ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ในขณะที่มันเป็นเรื่องง่ายที่จะเชื่อว่า เมื่อเหตุการณ์ในอดีตได้จบไปแล้ว มันควรที่จะเลือนหายไปเองเมื่อเวลาผ่านไป แต่ในความเป็นจริงมันไม่ใช่เรื่องง่ายเท่าไหร่นัก ประสบการณ์ที่กระทบกระเทือนใจอย่างรุนแรง โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่ทำให้จิตใจบอบช้ำ มีพลังอำนาจที่จะส่งผลกระทบต่อคุณทางด้านจิตใจ และทิ้งบาดแผลทั้งทางกายและจิตใจที่อาจมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของคุณไปได้อีกหลายปี บางครั้งอาจเป็น 10 ปี [1] ความทรงจำของเหตุการณ์เหล่านี้สามารถมีอิทธิพลต่อคุณทั้งทางประสาทและจิตใจโดยที่คุณอาจรู้หรือไม่รู้ตัว การเรียนรู้ที่จะมีชีวิตอยู่กับผลลัพธ์จากประสบการณ์เหล่านั้นอาจเป็นเรื่องยาก แต่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ ไม่ว่าประสบการณ์นั้นจะเลวร้ายแค่ไหน ถึงแม้ว่าการเรียนรู้ที่จะปล่อยวางความทรงจำที่เจ็บปวดอาจต้องใช้เวลาและความพยายามในส่วนของคุณ แต่ยังมีอีกหลากหลายวิธีที่คุณสามารถเรียนรู้ที่จะละทิ้งความทรงจำที่เจ็บปวดเหล่านั้นได้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

การใช้การทำงานของกระบวนการคิด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จดจำสัญญาณทางกายที่เกิดจากบาดแผลทางอารมณ์ความรู้สึก. บางครั้งประสบการณ์ที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อจิตใจโดยเฉพาะอาจทิ้งร่องรอยทางกายที่เป็นผลมาจากบาดแผลทางอารมณ์ความรู้สึก หากคุณมีอาการบางอย่าง มันสามารถเกิดจากการที่ความทรงจำที่เจ็บปวดที่คุณมีทำให้เกิดบาดแผลทางอารมณ์ความรู้สึกที่กำลังส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายของคุณ ซึ่งอาการแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน ดังนั้นมันเป็นเรื่องสำคัญที่จะพิจารณาสถานการณ์เฉพาะของตัวคุณเอง บางทีการพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตอาจเป็นประโยชน์
    • อาการทางกายโดยทั่วไปของบาดแผลทางอารมณ์ความรู้สึก ได้แก่ ประสบปัญหาในการนอน เป็นผลมาจากโรคนอนไม่หลับเรื้อรัง หรือฝันร้าย อัตราการเต้นของหัวใจเร็วถี่ หรือไม่สม่ำเสมอ ปวดเมื่อยตามร่างกาย และเจ็บปวดทุกส่วนของร่างกาย ตกใจง่าย เหน็ดเหนื่อย ไม่มีสมาธิ กระวนกระวาย กล้ามเนื้อตึง [2]
    • อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของความวิตกกังวลที่เชื่อมโยงกับความทรงจำที่เจ็บปวดในอดีต การเผชิญหน้า และเรียนรู้วิธีจัดการกับความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นกับคุณสามารถช่วยบรรเทาผลลัพธ์ของความทรงจำที่เจ็บปวดในชีวิตของคุณได้
  2. สิ่งแรกที่คุณต้องพิจารณา คือการดูให้ชัดเจนว่าความทรงจำที่เจ็บปวดอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตในปัจจุบันของคุณอย่างไร เนื่องจากบางคนคิดว่าประสบการณ์ที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงในอดีตสามารถส่งผลทางประสาทหรือจิตใจได้น้อยมากๆ ทำให้คุณไม่ระวังว่าพวกมันอาจมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของคุณในปัจจุบัน [3] ในขณะที่พฤติกรรม และความคิดปัจจุบันของคุณมีอิทธิพลมาจากพฤติกรรมในอดีต สำหรับคนที่มีความทรงจำที่เจ็บปวดบ่อยครั้งอาจส่งผลกระทบได้มากกว่าคนที่ไม่มี [4]
    • ยกตัวอย่าง เช่น คุณสามารถรู้สึกวิตกกังวลเป็นอย่างมากเมื่ออยู่ใกล้ๆ กับทะเลสาบ เพราะว่าคุณมีประสบการณ์ที่เกือบเอาชีวิตไม่รอดในน้ำ หรือบางทีคุณอาจหลีกเลี่ยงกิจกรรม หรือสถานที่ที่ย้ำเตือนให้นึกถึงการสูญเสียคนที่คุณรักไป ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม การเรียนรู้อย่างแท้จริงว่าความทรงจำที่เจ็บปวดนั้นมีผลกระทบต่อชีวิตของคุณในปัจจุบันอย่างไร จะทำให้คุณได้รู้ถึงความเชื่อมโยง และรวมผลลัพธ์ของมันเข้ากับการดำเนินชีวิตของคุณ
    • ในการพิจารณาว่าพวกมันส่งผลกระทบอย่างไรกับคุณ ให้คุณทำรายการว่าคุณตอบสนองต่อบางสิ่งบางอย่างอย่างไร ให้คิดย้อนถึงความเปลี่ยนแปลงที่สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนที่คุณอาจรู้สึกได้ด้วยตัวเองระหว่างเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดบาดแผลทางจิตใจ และวิธีที่คุณแสดงออกในปัจจุบัน หากคุณไม่แน่ใจถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นด้วยตัวเอง ขอให้คนรอบๆ ตัวคุณดูว่าคุณมีการแสดงออกที่แตกต่างออกไปหรือไม่ หรือเห็นพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปที่อาจชี้ให้เห็นถึงส่วนใดในชีวิตคุณที่ได้รับผลกระทบจากความทรงจำ
  3. เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณเริ่มรู้สึกวิตกกังวลในสถานการณ์ที่ย้ำเตือนให้นึกถึงความทรงจำที่เจ็บปวด ให้คุณเผชิญหน้ากับความวิตกกังวลดังกล่าว แยกแยะความทรงจำนั้นๆ และทดลองดูว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากคุณทำสิ่งที่ตรงข้ามจากการถอนตัวออกจากสถานการณ์นั้น นักจิตวิทยามีหลากหลายเทคนิคในการจัดการกับประเด็นแบบเดียวกันนี้ แต่มี 2 วิธีที่มีประสิทธิภาพและคล้ายคลึงกัน ได้แก่ ฝึกความเชื่อที่มีผลต่อพฤติกรรม (Mindset) และฝึกสติ (Mindfulness) [5] ทั้ง 2 วิธี มีเป้าหมายในการเรียนรู้ที่จะตั้งสติเมื่อความวิตกกังวลเกิดขึ้น โดยเมื่อมันเกิดขึ้น ให้คุณโฟกัสไปที่รูปแบบของสถานการณ์ที่คุณสามารถควบคุมได้ เช่น ควบคุมลมหายใจ เพื่อทำให้สถานการณ์ช้าลงเพียงพอที่จะทำให้คุณไม่รู้สึกถูกครอบงำจิตใจอีกต่อไป
    • เนื่องจากการหายใจเป็นสิ่งที่คุณสามารถควบคุมได้ และมันถูกเชื่อมโยงเข้ากับกระบวนการทางสรีรศาสตร์ต่างๆ อีกมากมายในร่างกายของคุณ การเรียนรู้ในการบังคับลมหายใจสามารถเป็นเครื่องมือที่ยิ่งใหญ่ในการลดความวิตกกังวลเมื่อมันเกิดขึ้น มันยังช่วยในการตระหนักถึงสิ่งรอบตัวคุณโดยทั่วไปได้อีกด้วย [6]
    • ทำสิ่งนี้ด้วยตัวเองที่บ้านเป็นอันดับแรก เริ่มต้นโดยการหายใจเข้าช้าๆ กลั้นหายใจไว้ชั่วครู่ และค่อยหายใจออกอย่างช้าๆ ลองสังเกตความรู้สึกที่เกิดขึ้น เพื่อที่คุณจะสามารถเชื่อมโยงระหว่างความวิตกกังวล และการหายใจของคุณในสถานการณ์อื่นๆ ที่เกิดขึ้นนอกบ้าน
  4. การมีชีวิตอยู่กับอดีตและกับความทรงจำที่เจ็บปวดไม่ดีต่อสุขภาพ คุณจะไม่สามารถเดินต่อได้หรือมีความสุขกับสิ่งใหม่ๆ หากจิตใจของคุณยึดติดอยู่กับอดีต การครุ่นคิดในลักษณะนี้ถูกเชื่อมโยงกับอาการซึมเศร้า อาการผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจหรือโรคเครียด PTSD ความวิตกกังวล และอาการอื่นๆ อีกมากมาย ในการหยุดการครุ่นคิดนี้ให้คุณเข้าร่วมในกิจกรรมที่ช่วยให้คุณโฟกัสไปที่ปัจจุบัน หรืออนาคต วางแผนที่จะออกไปกับเพื่อนช่วงสุดสัปดาห์ คิดถึงการลาพักร้อนที่อุตส่าห์ออมวันลาเอาไว้ หรือคิดถึงเป้าหมายทางอาชีพหรือชีวิตที่คุณยังไม่บรรลุผลสำเร็จ การคิดถึงเรื่องดีๆ จะช่วยให้คุณไม่วนเวียนอยู่กับความทรงจำที่เจ็บปวด
    • หากคุณยังคงกังวลถึงสิ่งที่คุณควรได้ทำในอดีตที่ยังอยู่ในความทรงจำ ให้คิดถึงวิธีที่คุณจะสามารถหลีกเลี่ยงไม่ให้เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นในอนาคต หากคุณยังไม่สามารถควบคุมมันได้ ให้คุณคิดว่าคุณได้เดินมาไกลเท่าไหร่แล้วนับตั้งแต่เหตุการณ์นั้นได้ผ่านพ้นไป และโฟกัสไปที่แง่บวกของความพยายามในปัจจุบันหรืออนาคตของคุณ [7]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

การเรียนรู้นิสัยใหม่ๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การเขียนเป็นอีกหนึ่งวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการช่วยให้คุณออกจากเหตุการณ์ที่เจ็บปวดในอดีตได้ ลองเขียนบันทึกเกี่ยวกับอดีตและปัจจุบันของคุณเพื่อเรียนรู้ว่าคุณได้รับความกระทบกระเทือนจากความทรงจำที่เจ็บปวดได้อย่างไร การทำให้ประสบการณ์เหล่านั้นกลายเป็นรูปแบบการเล่าเรื่องสามารถทำให้คุณควบคุมวิธีที่คุณเห็นประสบการณ์เหล่านั้นว่ามีความสำคัญต่อชีวิตของคุณอย่างไร [8] มันยังทำให้คุณได้ใช้ประโยชน์จากอารมณ์ความรู้สึกที่เชื่อมโยงกับความทรงจำเหล่านั้นที่ปกติจะเข้าถึงได้ยาก [9]
    • นั่งลง และเขียนประสบการณ์ใดๆ ที่คุณนึกได้ โดยให้ลงรายละเอียดมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ วิธีนี้สามารถช่วยคุณแบ่งแยกผลกระทบของความทรงจำที่เจ็บปวดออกเป็น 2 เหตุผล เหตุผลแรก มันยอมให้คุณเห็นการเชื่อมโยงระหว่างสถานการณ์ในชีวิตและอารมณ์ความรู้สึกของคุณ เหตุผลที่สอง การเขียนสามารถเป็นการระบาย ที่ทำให้คุณรู้สึกมีอิสระในการสร้างสรรค์ที่อาจช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงจากความรู้สึกที่ย่ำแย่จากเหตุการณ์ในชีวิตก่อนหน้านี้
    • หากคุณกำลังดิ้นรนในเรื่องนี้ ให้คุณเริ่มต้นง่ายๆ โดยการเขียนสิ่งที่เกิดขึ้นกับคุณมาตลอดทั้งวัน หากคุณรู้สึกถึงแรงผลักดันที่เชื่อมโยงถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ได้เกิดขึ้นกับคุณในอดีต จงปล่อยใจเขียนความเชื่อมโยงเหล่านั้นโดยไม่บังคับให้มันเป็นไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง
  2. ในการช่วยให้คุณเอาชนะความทรงจำที่เจ็บปวด พยายามสร้างความทรงจำใหม่ๆ ที่ดีขึ้น และบ่มเพาะนิสัยใหม่ขึ้นมา ความทรงจำที่เจ็บปวดสามารถกัดกินคุณหากคุณใช้เวลาอยู่ตามลำพังมากเกินไป และละเลยเนื้อแท้ของความปรารถนาของคุณในการมีความสัมพันธ์กับคนอื่น ให้คุณอยู่รอบๆ คน และกิจกรรมที่ทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน มนุษย์เป็นสัตว์สังคมโดยกำเนิด ดังนั้นความรู้สึกยินดี หรือมีความสุขจึงมักเกี่ยวข้องกับการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น โดยเฉพาะการสัมผัสหรือการแสดงความสนิทสนมแบบอื่นๆ [10]
    • นี่ไม่ได้หมายความว่าคุณควรออกไปกับใครก็ได้ มันต้องใช้ความพยายามพอสมควรในการพิจารณาว่าอะไรที่นำความสุขมาสู่คุณ แต่ทันทีที่คุณพบกิจกรรมหรือกลุ่มคนที่ทำได้เช่นนั้น ให้พยายามปรับเปลี่ยนชีวิตประจำวันเพื่อให้คุณใช้เวลาได้มากที่สุดกับสิ่งเหล่านั้น
  3. การติดอยู่กับกิจวัตรปกติสามารถทำให้คุณหมกมุ่นกับการคิดถึงอดีตมากเกินไป พยายามทดลองกับสภาพแวดล้อมและกลุ่มทางสังคมของคุณเพื่อผสมผสานพวกมันเข้ากับกิจวัตรประจำให้ได้วันเว้นวันถ้าเป็นไปได้ นี่เป็นความจริงหากคุณรู้สึกไม่มีความเบิกบานใจในชีวิตประจำวันของตนเอง และสังเกตเห็นว่าคุณกำลังถูกครอบงำโดยความทรงจำที่เจ็บปวดในอดีตอย่างชัดเจน คุณจำเป็นต้องผลักดันตัวเองให้ออกไปจากพื้นที่ที่คุณคุ้นเคย และพาตัวเองไปสู่สภาพแวดล้อมที่คุณไม่คุ้นเคยมาก่อน [11]
    • หากคุณรู้สึกแปลกแยกจากคนอื่นอยู่ตลอดเวลา และไม่สามารถพบปะกับคนที่เคยให้การสนับสนุนคุณ อาจจำเป็นต้องทดลองโดยการปฏิสัมพันธ์กับคนใหม่ๆ ในสถานการณ์ที่คุณไม่เคยเผชิญ นี่สามารถนำคุณให้พบกับคนในแบบที่ใช่ ที่อาจสามารถให้การสนับสนุนในแบบที่คุณต้องการ และนี่ยังเป็นความหวังที่จะช่วยให้คุณถูกครอบงำโดยอดีตได้น้อยลง โดยทำให้คุณโฟกัสไปที่กิจกรรมและคนที่มีความน่าสนใจมากกว่าในปัจจุบัน
    • ลองลงเรียนคอร์สศิลปะการต่อสู้ที่มีการผสมผสานหรือโยคะ หรือง่ายๆ คุณสามารถออกไปเดินเล่นในสวนสาธารณะ หัวใจสำคัญ คือผลักดันตัวเองให้อยู่ในสถานการณ์ที่คุณไม่คุ้นเคยมาก่อน หรือรอบๆ คนที่คุณไม่เคยออกไปด้วยกันกับพวกเขามาก่อน มิฉะนั้นความทรงจำที่เจ็บปวดสามารถกลายเป็นส่วนหนึ่งของวังวนผลสะท้อนกลับทางจิตวิทยา ที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำและนิสัยของคุณ
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

การรับความช่วยเหลือจากภายนอก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หากคุณรู้สึกเหมือนว่าคุณต้องการมุมมองจากภายนอก หรือพบว่ามันยากที่จะเห็นได้ด้วยตัวเอง ให้ถามคนอื่น หากพวกเขาสังเกตเห็นสิ่งใดที่แตกต่างไป หลังจากเหตุการณ์ที่ทิ้งความทรงจำที่เจ็บปวดได้ผ่านพ้นไป วิธีนี้คุณจำเป็นต้องมีความกล้า เนื่องจากพวกเขาอาจบอกคุณในสิ่งที่คุณไม่อยากได้ยิน อย่างไรก็ตาม คนอื่นๆ โดยเฉพาะคนที่ใกล้ชิดกับคุณมากที่สุด สามารถที่จะจับสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับคุณโดยที่คุณอาจไม่สังเกตเห็น
    • ถามคนที่คุณไว้ใจ เช่น เพื่อนที่ดีที่สุด พี่น้อง พ่อแม่ หรือเพื่อนร่วมงานของคุณ ในขณะที่เข้าถึงพวกเขาโดยปราศจากความคิดอคติ
  2. หากคุณไม่สามารถพบคนที่ให้การสนับสนุนส่วนตัว หรือคุณต้องการพูดคุยกับใครบางคนที่ไม่ใช่คนที่คุณรักหรือไม่ได้อยู่ในกลุ่มเพื่อนของคุณ ลองเข้าร่วมกลุ่มสนับสนุนที่โฟกัสไปที่ประเภทของปัญหาที่คุณกำลังทนทุกข์ทรมานอยู่ ซึ่งมีอยู่มากมายที่โฟกัสไปที่ขอบเขตของปัญหาที่มีความหลากหลาย เช่น ปัญหาการใช้สารเสพติด ความรุนแรงในครอบครับ ความโศกเศร้าจากการสูญเสียคนที่รัก หรือความวิตกกังวล และอาการซึมเศร้า
    • มีฐานข้อมูลออนไลน์ที่ช่วยคุณในการหากลุ่มที่ใช่สำหรับคุณ คุณยังสามารถถามแพทย์ของคุณ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตสำหรับคำแนะนำ หากคุณไม่สามารถหาใครได้ด้วยตัวเอง [12]
  3. หากคุณไม่สามารถรับมือกับความทรงจำที่เจ็บปวดของคุณด้วยตัวเอง ให้คุณเข้าพบผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องบาดแผลทางจิตใจ เพื่อช่วยจัดการกับปัญหาของคุณ คุณควรมองหาความช่วยเหลือจากมืออาชีพ เมื่อความทรงจำที่เจ็บปวดทำให้คุณรับไม่ไหวอีกต่อไป ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เช่น ที่ปรึกษา หรือนักบำบัด ที่ถูกฝึกมาเพื่อให้มีทักษะในการรับมือที่หลากหลาย หรือจัดหาเทคนิคในการรักษาที่สามารถช่วยทำให้คนมีประสิทธิภาพ และการพัฒนาที่ดีขึ้นในการใช้ชีวิตประจำวันของพวกเขา ถึงแม้ว่าคุณอาจมีประสบการณ์ที่เจ็บปวดในอดีตอยู่ก็ตาม ไม่ใช่เรื่องผิดในการขอความช่วยเหลือ อย่ารู้สึกล้มเหลว หรืออายที่จะขอความช่วยเหลือ
    • หากความทรงจำที่เจ็บปวดขัดขวางคุณจากการทำสิ่งต่างๆ ตามที่คุณต้องการในแต่ละวัน และหากความเจ็บปวดนั้นดูไม่มีทีท่าที่จะลดน้อยลงเมื่อเวลาผ่านไป ให้คุณพบผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตที่สามารถให้การช่วยเหลือคุณได้ เขาหรือเธอสามารถรับฟังเรื่องราวของคุณ และแนะนำเคล็ดลับในการรับมือกับปัญหา ในการช่วยให้คุณรับมือกับความทรงจำที่เจ็บปวดที่อาจส่งผลให้เกิดบาดแผลที่ฝังลึกในชีวิตของคุณ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตอาจใช้เทคนิคที่มีอยู่มากมายในการให้ความช่วยเหลือคุณ [13]
  4. กระบวนการ CBT เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมสำหรับการรักษาบาดแผลของอดีต ซึ่ง CBT เป็นการเข้าถึงความวิตกกังวล และอาการซึมเศร้าในระยะสั้น โดยนักบำบัดจะช่วยคุณในกระบวนการทางความเชื่อและความคิดของคุณ พวกเขาจะช่วยให้คุณจัดกระบวนการเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพตรงตามความปรารถนาของคุณ มันเป็นวิธีที่ได้ผลมากกว่าการบำบัดรูปแบบอื่น โดยใช้ความพยายามจากทางคุณในการช่วยให้คุณเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและความคิด นักบำบัดจะช่วยคุณฟันฝ่าปัญหา พร้อมให้แบบฝึกหัดและการรักษาคุณไปทำที่บ้าน และช่วยคุณเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยรวมของคุณทั้งหมด [14]
    • มองหาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตที่มีความเชี่ยวชาญวิธีการรักษานี้ หากคุณคิดว่ามันอาจมีประสิทธิภาพสำหรับสถานการณ์ของคุณเอง
  5. ถามถึงการรักษาที่ใช้กับบุคคลที่มีบาดแผลทางจิตใจที่เรียกว่า Eye Movement Desensitization and Reprocessing (EMDR). ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตของคุณอาจลองใช้กระบวนการ EMDR ซึ่งกระบวนการนี้จะใช้ประโยชน์จาการตอบสนองโดยธรรมชาติของร่างกายคุณกับประสบการณ์ในอดีต โดยการใช้การเคลื่อนไหวของดวงตาเพื่อปลดล็อคความทรงจำควบคู่ไปกับกระบวนการ CBT เพื่อช่วยกระตุ้นความทรงจำที่ก่อให้เกิดบาดแผลทางจิตใจ เพื่อที่คุณจะสามารถรับมือกับพวกมัน แทนที่จะเก็บกดมันเอาไว้ วิธีนี้รักษาสุขภาพจิตในแบบเดียวกับสุขภาพร่างกาย หากคุณมีความทรงจำที่ก่อให้เกิดบาดแผลทางจิตใจที่ยังคงวนเวียนอยู่ในความคิดของคุณอยู่ตลอดเวลา คุณจะไม่มีทางหาย แม้ว่าสมองของคุณจะมีความสามารถในการรักษาตัวเองโดยธรรมชาติก็ตาม
    โฆษณา


ข้อมูลอ้างอิง

  1. Van der Kolk, B. (2014). The Body Keeps the Score: Brain, Mind, and Body in the Healing of Trauma (1 edition). New York: Viking.
  2. http://www.helpguide.org/articles/ptsd-trauma/emotional-and-psychological-trauma.htm
  3. Damasio, A. (2003). Looking for Spinoza: Joy, Sorrow, and the Feeling Brain (Reprint edition). Orlando, Fla.: Harvest.
  4. Cambria, E., Livingstone, A., & Hussain, A. (2012). The Hourglass of Emotions. In A. Esposito, A. M. Esposito, A. Vinciarelli, R. Hoffmann, & V. C. Müller (Eds.), Cognitive Behavioural Systems (pp. 144–157). Springer Berlin Heidelberg. Retrieved from http://link.springer.com/chapter/10.1007/978-3-642-34584-5_11
  5. Siegel, R. D. (2010). The Mindfulness Solution: Everyday Practices for Everyday Problems (1 edition). New York: The Guilford Press.
  6. Barrera, T. L., Grubbs, K. M., Kunik, M. E., & Teng, E. J. (2014). A Review of Cognitive Behavioral Therapy for Panic Disorder in Patients with Chronic Obstructive Pulmonary Disease: The Rationale for Interoceptive Exposure. Journal of Clinical Psychology in Medical Settings, 21(2), 144–154. http://doi.org/10.1007/s10880-014-9393-4
  7. http://psychcentral.com/blog/archives/2011/01/20/why-ruminating-is-unhealthy-and-how-to-stop/
  8. Mehl-Madrona, L., M. D. , Ph D. (2010). Healing the Mind through the Power of Story: The Promise of Narrative Psychiatry. Bear & Company.
  9. Mello, S. D’, & Mills, C. (2014). Emotions while writing about emotional and non-emotional topics. Motivation & Emotion, 38(1), 140–156
  1. Kringelbach, M. L., & Berridge, K. C. (2010). The Neuroscience of Happiness and Pleasure. Social Research, 77(2), 659–678
  2. Bennardo, G. (2009). Language, Space, and Social Relationships: A Foundational Cultural Model in Polynesia. Cambridge University Press
  3. http://www.traumasurvivorsnetwork.org/pages/peer-support-groups
  4. http://www.helpguide.org/articles/ptsd-trauma/emotional-and-psychological-trauma.htm
  5. Knaus, D. W. J., & Carlson, J. P. E. (2014). The Cognitive Behavioral Workbook for Anxiety: A Step-By-Step Program (Second Edition edition). Oakland, CA: New Harbinger Publications
  6. http://www.emdr.com/what-is-emdr/
  7. http://www.helpguide.org/articles/ptsd-trauma/emotional-and-psychological-trauma.htm

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,253 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา