ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คุณพิมพ์ address ของเว็บเพื่อเข้าเว็บนั้นได้ทันทีแบบสะดวกรวดเร็ว! ให้มองหาแถบ address สีขาวยาวๆ ด้านบนของหน้า แล้วพิมพ์ address ในแถบนั้น กด Enter เท่านี้ก็เข้าเว็บนั้นได้แล้ว แต่สำคัญว่าต้องพิมพ์ address ให้ถูกนี่สิ! ต่อไปนี้เป็นรูปแบบและเคล็ดลับเฉพาะที่น่าจะช่วยให้คุณเข้าใจวิธีท่องเว็บได้มากขึ้น

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ใช้แถบ Address

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปกติจะเป็นแถบสีขาวยาวๆ ด้านบนของหน้าต่างเบราว์เซอร์ ให้พิมพ์ address ของเว็บในแถบนี้ (พิมพ์ให้ถูกรูปแบบ) แล้วกด Enter เพื่อเข้าเว็บนั้น
  2. ปกติแถบค้นหาจะมีโลโก้ search engine (อย่าง Google, Bing เป็นต้น) พร้อมไอคอนแว่นขยาย จริงๆ แล้วพิมพ์ address ในแถบค้นหาก็เจอเว็บ แต่จะเสียเวลาหน่อยเท่านั้น
    • ถ้าใส่ address แล้วไปโผล่ที่ search engine แทน แสดงว่าคุณไปพิมพ์ในแถบค้นหา หรือคอมมี spyware ซะแล้ว
  3. กด Backspace เพื่อลบคำที่อาจจะอยู่ในแถบ address อยู่แล้ว ถ้าแถบโล่ง จะมีเส้นตั้งกะพริบอยู่ บอกให้รู้ว่าต้องพิมพ์ตรงไหน
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

พิมพ์ Address ทั่วไป

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปกติเราเรียก address ของเว็บว่า URL โดยย่อมาจาก Uniform Resource Locator ตัว URL (หรือ web address) นี้จะอ้างอิงถึงหน้าเว็บหนึ่ง หรือ "ทรัพยากร" ท่ามกลางเครือข่ายกว้างใหญ่โยงใยกันของอินเทอร์เน็ต ตัว URL แบ่งออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ protocol identifier และ resource name โดย protocol identifier กับ resource name จะแยกออกจากกันด้วย colon และเครื่องหมายทับเอียงไปข้างหน้า 2 อัน [1]
    • Protocol identifier: คือส่วนแรกของ URL ใช้กำหนดว่าต้องใช้ protocol ไหน อย่างถ้า URL http://example.com ตัว protocol identifier จะเป็น http
    • Resource name: คือส่วนที่ 2 ของ URL ใช้กำหนด IP address หรือชื่อโดเมนของทรัพยากร ถ้าเป็น URL http://example.com ตัว resource name จะเป็น example.com
  2. จริงๆ ไม่ต้องพิมพ์ส่วนของ protocol identifier ก็ได้ เว้นแต่อยากเข้าเว็บแบบเข้ารหัส (encrypted). คุณไม่ต้องพิมพ์ protocol เว้นแต่จะใช้ protocol อื่นที่ไม่ใช่ค่าตั้งต้นอย่าง http:// ที่เป็นค่าตั้งต้นของหน้าเว็บส่วนใหญ่ แต่ถ้าเป็นเว็บแบบฟอร์มหรือมีให้ล็อกอิน ก็จะใช้ https:// แปลว่าข้อมูลมีการเข้ารหัส ป้องกันไม่ให้ข้อมูลรั่วไหล
    • บางเบราว์เซอร์ก็ไม่แสดง protocol ใน url ให้เช็คไอคอนแม่กุญแจ ถ้ามีแปลว่าเว็บ https:// นั้นปลอดภัย ให้สังเกตว่าเบราว์เซอร์อาจจะเตือนเรื่อง security certificate ของหน้าเว็บนี้
    • ในยุคแรกๆ ของการใช้งานอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้ต้องพิมพ์ protocol identifier ทุกครั้งที่จะเจาะจงเข้าเว็บไหน แต่ตอนนี้ไม่จำเป็นอีกต่อไปแล้ว
  3. www. โดย www จริงๆ แล้วเป็นแค่ default sub domain หรือโดเมนรองตามค่าตั้งต้นของหน้าเว็บนั้น ไม่ต้องรวมอยู่ใน url ก็ได้ บางทีเว็บก็ใช้ subdomain อื่นนอกเหนือไปจาก www เช่น video.google.com แต่ถ้าเป็นส่วนหนึ่งของ url ก็ต้องใส่ subdomain ด้วย
  4. example.com เป็นชื่อโดเมน ตามด้วยโดเมนระดับ 2 อย่าง .com พิมพ์แค่นี้ก็เข้าเว็บนั้นได้แล้ว แต่ต้องสะกดถูกต้องเป๊ะๆ และใช้โดเมนระดับ 2 ให้ถูก
    • บางโดเมนระดับ 2 จะสงวนไว้ให้บางประเทศหรือบางประเภทอุตสาหกรรมเท่านั้น เช่น ถ้าลงท้ายด้วย .ca คือเว็บของประเทศแคนาดา และ .gov ใช้บอกเว็บราชการ
    • ถ้าใส่ domain name แล้วเว็บไม่โผล่มา แสดงว่าอาจจะพยายามเข้าผิดโดเมน ให้เช็คตัวสะกดว่าพิมพ์ถูกแล้ว ถ้าเช็คแล้วยังเข้าเว็บไม่ได้ เป็นไปได้ว่าไม่มีหน้านั้นแล้ว
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

พิมพ์ Address ยาวๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าอยากเข้าหน้าเว็บไหนโดยเฉพาะ ก็ต้องใช้ file path โดย file path จะต่อท้าย "/" เสมอ "/" ใน URL คือ subdirectory ในเว็บ เครื่องหมาย "/" แต่ละอันแปลว่าคุณลงลึกไปในเว็บนั้นอีกระดับแล้ว ต่อจาก file path คือชื่อไฟล์ และบางทีก็เป็น file extension หรือนามสกุลไฟล์ "example.com/subdirectory/filename.html"
    • จริงๆ แล้วไม่ต้องพิมพ์ file extension ใน URL ก็ได้ เพราะจะโผล่มาอัตโนมัติ แต่ส่วนใหญ่เราก็ต้องพิมพ์เอง ให้เช็คว่ากรอก file path ถูกแล้ว เพราะ /page.php กับ /page.html นั้นเป็นคนละไฟล์กัน
  2. เวลา copy อักขระยาวเป็นชุดในแถบ address เองนั้น โอกาสพลาดมีสูงมาก ถ้าเจอข้อความ address ของเว็บแล้ว ก็แค่ copy ไป paste ในแถบ address ได้เลย
  3. อักขระแปลกๆ อาจจะโผล่มาในแถบ address ได้ เช่น ?, # และชุดตัวเลข ก็ไม่ต้องไปสนใจ เพราะยังไงก็ต้อง copy มาทั้งหมดที่เห็นเป็นเลขยาวๆ นั่น เพื่อให้เข้าหน้าเว็บนั้นได้ [2]
    • "?" กับตัวเลข/ตัวอักษรต่อท้าย url เรียกว่า parameter ปกติ parameter จะสร้างขึ้นมาอัตโนมัติ ไม่พิมพ์ก็ได้
    • "#" ต่อด้วยตัวอักษร/ตัวเลข เรียกว่า anchor บางเว็บจะมีบางจุดที่กำหนดไว้โดยเฉพาะในหน้านั้น เอาไว้ใช้กระโดดไปยังจุดนั้นของเว็บได้สะดวก หน้านั้นจะเลื่อนอัตโนมัติไปยังจุดที่เจอ anchor [3]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าคิดอะไรไม่ออก ให้เข้าเว็บ www.google.com แล้วค้นหาหมวดหมู่ของเว็บอย่าง "fashion websites" หรือ "wikiHow" ลองสำรวจดู อาจจะเจอเว็บสนุกๆ เยอะแยะก็ได้!
  • ไม่ใช่ทุกโดเมนจะเข้าได้แค่พิมพ์ "โดเมน.com" บางทีก็ต้องใส่ www หน้าชื่อโดเมนด้วย เช่น www.wikihow.com
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าเว้นวรรคระหว่างแต่ละตัวอักษรตอนพิมพ์ address เว็บ เพราะจะไปโผล่ที่ search engine ได้
โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

ดาวน์โหลดวิดีโอจากทุกเว็บไซต์ได้แบบฟรีๆ
แก้ปัญหาเข้าบางเว็บไม่ได้
หาวันที่เผยแพร่ข้อมูลของเว็บไซต์
ดูว่าใครแชร์โพสต์ของคุณบนเฟซบุ๊ก
แก้ปัญหาเซิร์ฟเวอร์ DNS ไม่ตอบสนอง
เช็คตำแหน่งปัจจุบันใน Google Maps
รู้ความหมายของอีโมจิรูปหัวใจสีดำ
ตั้งชื่ออีเมลให้โดนใจ
เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในคอมพิวเตอร์ Windows
เปิดใช้งานคุกกี้ในเว็บเบราว์เซอร์อินเตอร์เน็ตของคุณ
หาละติจูดกับลองจิจูดใน Google Maps
เว้นวรรคห่างๆ ใน HTML
อิโมจิซ่อนความสยิวที่คนใช้แชตกันมากที่สุด
หา URL ของเว็บไซต์
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,261 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา