ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ต้นว่านหางจระเข้นั้นทั้งเป็นที่นิยมและโตง่ายด้วย บวกกับถ้าคุณเข้าใจระดับของน้ำกับแสงอาทิตย์ที่เลียนแบบสภาพภูมิอากาศร้อนๆ ที่พืชชนิดนี้จะเติบโตขึ้นได้ยิ่งดี ว่านหางจระเข้จะแตกต่างจากไม้อวบน้ำทั่วไปตรงที่มันไม่สามารถเจริญเติบโตจากส่วนใบที่ถูกตัดออกมาต่อได้ และมันจะมีต้นอ่อนงอกขึ้นจากต้นใหญ่ที่ใช้ระบบรากเดียวกันในการแพร่พันธุ์แทน ต้นอ่อนเหล่านี้จะต้องได้รับการดูแลอย่างดี ซึ่งเราได้ให้รายละเอียดเอาไว้ในส่วนของการขยายพันธุ์นั่นเอง

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

การปลูกหรือย้ายต้นว่านหางจระเข้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ต้นว่านหางจระเข้มีรากที่สั้นและใบที่หนัก ฉะนั้นจึงจะย้ายไปยังกระถางที่หนักกว่าเมื่อใบด้านบนเริ่มหนักและงอลงมา ถ้าว่านหางจระเข้ไม่มีที่ว่างให้รากได้เติบโตต่อไป มันอาจหยุดผลิต"หน่อ"ที่สามารถย้ายไปยังกระถางของหน่อเองได้ (ดูได้ในส่วนการขยายพันธุ์) ถ้าคุณสนใจจะให้ต้นหลักโตขึ้นมากกว่าที่จะปลูกต้นใหม่ ก็ให้ย้ายต้นหลักไปยังกระถางที่ใหญ่กว่าก่อนที่รากจะเริ่มเลื้อยติดกับกระถางปัจจุบัน [1]
    • ถ้าคุณอยากย้ายต้นอ่อนที่เติบโตอยู่ตรงฐานของต้นหลัก ก็ให้ไปดูในส่วนของการขยายพันธุ์แทน
  2. ว่านหางจระชอบที่จะอยู่ท่ามกลางแสงแดดสัก 8-10 ชม.ต่อวัน [2] แม้ว่ามันเจริญเติบโตในอากาศอุ่นๆ หรือร้อนๆ ได้ดีที่สุด แต่มันก็ทนอากาศหนาวโดยอยู่ในช่วงพักตัวได้ อย่างไรก็ตาม มันอาจได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงถ้าหากว่าเจอกับอากาศที่อุณหภูมิต่ำกว่า -4ºC เช่นกัน
    • บริเวณที่มีค่า Hardiness zones ที่เป็น 9 10 และ 11 เป็นช่วงค่าที่เหมาะกับการนำต้นว่านหางจระเข้วางไว้นอกบ้านได้ทั้งปี [3] ถ้าคุณอาศัยอยู่บริเวณเขตอื่น ก็อาจวางต้นว่านหางจระเข้เอาไว้ข้างนอกส่วนใหญ่ และเก็บเข้ามาในบ้านก่อนที่หิมะจะตกก็ได้
    • ถ้าคุณอาศัยอยู่ทางซีกโลกเหนือ หน้าต่างที่แสงแดดจะส่องเข้ามามากที่สุดคือฝั่งด้านตะวันตกหรือทางใต้ แต่ถ้าคุณอยู่ซีกโลกใต้ หน้าต่างเหล่านั้นก็จะอยู่ทางตะวันตกหรือทางเหนือ
    • แม้ว่าพืชจะปรับตัวให้เจริญเติบโตในสภาพแวดล้อมที่ร้อนได้ แต่มันก็ยังไหม้ได้เหมือนเดิมนะ ฉะนั้นให้ย้ายไปหาเงาอ่อนๆ ด้วยถ้าหากว่าใบมันเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล [4]
  3. Watermark wikiHow to ปลูกต้นว่านหางจระเข้
    ว่านหางจระเข้เป็นพืชที่มีการปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดในสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งได้ และมันอาจเน่าได้ถ้าหากว่าปลูกในดินอุ้มน้ำ ให้ใช้ดินที่ใช้ปลูกต้นกระบองเพชร หรือผสมดินเองจากดิน ทราย และกรวดในปริมาณที่เท่ากัน [5]
    • ถ้าปลูกต้นว่านหางจระเข้เอาไว้ในภาชนะบางอย่าง ขอให้ภาชนะนั้นมีรูตรงก้นภาชนะเพื่อให้น้ำได้ระบายออก
  4. Watermark wikiHow to ปลูกต้นว่านหางจระเข้
    ใส่ตุ้มรากว่านหางจระเข้ลงไปใต้ผิวหน้าดิน ถ้าหากว่าส่วนใบที่เป็นสีเขียวสัมผัสกับดินไปด้วย มันก็อาจเน่าได้ [6]
  5. Watermark wikiHow to ปลูกต้นว่านหางจระเข้
    คลุมหน้าดินเอาไว้ด้วยหินหรือกรวด (ไม่จำเป็น). วางหินก้อนเล็กๆ เอาไว้รอบๆ ฐานของต้นว่านหางจระเข้ เพื่อให้ดินอยู่กับที่ และลดการระเหยของน้ำด้วย [7] มันไม่ได้จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของว่านหางจระเข้หรอก ฉะนั้นจะไม่ใส่แล้วปล่อยให้หน้าดินโผล่ออกมาก็ได้เหมือนกัน
    • หินสีขาวจะสะท้อนความอุ่นจากแสงอาทิตย์กลับไปยังฐานของต้น ซึ่งเป็นความคิดที่ดีถ้าคุณไม่ได้อาศัยอยู่ในที่ที่อากาศร้อน [8]
  6. อย่ารดน้ำภายในสองสามวันแรกหลังจากปลูกต้นมัน. ก่อนจะเริ่มรดน้ำ ปล่อยให้ว่านหางจระเข้ได้ฟื้นฟูรากของมันที่อาจได้รับความเสียหลายระหว่างการนำมาปลูกก่อนสักสองสามวัน [9] การรดน้ำจะสร้างความเสียหายต่อราก ที่อาจทำให้รากมีโอกาสเน่าได้ ว่านหางจระเข้จะเก็บน้ำเอาไว้ในใบเป็นจำนวนมาก และไม่ได้รับอันตรายใดๆ ถ้าหากจะขาดน้ำในช่วงนี้ ถ้าคุณอยากให้มันปลอดภัยจริงๆ จะให้น้ำปริมาณเล็กน้อยสักครั้งสองครั้งก็ได้
    • สำหรับคำแนะนำในการรดน้ำ ให้ดูที่ส่วนของการดูแลในแต่ละวันได้เลย
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

การดูแลรักษาและแก้ปัญหา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to ปลูกต้นว่านหางจระเข้
    รดน้ำเมื่อใดก็ตามที่ดินแห้ง ขณะที่อยู่ในช่วงเจริญเติบโต. ในช่วงฤดูร้อน หรือช่วงใดก็ตามที่อากาศอุ่นและมีแสงแดด ว่านหางจระเข้จะโตเร็วที่สุดเมื่อได้รับการรดน้ำเป็นประจำ อย่างไรก็ตาม การที่น้ำจะท่วมมากเกินไปนั้นเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าที่จะแห้งออกไปอยู่ดี ฉะนั้นอย่าเพิ่งรดน้ำ จนกว่าดินจะแห้งลึกลงไปถึง 3 นิ้ว (7.5 ซม.) [10]
  2. ว่านหางจระเข้มักจะพักตัวในช่วงฤดูหนาว หรือเมื่อใดก็ตามที่อากาศหนาวเป็นช่วงระยะเวลานานพักหนึ่ง ถ้าคุณไม่ได้ให้ความร้อนในห้องทั้งปี ก็ควรรดน้ำสักครั้งสองครั้งต่อเดือนในช่วงนั้นก็พอ [11]
  3. Watermark wikiHow to ปลูกต้นว่านหางจระเข้
    ว่านหางจระเข้ไม่ได้ต้องการปุ๋ย และถ้าใส่มากเกินไปก็อาจไปทำร้ายต้นมันหรือทำให้มันมีสุขภาพไม่ดีเข้าได้ ถ้าคุณอยากช่วยกระตุ้นให้โตไวๆ ก็ให้ใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนต่ำ ฟอสฟอรัสสูง โพแทสเซียมต่ำ อย่างในอัตราส่วน 10:40:10 หรือ 15:30:15 โดยให้ใส่ครั้งหนึ่งต่อปีในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งก็คือช่วงเริ่มเติบโตนั่นเอง [12] [13]
  4. Watermark wikiHow to ปลูกต้นว่านหางจระเข้
    ดินรอบๆ ว่านหางจระเข้ควรที่จะไม่มีหญ้าหรือวัชพืชใดๆ อยู่เลย ให้คอยกำจัดออกบ่อยๆ ถ้าปลูกต้นเอาไว้นอกบ้าน แต่ให้ค่อยๆ ทำอย่างอ่อนโยนล่ะ เพราะว่านหางจระเข้ดีๆ นั้นอยู่ในดินหลวมๆ และร่วนเป็นทราย จึงง่ายต่อการที่จะเผลอทำร้ายรากขณะที่ดึงวัชพืชที่ฝังแน่นออกนั่นเอง [14]
  5. ถ้าใบมันดูแบนและโน้มต่ำลงมา ก็ให้เพิ่มแสงแดดเข้าไปอีก. ถ้าใบมันโตขึ้นมาแบบแบนๆ และโน้มต่ำ ก็ให้เพิ่มแสงแดดเข้าไป ใบว่านหางจระเข้ควรชูสูงขึ้นด้านบนเป็นมุมชี้ไปทางแสงอาทิตย์ ถ้ามันโน้มต่ำลงพื้น หรือดูแบนๆ นั่นแปลว่าว่านหางจระเข้ไม่ได้รับแสงแดดที่เพียงพอนั่นเอง [15] ให้ย้ายมันไปที่ที่มีแสงอาทิตย์มากขึ้น ถ้าหากว่าปลูกไว้ในบ้าน ก็ให้นำออกไปวางด้านนอกในช่วงกลางวันบ้าง
  6. ถ้าใบมันเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ก็ให้ลดแสงอาทิตย์ลง ถึงว่านหางจระเข้จะทนต่อแสงแดดได้ดีกว่าพืชชนิดอื่น แต่ใบมันก็ไหม้ได้เช่นกัน ถ้าหากว่าใบมันเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแล้วล่ะก็ ให้ย้ายเอาไปไว้ในร่มในช่วงกลางวันก่อนบ่าย
  7. ถ้าใบมันดูบางและม้วน ให้รดน้ำเพิ่มซะ ใบที่หนาและดูสดใหม่จะกักเก็บน้ำเอาไว้ให้ต้นใช้ในช่วงแล้ง ถ้าใบดูบางหรือม้วน ก็ให้รดน้ำให้บ่อยขึ้นกว่าเดิม [16] ระวังอย่าให้มันมากเกินไปล่ะ น้ำควรได้ระบายออกผ่านดินอย่างรวดเร็วเพื่อกันไม่ให้รากเน่า ซึ่งจะเป็นเรื่องยากต่อการหยุด
  8. หยุดรดน้ำถ้าใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือหลุดร่วงลงมา. ใบที่เป็นสีเหลืองหรือเกิด"การละลาย"นั่นก็เกิดจากการที่ได้รับน้ำมากเกินไปนั่นเอง ให้หยุดรดน้ำโดยสิ้นเชิงในสัปดาห์ถัดไป (หรือสองสัปดาห์ในช่วงพักของมัน) และรดน้ำให้น้อยลงเมื่อกลับมารดน้ำตามปกติ แล้วก็จะดึงใบที่เปลี่ยนสีออกจากต้นโดยไม่ไปทำร้ายมันด้วยก็ดี โดยวิธีที่ใช้ได้ดีที่สุดคือการใช้มีดที่ฆ่าเชื้อแล้วนั่นเอง
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

การขยายพันธุ์ต้นใหม่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปล่อยให้ต้นว่านหางจระเข้ที่โตเต็มวัยโตจนเต็มภาชนะปลูก. ขณะที่ต้นว่านหางจระเข้ที่สุขภาพดีๆ จะมีโอกาสสร้างต้นอ่อนออกมาได้ ซึ่งเรียกอีกชื่อว่า "หน่อ" แต่มันก็ยังเกิดขึ้นได้เมื่อต้นโตเต็มวัยได้ขยายอาณาเขตไปถึงภาชนะของมันเรียบร้อยแล้ว [17]
  2. ต้นว่านหางจระเข้ควรจะเริ่มผลิต "หน่อ" ขึ้นมาได้แล้ว ซึ่งเป็นส่วนที่โคลนออกมาจากต้นหลักของมันเอง ซึ่งจะใช้รากร่วมกันต้นหลัก และอาจติดอยู่กับฐานด้วยซ้ำ ต้นอ่อนพวกนี้บางครั้งอาจโตขึ้นออกจากรูระบายน้ำของภาชนะ หรือสร้างรากเลื้อยไปยังภาชนะที่อยู่ใกล้ๆ กันอีกด้วย! [18]
    • ต้นหน่อจะมีสีเขียวที่อ่อนกว่าใบของต้นหลัก และตอนที่โตขึ้นมาครั้งแรก ก็จะไม่มีขอบใบหยักแหลมเหมือนต้นหลัก [19]
  3. Watermark wikiHow to ปลูกต้นว่านหางจระเข้
    ต้นอ่อนจะใช้ได้ดีที่สุดถ้าคุณรอจนกว่ามันจะมีขนาดใหญ่ขึ้นอีกนิดหน่อย และโตพอที่จะสร้างรากของตัวเองขึ้นมาได้ ขณะที่ขนาดของมันก็หลากหลายไปตามสายพันธุ์แยกย่อยและต่างกันออกไปตามแต่ละต้น ฉะนั้นขนาดตามมาตรฐานที่ต้นอ่อนควรมีคือสูงอย่างน้อย 3 นิ้ว (7.5 ซม.) และจะให้ดีก็ควรถึง 5 นิ้ว (12.5 ซม.) เลยล่ะ [20] ถ้าภาชนะที่เนื้อที่เพียงพอ ก็ให้รอจนกว่าต้นอ่อนจะโตขึ้นได้ขนาด 1/5 ของต้นหลัก และงอกกลุ่ม"ใบแท้"ที่ดูเหมือนของต้นหลักขึ้นมา [21]
  4. Watermark wikiHow to ปลูกต้นว่านหางจระเข้
    ทำความสะอาดมีดก่อนเป็นอันดับแรกเพื่อลดความเสี่ยงที่จะทำให้ต้นติดเชื้อได้ ปัดดินตรงฐานหน่อออกเพื่อดูว่ามันติดอยู่กับต้นหลักหรือไม่ ถ้าติดก็ให้ตัดออก โดยต้องให้แน่ใจว่าต้นอ่อนยังติดอยู่กับรากของมันเองอยู่ ถ้ามี การที่รากของมันปรากฏขึ้นมาให้เห็น นั่นก็จะเพิ่มอัตราความสำเร็จได้ แต่ก็อาจมองหาได้ยากจนกว่าจะเอาต้นอ่อนออกมานั่นแหละ
  5. ทิ้งให้ต้นที่ถูกตัดออกมาเอาไว้ อย่าเพิ่งลงดินสักสองสามวัน. แทนที่จะลงว่านหางจระเข้ต้นใหม่ในทันที ก็ควรปล่อยให้ต้นมันได้สร้างแคลลัสตรงจุดที่ถูกมีดตัดขึ้นมาเสียก่อน ถ้าหากว่านำผิวส่วนที่ถูกตัดลงไปในดินโดยตรงเลย ก็จะทำให้ต้นติดเชื้อได้
  6. Watermark wikiHow to ปลูกต้นว่านหางจระเข้
    ปลูกลงในภาชนะของตัวเอง และใส่ของที่เอาไว้รองรับด้วย. ลงต้นอ่อนไว้บนดินที่ระบายน้ำได้ดี โดยไม่กลบดินฝังใบไปด้วย เนื่องจากว่าระบบรากของมันอาจมีขนาดเล็ก (หรือมองไม่เห็นเลย) คุณจึงต้องใส่ก้อนกรวดลงไปสักชั้นแล้ววางมันพิงกับวัสดุอื่น แล้วกลุ่มรากของมันก็จะโตขึ้นพอที่จะยึดหนุนต้นไม้ได้เองภายในสองสามสัปดาห์ [22]
    • รายละเอียดอื่นๆ เพิ่มเติมสามารถอ่านได้ในส่วนของการปลูก ซึ่งประยุกต์ใช้กับต้นอ่อนได้ไม่ต่างจากต้นโตแล้ว
  7. Watermark wikiHow to ปลูกต้นว่านหางจระเข้
    ให้น้ำหนึ่งครั้งต่อสองสามวัน ถ้าหากว่าต้นยังไม่มีราก. ก่อนที่รากจะโตลงดินไป ก็อย่าเพิ่งรดน้ำให้มันล่ะ รออย่างน้อยสักสองสามสัปดาห์เพื่อให้หน่อได้เจริญรากของตัวเองออกมาก่อนจะรดน้ำ แต่ก่อนหน้านั้นก็ให้ให้น้ำด้วยการฉีดจากขวดสเปรย์ครั้งหนึ่งต่อทุกๆ สามวันแทนไปก่อน [23]
  8. ว่านหางจระเข้สามารถอยู่ได้นานแม้ไม่มีน้ำ และถ้าหากว่าคุณรดน้ำให้มันก่อนที่รากจะออกมามากพอ น้ำก็อาจขังและทำให้รากเน่าได้เลย [24] ถ้าหน่อมันมีกลุ่มรากขึ้นมาเป็นของตัวเองแล้ว ก็อาจทำให้รากตั้งตัวด้วยการรดน้ำให้หนึ่งครั้งและนำต้นไปไว้ในรุ่มสัก 2 ถึง 3 วันก็ได้ [25]
  9. เมื่อใดที่ต้นอยู่ในภาชนะของมันเองและงอกรากออกมาเรียบร้อย ก็สามารถดูแลมันได้เหมือนต้นโตเต็มวัยได้ทันที โดยให้ทำตามคำแนะนำที่อยู่ในส่วนของการดูแลประจำวันได้เลย
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ต้นไม้ใดๆ ที่นำไปไว้ในที่ร่มเป็นระยะเวลานานอาจต้องการการปรับตัวช้าๆ ก่อนที่จะพาไปเจอแสงแดดเต็มๆ โดยให้นำไปวางในที่ที่แดดเข้าถึงบางส่วนหลายๆ สัปดาห์ก่อนจะนำออกไปวางสู้แดดด้านนอก
  • ถ้าคุณโชคดีพอที่จะได้เห็นว่านหางจระเข้ออกดอกและผล ก็สามารถเก็บเมล็ดเอาไว้เพื่อปลูกมันได้ด้วยนะ เพราะนกและแมลงอาจช่วยผสมพันธุ์ว่านหางจระเข้ให้กับว่านหางสายพันธุ์อื่นๆ ที่มีคุณภาพต่างกันออกไป และเพราะการปลูกจากเมล็ดจะมีอัตราความสำเร็จต่ำกว่าปลูกจากหน่อ มันจึงเกิดขึ้นได้ยาก ถ้าคุณตั้งใจจะปลูกว่านหางจระเข้จากเมล็ด ก็ให้ใช้เมล็ดสีดำหว่านบนพื้นผิวของดิน เติมทรายและน้ำบ่อยๆ จนกว่าต้นอ่อนจะงอกออกมา ปลูกมันไว้ด้วยแสงแดดอ้อมๆ และเปลี่ยนไปยังกระถางที่ใหญ่กว่าหลังจากที่หน่อแตกออกมา 3 ถึง 6 เดือน [26]
โฆษณา

คำเตือน

  • ต้นว่านหางจระเข้ไม่เหมือนกับพืชอื่นๆ ในตระกูลไม้อวบน้ำตรงที่มันไม่สามารถโตจากส่วนใบที่ตัดออกมาได้ คุณควรใช้ต้นเล็กๆ ที่แยกออกมาจากต้นหลักแทน และควรมากับระบบรากของมันเองและหน่ออีกหลายๆ หน่อด้วย [27]
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • เมล็ด ต้นชำ หรือต้นของว่านหางจระเข้โตเต็มวัย
  • กระถางดิน
  • น้ำ
  • ดินปลูกต้นกระบองเพชรหรือดินผสมเองจากทราย กรวด และดิน

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,888 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา