได้ทันที แต่ถ้าพ่อแม่มีปฏิกิริยาที่ไม่ดีกลับมา อย่าเพิ่งหมดความมั่นใจ และถ้าพวกเขาพูดอะไรที่น่าเกลียดหรือทำให้เจ็บช้ำน้ำใจกลับมา อย่ากลัวที่จะยืดหยัดเพื่อปกป้องตัวเอง
    • คุณอาจจะพูดว่า “อย่าดูถูกผมเลยครับ พ่อแม่ไม่สมควรทำแบบนี้กับผม”
    • นอกจากนี้คุณก็มีสิทธิ์ที่จะตัดบทได้ด้วย พูดว่า “เราคุยกันไม่รู้เรื่องแล้ว ผมจะพักเรื่องนี้ไว้ก่อน”
  6. เปิดเผยกับพ่อ/แม่ก่อน แล้วค่อยบอกอีกคนทีหลัง. ถ้าคุณสนิทหรือไว้ใจพ่อ/แม่มากกว่าอีกคนนิดหน่อย คุณอาจจะคุยกับเขาเรื่องที่คุณเป็นไบเซ็กชวลก่อน แล้วเขาอาจจะช่วยเหลือหรือให้คำแนะนำว่าจะบอกอีกคนอย่างไรดี
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

คิดหาวิธีที่จะเดินหน้าต่อไป

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไม่ว่าพ่อแม่จะมีปฏิกิริยาอย่างไร คุณก็ต้องยอมรับ จำไว้ว่าพวกเขาอาจจะประหลาดใจและสะเทือนใจ แต่แทนที่จะเถียงหรือปะทะ ให้ยอมรับปฏิกิริยาที่พวกเขาแสดงออกมา จำไว้ว่าทุกคนต่างต้องการเวลาที่จะประมวลความคิดและความรู้สึกของตัวเอง [3]
    • คุณอาจจะพูดว่า “ผมเสียใจที่พ่อแม่รู้สึกแบบนั้น ผมจะไม่กดดันพ่อแม่นะครับ แต่ผมก็หวังว่าพ่อกับแม่จะเปลี่ยนใจ”
  2. การพูดคุยในครั้งนี้อาจสะเทือนอารมณ์ทั้งของคุณและพ่อแม่ ถ้ามันดูเหมือนจะเป็นการพูดวกไปวนมา ให้พักไว้ก่อน คุณอาจจะเสนอว่าคุณจะเลือกเวลาไว้คุยกันอีกทีหลัง
    • บอกว่า “เราทุกคนดูเหนื่อยกันหมดแล้ว ไว้เราค่อยคุยเรื่องนี้กันอีกครั้งวันเสาร์มั้ยคะ”
  3. มันอาจจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างหนักหากคุณไม่ได้รับปฏิกิริยาที่สนับสนุนกลับมา พยายามมองหาส่วนที่ดีในความสัมพันธ์ จำไว้ว่าพวกเขาอาจจะไม่ได้โกรธหรือเสียใจไปตลอด พยายามให้เวลาพวกเขาได้ประมวลสักหน่อย
    • แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะปล่อยให้พ่อแม่ทำแย่ๆ กับคุณได้ จำไว้ว่าคุณต้องปกป้องตัวเองด้วย
  4. คุณอาจจะรู้สึกเหนื่อยหลังจากพูดคุยเรื่องใหญ่ อย่าลืมดูแลตัวเองทั้งทางร่างกายและอารมณ์ หาอะไรกินและทำอะไรที่มันผ่อนคลาย หรือคุณอาจจะถามเพื่อนว่าอยากไปเดินเล่นหรือเปล่า [4]
    • อย่าลืมทำในสิ่งที่ทำแล้วมีความสุข ฟังเพลงที่ชอบ ดูรายการตลก หรืออ่านหนังสือดีๆ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • มั่นใจ
  • ใจเย็นๆ เวลาเกริ่นเรื่องนี้
  • รอจนกว่าคุณจะแน่ใจว่าตัวเองเป็นไบเซ็กชวลจริงๆ
  • คิดบวกแม้ว่าคนอื่นจะดูถูกคุณ
  • ภูมิใจในตัวเอง
  • อย่าเพิ่งรีบบอกรสนิยมทางเพศของตัวเองให้ทุกคนรู้
  • เตรียมใจรับปฏิกิริยาที่ดีและไม่ดี
  • ถ้าคุณประหม่าเกินกว่าจะบอกด้วยตัวเองได้ ให้เขียนจดหมายแล้ววางไว้ในที่ที่พ่อแม่จะเห็น และอาจจะออกจากบ้านไปสักพัก
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 1,886 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา