PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

เมื่อคุณเชี่ยวชาญพื้นฐานการวางกรอบของภาพ (Framing) การกดถ่าย (Shooting) และการถ่ายภาพแล้วล่ะก็ ลองพัฒนาสู่ขั้นต่อไปโดยการถ่ายภาพเป็นงานอดิเรกหรือทำเป็นอาชีพแทนที่จะถ่ายภาพเฉพาะช่วงวันหยุด ถ่ายภาพสัตว์หรือถ่ายเด็กๆ เท่านั้น ถึงเวลาแล้วที่คุณควรจะเริ่มถ่ายภาพที่ดู “น่าทึ่ง” มากกว่าถ่ายภาพง่ายๆ ที่ “พอใช้ได้”

  1. หาผู้ช่วยดีๆ สักคนมาช่วยเลือกกล้องดีๆ ให้กับคุณ. อาจจะเป็นพ่อของคุณหรือเพื่อนช่างภาพที่มีกล้องดีๆ อยู่กับตัวหลายอัน ถ้าคุณไม่มีกล้องเป็นของตัวเอง ก็ลองหยิบยืมจากเพื่อนมาใช้ก่อนจนกว่าจะซื้อเองได้ โดยสมัยนี้ก็มักจะใช้กล้องดิจิทัลเป็นส่วนใหญ่ หรือจะหากล้องแบบฟิล์มมาใช้ก็เป็นทางเลือกที่ดีในการถ่ายภาพดีๆ สักภาพ การมีกล้องเป็นของตัวเองจะช่วยให้คุณพัฒนาทักษะการถ่ายภาพได้เป็นอย่างมาก
  2. พื้นฐานการถ่ายภาพก็จะมีการจัดวางองค์ประกอบ (Composition) ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ ในการวางกรอบของภาพ นอกจากนี้ยังมีแสง และพื้นฐานการทำงานของกล้อง ลองศึกษาหาวิธีที่จะถ่ายภาพพวกสิ่งของเบื้องต้นออกมาให้ดูดีขึ้น
  3. ในบางครั้งนั้น ความแตกต่างระหว่างช่างภาพฝีมือดีกับปานกลางนั้นคือการพกกล้องถ่ายรูปได้ถูกที่ถูกเวลา พกกล้องติดตัวไว้ให้บ่อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ หาเวลาใช้กล้องให้บ่อยๆ เพราะการถือกล้องแต่ไม่ถ่ายอะไรเลยก็ไม่ได้ช่วยอะไร
  4. ความพร้อมนั้นไม่เพียงพอต่อการเป็นช่างภาพ เพราะเคน ร็อคเวลล์ (Ken Rockwell) เคยพูดไว้ว่า “คุณเคยได้คำตอบจากตรรกะของผมที่ว่า “อะไรก็ตามที่นำเสนอตัวมันเอง” ไหม ผมก็เป็นเพียงแค่ผู้ชมเท่านั้น ผมเคยคิดว่าการถ่ายภาพนั้นคือการถ่ายสิ่งที่เข้ามาหาเรา ไม่ใช่หรอก คุณต้องออกไปค้นหาสิ่งเหล่านั้น การค้นหาและค้นพบเป็นส่วนที่ยากสำหรับการถ่ายภาพ ... แต่การถ่ายสิ่งที่คุณค้นพบนั้นเป็นสิ่งที่ง่ายมาก” [1]
    • ลุกขึ้น ออกไปข้างนอกแล้วถ่ายภาพ ออกไปข้างนอกทุกครั้ง ทุกวัน ออกไปค้นหา อย่ารอให้โอกาสเข้ามาหาเรา (แต่ก็ต้องเตรียมพร้อมไว้เสมอ) ออกไป แล้ว “ค้นหาสิ่งนั้น” มองหาโอกาสในทุกๆ ที่ที่คุณไป (แม้ว่าจะอยู่ในห้างหรืออีกฟากของโลกก็ตาม) แล้วไปสถานที่แห่งนั้นเพื่อหาโอกาส ถ้าคุณเห็นภาพอะไรบางอย่างในหัวของคุณ นั่นเป็นโอกาสที่คุณจะตั้งกล้องและถ่ายมันซะ
  5. หยุดมองหาสิ่งที่จะถ่ายแล้วเรียนรู้ที่จะมองแทน.
    • มองหาสี หรือมองหาในสิ่งตรงกันข้าม คือมองหาภาพที่ไม่มีสีหรือก็คือถ่ายภาพเป็นสีขาวดำ
    • มองหาสิ่งที่ซ้ำและเป็นจังหวะ หรือมองหาสิ่งตรงกันข้าม คือ มองหาสิ่งที่แปลกแยกไปจากสิ่งรอบด้าน
    • มองหาแสง และการขาดแสง ถ่ายภาพเงา เงาสะท้อน ลำแสงที่ส่องผ่านสิ่งของหรือสิ่งที่มืดสนิท คนส่วนใหญ่จะรอช่วงเวลา “ชั่วโมงทอง” (คือก่อนตะวันขึ้นฟ้าสัก 2–3 ชั่วโมง) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ถ่ายภาพแล้วได้แสงที่ดีที่สุด ทั้งนี้เป็นเพราะว่าแสงจะสร้างทิศทางของภาพ ซึ่งจะทำให้ภาพดูลึกและมีมิติหากจัดวางได้อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ไม่ได้หมายความว่าการถ่ายภาพตอนกลางวันนั้นจะไม่ได้แสงที่ดีเท่า การที่พระอาทิตย์ตั้งอยู่บนหัวนั้นอาจจะมองว่ามันเป็นสิ่งที่เลวร้าย ลองมองหาอะไรที่ดูคลุมเครือหรือเปิดหน้าต่างเพื่อหาแสงที่เบาลง อย่างไรก็ตาม กฎนั้นถูกสร้างไว้ให้แหกอยู่แล้ว อย่ายึดติดกับแนวทางเหล่านี้มากเกินไป
    • มองหาอารมณ์และท่าทางถ้าคุณจะถ่ายภาพคน พวกเขาแสดงความสุขหรือไม่ ก้าวร้าวหรือเปล่า หรือว่าเศร้า พวกเขาดูเหมือนกำลังครุ่นคิดอะไรอยู่หรือไม่ หรือพวกเขาดูเหมือนคนอื่นๆ ที่รู้สึกรำคาญเวลามีกล้องมองมาหรือเปล่า
    • มองหาพื้นผิว รูปร่าง หรือรูปแบบ ภาพขาวดำที่ถ่ายออกมาดีจะดูน่าทึ่งมากเพราะว่าสีขาวและสีดำจะบังคับให้ช่างภาพมองหาพวกมัน
    • มองหาความแตกต่าง มองหาสิ่งของที่โดดเด่นออกมาจากสิ่งอื่น ในองค์ประกอบของภาพคุณนั้น ใช้การซูมแบบกว้างสูงสุด (หรือใช้เลนส์กว้าง (Wide-angle lens)) แล้วค่อยๆ เข้าไปใกล้ๆ สิ่งของแล้วกดถ่าย มองหาการตัดกันของสิ่งต่างๆ สีสดใสตัดกับสีหมองคล้ำ แสงตัดกับเงา และอื่นๆ อีกมากมาย ถ้าคุณจะถ่ายภาพคนล่ะก็ ลองมอง (หรือค้นหา) คนที่มีลักษณะโดดเด่น ลองมองหาความสุขในสถานที่ที่เป็นไปไม่ได้ ลองหาคนที่อยู่ท่ามกลางสิ่งที่ไม่ควรรายล้อม ณ ที่แห่งนั้น หรือไม่สนใจสิ่งเหล่านี้แล้วทิ้งมันไปให้หมดโดยการเปิดเลนส์เพื่อทำภาพพื้นหลังให้มัว
    • มองหาสิ่งที่ดึงดูดความสนใจของคนดู ซึ่งเป็นสิ่งที่ “ไม่น่าจะ” เป็น “สิ่ง” ทั่วๆ ไปในสังคม ถ้าคุณค้นพบสิ่งที่เข้ากับตัวคุณ คุณจะพบว่าท้ายที่สุดนั้น คุณจะกลับไปถ่ายสิ่งนั้นอีกครั้ง นี่เป็นสิ่งที่ดี การมองหาสิ่งที่ “ไม่ใช่” จะช่วยพัฒนาการถ่ายภาพของคุณ แล้วคุณจะได้พบกับโลกที่แตกต่างออกไป
  6. เก็บภาพของคุณให้เรียบง่ายที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้. พยายามเข้าใกล้สิ่งที่คุณจะถ่ายให้มากที่สุด เดินเข้าไปใกล้ๆ แล้วใช้เลนส์สำหรับซูม (ถ้าคุณมี) เพื่อปรับปรุงองค์ประกอบของภาพ ไม่ต้องไปสนใจสิ่งที่ไม่ได้ช่วยให้เข้าใจภาพถ่ายของคุณ
  7. ถ้าคุณถ่ายภาพแบบฟิล์มมาแล้ว ให้ลองถ่ายภาพแบบดิจิทัลด้วย กล้องแบบฟิล์มและดิจิทัลนั้นมีอาณาจักรให้ช่างภาพได้ศึกษาเป็นของตัวเอง กล้องทั้งสองแบบนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย และทั้งสองแบบนี้จะสอนนิสัยและรูปแบบการถ่ายภาพที่แตกต่างกันออกไป นิสัยที่แย่ที่สุดของการถ่ายภาพแบบดิจิทัลจะคานกับนิสัยที่ดีกว่าของการถ่ายภาพแบบฟิล์ม และเช่นเดียวกันกับกล้องแบบฟิล์ม
    • กล้องแบบดิจิทัลจะแสดงภาพที่ถ่ายไปแล้วทันทีเพื่อที่จะดูได้ว่าสิ่งที่คุณถ่ายไปนั้นมีอะไรถูกอะไรผิด ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยลดต้นทุนการทดลองถ่ายจนแทบไม่ต้องใช้ต้นทุนเลย ทั้งสองสิ่งนี้เป็นสิ่งที่คุ้มค่ามากสำหรับช่างภาพมือใหม่ อย่างไรก็ตาม การไม่ต้องเสียต้นทุนนั้นทำให้การถ่ายภาพดูง่ายเกินไป ซึ่งจะทำให้เกิดนิสัยที่ว่า “ถ่ายไปเรื่อยๆ ” เดี๋ยวก็มีสักภาพที่ออกมาดูดี
    • กล้องแบบฟิล์มนั้นจะบังคับให้คุณถ่ายภาพอย่างระมัดระวังมากขึ้น แม้แต่เศรษฐีก็ยังรู้สึกไม่มั่นใจกับการนั่งอยู่บนเรือยอร์ชแล้วถ่ายภาพผ้าขนหนูโดยใช้กล้องแบบฟิล์ม 36 ครั้ง [2] ด้วยแรงจูงใจทางเศรษฐกิจนั้นต้องการที่จะถ่ายภาพได้มากแต่ลดการทดลองถ่าย (ซึ่งเป็นสิ่งที่แย่) อย่างไรก็ตาม การถ่ายแบบฟิล์มจะทำให้คุณคิดให้ดีก่อนที่จะถ่ายภาพ (ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี ถ้าคุณมีความคิดที่ดีว่าคุณควรจะทำอะไรก่อนถ่ายภาพนั้นๆ) นอกจากนี้ ฟิล์ม “ยังคง” มีรูปร่างเป็นของตัวเอง และคุณสามารถเลือกอุปกรณ์เสริมสำหรับถ่ายภาพระดับมืออาชีพซึ่งมีราคาถูกจนอยากจะหัวเราะเช่นกัน
  8. เป็นสิ่งที่พูดกันว่า “หาภาพที่ดีที่สุดของคุณแล้วแสดงภาพนั้นให้คนอื่น” แม้แต่ช่างภาพชื่อดังก็ไม่สามารถถ่ายภาพที่ยอดเยี่ยมได้ด้วยการถ่ายเพียงครั้งเดียว พวกเขาจะเลือกสรรภาพมาอย่างดีว่าจะเอาภาพไหนให้คนอื่นได้ชม
    • “เข้มงวด” กับเรื่องนี้ ถ้าภาพที่คุณถ่ายได้ไม่ “ยอดเยี่ยม” สำหรับคุณ ก็ไม่ต้องแสดงภาพนั้น มาตรฐานของคุณจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แม้แต่ภาพที่คุณคิดว่ามันแค่ใช้ได้อาจจะเป็นภาพที่แย่สำหรับคุณในเวลาต่อมา หรือถ้าภาพทั้งหมดที่คุณถ่ายมานั้นใช้ได้แค่ 1 – 2 ภาพ นั่นเป็นสิ่งที่ดีแล้ว จริงๆ แล้วนั้นมันหมายความว่าคุณนั้นจริงจังพอแล้ว
    • อย่ามองภาพด้วยขนาดเต็ม เคน แสดงให้เห็น ว่าส่วนที่สำคัญที่สุดของภาพคือสิ่งที่สามารถมองเห็นเมื่อได้ชมภาพนั้นในขนาดย่อๆ ให้คิดว่ามีผู้คนข้างนอกที่จะคอยติสิ่งที่พวกเขาเห็นเสมอแม้กระทั่งภาพที่ถูกครอปไปหมดทั้ง 100% แล้ว ซึ่งไม่เป็นไร เพราะพวกเขาไม่ได้มีค่าพอที่เราจะไปฟัง ทำตัวสบายๆ เพื่อที่จะสามารถก้าวผ่านสิ่งที่ไม่ได้ดูยอดเยี่ยมเมื่อมันอยู่ในภาพเพียงแค่หนึ่งในสี่ของภาพจริง (หรือน้อยกว่านั้น)
  9. อย่าตกอยู่ในกับดักของการโพสต์ว่า “วิจารณ์ภาพของฉัน” ลองตั้งกระทู้บนอินเทอร์เน็ตที่เต็มไปด้วยผู้วิจารณ์และประเมินภาพ (Pixel-peeper) คอยวิจารณ์งานของคุณเหมือนที่กล่าวไปข้างต้น การหาคำติเพื่อก่อเป็นสิ่งที่ดีต่อตัวคุณเอง ตราบใดที่คุณใส่ใจกับสิ่งที่คุณรับฟัง
    • ลองเข้าหาศิลปิน. ถ้ามีศิลปินที่จัดแสดงผลงานดีๆ อยู่ เช่น รูปถ่าย ภาพวาด เพลงหรืองานศิลปะอื่นๆ นี่เป็นเหตุผลที่ดีที่จะเข้าหาพวกเขา เพราะพวกเขาจะเข้าใจดีถึงผลกระทบภายใน แม้ว่างานนั้นจะเป็นงานที่เขาถนัดหรือไม่ก็ตาม (ถ้าหากภาพของคุณไม่ได้สร้างผลกระทบ ให้ลบทิ้งไปน่าจะดีกว่า) คนที่ไม่ใช่ศิลปินส่วนใหญ่นั้น มักจะบอกไม่ได้ว่าสิ่งที่คุณทำนั้นถูกรึเปล่า (พวกเขามักจะชมมากกว่าเพื่อรักษาน้ำใจ)
    • อย่าไปใส่ใจกับคนที่วิจารณ์ภาพของคุณรุนแรงเกินไป แต่พวกเขาก็ไม่ได้มีภาพดีๆ มาแสดง ความคิดของคนเหล่านี้ไม่คุ้มค่าที่จะไปใส่ใจ
    • ค้นหาว่าสิ่งใดที่คุณทำถูกและสิ่งใดที่คุณทำผิด ถ้ามีคนชอบภาพของคุณ “อะไรทำให้พวกเขาชอบ” ถ้ามีคนไม่ชอบภาพของคุณ “อะไรที่คุณพลาดไป” ดังที่กล่าวมาข้างต้น “ศิลปิน” คนอื่นๆ จะสามารถช่วยบอกได้ว่าคุณทำอะไรผิดอะไรถูก
    • อย่าถ่อมตัวถ้ามีคนชอบงานของคุณ เป็นเรื่องปกติที่ช่างภาพชอบได้รับคำชมจากภาพชิ้นเอกของพวกเขาเหมือนที่คนอื่นๆ ชอบ แต่อย่าพยายามทำเป็นอวดดีก็พอ
  10. ภาพที่สร้างแรงบันดาลใจไม่ได้เป็นภาพที่ไร้ที่ติในเชิงเทคนิค ช่างภาพระดับต้น (ที่รวยๆ) สามารถพกเลนส์กล้องดิจิทัล SLR ยาว 400 มิลลิเมตร โฟกัสที่ 2.8 ในราคาเกือบแสน เพื่อให้ได้ภาพนกที่คมเข้ม สวยงาม แต่ของแพงๆ เหล่านี้ไม่ได้ทำให้พวกเขาเป็นช่างภาพที่ดี Steve Cirone คุณควรจะมองหาผลงานที่ทำให้คุณยิ้ม หัวเราะ ร้องไห้ หรือรู้สึก “อะไรบางอย่าง” ที่ไม่ใช่ว่า “สัมผัสและโฟกัสดี” ถ้าคุณสนใจภาพของคนทั่วไป ลองเข้าไปดูที่ Steve McCurry หรือสตูดิโอของ Annie Leibowitz.
  11. แต่นี่ไม่ได้เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการถ่ายภาพ จริงๆ แล้วนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญน้อยที่สุดด้วยซ้ำ นี่จึงเป็นคำตอบว่าทำไมคนถ่ายภาพโดยใช้กล้องธรรมดาและไม่มีความรู้เรื่องกล้องเลยถึงถ่ายภาพที่ดีออกมาได้ การถ่ายภาพที่ดีเป็นสิ่งที่น่าสนใจ “มาก” กว่าภาพน่าเบื่อที่มีโฟกัสแล้วผิวสัมผัสอย่างไร้ที่ติ การถ่ายภาพแบบนี้ดีกว่าคนที่ไม่ได้ถ่ายอะไรเลยเพราะเอาเวลาไปยุ่งอยู่กับเทคนิคการถ่ายภาพเล็กๆ น้อยๆ มากเกินไป
    • ความรู้เกี่ยวกับความเร็วชัตเตอร์ (Shutter speed) รูรับแสง (Aperture) และความยาวโฟกัส (Focal length) ยังคงมีประโยชน์ต่อการถ่ายภาพเสมอ เรียนรู้ถึงผลกระทบที่สิ่งเหล่านี้จะส่งผลต่อภาพของคุณ แม้ว่าความรู้เหล่านี้ไม่ได้ทำให้ภาพแย่ๆ กลายเป็นภาพที่ดีได้ แต่อาจจะช่วยไม่ให้คุณพลาดภาพดีๆ ไปเพราะความผิดพลาดทางเทคนิคและสามารถทำให้ภาพดูดีขึ้นได้
  12. คุณอาจจะพบว่าคุณสื่อสารกับมนุษย์ได้ดีพอที่จะถ่ายภาพผู้คน คุณอาจจะพบว่าคุณมีความสุขกับการออกเดินทางไปทุกสถานการณ์มากพอที่จะถ่ายภาพทิวทัศน์ (Landscape photography) คุณอาจจะมีเลนส์สำหรับถ่ายไกลอันใหญ่ๆ และมีความสุขกับการแข่งรถซึ่งอาจจะทำให้คุณพบว่าคุณชอบถ่ายภาพสิ่งเหล่านี้ ลองทำทุกๆ อย่างดู ค้นหาสิ่งที่คุณมีความสุขและทำสิ่งนั้นได้ดี และที่สำคัญ อย่าปิดกั้นตัวเองในการทำอะไรสักอย่าง
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • พยายามทำให้ภาพทุกช็อตออกมาคุ้มค่า โดยปกติแล้วภาพ 1 ช็อตใน 20 จะออกมาใช้ได้ 1 ช็อตใน 100 จะเป็นภาพที่ดี และ 1 ช็อตใน 1000 จะได้ภาพที่ “สุดยอด” และถ้าคุณโชคดีพอ คุณจะได้ช็อตสุดยอดที่สุดในชีวิตของคุณที่ทุกคนพากันชื่นชม
  • อย่าท้อแท้ ถ้าภาพถ่ายของคุณไม่พัฒนาเลยสักสองสามวันหรือเป็นอาทิตย์ ให้อดทนเข้าไว้ การถ่ายภาพนั้นต้องอาศัยความอดทนและการอุทิศตน
  • พิมพ์ภาพที่ดีที่สุดด้วยขนาดใหญ่พอเหมาะ
  • อย่ายึดติดกับเทคนิคภาพและเทคนิคการจัดลำดับแสง เช่น HDR (High Dynamic Range) เพื่อให้ภาพของคุณน่าสนใจ ถ้าภาพที่ถ่ายออกมาจากกล้องตรงๆ นั้นดูน่าเบื่อ ก็ลบมันทิ้งซะ
  • ซื้อหนังสือเกี่ยวกับการถ่ายภาพสมัยใหม่ ซื้อหนังสือที่คุณคิดจะใช้ในระยะยาวเพื่อประหยัดเงิน ลองอ่านและดูภาพจากหนังสือหลายๆ ภาพก่อนจะซื้อ และพยายามอ่านนิตยสารให้หลากหลาย (ทั้งดนตรี ผู้คน บ้านและสวน สถาปัตยกรรม เด็กเล็ก หรืออะไรก็ตามที่คุณสนใจ) ภาพในนั้นดูเป็นอย่างไร ช่างภาพที่ถ่ายภาพนั้นทำอะไรอยู่
  • การพิจารณาภาพของคนอื่นหรือภาพในนิตยสารก็ช่วยได้เช่นกัน ลองวิจารณ์ภาพเหล่านั้น คิดข้อดีและข้อที่คุณอยากเปลี่ยนมาอย่างละ 2 ข้อในภาพนั้น
  • ถ่ายภาพของคุณเองแล้วให้คนอื่นพิจารณางานของคุณ
  • กล้องดิจิทัลสมัยใหม่ๆ และกล้องแบบฟิล์มที่มีอยู่ในสมัยนี้นั้นมีประสิทธิภาพดีพอที่จะถ่ายภาพเจ๋งๆ สักภาพ อย่ากังวลเกี่ยวกับตัวกล้องจนกว่าคุณจะเรียนรู้พื้นฐานได้แล้ว ถ้าจะให้ดีก็อย่าไปกังวลกับมันเลยดีกว่า
  • ให้บทเรียนกับตัวเอง ถ้าคุณมีกล้องเป็นของตัวเองแล้วมีคู่มือมาด้วย “ให้อ่านคู่มือ” แล้วลองเล่นกับสิ่งที่คู่มือบอก ควรอ่านในที่ที่ไม่ทำให้คุณเสียสมาธิ
  • การถ่ายแบบอัตโนมัตินั้นก็มีเหตุผลในตัวเอง การถ่ายแบบนี้จะช่วยให้คุณสนใจอยู่กับการได้ภาพที่ดีมากกว่าการใส่ใจในเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ที่คุณไม่ควรไปใส่ใจ ใช้กล้องในโหมด “โปรแกรม" (Program) ถ้ากล้องของคุณมี แล้วใช้ปุ่มเปลี่ยนโปรแกรมเพื่อเลือกรูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์ที่แตกต่างกันไป ถ้าคุณถ่ายแบบ “กำหนดเอง” (Manual) ได้ดีกว่า ก็ใช้ตามที่คุณต้องการ แต่ให้นึกภาพว่าคุณอยู่ในยุค 50 (1950-1959) ที่ไม่มีการถ่ายภาพแบบอัตโนมัติ การถ่ายภาพแบบอัตโนมัติไม่ได้ช่วยให้คุณดู “เป็นมืออาชีพ”
  • มีนิตยสารอยู่ทุกๆ ที่รอบตัวคุณ แต่คุณอาจจะถ่ายได้ไม่เหมือนกับในนิตยสารเพราะภาพที่ได้รับการพิมพ์นั้นจะถูกปรับแต่งจนออกมาดีที่สุดแล้ว คุณสามารถใช้นิตยสารในการหาตัวอย่างของสีและรูปร่างในรูปแบบ 2 มิติได้
  • เมื่อถึงเวลาที่ต้องเลือกกล้องถ่ายรูป คุณต้องเลือกอย่างรอบคอบ เพราะการที่คุณซื้อกล้องราคาหลายหมื่นไม่ได้หมายความว่าคุณจะถ่ายภาพได้ดีทันที ถ้าคุณซื้อกล้องที่แพงกว่า ก็ควรเรียนรู้ระบบต่างๆ ให้ดี
  • อย่าชื้อเพียงแค่ชื่อยี่ห้อ กล้องสำหรับมือใหม่ยี่ห้อ Nikon ราคาเกือบหมื่นนั้นมีระบบคล้ายกันกับกล้องสำหรับมือใหม่ยี่ห้ออื่นๆ ที่ถูกกว่า (เช่น ซูมแบบออปติคอล (Optical) ได้ 4 เท่า)
โฆษณา

คำเตือน

  • เมื่อคุณจะถ่ายภาพผู้คนในพื้นที่สาธารณะนั้น คุณควรจะทำตัวดีๆ และจำไว้เสมอว่าถ้าคุณจะถ่ายภาพคนเดี่ยวๆ หรือถ่ายภาพเต็มตัวแนวตั้ง (Portrait) คุณควรจะขออนุญาติเขาก่อน พึงระลึกไว้ว่าให้พูดขอบคุณและนำภาพที่ถ่ายให้เขาดูทุกครั้ง ซึ่งบางทีผู้ที่ถูกถ่ายอาจจะมีเหตุผลทางสังคมหรือทางศาสนาที่ทำให้ถ่ายรูปไม่ได้ หากคุณต้องการนำภาพบุคคลไปใช้ในเชิงพาณิชย์ คุณต้องมีแบบฟอร์มยินยอมการเป็นนายแบบหรือนางแบบ (Model release forms) เพื่อให้ผู้ที่ถูกถ่ายภาพเซ็นยินยอมก่อนจะนำไปใช้ได้
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • กล้องถ่ายรูป ควรมีอย่างน้อยสองตัวถ้าคุณหาได้คือ กล้องแบบฟิล์มและกล้องแบบดิจิทัล

ข้อมูลอ้างอิง

  1. http://www.kenrockwell.com/tech/spectator.htm
  2. หรือที่เคน กล่าวไว้ว่า , "การถ่ายภาพแบบฟิล์มนั้น เราไม่ได้ถ่ายภาพ 27 ช็อตเล่นๆ ที่ลานจอดรถระหว่างที่เรากำลังรออะไรบางอย่างอยู่ การถ่ายภาพแบบฟิล์มนั้นเราจะถ่ายให้น้อย แต่มีโอกาสที่จะได้ภาพที่ดีมากกว่า"

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 7,310 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา